เลิกประชุมกันอย่างสงบเสงี่ยม?

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 7 December 2010 เวลา 18:32 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ #
อ่าน: 3454

เมื่ออาทิตย์ก่อน HBR Management Tips บอกให้เลิกการประชุมอย่างเรียบร้อยซะ!

Abolish Great Meetings

Having a “great meeting” often means that everyone in the room agreed on a topic without debate or discomfort. Yet, most great ideas are born from conflict and differences of opinion, rather than effortlessly run meetings. Next time you are organizing a meeting, don’t focus on making it go smoothly. Instead, pay attention to moving your business objective forward. Only invite people who truly have a stake in the goal, not those who have a territorial claim or just want to be heard. Good results come from complex, iterative, and challenging processes. Rather than making sure your ideas and discussion fit perfectly into the hour time frame, be willing to leave the issue unresolved and have another “bad” meeting to follow up.

อ่านต่อ »


แก้มลิงใต้ดิน

อ่าน: 4683

ผมเขียนที่บล็อกลานซักล้างนี้มาเกือบหนึ่งพันบันทึกแล้ว ย้อนกลับไปดูบันทึกเก่าๆ เจอเรื่องราวที่เอามาผูกกันเป็นเรื่องใหม่แล้วอาจจะเวิร์คครับ

  1. แก้มลิงต้องการพื้นที่แปลงใหญ่ แต่ในหลายปีที่ผ่านมา พื้นที่มีราคาแพงขึ้นมากเนื่องจากมีนายทุน(ไทยและต่างชาติ)กว้านซื้อ องค์กรจัดการภัยพิบัติสหรัฐ​ FEMA ซึ่งบังคับให้ทุกชุมชนทำแก้มลิง ได้กำหนดความหมายของแก้มลิง (floodway) ไว้ว่า A “Regulatory Floodway” means the channel of a river or other watercourse and the adjacent land areas that must be reserved in order to discharge the base flood without cumulatively increasing the water surface elevation more than a designated height. Communities must regulate development in these floodways to ensure that there are no increases in upstream flood elevations. For streams and other watercourses where FEMA has provided Base Flood Elevations (BFEs), but no floodway has been designated, the community must review floodplain development on a case-by-case basis to ensure that increases in water surface elevations do not occur, or identify the need to adopt a floodway if adequate information is available.
  2. ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ปีนี้มีแล้งจัด ร้อนจัด จนน้ำเกือบหมดเขื่อน! จากนั้นต่อด้วยเปียกจัด เกิดอุทกภัยขึ้นใน 51 จังหวัด มีคนได้รับผลกระทบประมาณ 9 ล้านคน คิดเป็น 13.4% ของประชากรทั้งหมด และมีแนวโน้มว่าจะต่อด้วยหนาวจัดด้วย
  3. โดยสถิติ ถึงฝนจะมาไม่ตรงเวลา ปริมาณฝนเฉลี่ยก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง — หมายความว่า เวลาฝนทิ้งช่วงจะเกิดการขาดแคลนน้ำ ส่วนเวลาฝนมาก็จะท่วม

อ่านต่อ »


วุ่นวายไปทำไม

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 23 November 2010 เวลา 18:55 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3860

ค.ศ. 1665 ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช La Rochefoucauld (1613-1680) นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสเคยกล่าวไว้ว่า “Il est plus honteux de se défier de ses amis que d’en être trompé.” พอแปลได้ว่า การไม่เชื่อถือมิตรเป็นเรื่องน่าอับอายยิ่งกว่าการที่จะถูกเขาทรยศเสียอีก ซึ่งล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์โคลงอธิบายความไว้ว่า

๏ การระแวงใจแห่งผู้ เป็นมิตร สหายแฮ
เป็นสิ่งน่าอดสู แน่แท้
ยิ่งกว่าถูกเพื่อนคิด ทุรยศ
ภาษิตนี้ขอแก้ อรรถให้ แจ่มใส

๏ คือใครมีมิตรแล้ว ระแวงจิต
ว่ามิตรบ่ซื่อตรง นั่นไซร้
เหมือนสบประมาทมิตร ดูถูก มิตรนา
บ่มิช้าจักไร้ มิตรสิ้นปวงสหาย

๏ กลัวอายเพราะมิตรจัก ไม่ซื่อ ตรงแฮ
จึงคิดฉลาดระแวง หาผิด
ที่แท้ก็ตนคือ ผิดมิตร ธรรมนา
เพราะว่าองค์แห่งมิตร ก็ต้องไว้ใจ

๏ ผู้ใดดูถูกมิตร ดูถูก ตนเอง
เพราะว่าคนทรามไฉน จึงคบ
เมื่อเริ่มจะตั้งผูก มิตรภาพ
ใยไม่วิจารณจบ จิตหมั้นในสหาย

๏ มิตรร้ายผิมุ่งร้าย ต่อเรา
แม้เมื่อเราซื่อตรง อยู่แล้ว
โลกย่อมจะติเขา ไม่ติ เราเลย
คนชั่วย่อมไม่แคล้ว คลาดโลกนินทา

๏ ภาษิตจึงได้กล่าว คติบอก
ว่าระแวงมิตรน่า อัประยศ
ยิ่งกว่าถูกเพื่อนหลอก ลวงเพราะ ซื่อนา
ตรงจะเสียทีคด ไป่ต้องอับอาย

๏ มุ่งหมายจิตมั่นด้วย มิตรธรรม
ถึงหากเพื่อนทุจริต หลอกให้
อย่าวิตกแต่จำ ไว้เพื่อ
จะคบมิตรอื่นไซร้ จะได้รู้พรรณ ๚ะ๛

สังคมยุโรปในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการนั้น ผู้ลากมากดีต่างเชื่อถือในเกียรติยศ จะคบใครก็มักจะเลือกคนมีเกียรติเสมอกัน (ไม่ว่า “เกียรติ” จะหมายถึงอะไรก็ตาม — อย่าลืมว่าเรื่องนี้เกือบสามร้อยห้าสิบปีมาแล้วนะครับ) ความเป็นเพื่อนมักดูกันนานๆ เป็นเรื่องลึกซึ้งนะครับ ส่วนที่ฉาบฉวยน่ะ เรียกว่าแค่เป็นคนรู้จักกันเท่านั้น

อ่านต่อ »


ความแตกต่างบนเป้าหมายเดียวกัน

อ่าน: 3713

การบรรเทาทุกข์เป็นงานใหญ่ เมื่อจะทำให้ลุล่วง จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ รวมพลังกัน คำว่ารวมพลังกันทำงานใหญ่นั้น ไม่ได้แปลว่าทุกคนทำเหมือนกันไปหมด เพราะการทำเหมือนกันไปหมดนั้น เป็นการระดมพลังทำงานชิ้นเดียว (ลงแขก ซึ่งมักไม่ใช่งานใหญ่ซึ่งมีความซับซ้อน) ทำงานใหญ่ต้องระดมสรรพกำลังมาจากทุกแหล่ง ใช้ความรู้จากหลากหลายวิทยาการ ใช้การประสานใจ มีเป้าหมายเป็นแก่นกลาง

เมื่อมีปัญหาใหญ่โต วางกองอยู่ตรงหน้า เหล่าผู้คนที่มาช่วย จะมองเห็นปัญหานั้นด้วยภาพที่ต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นกับมุมมองของตน ความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์

อย่างไรก็ตาม แต่ละมุมมองเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของปัญหาเท่านั้น ไม่ควรดึงดันยึดเอาว่ามุมมองของตนเท่านั้นที่ถูกต้องที่สุด ทางออกมีแค่ที่อย่างตนเสนอ

ตาบอดคลำช้าง (สำ) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น

การตัดสินว่าอะไรใช่หรือไม่ใช่ ยังไม่สำคัญเท่ากับการตระหนักว่ายังมีผู้คนได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก ยังต้องการความช่วยเหลืออีกเป็นจำนวนมาก — ผู้ที่อาสามาช่วยต่างต้องการจะช่วยผู้ประสบภัยด้วยกันทั้งนั้น จะด้วยใจบริสุทธิ์กี่เปอร์เซ็นต์ก็ตาม แต่ละคนต่างก็มาด้วยความต้องการที่จะช่วย ตามความรู้ความชำนาญของตนด้วยกันทั้งนั้นครับ

เรื่องนี้น่ะเป็นความเดือดร้อนของผู้ประสบภัย ไม่ใช่การทำข้อสอบปรนัยที่มี “คำตอบที่ถูกต้อง” เพียงคำตอบเดียวนะครับ

ในเมื่อตัวเราไม่ได้รู้อะไรทั้งหมดแต่จะไปตัดสินคนอื่น แล้วจะเป็นการตัดสินใจที่ดีได้อย่างไร?!?! [Paradox ของสายตา กับการไม่รู้จักเป้าหมาย] [เชื่อเพราะเห็น ทำให้หลงได้ง่าย] [ความมีเหตุผล อาจทำให้หลงได้]

อ่านต่อ »


ครบหนึ่งเดือนอุทกภัยครั้งใหญ่

อ่าน: 4147

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานว่าอุทกภัยครั้งใหญ่เริ่มต้นมาตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2553 ที่จริงแล้ว อุทกภัยเกิดขึ้นในภาคเหนือก่อนหน้านั้นเป็นเวลากว่าเดือนหนึ่งมาแล้ว เป็นความเดือดร้อนจริงของชาวบ้านในพื้นที่ แต่ยังไม่ได้ขยายวงกว้างไปจนทั่วประเทศอย่างที่เป็นอยู่

ภาวะอุทกภัยยังดำเนินอยู่แม้จนปัจจุบัน

ตามรายงานของ ปภ.ที่ออกเมื่อค่ำวานนี้

ปัจจุบันจังหวัดที่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยทั้งสิ้น ๑๘ จังหวัด ๘๗ อำเภอ ๖๗๐ ตำบล ๔,๙๑๙ หมู่บ้าน ๔๗๔,๔๙๗ ครัวเรือน ๑,๔๒๑,๑๔๐ คน พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหาย ๖,๓๑๖,๑๕๖ ไร่ ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ นครราชสีมา ศรีสะเกษ สุรินทร์ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี นนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี

ระหว่างวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๓ ถึงปัจจุบัน มีจังหวัดประสบภัยทั้งสิ้น ๓๙ จังหวัด ๔๐๑ อำเภอ ๒,๙๕๒ ตำบล ๒๕,๖๑๘ หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน ๑,๙๕๔,๘๒๗ ครัวเรือน ๖,๘๔๖,๔๙๐ คน

จังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว จำนวน ๒๑ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ ระยอง จันทบุรี ตราด ตาก ชลบุรี ลำพูน เชียงใหม่ สระแก้ว นครนายก กำแพงเพชร พิษณุโลก หนองบัวลำภู ปราจีนบุรี สมุทรปราการ นครปฐม อุทัยธานี บุรีรัมย์ ฉะเชิงเทรา และจังหวัดชัยภูมิ

น่าจะเป็นโอกาสที่จะหยุดอินกับสถานการณ์สักพัก เอาตัวไปอยู่ในวงโคจร แล้วมองย้อนกลับไปสู่ปัญหาตามที่มองเห็นสักครั้งหนึ่ง

อ่านต่อ »


เมื่ออาสาสมัครบาดเจ็บ

อ่าน: 3328

เมื่อตอนเย็น มีการประชุมการประสานงานเครื่องข่ายรับภัยน้ำท่วม ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีท่านอาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นประธานในที่ประชุม

มีองค์กรพัฒนาเอกชนมาร่วมอย่างอุ่นหนาฝาคั่งเช่นเคย ได้เจอหน่วยกล้าตายที่บุกลงพื้นที่มากมาย คราวนี้ @1500miles ไม่มาครับ แต่ภรรยานั่งอยู่ติดกัน เม้าธ์กระจาย

อ่านต่อ »


ไอทีกับการจัดการภัยพิบัติ

อ่าน: 4094

ดูเผินๆ ไอทีมีลักษณะเสมือนจริงในแง่ที่ไม่ได้เกิดการกระทำในตัวเอง

ไอทีเป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น จะดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้เข้าใจเครื่องมือหรือไม่ และนำไปใช้ประโยชน์ได้แค่ไหน ยกตัวอย่างเช่นเอาฆ้อนไปตอกตะปู ก็จะใช้งานได้ดีมีประโยชน์ แต่ถ้าเอาฆ้อนไปพรวนดิน ถึงจะทำได้ก็จะดูแปลกๆ ไปสักหน่อยนะครับ

ภัยพิบัติทุกครั้งแตกต่างกันเสมอ ทั้งสาเหตุ ผู้ประสบภัย ระยะเวลา พื้นที่ประสบภัย ความเสียหาย ความหนักหนา ทรัพยากร อาสาสมัคร ฯลฯ ยิ่งกว่านั้น การจัดการบรรเทาทุกข์และฟื้นฟูจากภัยพิบัติ ก็เป็นภัยพิบัติในตัวเองเสมอๆ เนื่องจากมีคนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งที่มีหน้าที่โดยตรง ทั้งที่มาด้วยจิตอาสา ในเมื่อต่างคน ต่างฝ่าย ต่างมีความรู้ความชำนาญที่แตกต่างกัน เรื่องเดียวกัน ก็จะมีมุมมองและวิธีการที่แตกต่างกัน ในเวลาที่ชาวบ้านทุกข์ยาก ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ไม่ใช่เวลาที่จะมากล่าวโทษหรือพิพากษาใครหรอกนะครับ เราต้องไม่ลืมว่ากำลังมีคนที่เดือดร้อนแสนสาหัสอยู่

ดังนั้นการประสานงานก็จะโกลาหลอยู่เป็นธรรมชาติ อาจจะต้องอาศัย connection ส่วนตัวกันมากหน่อย หรือไม่ก็ต้องอาศัยการระดมสรรพกำลังมาช่วยงานกัน ซึ่งจำนำไปสู่ความขลุกขลักต่างๆ อีกมากมาย — เรื่องนี้ไม่มีใครบ่นหรอกครับ เพราะว่าคนที่มาช่วยกัน ต่างก็ทนเห็นชาวบ้านเดือดร้อนโดยไม่ลงมือทำอะไรสักอย่างไม่ได้กันทั้งนั้น

แต่ว่ามันจะดีกว่าหรือไม่ หากมีเครื่องมือที่ช่วยทำให้การประสานงานส่งความช่วยเหลือลงพื้นที่ เป็นไปอย่างที่มีระบบมากขึ้น บันทึกนี้พยายามจะเขียนแนวคิดของการจัดการในเชิงระบบ ที่เชื่อว่าน่าจะจำเป็นสำหรับระยะฉุกเฉินนี้ครับ ขอมองอย่าง “คนนอก” ไม่อย่างนั้นเวลาลงไปคลุกแล้ว ผมจะเมาหมัดคือจะใช้ทุกอย่างเท่าที่มี แล้วมองข้ามสิ่งที่ควรมีแต่ไม่มีไปครับ

อ่านต่อ »


น้ำท่วม ข้อมูลก็ท่วมด้วย

อ่าน: 4302

คำว่า Information Overload เป็นคำที่ Alvin Toffler นำมาใช้จนแพร่หลาย เมื่อเขาเริ่มบรรยายถึงสังคมแห่งข่าวสารเมื่อ 40 ปีก่อน

อาการ Information Overload เกิดขึ้นเมื่อมีปริมาณข้อมูลหลั่งไหลเข้ามาจนประมวลไม่ทัน คืออ่านอย่างหาความหมาย แล้วคิดต่อจนรู้ว่าจะต้องทำอะไรต่อไม่ทัน

มีอีกคำหนึ่งคือ Sensory Overload ซึ่งน่าจะตรงกว่าสำหรับคำว่า “รับไม่ไหว” มากกว่า

ในเมื่อรับไม่ไหว มันก็ไม่ไหวล่ะครับ คนที่เจออาการ Information Overload เข้าบ่อยๆ เขามักข้ามไปเลย ซึ่งอันนี้กลับเป็นปัญหาอีกอย่างหนึ่ง คืออาจจะพลาดข่าวสารสำคัญ

ในปัจจุบัน มีสถานการณ์วิกฤตอุทกภัยเกิดขึ้นทั่วประเทศ เครื่องมือสื่อสารก็มีมากขึ้นเยอะ ทำให้ข้อสนเทศ​ (data) และสารสนเทศ​ (information) หลั่งไหลเข้าสู่เครือข่ายสังคม มากน้อยแล้วแต่ความป๊อบ

แต่ถ้าเป็นศูนย์รวมเช่น #thaiflood hash tag หรือเว็บไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับน้ำท่วม คนที่เฝ้าติดตาม อาจจะเจอ Information Overload ได้ — เมื่อวานผมเดี้ยงไป พอตื่นขึ้นมา เจอข้อความใน #ThaiFlood ห้าพันข้อความ เอื๊อก…

อ่านต่อ »


งานอาสาสมัครกับ Crowdsourcing

อ่าน: 4186

ในบางกรณี อาจจัดงานอาสาสมัครเป็น Crowdsourcing ได้ในแบบหนึ่ง

Crowdsourcing เป็นฝูงชนอิสระที่มีพลัง (แต่ตัวคนเดียวไม่มีพลังพอ) ที่ทำให้ความเห็นเล็กๆ การกระทำเล็กๆ กลายเป็นสิ่งที่มีค่า — ทั้งนี้เป็นเพราะคนแต่ละคนแตกต่างกัน จึงเลือกทำอย่างที่ตนทำได้ดี เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน เช่น Wikipedia ซึ่งแต่ละคนเขียนสิ่งที่ตนรู้ และถูกตรวจสอบโดยคนอื่น ไม่มีใครเขียน Wikipedia ทุกเรื่อง ไม่มีใครทำทุกเรื่อง หรือพยักหน้าหงึกๆ กับทุกเรื่อง แต่ทั้งหมดร่วมกันสร้าง Wikipedia ให้เป็น Wikipedia; ในมุมหนึ่ง ก็เป็นการก้าวข้ามลักษณะพวกมากลากไป ทำอะไรเหมือนกันไปหมดทุกคน หรือมีขาใหญ่ที่รู้ไปหมดแล้วสั่งลูกเดียวไม่ฟังใคร

อ่านต่อ »


เครือข่ายอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติภาคประชาชน

อ่าน: 4292

เย็นนี้ที่ สสท. (ทีวีไทย หรือ ThaiPBS) มีการประชุมเครือข่ายอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติภาคประชาชน ซึ่งเดิมใช้ชื่อเล่นว่า คชอ.ภาคประชาชน มีองค์กรพัฒนาเอกชน กลุ่มอาสาสมัครต่างๆ เข้าร่วมประชุม 60 ท่าน — การประชุมที่มีผู้เข้าร่วมเยอะๆ แบบนี้ มักไม่ค่อยมีประสิทธิผลหรอกครับ แต่ว่าในครั้งนี้ ผมคิดว่าต่างคนต่างมีเป้าหมายเดียวกัน ผ่านประสบการณ์ทำนองเดียวกันมา ถึงตื้นลึกยาวนานไม่เท่ากัน ก็ยังมองไปในทิศเดียวกัน

น่าจะกล่าวได้ว่าที่ประชุมเห็นร่วมกันว่า การรวมตัวกันเช่นนี้ ไม่ควรหยุดแค่อุทกภัยใหญ่ในครั้งนี้เท่านั้น แต่ควรจะรวมตัวกันต่อไปเนื่องจากการฟื้นฟู ยังจะใช้แรงใจและแรงงานอีกยาวนาน ใช้ประสบการณ์การทำงานร่วมกันให้เป็นประโยชน์ยิ่งขึ้นในภันครั้งหน้า(หากเกิดขึ้น)

กิจกรรม CSR แบบยกป้ายถ่ายรูป น่าจะเลิกกันได้แล้วครับ บริษัทห้่างร้านต่างๆ ที่ต้องการจะฝึกจิตสาธารณะของพนักงานจริงๆ ควรพิจารณาให้พนักงานสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อผู้อื่นบ้าง ให้ไปช่วยเหลือและเรียนรู้ความจริงจากพื้นที่ เช่นพนักงานขอลาพักร้อนไปทำกิจกรรมเพื่อสังคม 5 วัน บริษัทยอมให้พักต่อโดยไม่ต้องเข้าทำงานอีก 5 วันโดยจ่ายค่าจ้างตามปกติ — รวมเสาร์อาทิตย์อีก 3 รอบเป็น 16 วัน อบรมสองวัน พักตอนกลับมาสองวัน  เหลือเป็นเวลาลงพื้นที่ 12 วัน — เวลา 12 วันนี้ เหลือเฟือสำหรับสร้างบ้านที่เสียหายขึ้นมาใหม่นะครับ มีเวลาที่จะนำความรู้ที่ต่างคนต่างคิดว่ามีไปช่วยชาวบ้าน (หรือเรียนรู้ว่าที่จริงนั้น ตนไม่รู้อะไร) นั่นไม่สำคัญเท่ากับว่าให้โอกาสพนักงานได้เห็นสังคมไทยตามความเป็นจริง สร้างแรงบันดาลใจขึ้นมาใหม่ เข้าใจความสำคัญของความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติ

อ่านต่อ »



Main: 0.089504957199097 sec
Sidebar: 0.23542404174805 sec