เวทีเสวนาสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการรับมือภัยพิบัติในอนาคต

อ่าน: 3477

คุยกันเช้านี้ เม้งบอกว่าว่าขึ้นมากรุงเทพ มาบรรยายในเวทีเสวนาสมัชชาสุขภาพ สนุกมาก (คนพูดสนุก!)

ผมก็เลยหาวิดีโอคลิป ปรากฏว่าเจอครับ ดูเลยก็แล้วกัน ยาวหน่อย แต่สนุกดี

ดร.สมพร ช่วยอารีย์
ดร.ธรณ์​ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ดร.เสรี ศุภาราทิตย์
ดร.สมิทธ ธรรมสโรช

embed code ของเว็บ ไม่มีให้ปิด autoplay ซะด้วย (อย่าทำเว็บอย่างนี้) ดังนั้นพอเปิดหน้านี้แล้ว ปิดคลิปที่ 2 เอาไว้ก่อนนะครับ

อ่านต่อ »


ทีละหลังสองหลัง

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 31 October 2011 เวลา 0:22 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 2837

บันทึกนี้เป็นบันทึกที่พันสามร้อยของลานซักล้าง ไม่ใช่โอกาสที่จะฉลองอะไรหรอกนะครับ เพียงแต่อยากจะบอกว่าเรื่องราวที่เขียนทุกวัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่หน่อมแน้มเรื่อยเจื้อยแบบนี้ เขียนไม่ยาก เพียงแต่สังเกตเหตุการณ์รอบตัว พยายามแยกประเด็นออกมาให้ชัดเพื่อให้บันทึกทันสมัยอยู่เสมอ… ส่วนบันทึกอ่านยากก็ไม่เป็นไร มีคนอ่านแล้วได้ประโยชน์ก็พอ ถ้าเขียนแล้วไม่มีใครได้อะไรเลย เสียเวลาเปล่า

หลายวันที่ผ่านมา ได้รับรู้เรื่องราวว่าบ้านเพื่อน บ้านลูกน้องเก่า จมไปทีละหลังสองหลัง ไม่รู้จะทำอย่างไรเหมือนกัน ที่บ้านยังไม่ท่วม แต่ก็ไม่รู้ว่าจะอีกนานเท่าไร น้ำเหนือยังมีปริมาณมหาศาล เขื่อนทานแรงน้ำอยู่เป็นเดือนแล้วว กลัวใจเลยว่าพอเห็นว่าทนได้ ก็จะไม่เสริมความแข็งแรง และความประมาทนี้จะนำไปสู่ความพินาศ

ผมพาพ่อแม่ออกมาอยู่หัวหิน คนเป็นล้าน แต่ก็อยู่สุขสบายดี ยังมีคนที่เป็นห่วงอยู่ในพื้นที่ประสบภัยและพื้นที่เสี่ยงอีกมาก แต่ทุกอย่างก็ต้องจัดลำดับความสำคัญทั้งนั้นละครับ สิ่งใดติดขัดก็หาทางแก้ไขไปทีละเปลาะ

ถ้าผมยังบริหารอยู่ คงประกาศปิดบริษัทในส่วนที่ไม่จำเป็นไปแล้ว นึกถึงใจเชาใจเรานะครับ ถ้าบ้านพนักงานน้ำท่วม จะเดินทางมาทำงานลำบากมาก มีครอบครัว มีทรัพย์สินที่ต้องดูแล จะถือว่าบริษัทจ่ายเงินเดือนแล้วต้องมาทำงาน ดูจะเป็นความเลือดเย็นเกินไป ส่วนใครจะบอกว่าบริษัทจดทะเบียนต้องโกยกำไรให้ผู้ถือหุ้นให้มากที่สุด ดังนั้นต้องทำงานไปเรื่อยๆ ก็เป็นแนวคิดทุนนิยมแบบไร้วิญญาณ ลืมคิดไปว่าถ้าพนักงานที่ไม่มีกะใจทำงาน ไม่น่าจะได้ผลงานที่ดี

อ่านต่อ »


ความหมายของงานป้องกัน

อ่าน: 4008

น้องชายผมทำงานดูแลการผลิตในโรงงานขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่คลองรังสิต

ความคิดเรื่องการป้องกัน ก็ต้องประเมินดูความเสี่ยงต่างๆ ถ้าน้ำท่วมคลองรังสิต ก็จะท่วมโรงงาน และบริษัทจะเสียหาย ดังนั้นเขาก็ออกไปประเมินสถานการณ์โดยไม่ต้องมีใครสั่ง พบความเสี่ยงและได้เขียนบอกกล่าวเอาไว้ในเฟสบุ๊ค (แต่ผมไม่ลิงก์ไว้ให้นะครับ ด้วยเหตุผลของความเป็นส่วนตัวของเขา) ในเมื่อไม่รู้ก็ต้องเรียนรู้ ตรวจสอบ แทนที่จะรอรายงานหรือคิดไปเอง

คลิกดูแผนที่เพื่อความเข้าใจ

อ่านต่อ »


ใกล้แต่หาผิดที่

อ่าน: 4114

ผมคิดว่าทั้งสาธารณชนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าใจคำว่าการจัดการภัยพิบัติไขว้เขวไป

การจัดการภัยพิบัติไม่ใช่การนำความช่วยเหลือไปให้ผู้ประสบภัย เมื่อภัยพิบัติเกิดขึ้นแล้ว จะมีความเสียหายเสมอ ไม่ว่าจะเยียวยา หรือแจกถุงยังชีพอย่างไร ก็ไม่เหมือนก่อนเกิดภัย — การบรรเทาทุกข์อย่างที่ทำกันโดยแพร่หลาย เป็นเพียงส่วนจำเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการภัยพิบัติเท่านั้น

การจัดการภัยพิบัติเป็นกระบวนการต่อเนื่อง มีสองส่วน คือการจัดการความเสี่ยง (ครึ่งซ้ายในรูปข้างล่าง) กับการแก้ไขสถานการณ์ (ครึ่งขวา) เป็นกระบวนการที่ใช้ความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนการยอมรับความจริง เป็นส่วนผสมหลัก ส่วนกำลังเป็นเรื่องรองลงไปครับ

Disaster Management Cycleกระบวนการจัดการภัยพิบัติตามรูปทางขวา มีอยู่หลายขั้นตอน แต่สิ่งที่เราทำกันคือไปอัดกันอยู่ในช่วงสีแดง แถมยังไม่มีการประสานกันเสียอีก จึงเกิดความอลหม่านขึ้น เกิดเป็นกระแส แย่งกันทำ แย่งกันช่วย ซ้ำซ้อน ทำไปโดยความไม่รู้

ไม่ใช่ว่าผมไม่เห็นด้วยหรอกนะครับ… ช่วงที่ผู้คนทุกข์ยาก ก็ต้องช่วยกันให้ผ่านไปได้ไม่ว่าจะทุลักทุเลขนาดไหน… แต่ถ้าหากต้องการจะช่วยจริงๆ แล้ว ไม่ต้องรอให้เกิดเป็นกระแสขึ้นมาก่อนได้หรือไม่ หาความรู้ พิจารณาล่วงหน้าก่อนดีไหมครับ ว่าจะช่วยอย่างไรดี

คลิกบนรูปทางขวาเพื่อขยาย — เมื่อเกิดภัยขึ้น ส่วนของการบรรเทาทุกข์ก็จะต้องทำโดยความเร่งด่วน ซึ่งคำว่าเร่งด่วนหมายถึงช่วยให้ผู้ประสบภัยปลอดภัย และดำรงชีวิตผ่านช่วงวิกฤตไปได้ ความปลอดภัยและปัจจัยสี่ต้องพร้อม

จะเป็นถุงยังชีพหรืออะไรก็แล้วแต่ ทำไปเถิดครับ ขออนุโมทนาด้วย แต่จะส่งอะไรลงไปยังพื้นที่นั้น ควรจะรู้หรือประเมินล่วงหน้าได้ก่อน ว่าผู้ประสบภัยในพื้นที่ต้องการอะไรเป็นลำดับก่อนหลัง แม้จะฟังดูโหด (ภัยพิบัติเป็นเรื่องโหดร้ายอยู่ดี) แต่การส่งของที่ไม่เป็นที่ต้องการลงไปในพื้นที่ (หรือเรียกว่าองค์ทานไม่มีประโยชน์ต่อปฏิคาหก) กลับจะเป็นภาระต่อผู้ประสบภัย ผู้แจกจ่าย และการขนส่ง ต้องไม่ลืมวัตถุประสงค์ว่าเราต้องการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ไม่ใช่เพียงช่วยให้ตัวเองรู้สึกดีว่าได้ทำอะไรบางอย่างแล้ว

อ่านต่อ »


พลวัตของการบรรเทาทุกข์

อ่าน: 3427

เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นในพื้นที่ ไม่ว่าบ้านเราจะโดนหรือไม่ สิ่งที่จะตามมาคือภาวะข้าวยากหมากแพง (ทุพพิกภัย) ถ้าเป็นเมื่อก่อน อาจจะมีโรคระบาดตามมาด้วยครับ แต่ปัจจุบันนี้ การสาธารณสุขของเราดีขึ้นมากตลอดหลายปีที่ผ่านมา มีทั้งการเตรียมตัวล่วงหน้า การป้องกัน การรักษา และการระดมกำลังควบคุมการระบาด ฯลฯ

เป็นห่วงอยู่อย่างเดียว คือการเยียวยาสภาพจิตใจของผู้ประสบภัยเป็นจำนวนมาก ซึ่งเกินกำลังของจิตแพทย์ นักจิตวิทยา และนักสังคมสงเคราะห์ที่มีอยู่ — จากการสำรวจเมื่อปี 2547 ไทยมีผู้ป่วย PTSD สูงที่สุดในโลก (สึนามิ? จะจากอะไรก็ช่าง สถิติโลกอันนี้ไม่น่าครองหรอกครับ)

เมื่อเกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่ขึ้น จะมีผู้ประสบภัยมากมาย ที่ไม่สามารถดำเนินชีวิตไปในแบบที่เคยทำมาได้ จะต้องใช้เวลาพักใหญ่กว่าจะฟื้นฟูวิถีชีวิตกลับมา ในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ ผู้ประสบภัยต้องการความช่วยเหลือและกำลังใจเป็นอย่างมาก

นิยามของภัยพิบัตินั้น หมายถึงเหตุการณ์หรือสถานการณ์ ที่เกินกำลังการจัดการของท้องถิ่น จำเป็นต้องมีการร้องขอความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะจากในประเทศหรือต่างประเทศ

ลำดับของการช่วยเหลือ ต่างคนอาจจะคิดไปต่างๆ กัน สำหรับผมแล้ว จัดลำดับความสำคัญดังนี้ (คิดไม่เหมือนกันก็ไม่เป็นไร)

อ่านต่อ »


ระวัง-ยิง-เล็ง

อ่าน: 4175

ชื่อบันทึก ระวัง-ยิง-เล็ง ไม่ได้เรียงผิดหรอกครับ แล้วไม่ได้คิดเองด้วย มาจากของฝรั่ง Ready, Fire, Aim

เวลาจะยิงปืนนะครับ “ลำดับ” มักจะเป็น ระวัง-เล็ง-ยิง (Ready, Aim, Fire) ก็ต้องเล็งก่อนยิงใช่ไหมครับ? สามัญสำนึกบอกว่าอย่างนั้นนะ; แล้วยิงโดยไม่ได้เล็ง จะไม่มีโอกาสถูกเลยหรือ…ผมว่าก็คงไม่ใช่หรอก เพียงแต่โอกาสคงไม่มาก

“Not everything that can be counted counts, and not everything that counts can be counted.” — Albert Einstein

ไม่ทุกสิ่งที่นับได้ จะมีความหมาย และไม่ทุกสิ่งที่มีความหมาย จะนับได้ — อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

ไอน์สไตน์ไม่ได้พูดถึงฟิสิกซ์ดาราศาสตร์หรอกครับ เขาชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่สำคัญนั้น ไม่แน่ว่าจะวัดเป็นจำนวนได้

อ่านต่อ »


CSR ภาคประชาชน

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 6 January 2011 เวลา 2:31 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4421

ว่ากันที่จริง CSR ก็อยู่ในภาคเอกชนทั้งนั้นล่ะครับ

ถ้าอยู่ในภาครัฐ มีเหมือนกัน แต่ไม่เรียก CSR; รัฐไม่ใช่ Corporate จึงไม่ใช้คำว่า CSR

CSR ในมุมที่ผมมอง ไม่ใช่การ “ยกป้ายถ่ายรูป” แน่นอน แบบนั้นเป็นการให้ทานแบบฉาบฉวยเอาหน้านะครับ — น่าผิดหวังที่ยังมีการให้รางวัลกับพวกชอบยกป้ายถ่ายรูปกันมาก ทำให้สงสัยว่ากรรมการตัดสิน CSR แบบไหนเนี่ย แค่บริจาคเงินน่ะ เป็นแค่ครึ่งเดียวของระดับต่ำสุดนะครับ

CSR ควรจะเกิดจากสำนึกของคนในองค์กร ว่าทุกสิ่งเกี่ยวพันกันหมด องค์กรไม่สามารถจะประสบความสำเร็จได้ หากรอบข้างล้มเหลวไปหมด (โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงาน ซึ่งผู้บริหารที่ไม่ค่อยมีความเป็นมนุษย์ มักจะคิดว่าจ่ายเงินจ้างแล้วก็ต้องใช้ให้คุ้ม)

หมู่บ้านสามขา ต.หัวเสือ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง ได้รับการยกย่องเป็นแบบอย่างของการพัฒนาแบบยั่งยืน สามารถฟื้นตัวจากโรคบริโภคนิยมได้ในเวลาไม่นานนัก ทั้งนี้ก็ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้าน ประกอบกับความช่วยเหลือจากทุกภาคส่วน — แต่บ้านสามขา จะฟื้นตัวได้ยาก หากชาวบ้านไม่เอาจริงเอาจังกับเรื่องเหล่านี้… ต่อไปเป็นสารคดี 6 ตอนของ สกว.ครับ น่าศึกษามาก

อ่านต่อ »


พลังงาน: เอาจริงแบบเล่นๆ

อ่าน: 3558

ปลายปีที่แล้ว นายกรัฐมนตรีไปโคเปนฮาเกน (ชาวยุโรปแถวนั้นเค้าออกเสียงอย่างกันนี้) ได้กล่าวไว้ในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุม UNFCCC 2009 ว่าเมืองไทยกำลังอยู่ในแผนพัฒนาพลังงานทดแทนระยะ 15 ปี พ.ศ. 2551-2565 ว่าจะใช้พลังงานทดแทนให้ได้ 20% ของการใช้พลังงานทั้งประเทศ และจะเพิ่มพื้นที่ป่าจาก 30% ในพ.ศ. 2549 ไปเป็น 40% ในพ.ศ. 2563 (จาก 96.4 ล้านไร่ เป็น 128.5 ล้านไร่) ดังนั้นมาตรการทั้งสองจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มาก

สารภาพตรงๆ นะครับ ถึงตอนนี้ ยังมองไม่เห็นเลยว่าจะไปถึงจุดนั้นได้อย่างไร ถ้าหากจะเพิ่มการใช้พลังงานทดแทนให้ได้ถึง 20% ของพลังงานที่ใช้ทั้งประเทศ จะหวังให้รัฐทำเองทั้งหมดนั้น คงเลื่อนลอยมาก ทุกคน ทุกบ้าน ต้องช่วยกัน แต่ก็ยังไม่เห็นมาตรการอะไรของรัฐที่โดนใจเลย ค่า Adder [เปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน] ที่ กฟภ.รับซื้อไฟฟ้าที่มีแหล่งกำเนิดจากพลังงานทดแทน เหมือนเป็นป้ายเชิญชวน ให้เดินไปสู่ประตูที่ปิดแล้วล็อคกุญแจไว้ ชาวบ้านเดินเข้าไปไม่ได้อยู่ดี ทำไมไม่ออกแบบ grid-tie inverter ที่ปั่นไฟฟ้าแล้ว sync กับไฟฟ้าของ กฟภ. มีฮาร์โมนิกต่ำ แก้ไข power factor ให้ต่ำ ทดสอบให้ผ่านมาตรฐาน แล้ว open source เปิดการออกแบบนี้ให้ใครก็เอาไปทำได้ล่ะครับ

เมื่อต้นปี 2537 ตอนนั้นเมืองไทยยังไม่มีอินเทอร์เน็ตแบบที่เราใช้กันอยู่ ผมเคยโพสต์ประเด็นที่น่าสังเกตไว้ใน soc.culture.thai USENET newgroup ยกประเด็นว่าศูนย์การค้า 5 แห่งที่กำลังจะเปิด (ในเวลานั้น) คือ เสรีเซ็นเตอร์ ซีคอนสแควร์ ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต อิมพีเรียลลาดพร้าว และแฟชั่นไอซ์แลนด์ ทั้ง 5 แห่งมีพื้นที่รวมกัน 1.835 ล้านตารางเมตร ถ้าใช้ไฟฟ้าสำหรับเครื่องปรับอากาศ แสงสว่าง และการใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ตารางเมตรละ 250 วัตต์ โดยเปิดทำการวันละ 12 ชั่วโมง จะใช้พลังงานไฟฟ้าวันละ 5.505 GWh ซึ่งนั่นคิดเป็น 49% ของกำลังไฟฟ้าที่ กฟผ.ผลิตไฟฟ้าเพิ่มได้ ในช่วงปี 2535-2539 หมายความว่าศูนย์การค้า 5 แห่ง ใช้ปริมาณไฟฟ้าสำรองของประเทศในช่วงนั้นไป 49% แล้ว กฟผ.จึงต้องแจ้นไปซื้อไฟฟ้าจากลาว

อ่านต่อ »


โลกที่ปราศจากอินเทอร์เน็ต

อ่าน: 4265

เมื่อวานอ่านรีวิวหนังสือ Armageddon Science: The Science of Mass Destruction ก็น่าตื่นเต้นดีครับ ผู้เขียน Brian Clegg เป็นนักฟิสิกส์ เขียนรายการออกมาหลายอย่างที่มีความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ (ในมุมมองของเขา) ว่าโลกแบบที่เรารู้จัก จะไปไม่รอด เช่น

  1. นักวิทยาศาสตร์ที่มีความเฉลียวฉลาด แต่ขาดสามัญสำนึกเรื่องความปลอดภัย
  2. Large Hadron Collider (LHC) เครื่องเร่งอนุภาคความเร็วสูงที่พยายามจะจำลองสภาพการเกิดบิ๊กแบง เพื่อศึกษาอนุภาคพื้นฐาน อาจสร้างบิ๊กแบงหรือหลุมดำขนาดเล็กๆ ที่หลุดจากการควบคุมแล้วทำลายล้างทุกสิ่งรอบตัว หรือการระเบิดของซูเปอร์โนวาในอวกาศอันไกลโพ้น ซึ่งเรามองไม่เห็นเพราะแสงเดินทางมาเร็วเท่ากับความเร็วแสงเท่านั้น อันหลังนี่ ถ้าเจอเข้าก็เป็นแจ็คพอตแตกคือไม่รู้ตัวเลยล่ะครับ
  3. การทำลายล้างทางนิวเคลียร์
  4. สภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง โลกร้อน ยุคน้ำแข็ง อากาศเป็นพิษ พายุรุนแรง แห้งแล้งยาวนาน ฯลฯ
  5. เชื้อโรคล้างโลก พื้นที่ที่มนุษย์ไม่เคยไป วันนี้กลับอยู่ไม่ “ไกล” เหมือนเคย เช่นป่าอเมซอนถูกบุกรุกเข้าไปเรื่อยๆ น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ธารน้ำแข็งละลาย อากาศที่ถูกน้ำแข็งจับไว้หลายแสนปี ถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศอีกครั้งหนึ่ง
  6. Gray Goo หุ่นยนต์จิ๋ว (nanobot) ที่สร้างตัวเองได้ หลุดจากการควบคุมแล้วไม่หยุดสร้างตัวเอง จนในที่สุดก็ทำลายทุกอย่างไร
  7. INFORMATION MELTDOWN

โดยรวมผมไม่ได้มองหนังสือนี้เป็นคำทำนาย แต่ก็น่าสังเกตว่าเกือบทั้งหมดนี้มนุษย์ทำ จะด้วยความไม่รู้ ความประมาท ความโง่ หรืออารมณ์ก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย อาจก่อให้เกิดผลใหญ่หลวง [Butterfly effect] [Tragedy of the anticommons] [การรับมือสิ่งท้าทายอุบัติใหม่] ผมมองเรื่องนี้เป็นประเด็นที่เตือนว่าจุดใดเสี่ยง แล้วจะ “ทำ” อะไรกับมัน

บันทึกนี้ หยิบมาเฉพาะข้อ 7 นะครับ

อ่านต่อ »


คณิตศาสตร์ใหม่ของความร่วมมือ

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 8 December 2010 เวลา 21:15 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ #
อ่าน: 5342

ช่วงที่เกิดน้ำท่วมหนัก มีบันทึกรับเชิญในบล็อกของ Harvard Business Review เรื่อง The New Arithmetic of Collaboration คนเขียนสี่คน เข้าใจเปรียบเทียบครับ เขาว่าเหมือนไต่บันได้ลิง แต่ผมไม่แปลหรอกนะครับ จะตีความตามใจชอบ

บันไดขึ้นที่หนึ่ง ร่วมมือแบบไม่ร่วมมือ (1+1 < 2) ปากก็ว่าร่วมมือ แต่ที่จริงต่างคนต่างทำ เป็นความร่วมมือลวงๆ ต่างอาศัย “ความร่วมมือ” เพื่อหาประโยชน์เข้าตนแต่ฝ่ายเดียว ขาดเป้าหมายร่วมกัน ขาดความจริงใจที่จะร่วมมือกัน เผลอๆ มีแทงกันข้างหลังด้วยซ้ำไป พร้อมจะเลิกกันได้ทุกเมื่อ ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าเป็นความร่วมมือได้ในรูปแบบไหน

บันไดขั้นที่สอง แบบผลัดกัน (1+1 = 2) ยังคงเป็นต่างคนต่างทำ แต่ไม่แย่งกัน ไม่อิจฉากันแล้ว แล้วก็ไม่ได้ช่วยกันด้วย ทีมหนึ่งทำ อีกทีมหนึ่งพัก ในเมื่อผลัดกันทำ แล้วสามารถบรรลุเป้าหมายระยะสั้นได้ ต่างคนต่างแฮบปี้แล้ว ก็เลยลืมมองไปว่ายังมีความร่วมมือในลักษณะอื่นอีก ลักษณะความร่วมมือแบบนี้ เมื่อบรรลุเป้าหมาย(ระยะสั้น)ที่วางเอาไว้ ทุกคนแฮบปี้แล้วก็หยุด รอคอยความร่วมมือครั้งต่อไป เพื่อร่วมมือกันแบบเดิม ทำ-หยุด-ทำ-หยุด

อ่านต่อ »



Main: 0.10251307487488 sec
Sidebar: 0.26539897918701 sec