ความสำเร็จไม่มีทางลัด
สำนักงานใหญ่ของ Facebook ย้ายไปอยู่เมือง Menlo Park ซึ่งอยู่ใกล้กับโรงเรียน Belle Haven Middle School กลาง Silicon Valley ทางโรงเรียนจึงเชิญ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก มากล่าวอะไรสักหน่อยในโอกาสที่เด็กเรียนจบชั้น Grade 8 (ม.2)
ลานซักล้าง: ใจซักได้ ถ้ารู้ตัว / นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา / สุทธิ อสุทธิ ปจฺจตฺตํ นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย / Improvement begins with I
สำนักงานใหญ่ของ Facebook ย้ายไปอยู่เมือง Menlo Park ซึ่งอยู่ใกล้กับโรงเรียน Belle Haven Middle School กลาง Silicon Valley ทางโรงเรียนจึงเชิญ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก มากล่าวอะไรสักหน่อยในโอกาสที่เด็กเรียนจบชั้น Grade 8 (ม.2)
ระหว่างน้ำกับแม่เหล็ก ปฏิกริยาอะไรต่อไปนี้ “ถูกต้อง”
ถ้าตอบข้อ 3 ดูคลิปต่อไปนี้แล้วอย่าแปลกใจนะครับ
สำหรับผู้รู้ ก็รู้แล้วนั่นแหละครับ ใน 6 วันที่ผ่านมา ผมใช้เวลากับเรื่อง EM Ball ถึง 4 วัน แต่มันก็ยังเป็นความรู้มือสองอยู่ดี
วันนี้จึงไปซื้อหัวน้ำเชื้อ EM และน้ำตาลทรายแดงมาลองหมักเล่นดูบ้าง บอกเด็กในบ้านเก็บน้ำซาวข้าวใส่ขวดน้ำอัดลมให้มากที่สุด มีขวดกี่ขวด เก็บไว้ให้หมดเลย อีกเจ็ดวันรู้เรื่องครับ
สำหรับวิธีหมัก EM มีในบันทึกที่แล้ว ซึ่งคนที่ดูจบทุกตอนคงมีไม่มาก
เพื่อไม่ให้เสียเวลาดู ก็จะเขียนวิธีทำไม้ดังนี้ครับ
หลังจากที่โยน EM Ball ลงแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อบรรเทาผลของน้ำเสียจากเหตุการณ์เรือบรรทุกน้ำตาลล่ม ซึ่งภาคีอาสาสมัครภาคประชาชนได้ร่วมกันทำไปแล้วในวันที่ 4 5 6 7 มิถุนายนที่ผ่านมา วันนี้ (10) ก็มีกรณีศึกษาที่ดี กล่าวคือ
[กรุณาคลิกเพื่อเปิดดูแผนที่] เมื่อวันที่ 7 เราพาภาคีจำนวนเป็นร้อยคน ไปโยนและผลิต EM Ball ที่วัดไก่เตี้ย ต.กระแซง อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ด้านซ้ายของแผนที่) ก่อนหน้านั้นสองวัน (5) เราไปโยน EM Ball ที่หน้า อิงนที รีสอร์ต เยื้องกับวัดไก่เตี้ย ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ ทั้งสองวัน นายก อบต. เชียงรากใหญ่ไปร่วมด้วย และอยู่คุยเป็นเวลานาน
แล้วเราก็พบกรณีศึกษาที่น่าสนใจ คือเหนือ อิงนที รีสอร์ต ขึ้นไปเล็กน้อย เป็นคลองบ้านพร้าว คลองนี้เมื่อเกิดเหตุเรือบรรทุกน้ำตาลล่มที่อยุธยา ทำให้น้ำเสียและสัตว์น้ำตายหมู่ กรมชลประทานปิดประตูระบายน้ำที่ปากคลองเอาไว้ เพื่อไม่ให้น้ำเสียไหลเข้ามาในคลอง ทีนี้พอปิดประตูระบายน้ำ น้ำในคลองก็นิ่ง แล้วก็เริ่มออกอาการ เราโยน EM Ball ทำเองลงตรงนี้ หากคุณภาพน้ำดีขึ้น ก็แปลว่า EM แก้ไขปัญหาน้ำเสียได้จริง เพราะว่าประตูระบายน้ำยังไม่เปิด
วันนี้ภาคีก็ยกทีมกับไปที่โรงเรียนวัดบ้านพร้าวใน ซึ่งอยู่ติดกับวัดบ้านพร้าวใน โรงเรียนนี้ทำการสอนจนถึงชั้น ป. 6 ทั้งโรงเรียนมีนักเรียนอยู่ 78 คน เชิญวิทยากรจากมูลนิธิเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาจารย์พัฒน์พงษ์ บุญเลิศ เลขาธิการมูลนิธิฯ มาสอนวิธีทำ EM Ball ให้กับเด็กและผู้ปกครองในโรงเรียน ทาง อบต.ยกทีมมาช่วยเป็นเจ้าภาพ ท่านนายก อบต. ก็มาเอง พร้อมทั้งลงมือทำ EM Ball ด้วย
มานั่งคิดดู การจัดการภัยพิบัติตามหลักการ เปรียบเหมือนกลางวันและกลางคืน กล่าวคือจะมีทั้งส่วนการเตรียมการได้ก่อนเกิดภัย เช่นปรับเปลี่ยนโครงสร้าง จัดการความเสี่ยง เป็นภาคกลางวันที่สามารถทำอะไรล่วงหน้าไปได้ (ถ้าใช้ความรู้ ก็จะไม่แพงอย่างที่คิด) และมีอีกส่วน คือเมื่อเกิดภัยขึ้นแล้ว ก็จะเป็นการบรรเทาทุกข์ เยียวยา ฟื้นฟู ซึ่งทั้งหนักหนาและยาวนาน เปรียบเหมือนกลางคืน มองอะไรไม่เห็น ทำอะไรก็ลำบาก
ในเมืองไทยนี้ มีแต่กลางคืน เราไปเข้าใจว่าการบรรเทาทุกข์เป็นการจัดการภัยพิบัติซึ่งไม่ใช่หรอกครับ เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น พอเป็นเรื่องเยียวยา ฟื้นฟู ก็ไม่ค่อยจะมีใครอาสาทำกัน เพราะหนัก ลำบาก โดดเดี่ยวและแพงมาก…
ระบบความคิดของเราผิดเพี้ยนนะครับ วันหนึ่งจะมีแต่กลางคืนได้อย่างไร?
เมื่อวาน พอจบเรื่องพิธีการทางฝั่งวัดไก่เตี้ย เดินไปเดินมาได้สักพัก เราก็ข้ามฝั่งมาที่รีสอร์ตมาประชุมเรื่องปฏิญญาเจ้าพระยา เป็นเรื่องของความตั้งใจร่วมกันที่จะอนุรักษ์แหล่งน้ำอย่างจริงจัง ไม่นั่งงอมืองอเท้ารอ “ผู้รับผิดชอบ” ลงมือทำ
ที่จริงแล้ว คุณภาพของน้ำเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคน — ชื่อปฏิญญามักเป็นชื่อสถานที่ที่ร่างปฏิญญาขึ้นมา ดังนั้นแม้จะชื่อปฏิญญาเจ้าพระยา แต่ความหมายไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยา
วันนี้กลับไปที่อิงนที รีสอร์ต ปทุมธานีใหม่อีกครั้งหนึ่ง เรื่องจากเครือข่ายจัดงานคืนชีวิตให้แม่น้ำ โดยมีอาสาสมัครมาร่วมสักสองสามร้อยคน มีนักเรียนจากสองโรงเรียนในท้องถิ่น สององค์การบริหารส่วนตำบล ทหารจากศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก ซึ่งรับผิดชอบในเขตจังหวัดแถวนี้ กลุ่มอาสาสมัครที่ทำงานอยู่ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (ในนามส่วนตัว) ผู้ใหญ่บ้านแถวนั้น 4 หมู่บ้าน (มีมูลนิธิอะไรก็ไม่รู้ที่มาถ่ายรูปเสร็จก็หายตัวไป) แล้วก็มีกลุ่มผู้จัดงานคือ อาสาดุสิต PS-EMC และ Thaiflood งานนี้มีคุณปิยะชีพ ส.วัชโรบลเป็นพ่องาน (สงสัยว่า ส. น่าจะเป็นชื่อเดิมก่อนเปลี่ยนเป็นปิยะชีพ)
คลิปที่ถ่ายในวันนี้ ไม่ค่อยมีเรื่องความรู้หรอกนะครับ เป็นพิธีการและบรรยากาศทั่วๆ ไปเสียมากกว่า
สำหรับเรื่องที่ว่าจัดงานวันนี้ทำไมนั้น โดยส่วนตัว ผมคิดว่าเนื้อเพลงนี้ บอกอะไรหลายส่วน หากผู้คนในวงกว้างเกิดจิตสำนึกรู้คุณ ช่วยกันรักษาแม่น้ำลำคลอง ก็จะเป็นกุศลต่อตัวเอง ผู้ใช้น้ำอื่นๆ สัตว์ต่างๆ จิตสำนึกนี้ ไม่ควรจะเป็นเฉพาะที่อยุธยาตรงจุดที่เรือบรรทุกน้ำตาลล่ม ถิ่นฐานบ้านเรือนที่น้ำเสียไหลผ่าน หรือชาวบ้านที่เลี้ยงปลาในกระชังเท่านั้น แต่เป็นทุกคนที่ใช้น้ำ ไม่ว่าจะอยู่ต้นน้ำ กลางน้ำ หรือปลายน้ำ ต่างก็มีหน้าที่ที่จะรักษาน้ำ มันไม่ใช่หน้าที่ของผู้ที่อาศัยริมน้ำเท่านั้น
วันนี้เป็นวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจีน ซึ่งตามตำราว่าเป็นวันไหว้บ๊ะจ่าง (ภาษาอย่างเป็นทางการ เรียกเทศกาลวันไหว้ขนมจ้าง) — ไม่เคยไหว้หรอกครับ เพิ่งค้นเจอ แล้วก็ไม่มีอะไรเกี่ยวกับ Hierarchy of Needs ของ Maslow ซึ่งมีนักจิตวิทยาท่านหนึ่ง เคยวิจารณ์ไว้ว่า สามเหลี่ยมนั้นรูปร่างเหมือนบ๊ะจ่างด้วย
ศูนย์ประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ (ThaiFlood.com) อาสาดุสิต (ArsaDusit.com) และ เครือข่ายรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน ภาคประชาชน (PS-EMC) มีกำหนดนัดหมายอาจารย์มนัส หนูฉวี ปม.ก., วท.บ. ซึ่งเดินทางไกลมาจากสมุยเพื่องานนี้่ อาจารย์มนัสเป็นครูเก่า เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องธรรมชาติบำบัดโดยจุลินทรีย์ อธิบายหลักการได้ชัดเจน (คุยเรื่องการศึกษามันหยด แต่ไม่ได้ถ่ายไว้)
วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี (เมื่อวาน) สหประชาชาติกำหนดให้เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งธีมในปีนี้เป็นเรื่องป่า พื้นที่ป่าต้องเป็นหนึ่งในสามของพื้นที่ที่มีอยู่ (ด้วยตัวเลขอย่างเป็นทางการ เมืองไทยมีไม่ถึงหรอกครับ นี่ยังไม่นับการบุกรุก) วิกฤตแต่ละเรื่อง ใหญ่ทั้งนั้น วิกฤตสิ่งแวดล้อมนั้น แก้ไขได้ยากเนื่องจากการทำลายใช้เวลาเดี๋ยวเดียว แต่ว่าการฟื้นฟูนั้นกลับใช้เวลานาน บ่อยไปที่เป็นสิบปี อย่างไรก็ตาม วิกฤตเฉพาะหน้าของเมืองไทยในวันนี้ มีอยู่หลายเรื่อง แก้ไม่จบเสียที (หรือไม่ได้แก้ก็ไม่รู้)
วันนี้ทางศูนย์ประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ (ThaiFlood.com) อาสาดุสิต (ArsaDusit.com) และ เครือข่ายรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน ภาคประชาชน (PS-EMC) ชวนไปโยนลูกโบกาฉิ (EM Ball) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์พันธุ์พิเศษสำหรับแก้น้ำเสีย หวังว่าจะช่วยให้สถานการณ์แม่น้ำเจ้าพระยาเน่าจากการที่เรือบรรทุกน้ำตาลล่มที่อยุธยาดีขึ้นบ้าง แต่เรื่องอย่างนี้ต้องไปดูแห่ เมื่อเจอวิกฤตอยู่ต่อหน้าต่อตา จะน่ิงเฉยทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็ไม่ไหวแล้วครับ
บันทึกนี้ นอกจากจะ open source แล้ว ยัง open thought ด้วย
กรณีเรือบรรทุกน้ำตาลขนาด 2,400 ตัน ล่มตั้งแต่เช้าวันที่ 2 มิถุนายนที่บริเวณใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ต.ภูเขาทอง อ.พระนครศรีอยุธยา เรือจมค่อนมาทางตลิ่ง กระแสน้ำที่พัดมาเจอเรือที่ขวางทางน้ำอยู่ ก็แยกอ้อมเรือไปทั้งด้านกลางแม่น้ำและด้านริมตลิ่งด้วยความเร็ว ทำให้เซาะตลิ่งพังไป กระทบต่อบ้านเรือนชาวบ้าน; ตามข่าวบอกว่าสูบน้ำตาลออกจากเรือได้หมดเมื่อวันที่ 3 แล้ว
แต่ที่เกิดเป็นภัยก็คือน้ำตาลที่รั่วลงน้ำ ทำให้ค่าออกซิเจนที่ละลายน้ำ (dissolved oxygen หรือ DO) ลดลงสู่ระดับวิกฤต บางช่วงต่ำกว่า 1 มิลลิกรัมต่อลิตร (ต่ำกว่า 2-3 มก./ลิตร หรือ 2-3 ppm ก็เรียกว่าน้ำเน่าแล้ว) สัตว์น้ำที่หากินอยู่แถวผิวน้ำ อาจจะยังพอขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำได้ แต่ปริมาณ DO ที่ต่ำนั้น กระทบต่อสัตว์น้ำที่หากินอยู่แถวผิวดินก้นแม่น้ำ (ซึ่งปลาเหล่านี้มีลักษณะทางกายภาพแตกต่างออกไป) ตายเสียเป็นส่วนใหญ่เช่น กระเบนราหู ปลาลิ้นหมา ปลาม้า ปลากดคัง ตัวละ 10-30 กก. — น้ำตาลเป็นอาหารเลี้ยงจุลินทรีย์ พอจุลินทรีย์ยิ่งโต ยิ่งแบ่งตัว ก็ยิ่งใช้ DO ในน้ำ ทำให้ DO ลดลงต่ำมากจนสัตว์น้ำอื่นหายใจไม่ได้และตายยกแม่น้ำ