วัดปริมาณน้ำฝน

อ่าน: 6578

การวัดปริมาณน้ำฝนนั้น วัดความสูงของน้ำฝนในแท่งทรงกระบอก ที่ฝาเปิดแต่ก้นปิด จะกว้างเท่าไหร่ก็แล้วแต่ จะเป็นหลอดก็ได้ เป็นบีกเกอร์ก็ได้ มีปัญหาอย่างเดียวคือต้องเททิ้งบ่อยๆ

ทีนี้หากติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ห่างไกล ใครจะตามไปเทให้ล่ะครับ ก็จึงต้องหาวิธีทำเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนที่เทน้ำทิ้งเองได้ ซึ่งเรื่องนี้ก็ไม่ใช่ dissertation ระดับปริญญาเอกหรอกครับ

รูปซ้ายเป็นทรงกระบอกรับน้ำฝน ความลึกไม่สำคัญ เมื่อน้ำฝนตกผ่านปากวงกลม ก็จะไหลไปลงรู หยดลงไปชั้นข้างล่าง ซึ่งคือรูปขวา เป็นรูปสามเหลี่ยมสองอันหันหลังชนกัน เมื่อน้ำหยดจากรูลงมาในสามเหลี่ยม น้ำหนักของน้ำก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมากพอที่จะกระดกสามเหลี่ยม (ซ้าย-ขวา) เทน้ำออกจนหมด การนับปริมาณน้ำฝน ก็นับจำนวนครั้งที่กระดก แทนที่จะต้องไปวัดความสูงของน้ำฝน (ซึ่งยากกว่า แพงกว่า)

อ่านต่อ »


ปัญหาชวนคิดของน้ำป่า

อ่าน: 3612

อนุสนธิจากการประชุมกับกลุ่ม CSR โคราชเมื่อวันอาทิตย์ (บันทึกที่แล้ว) มีข้อมูลของคุณอลงกต ผอ.กองทุนวิจัยและอนุรักษ์ช้างไทย

คุณอลงกตอยู่ในพื้นที่ เดินป่า และรู้จักเจ้าหน้าที่อนุรักษ์ป่ารุ่นบุกเบิกมากมาย เล่าให้ฟังว่าน้ำท่วมคราวที่แล้ว ท่วมมิดหลังช้างซึ่งติดอยู่กับกอไผ่ ช้างต้องชูงวงขึ้นเหนือน้ำเอาตัวรอด จนเจ้าหน้าที่ไปช่วยแก้ไขนำออกมา

ในป่าเขาใหญ่ ลำน้ำที่ไปลงลำตะคองผ่านปากช่องนั้น ต้นน้ำอยู่ลึกเข้าไปในป่า กลางทางเป็นน้ำตกเหวสุวัต ความเร็วของกระแสน้ำตั้งแต่ต่นน้ำจนถึงน้ำตกเหวสุวัต พวกเจ้าหน้าที่อนุรักษ์ป่าเก่าๆ บอกว่าไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง แต่กระแสน้ำมีความเร็วสูงขึ้นมาก ตั้งแต่น้ำตกเหวสุวัตลงไปยังเขื่อนลำตะคอง ผ่านหมูสี ขนงพระ หนองน้ำแดง ปากช่อง จันทึก ทั้งนี้เป็นเพราะผู้คนเข้ามาตั้งบ้านเรือน ทำให้สภาพริมตลิ่งเปลี่ยนแปลงไป

เปลี่ยนอย่างไร: คุณอลงกตอธิบายว่าเมื่อก่อน ริมตลิ่งมี swamp (พื้นที่ปะทะของน้ำ) เมื่อน้ำป่าไหลบ่ามาชนตลิ่งที่คดเคี้ยว ก็จะไหลท่วมตลิ่งเข้าสู่ที่ลุ่มชุ่มน้ำ ลดความรุนแรงลง แล้วก็จะไหลออกไปตามแรงดึงดูด

ต่อมาเมื่อมีการตั้งบ้านเรือน พื้นที่ swamp ถูกปรับปรุง ถูกถม มีเขื่อน ทำให้น้ำป่าไหลบ่าไปตามทางน้ำ โดยไม่มีอะไรมาชะลอความเร็วลง ดังนั้นเมื่อฝนตกหนัก น้ำป่าใช้เวลาไม่นานที่จะไหลเข้าท่วมชุมชนในที่ต่ำกว่า ทำให้ชาวบ้านมีเวลาในการขนของหนีน้ำน้อย ข้าวของจึงเสียหายมาก

อ่านต่อ »


การประชุมกับ CSR โคราช

อ่าน: 3295

วันนี้ประชุมกับกลุ่ม CSR โคราชที่เขาใหญ่ ที่บ้านคุณเหน่งแม่ยกของกลุ่ม เริ่มประชุมตอนบ่ายสองโมง กลับออกจากเขาใหญ่เกือบสามทุ่ม จากการที่ได้พูดคุยเป็นเวลานาน พบว่ากลุ่มนี้ตั้งใจและทำงานจริงครับ (ถึงจะไม่เชื่อว่าผมถือศีล ๕ ซึ่งไม่ค่อยขาด ก็ขอให้เข้าใจด้วยว่าผมไม่ต้องอวยใครนะครับ อิอิ)

ไปโคราชคราวนี้ @iwhale ชวนไปแลกเปลี่ยนกับกลุ่มกลุ่มเครือข่ายเพื่อสังคมโคราช หรือเรียกง่ายๆ ว่ากลุ่ม CSR โคราช — เช่นเดียวกับในพื้นที่ต่างๆ กลุ่มที่มีความรับผิดชอบต่อท้องถิ่นนั้นมีกันอยู่มากมาย กลุ่ม CSR โคราชทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยไม่ได้แอ๊บประชาสัมพันธ์ธุรกิจหรือตัวบุคคล มีโครงสร้างจากหลากหลายกลุ่มย่อย มาร่วมกันทำงานพัฒนาท้องถิ่น; ถ้าหากกลุ่มต่างๆ ในท้องถิ่นสามารถรวมตัวกันเป็นภาคี (หมายความว่าทำงานด้วยเป้าหมายเดียวกัน แต่เป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกันและกัน) ก็จะเกิดการรวมพลังพัฒนาท้องถิ่นได้ โดยไม่ต้องแบ่งแยกว่าใครใหญ่ ใครดัง ผลงานของใคร

งานของกลุ่ม CSR โคราช ทำเรื่องเด็กและเยาวชนกับเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก แต่ที่ผมได้ข่าวคราวของกลุ่มนี้มาครั้งแรก ก็เป็นเมื่อตอนน้ำท่วมโคราชเมื่อปีที่แล้ว เขาระดมสรรพกำลังมาช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ทั้งรถออฟโรดที่เข้าพื้นที่ห่างไกล โครงการกู้นาฝ่าวิกฤตที่จัดการเรื่องพันธุ์ข้าวหลายสิบตันสำหรับนาที่ล่ม เจอกันในเวทีของภาคประชาชนหลายครั้ง ได้รับโอกาสเข้าไปเสนอ “โคราชโมเดล” ใน คชอ. เป็นต้น ตลอดจนเมื่อสถานการณ์ของโคราชพ้นวิกฤตแล้ว ก็ยังส่งความช่วยเหลือไปยังพื้นที่ประสบภัยอื่นๆ ด้วย มีการแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือภาคประชาชนกันเอง เมื่อตอนน้ำท่วมโคราช ชาวสุราษฎร์ยกมาช่วย เมื่อคราวน้ำท่วมสุราษฎร์ ชาวโคราชก็ยกไปช่วย ฯลฯ

อ่านต่อ »


บทเรียนจากโคราช

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 10 July 2011 เวลา 0:42 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้ #
อ่าน: 3412

เมื่อวานขึ้นมาโคราช จะประชุมร่วมกับส่วนหนึ่งของทีมอาสาสมัครในพื้นที่โคราช (CSR โคราช) ทีมนี้เป็นทีมเข้มแข็งครับ มีภาคีในพื้นที่อยู่พอสมควร มีกำลังในการบรรเทาทุกข์ เข้าถึงพื้นที่ประสบภัยลึกๆ ได้

แต่น้ำใจและความทุ่มเทเพื่อพลิกฟื้นชีวิตความเป็นอยู่ของชาวโคราช หลังจากเกิดอุทกภัยใหญ่เมื่อปีที่แล้วจะน่ายกย่อง แต่การกระทำในลักษณะนี้ เป็นเรื่องปลายเหตุแล้วครับ ฟังดูเหมือนแล้งน้ำใจเหลือเกิน แต่มันก็เป็นความจริงที่ว่าความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะบรรเทาหรือเยียวยาอย่างไร ก็ไม่เหมือนเดิมหรอกนะครับ

หากชาวโคราชและชาวบ้านตลอดลำน้ำมูล จะได้บทเรียนอะไรบ้างจากน้ำท่วมใหญ่เมื่อปีที่แล้ว ทุกคนควรจะหันไปมองเรื่องการป้องกันอย่างจริงจังขึ้น

อ่านต่อ »


กามนิต

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 9 July 2011 เวลา 0:01 ในหมวดหมู่ ดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม บันเทิง #
อ่าน: 4288

ผมเชื่อกรรมครับ มีเรื่องสะตอเบอรี่ ที่คนจิตอ่อน ติดดี หลงเชื่อไปโดยไม่ตรวจสอบ ไม่รู้จักฉุกคิด; ก็มาสงสัยว่าคนที่น่าจะดี กลายเป็นอย่างนี้ได้อย่างไร ผมมาปลงใจที่ “อัตตา” ทำให้เพี้ยนไป…

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ มักจะแปลกันว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน แต่แปลได้ว่า อัตตาเป็นที่พึ่งแห่งอัตตา เช่นกัน ทางจิตวิทยาว่าอัตตา(ego)พยายามปกป้องอัตตา พยายามสร้างคุณค่าสนองอัตตา แม้จะไม่จริงก็พยายามจะบอกตัวเองว่าจริง(จนเชื่อเองแฮะ) ซึ่งถ้าไม่เคลมก็คงไม่มีใครว่าอะไร แต่พอเคลมแล้วไม่ตรงกับความเป็นจริง ก็เป็นเรื่องซิครับ… ได้พยายามให้สติหลายครั้งแล้ว กด Like กันเต็มไปหมด แต่ก็ยังทำเหมือนเดิม… คงต้องวางอุเบกขาแล้วปล่อยไป… อุเบกขาไม่ใช่แอ๊บไร้เดียงสา อุเบกขานั้นรู้ผิดรู้ถูก แต่ไม่ยุ่งเรื่องที่ไม่เกิดประโยชน์ เช่นเรื่องอัตตาปลอมๆ… กรุณาอย่าถามว่าเรื่องราวเป็นมาอย่างไร เพราะเรื่องมันยาว ดราม่าไม่มีแบบตอนเดียวจบหรอกครับ ลากกันได้ทีละครึ่งค่อนปี…

กลับมาเรื่องกามนิต ซึ่งเป็นนิยายอิงพุทธศาสนา ข้อมูลจากวิกิพีเดียบอกว่า เรื่องเดิมชื่อ Der Pilger Kamanita แต่งโดยนักเขียนชาวเดนมาร์ก ในปี 2449 ผู้ซึ่ง 11 ปีให้หลัง ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม หนังสือกามนิตได้รับการยกย่องให้เป็นหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน ฉบับภาษาไทยแปลโดย เสฐียรโกเศศ–นาคะประทีป ในปีพ.ศ. 2473 มีรูปประกอบโดยอาจารย์ช่วง มูลพินิจ โดยแปลจากฉบับภาษาอังกฤษ (The Pilgrim Kamanita) ซึ่งแปลมาจากต้นฉบับภาษาเยอรมัน (Der Pilger Kamanita) อีกทอดหนึ่ง

อ่านต่อ »


คน(ที่)มักพูดเท็จ ไม่พึงทำบาป ย่อมไม่มี

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 8 July 2011 เวลา 0:16 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3535

คาถาธรรมบท โลกวรรคที่ ๑๓

[๒๓] บุคคลไม่พึงเสพธรรมอันเลว ไม่พึงอยู่ร่วมกับความประมาท ไม่พึงเสพมิจฉาทิฐิ ไม่พึงเป็นคนรกโลก ภิกษุไม่พึงประมาทในบิณฑะที่ลุกพึงขึ้นยืนรับ พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึงประพฤติให้ทุจริต ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า มัจจุราชย่อมไม่เห็นบุคคลผู้พิจารณาเห็นโลก ดุจบุคคลเห็นฟองน้ำเห็นพยับแดด ฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงมาดูโลกนี้อันวิจิตรเปรียบด้วยราชรถที่พวกคนเขลาหมกอยู่ [แต่] พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่ ก็ผู้ใดประมาทแล้วในกาลก่อน ในภายหลังผู้นั้นย่อมไม่ประมาท เขาย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น ผู้ใดทำกรรมอันลามกผู้นั้นย่อมปิด [ละ] เสียได้ด้วยกุศล บุคคลนั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น โลกนี้มืดมน ในโลกนี้น้อยคนที่จะเห็นแจ้ง สัตว์ไปสวรรค์ได้น้อยดุจนกพ้นจากข่าย ฝูงหงส์ย่อมไปในทางพระอาทิตย์ ท่านผู้เจริญอิทธิบาทดีแล้ว ย่อมไปในอากาศด้วยฤทธิ์ นักปราชญ์ทั้งหลายชนะมารพร้อมทั้งพาหนะได้แล้ว ย่อมออกไปจากโลก คนล่วงธรรมอย่างเอกเสียแล้ว เป็นคนมักพูดเท็จ ข้ามโลกหน้าเสียแล้ว ไม่พึงทำบาป ย่อมไม่มี คนตระหนี่ย่อมไปสู่เทวโลกไม่ได้เลย คนพาลย่อมไม่สรรเสริญทานโดยแท้ ส่วนนักปราชญ์อนุโมทนาทาน เพราะการอนุโมทนาทานนั่นเอง ท่านย่อมเป็นผู้มีความสุขในโลกหน้า โสดาปัตติผลประเสริฐกว่าความเป็นพระราชาเอกในแผ่นดิน กว่าความไปสู่สวรรค์ และกว่าความเป็นอธิบดีในโลกทั้งปวง ฯ

จบโลกวรรคที่ ๑๓

อ่านต่อ »


รอบปีที่สามในการเป็นบล็อกเกอร์ที่ลานปัญญา

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 7 July 2011 เวลา 0:00 ในหมวดหมู่ ลานปัญญา #
อ่าน: 3010

วันนี้ครบรอบสามปีของลานซักล้างซึ่งเป็นบล็อกแรกของลานปัญญาครับ

ผมเริ่มเขียนตั้งแต่เซอร์เวอร์ยังอยู่อเมริกา ปีแรกเขียนอยู่ 470 บันทึก เขียนทุกวันไม่เคยขาด มีคำอธิบายเกี่ยวกับการใช้งานลานปัญญามากหน่อย เพราะตอนนั้นอะไรๆ ก็ใหม่สำหรับสมาชิก ปีที่สองเดินทางเยอะ บางจังหวะเขียนไม่สะดวก แต่ก็มี 343 บันทึก เป็นเรื่องที่ผมพบเห็นมาแล้วฉุกใจ ส่วนปีที่สามนี่ บ้าได้ที่ มีอีก 371 บันทึก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องภัยพิบัติ​ ซึ่งมีอย่างต่อเนื่องตลอดปี

ทุกบันทึก ผมพยายามไม่ให้เป็นเรื่องเฉพาะกาล-อ่านครั้งเดียวแล้วผ่านไปเลย แต่ว่าพยายามเขียนให้บันทึกทันสมัยอยู่เสมอ ใครเข้ามาอ่านในภายหลังก็ยังได้อะไรไปบ้าง บันทึกที่ได้รับความนิยมสูงสุดยังคงเป็น [สุภาษิตสอนหญิง (ฉบับเต็ม) - สุนทรภู่] ซึ่งขณะนี้มีเกือบหมื่นแปดพัน pageviews เรื่องนี้น่าแปลกใจ เพราะลานปัญญาไม่ได้เป็นเว็บที่เด่นดังอะไร ไม่โปรโมท แถมแต่ละบล็อกก็หนักๆ ทั้งนั้น มี signal-to-noise ratio สูงผิดปกติ เข้มข้นมากจนมีผู้เสพลานปัญญาไม่มากหรอกครับ แต่เราไม่เชื่อในลัทธิกะปิ (KPI) ตัวเลขต่างๆ ไม่สำคัญเท่ากับว่าแต่ละบันทึก แต่ละบล็อกให้อะไรไว้กับผู้อ่านบ้าง

ผมยังชอบลานปัญญาในแบบที่เป็นอยู่ คือไม่มากจนเฝือ เบิ้ลกันไปมา เป็นสังคมเล็กๆ ที่รู้จักกันเป็นส่วนใหญ่ ถ้าจะคบกันนานๆ ของจริงจะหลุดออกมาเองเมื่อเวลาผ่านไป อีกทั้งสังคมลานปัญญามีวุฒิภาวะทางอารมณ์สูง ดังนั้นเรายอมรับสมาชิกอื่นในแบบที่เขาเป็นได้อยู่แล้ว

คุณค่าของบันทึก ไม่ได้อยู่ที่ตัวบันทึก แต่เป็นการร่วมกันเรียนรู้ในความคิดเห็นต่างหากครับ การเรียนในลานปัญญาไม่ใช่การ lecture โดยอาจารย์เขียนบันทึก นักเรียนอ่านเพื่อเชื่อฟัง (ไม่อย่างนั้นสอบตก) เราก้าวข้ามมาสู่การเรียนรู้ด้วยตนเอง สอบถาม-โต้แย้งเพื่อความกระจ่าง ดังนั้นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจึงสำคัญมากนะครับ


รูปที่(ไม่)มีทุกบ้าน

12 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 6 July 2011 เวลา 7:52 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3830

ตามบ้านเรือนอาจจะมีพระบรมฉายาลักษณ์หรือพระบรมสาทิสลักษณ์ประดับอยู่ แต่พระบรมฉายาลักษณ์นี้ ติดอยู่ที่บ้านมาหลายปีแล้วครับ แม่ไปเอามาจากไหนก็ไม่รู้ แดดเช้าเข้าข้างหลังกล้อง แสงจ้าไปหน่อย


อ.เวียงสา จ.น่าน

อ่าน: 3937

เมื่อวาน ได้โอกาสดีที่ได้เรียนประสบการณ์จากทีม #thaiflood และ #arsadusit ที่ลงพื้นที่ จ.น่าน และ จ.สุโขทัย

แม้จะได้คุยเป็นเวลาสั้นๆ แต่มีประเด็นชวนคิด คือ อ.เวียงสาทางใต้ของ อ.เมืองนั้น ยังน้ำท่วมหนัก เริ่มเน่าเสีย ท่วมซ้ำซาก (ธรรมดาท่วมเดือน 8 ทุกปี) เพื่อที่จะดูให้ชัด ก็ต้องกลับไปดูแผนที่ครับ

อ่านต่อ »


ดินหรือหัว

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 July 2011 เวลา 23:40 ในหมวดหมู่ ดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม บันเทิง #
อ่าน: 2550

กว่าจะเป็นชิ้นงาน ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ หรอกครับ
ดินเปลี่ยนเป็นหัว หรือว่าดินยังเป็นดิน



Main: 0.18455719947815 sec
Sidebar: 0.96515488624573 sec