โสเหล่กับผู้ปกครองโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

อ่าน: 4297

วันนี้ อ.วิเชียร ไชยบัง ผู้อำนวยการโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ชวนผมไปโรงเรียนตอนช่วงเช้า โดยชวนเมื่อเดือนก่อนตอนที่ครูทั้งโรงเรียนมาเยี่ยมสวนป่า ตอนบ่ายวันนี้ผู้ปกครองเด็กนักเรียนจะลงแขกเกี่ยวข้าว ซึ่งเป็นข้าวอินทรีย์ไม่ใช้เคมีเลย ข้าวคุณภาพนี้ สีแล้วนำมาให้เด็กๆ กิน

ทีแรกผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะให้ไปพูดอะไร คาดเอาเองว่าให้ไปแลกเปลี่ยนเรื่องประสบการณ์การเรียนรู้ของผม จนเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา อ.วิเชียรโทรมาคอนเฟิร์มซึ่งผมก็ตอบว่าไปได้ครับ แต่ดันไม่ได้ถามว่าจะให้พูดเรื่องอะไร

นัดแนะกับครูแมวว่าจะออกจากสวนป่า 7น. ออกมาจริงๆ 6:45น. ไปเยี่ยมโรงเรียนด้วยกันแล้วผมจะไปส่งครูแมวขึ้นรถต่อเข้ากรุงเทพ เราไปถึงโรงเรียน 8:15น. (แวะไปซื้อซาละเปากินกันคนละลูกก่อน ก็เลยไปถึงกระชั้นไปหน่อย) ได้พบ อ.วิเชียรอีกครั้งหนึ่ง คุยกันถึงงาน อาจารย์บอกว่าอยากให้คุยกับผู้ปกครอง ขอสัก 30-40 นาทีไหวไหม ให้กวนประสาทได้เต็มที่… แล้วผมก็ยังไม่ได้ถามหรอกครับ ว่าอยากให้พูดเรื่องอะไร

อ่านต่อ »


ถอดบทเรียนการทำหนังสือ โมเดลบุรีรัมย์

อ่าน: 10568

เมื่อวาน ส่งต้นฉบับไปโรงพิมพ์และสั่งพิมพ์แล้ว ก็เป็นอันว่ากระบวนการทำหนังสือโมเดลบุรีรัมย์เล่มนี้ จบลงเพราะทำอะไรอีกไม่ได้แล้ว

หนังสือเล่มนี้เป็นเล่มที่ 4 ที่ผมทำทั้งกระบวนการ เขียน-เลือก-รวบรวม-ทำปก-จัดรูปเล่ม-แต่งรูปประกอบ-เรียงพิมพ์-ตรวจ-แก้-ส่งโรงพิมพ์ หนังสือคงจะพิมพ์เสร็จและจัดโดยส่งมาที่ VBAC ได้ในวันที่ 3 ก.ค. หนึ่งวันก่อนการเปิดตัวในงานอะไรสักอย่างของสภาการศึกษา ที่ทำเนียบรัฐบาล

เพื่อให้เข้าใจกระบวนการทำหนังสือแบบของผมเอง ดูได้จากบันทึกเก่าครับ — ควรอ่านทั้งสองบันทึกก่อนอ่านบันทึกนี้ต่อไป

อันนี้แถม

ที่จริงเมื่อวานซืน ไปส่งต้นฉบับที่โรงพิมพ์มาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ว่าเนื่องจากก่อนไปส่ง มีการแก้ไขที่ฉุกละหุกมาก แล้วมีจำนวนสั่งพิมพ์ที่มากพอสมควร ผมจึงไม่แน่ใจว่าต้นฉบับนั้นจะมีคุณภาพที่จะพิมพ์ได้ แม้ว่าเวลาจะกระชั้นชิดมาก แต่ก็นัดแนะกับโรงพิมพ์ว่าวานนี้ จะต้องขอตรวจปรู๊ฟก่อน แม้จะเสียเวลา โรงพิมพ์พูดไม่ออก ซึ่งเราก็เข้าใจว่าเวลาไม่มีแล้ว

ดังนั้นเมื่อกลับมาบ้านเมื่อวานซืน จึงลงมือตรวจต้นฉบับอีกครั้งหนึ่งร่วมกับคณะบรรณาธิการ คือครูปู หมอเบิร์ด และฝน ถ้าตรวจแก้ได้เมื่อคืนทั้งหมด เช้าขึ้น เอาต้นฉบับอันใหม่ไปให้โรงพิมพ์แล้วสั่งพิมพ์เลย จะประหยัดเวลาได้มากกว่าไปตรวจปรู๊ฟที่โรงพิมพ์แล้วแก้ไข

ในการตรวจแก้ขั้นสุดท้าย มีรายการส่งมาแก้ไขตลอดช่วงค่ำ แต่เวลาสำคัญคือตั้งแต่ช่วงห้าทุ่มจนแปดโมงเช้า ผมมีโอกาสอีกรอบหนึ่งที่ได้แก้ไขเรื่องการแบ่งคำทางขอบขวาของหน้า และการจัดรูปประโยคใหม่ทั้งเล่ม โปรแกรมเรียงพิมพ์ตัดคำได้ดีครับ แต่ตัดประโยคไม่ดี ต้องมาไล่ปรับเองทั้งเล่ม

ผมตรวจแก้มาทั้งคืน คิดว่าโอเคแล้ว แปดโมงเช้าจึงเตรียมดิสก์เพื่อส่งโรงพิมพ์ เจอรายการแก้ไขหมอเบิร์ดสุดละเอียดอีก ก็เลยแก้อีกครับ

แก้ไปจน 9 โมง มีความเห็นร่วมกันว่าพอแล้ว ต้องเตรียมดิสก์ไปส่งโรงพิมพ์แล้ว ถ้าทำจนสมบูรณ์แบบ จะเป็นการผิดปกติ ความสมบูรณ์แบบไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าส่งงานไม่ได้ แต่เชื่อว่าด้วยความทุ่มเทของคณะบรรณาธิการที่ทำอย่างเต็มที ทำให้หนังสือนี้ มีคุณภาพดีเกินพอที่จะตีพิมพ์แล้ว

ผมได้อ่านหนังสือนี้หลายรอบมากๆ ชอบทั้งเนื้อหา ชอบทั้งความไหลลื่นของเรื่อง (คนเรียงเรื่องเก่ง) ชอบรูปประกอบ (คนถ่ายรูปเก่ง และคนเลือกรูปมาใช้เก่งมาก) อ่านไปทุกรอบ สะดุดใจประเด็นความรู้ใหม่ทุกรอบ

อ่านต่อ »


บ่อน้ำ

อ่าน: 4446

ไม่มีน้ำ แย่แน่ครับ แต่น้ำที่จัดหามาเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นน้ำผิวดินอย่างเดียว

ในรัฐราชาสถานในอินเดีย ใกล้เมืองชัยปุระ มีบ่อน้ำซึ่งสร้างมาประมาณพันสองร้อยปีแล้ว ชื่อว่า Chand Boari เป็นบ่อหินยาปูน ลึกรอยฟุต ประมาณตึก 13 ชั้น ผนังชัน สร้างบันได 3500 ขั้นให้คนเดินลงไปตักน้ำ ดูรูปเพื่อความเข้าใจดีกว่าครับ

[รูปอีกเยอะแยะเลย]

อ่านต่อ »


ปรับปรุงพื้นที่บริเวณหมู่บ้านโลก

อ่าน: 4771

บันทึกนี้เป็นบันทึกที่ 1,400 ที่ลานซักล้างนี้

หลังจากจดๆ จ้องๆ เรื่องแบบ+การวางแผนงานก่อสร้างมานาน วันนี้ครูบาก็เริ่มการปรับปรุงพื้นที่ในบริเวณส่วนต่อขยายของสวนป่า

ขุดร่องดักน้ำฝน (สีแดง) ตลอดแนวถนน เอาดินมาถมถนนกลบหลุมบ่อแล้วบดอัด ร่องดักน้ำฝนนี้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะเนื่องจากทางตะวันตกสูงกว่าทางตะวันออก เอาแทรกเตอร์เกลี่ยดินให้ได้ระดับ (สีน้ำเงิน)

บ้านใหม่ของครูบา (สีชมพู) อยู่ระหว่างแนวต้นไม้ ใกล้บ่อบาดาลบ่อที่สองตรงข้ามเตาถ่าน ทางขวาของบ้านใหม่ของครูบา มีแปลงปลูกผักใหม่ยาว 100 เมตร ตอนที่กลับจากสวนป่าเมื่ออาทิตย์ก่อนเห็นร่องเดียว แต่ได้ยินครูบาบอกคนงานว่าให้เพิ่มอีกร่องหนึ่ง

บ้านใหม่ของครูบาอยู่ในพื้นที่แปลงวิจัยอะคาเซีย มีถนนล้อมรอบทั้งสี่ด้านซึ่งด้านหนึ่งเป็นถนนเก่า สามารถใช้เป็น jogging track ระยะทางรอบละ 500 เมตรได้

นอกจากนี้ ยังปรับปรุงพื้นที่ (สีน้ำเงิน) ให้เรียบ อาจจะทำเป็นที่นั่งคุยกัน หรือที่นั่งพักผ่อน หลบร้อนได้ง่ายเนื่องจากข้างหลังเป็นป่า

ที่พักซึ่งเป็นอาคารกลุ่มแรก (สีเขียว) จะตั้งไปทางตะวันตกเพื่อให้แนวไม้ใหญ่บังแดดตะวันตกช่วงบ่าย จุดที่ดีสำหรับจะตั้งเสาสัญญาณอินเทอร์เน็ตจะอยู่ทางเหนือของกลุ่มอาคารแรก เนื่องจากต้นไม้ตลอดแนว line of sight เข้าไปยังอำเภอไม่สูง เข้าถึงไฟฟ้าและไฟฟ้าสำรองได้ง่าย ทางตะวันออกของกลุ่มอาคารแรก อาจจะเป็นลานดินและจะไม่เป็นลานคอนกรีตแน่นอน บริเวณนี้ต้องการให้โล่งเนื่องจาก

อ่านต่อ »


แนวคิด permaculture ในหมู่บ้านโลก

อ่าน: 5065

ทีแรก จะเขียนเรื่องแนวคิด permaculture ในสวนป่าครับ แต่สวนป่าเป็นอย่างนี้อยู่แล้วเป็นส่วนใหญ่ จึงเปลี่ยนชื่อเป็นหมู่บ้านโลก เนื่องจากจะมีการทดลองอะไรแปลกๆ ที่นี่ด้วย เพื่อเสริมให้ให้สวนป่ายืนอยู่บนวิถีที่พึ่งพาตัวเองได้ยิ่งกว่านี้ ถ้าไปถึงขั้นไม่ต้องซื้ออะไรเลย ก็จะยอดมาก

คำว่า permaculture นี้ อ.วิทยากร เชียงกูลแปลไว้ว่า “ระบบการวางแผนและออกแบบการเพาะปลูก การจัดการผลผลิตและชุมชนที่มุ่งให้เกิดการใช้แรงงาน ทรัพยากรและพลังงานอย่างเหมาะสม เพื่อความยั่งยืนและเกื้อกูลกันของสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการทำลายความสมดุล หรือก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมเป็นพิษ คำนี้เป็นคำย่อมาจาก permanent agriculture (การเกษตรแบบถาวร) และ permanent culture (วัฒนธรรมแบบถาวร)”… ครั้นจะใช้คำว่าการเกษตรแบบถาวร หรือวัฒนธรรมแบบถาวร ก็ขัดกับความเชื่อส่วนตัวว่าไม่มีอะไรถาวรหรอกครับ เลยใช้คำภาษาอังกฤษไปก่อน

Permaculture ใช้ 7 หลักการ ซึ่งโดยรวมแล้วคือ ทรัพยากรเป็นสิ่งมีค่าที่มีอยู่อย่างจำกัด ใช้ได้แต่ใช้ให้คุ้มค่าที่สุด และไม่มีของเหลือครับ

  1. ใช้อย่างอนุรักษ์ - ใช้เฉพาะที่จำเป็น ใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น การใช้อย่างอนุรักษ์ไม่ได้หมายถึงการไม่ใช้ แต่เป็นการ
  2. ใช้ให้เกิดประโยชน์หลายทาง - เช่นน้ำอาบแล้วแทนที่จะทิ้งไปเฉยๆ ก็นำไปรดต้นไม้ หรือลงบ่อน้ำเพื่อเลี้ยงสัตว์ หรือปลูกต้นไม้ ให้ร่มเงา รักษาดิน ใบไม้นำไปหมักเป็นปุ๋ย ให้ผล ให้เนื้อไม้
  3. ไม่พึ่งทรัพยากรอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ - ไม่ให้ระบบใดระบบหนึ่งเป็นจุดตาย เช่นแหล่งน้ำ ก็มีน้ำประปา น้ำผิวดิน น้ำบาดาล และน้ำฝน ถ้าประปาหยุดไหล ก็ยังพึ่งแหล่งน้ำอื่นๆ ได้
  4. แทรกอยู่ในธรรมชาติ - ในธรรมชาติทุกสิ่งพึ่งพากันและกันทั้งนั้น วิถีชีวิตมนุษย์ก็ทำได้เช่นกัน เช่นเศษอาหารนำไปหมักเป็นปุ๋ย ปุ๋ยนำไปบำรุงต้นไม้ ต้นไม้ให้อาหาร อาหารหลังจากบริโภคแล้ว นำเศษอาหารไปหมักเป็นปุ๋ย; เศษใบไม้ ถ้าคิดว่ามันไม่สวย อย่าเก็บกวาดเพื่อเผาทิ้ง แต่นำเศษใบไม้ไปหมักเป็นปุ๋ย เพื่อไปบำรุงต้นไม้อีกที
  5. ทำในขนาดที่เหมาะสม - สามารถทำงานได้ ด้วยเวลา ทักษะ และเงินที่มี ไม่ทำมากเกินไป หัดพอเสียบ้าง ไฟฟ้าถึงจะใช้ไฟจากการไฟฟ้าได้ แต่ก็ควรหาทางปั่นไฟเอง ถ้าไฟฟ้าดับ ไฟฟ้าที่ปั่นเองเพียงพอสำหรับอะไรบ้าง เราก็จะพบว่าเราจะใช้ไฟฟ้าเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ซึ่งก็ควรมองกลับว่าแล้วเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอยู่ เป็นสิ่งจำเป็นหรือไม่
  6. มีความหลากหลาย - ธรรมชาติพึ่งพากันเสมอ ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงเกษตรเชิงเดี่ยว; แม้แต่สวนดอกไม้ ก็ยังไม่มีดอกไม้ชนิดเดียว แล้วทำไมจึงควรจะปลูกพืชเชิงเดี่ยวซึ่งเป็นเรื่องที่นายทุนเค้าผลักดันเพื่อที่จะสะดวกในการมากว้างซื้อผลิตภัณฑ์เป็นจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งลดลง; โลกร้อน ลมฟ้าอากาศแปรปรวน ปีแล้งมีศัตรูพืชชนิดหนึ่งรบกวน แต่ปีที่น้ำฝนมาก กลับมีศัตรูพืชอีกชนิดหนึ่ง ดังนั้นการปลูกพืชที่มีความหลากหลายจะช่วยให้มีผลผลิตออกมาสม่ำเสมอ
  7. ถ้าผลผลิตดี มีเหลือ ก็แจกจ่าย - แม้แต่ต้นไม้ ถ้าเพาะมาเผื่อจนเกินเนื้อที่ปลูก ก็อาจจะนำไปปลูกในชุมชน เป็นการปรับปรุงชุมชนนั้นให้ดีขึ้น

อ่านต่อ »


แกล้งบ้านให้ร้อน

อ่าน: 5015

ไปเจอการออกแบบแปลกประหลาดอันหนึ่งในเขตหนาว ที่สร้างเรือนกระจกไว้ในบางส่วนของบ้าน บังคับให้ลมร้อนลอยขึ้นข้างบน แล้วนำลมเย็นจากอีกส่วนหนึ่งของบ้านให้พัดเข้ามาแทนที่ อย่างไรก็ตาม แนวคิดก็แปลกดีครับ เค้าเรียกว่า Earthship

เรือนกระจกอยู่ทางด้านใต้ เนื่องจากบ้านเราอยู่ทางซีกโลกเหนือดังนั้นพระอาทิตย์จึงอ้อมทางใต้ เรือนกระจกนั้นก็ปลูกต้นไม้ล้มลุกที่ไม่โตนักเอาไว้บังแสง แต่เรายอมให้แสงตกกระทบพื้นในบริเวณเรือนกระจก

รอบๆ บ้าน ใช้ดินกลบผนังไว้สามด้าน เป็นฉนวนความร้อนและความเย็น โดยเดินท่ออากาศเข้ามาจากด้านเหนือ ท่ออากาศนี้อยู่ใต้ดิน อากาศที่ออกมาก็จะมีความเย็นกว่าอุณหภูมิในบ้าน ในช่วงกลางคืนดินและพื้นของเรือนกระจกจะคายความร้อนออกมา ซึ่งความร้อนลอยขึ้นสูง ดูดเอาความเย็นจากท่อฝังดินเข้ามา ทำให้บ้านนี้มีการพาความร้อนที่ดี และเกิดการถ่ายเทลมตามธรรมชาติโดยไม่ใช้หน้าต่าง

อ่านต่อ »


อวิชชาเป็นมลทินอย่างยิ่ง

อ่าน: 3424

ความไม่รู้เป็นยอดแห่งมลทิน การที่ไม่สามารถที่จะเรียนรู้ได้ เป็นเหตุแห่งยอดมลทิน สื่อสารเรื่องที่ผิดเป็นการขยายความไม่รู้

มลสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 ข้อ 105

[๑๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มลทิน ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนต์มีการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน ๑ เรือนมีความไม่หมั่นเป็นมลทิน ๑ ความเกียจคร้านเป็นมลทินของผิวพรรณ ๑ ความประมาทเป็นมลทินของผู้รักษา ๑ ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของหญิง ๑ ความตระหนี่เป็นมลทินของผู้ให้ ๑ อกุศลธรรมที่ลามกเป็นมลทินแท้ทั้งโลกนี้และโลกหน้า ๑ เราจะบอกมลทินที่ยิ่งกว่ามลทินนั้น คือ อวิชชาเป็นมลทินอย่างยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลายมลทิน ๘ ประการนี้แล ฯ

มนต์มีการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน เรือนมีความไม่หมั่นเป็นมลทิน ความเกียจคร้านเป็นมลทินของผิวพรรณ ความประมาทเป็นมลทินของผู้รักษา ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของหญิง ความตระหนี่เป็นมลทินของผู้ให้ ธรรมอันลามกเป็นมลทินแท้ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เราจะบอกมลทินที่ยิ่งกว่านั้น คือ อวิชชาเป็นมลทินอย่างยิ่ง ฯ

อ่านต่อ »


ถนนสูง เขื่อนยาว

อ่าน: 2654

การเปลี่ยนแปลงใดๆ มีผลกระทบต่อเนื่องต่อสิ่งที่อยู่รอบๆ เสมอ

รัฐบาลมีดำริจะสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมโดยยกถนนขึ้นอีก 1 เมตร และสร้างคันกั้นน้ำรอบเขตเศรษฐกิจสำคัญ เช่นนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างที่เขียนในบันทึกที่แล้วว่าผมคิดว่าเป็นสิทธิที่จะป้องกันชีวิตและทรัพย์สินครับ

แต่ในทำนองกลับกัน ก็อยากให้เรียนรู้จากบทเรียนของเขื่อนป้องกันสึนามิในญี่ปุ่นด้วย แม้ตามสถิติแล้ว ไม่น่าจะมีสินามิสูงเกิน 10 เมตร แต่เมื่อเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงผิดปกติและเกิดสึนามิตามมา คลื่นข้ามเขื่อนเข้ามาทำลายบ้านเมืองได้ เมื่อข้ามเข้ามาแล้ว น้ำกลับออกไปลงทะเลไม่ได้เนื่องจากมีเขื่อนขวางอยู่ ต้องค่อยๆ ระบายน้ำออก ซึ่งก็ยังดีที่ว่าแผ่นดินบนฝั่งอยู่สูงกว่าทะเลเสมอ จึงใช้แรงดึงดูดระบายน้ำได้

แต่กรณีของที่ราบลุ่มภาคกลางนั้น บางแห่งมีสภาพเป็นแอ่ง ปิดล้อมด้วยความสูงต่ำของภูมิประเทศ บางทีก็ด้วยถนน แม้ปริมาณน้ำส่วนใหญ่ผ่านไปหมดแล้ว แต่ก็ยังมีน้ำค้างทุ่งอยู่ในหลายอำเภอ ปัจจุบันน้ำลดลงแต่ยังไม่แห้ง พื้นที่ยังใช้เพาะปลูกไม่ได้ ทำการฟื้นฟูไม่ได้ ไม่รู้ว่าจะต้องรอไปถึงเมื่อไร ตอนนี้เท่าที่ทราบ รอน้ำระเหยไปตามธรรมชาติหรือไม่ก็ต้องจ่ายค่าพลังงานสำหรับสูบน้ำเองนะครับ

ถ้ายกระดับของ “เขื่อน” ขึ้นอีกหนึ่งเมตร แล้วกั้นน้ำไม่ให้ข้ามสันเขื่อนมาได้ จะมีอานิสงส์ดีคือจะไม่เกิดอาการน้ำค้างทุ่งแบบนี้อีก แต่ในทำนองกลับกัน ถ้าเกิดฝนตกหนัก หรือน้ำหลากข้ามสันเขื่อนเข้ามาได้ จะเกิดอาการน้ำค้างทุ่งสูงขึ้นอีกหนึ่งเมตร ท่วมหนักและยาวนาน พื้นที่หลังแนวถนนเขื่อน จะอยู่อาศัยไม่ได้เลย เพราะน้ำจะท่วมลึกขึ้นอีก 1 เมตร

อ่านต่อ »


แนวคิดเกี่ยวกับป่าต้นน้ำ

อ่าน: 2900

ผมคิดว่าเป็นเรื่องปกติที่ต่างคนต่างพยายามป้องกันทรัพย์สินและท้องถิ่นของตนเอง ในเมื่อปลายปีที่ผ่านมาเกิดมหาอุทกภัยทำให้เสียหายหนัก ปีนี้ทั้งรัฐ ทั้งเอกชนก็เกิดความพยายามต่างๆ มากมายที่จะป้องกันสถานการณ์ในลักษณะดังกล่าว แต่ผมคิดว่ากระบวนการคิดนี้ รีบเร่งจนอาจจะคิดไม่จบนะครับ

การปลูกป่าที่ต้นน้ำนั้น ก็สมควรอยู่แล้วครับ (ที่จริงคือไม่น่าไปถางป่าเลยตั้งแต่ต้น) แต่ลงมือปลูกวันนี้ เมื่อไรจะเป็นป่า

หยดน้ำมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 มม. คิดเป็นปริมาตรของหยดน้ำ 0.03 มิลลิลิตร ถ้าใบไม้หนึ่งใบมีน้ำฝนค้างอยู่หนึ่งหยด ต้นไม้เล็กหนึ่งต้นมีใบไม้พันใบ ต้นไม้เล็กสามหมื่นต้นก็จะมีใบไม้รวมกันสามสิบล้านใบ และสามารถหยุดน้ำไว้บนอากาศได้ 1 ลูกบาศก์เมตร (ไม่เยอะหรอกครับแต่ได้มาฟรี แล้วทำให้บริเวณนั้นเย็นสบายจาก evaporative cooling ดูน้ำหนาวที่โกร๋นไปหมดแล้วสิครับ ตอนนี้ไม่หนาวแล้ว) ต้นไม้เล็กสามหมื่นต้นนี่ เมื่อเทียบกับพื้นที่ภูเขาหนึ่งลูก เล็กมากครับ แต่ถ้าคิดจะ “ปลูก” จะเป็นมหกรรมใหญ่โตเลย

การปลูกป่าต้นน้ำ ควรหาต้นไม้โตเร็ว ใบเยอะ เพื่อปลูกเขื่อนไว้ในอากาศ อย่าเพิ่งไปปลูกไม้เบญจพรรณ ซึ่งโตช้า ใบใหญ่แต่ใบจำนวนน้อยเลยครับ ปลูกไม้พุ่มยังดีกว่า โตเร็ว ปลูกได้ถี่ ร่มไม้คลุมดิน ป้องกันดินจากแสงแดดเผา ลดแรงปะทะของเม็ดฝนซึ่งทำให้เกิดการกัดเซาะได้ด้วย

“ปลูกป่าแบบไม่ต้องปลูก” พระราชทานแนวคิดไว้ จำได้ไหมครับ

อ่านต่อ »


เตาเผาถ่านไร้ควัน

อ่าน: 13656

เรื่องนี้ ที่จริงควรจะอยู่ในชุด ผลิต Biochar อย่างจริงจัง แต่เนื่องจากกรณีนี้ เป็นกรณีของสวนป่า จึงแยกออกมาเขียนนะครับ

เรื่องนี้ได้ยินมาจากครูบาซึ่งเพิ่งเล่าให้ฟังเมื่อตอนผมถามเรื่องเตาเผาถ่าน สวนป่ามีเตาเผาถ่านขนาดใหญ่อยู่ 5 เตา เตาเล็กอีกต่างหาก ก็ตามประสาคนไม่รู้เรื่องละครับ ผมถามว่าเวลาเผาถ่านในเตาใหญ่ใช้เวลากี่วัน ถ้าผมจำไม่ผิด ครูบาว่า 14 วันกว่าจะมอดสนิท แต่ครูบายังเล่าเพิ่มเติมว่าพอจุดเตาไปได้สักพัก ก็จะมีควันที่เหม็นมาก เรียกว่าควันบ้า มีอยู่คราวหนึ่ง จุดทั้ง 5 เตา แล้วควันบ้าเกิดออกมาพร้อมกัน เหม็นตลบอบอวลไปทั้งป่า ขนาดที่อยู่สวนป่าไม่ได้ ต้องชวนแม่หวีหนีเข้าไปในอำเภอ

เรื่องนี้ซีเรียสครับ ควันบ้า ที่มีสี มีกลิ่น แสดงถึงการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ดูจากลักษณะของเตาก็คาดว่าเป็นอย่างนั้น ก๊าซที่ออกมานี้น่าจะเป็นก๊าซพิษด้วยซ้ำไปนะครับ ร่างกายจึงบอกว่าเหม็นเพื่อที่จะไปให้พ้น แต่ไม่ร้ายเท่าน้ำมันดิน (tar) ที่ออกมาพร้อมกันควัน จะยิ่งทำให้ไอ

ดังนั้น น่าจะดีกว่าที่จะสร้างเตาเผาถ่านอีกสักเตาหนึ่ง แต่ดูให้เป็นการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ คือไม่มีกลิ่น ไม่มีควัน ซึ่งในบันทึก [ทริปสวนป่า 6-8 ม.ค.] มีการทดลองเผ่าถ่าน Biochar เป็นที่สนุกสนาน เป็นถ่านคุณภาพดี แล้วใช้เวลาไม่นาน เราใช้ความร้อนเผาถังซึ่งบรรจุเศษไม้เอาไว้ เมื่อเศษไม้ในถังได้รับความร้อน ก็จะคายควันออกมา แล้วควันนี้ติดไฟได้ ก็ให้ความร้อนเผาถังอีกเป็นลูกโซ่ ดังนั้นการเผาถ่านในลักษณะนี้ ใช้เชื้อเพลิงน้อยกว่าการเผาถ่านปกติ

แต่ว่าการเผาถัง ก็จะได้มากได้น้อยก็แล้วแต่ขนาดของถัง (ซึ่งอย่างเก่ง ที่หาได้มักเป็นถัง 200 ลิตร) แล้วจะได้ถ่านประมาณหนึ่งในสามของปริมาตรถัง ถ้ามีไม้จะเผาเยอะ ก็ต้องเผาหลายครั้ง แต่ทีนี้ถ้าหากเราสามารถเผาไม้ได้ทีละตันหรือตันครึ่ง สัดส่วนของไม้ที่เป็นเชื้อเพลิงก็จะน้อยลงมา ซึ่งเมื่อเผาถ่านแล้ว จะได้ถ่าน 300-500 กก.ภายในเวลา 8-10 ชั่วโมง (แทนที่จะเป็นสองอาทิตย์) สัปดาห์หนึ่งเผาสามครั้ง — เผาวันหนึ่งตอนกลางวัน ส่วนคืนนั้นก็ปล่อยให้เย็น เช้าขึ้นเอาถ่านออก เย็นๆก็ขนไม้ลงไปในเตา รุ่งเช้าเผาอีก รอบละสองวัน สัปดาห์หนึ่งเผาไม้สามตัน ได้ถ่านหนึ่งตัน จ้างคนงานหกวันต่อสัปดาห์ จ้างผู้ใหญ่วันเว้นวันในวันที่ขนถ่านขนไม้เข้าออกจากเตา และจ้างเด็กวันเว้นวันสำหรับเอาถ่านใส่กระสอบ

อ่านต่อ »



Main: 1.1091449260712 sec
Sidebar: 0.39328622817993 sec