คน(ที่)มักพูดเท็จ ไม่พึงทำบาป ย่อมไม่มี

โดย Logos เมื่อ 8 July 2011 เวลา 0:16 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3507

คาถาธรรมบท โลกวรรคที่ ๑๓

[๒๓] บุคคลไม่พึงเสพธรรมอันเลว ไม่พึงอยู่ร่วมกับความประมาท ไม่พึงเสพมิจฉาทิฐิ ไม่พึงเป็นคนรกโลก ภิกษุไม่พึงประมาทในบิณฑะที่ลุกพึงขึ้นยืนรับ พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึงประพฤติให้ทุจริต ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า มัจจุราชย่อมไม่เห็นบุคคลผู้พิจารณาเห็นโลก ดุจบุคคลเห็นฟองน้ำเห็นพยับแดด ฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงมาดูโลกนี้อันวิจิตรเปรียบด้วยราชรถที่พวกคนเขลาหมกอยู่ [แต่] พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่ ก็ผู้ใดประมาทแล้วในกาลก่อน ในภายหลังผู้นั้นย่อมไม่ประมาท เขาย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น ผู้ใดทำกรรมอันลามกผู้นั้นย่อมปิด [ละ] เสียได้ด้วยกุศล บุคคลนั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น โลกนี้มืดมน ในโลกนี้น้อยคนที่จะเห็นแจ้ง สัตว์ไปสวรรค์ได้น้อยดุจนกพ้นจากข่าย ฝูงหงส์ย่อมไปในทางพระอาทิตย์ ท่านผู้เจริญอิทธิบาทดีแล้ว ย่อมไปในอากาศด้วยฤทธิ์ นักปราชญ์ทั้งหลายชนะมารพร้อมทั้งพาหนะได้แล้ว ย่อมออกไปจากโลก คนล่วงธรรมอย่างเอกเสียแล้ว เป็นคนมักพูดเท็จ ข้ามโลกหน้าเสียแล้ว ไม่พึงทำบาป ย่อมไม่มี คนตระหนี่ย่อมไปสู่เทวโลกไม่ได้เลย คนพาลย่อมไม่สรรเสริญทานโดยแท้ ส่วนนักปราชญ์อนุโมทนาทาน เพราะการอนุโมทนาทานนั่นเอง ท่านย่อมเป็นผู้มีความสุขในโลกหน้า โสดาปัตติผลประเสริฐกว่าความเป็นพระราชาเอกในแผ่นดิน กว่าความไปสู่สวรรค์ และกว่าความเป็นอธิบดีในโลกทั้งปวง ฯ

จบโลกวรรคที่ ๑๓

« « Prev : รอบปีที่สามในการเป็นบล็อกเกอร์ที่ลานปัญญา

Next : กามนิต » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น

  • #1 BM.chaiwut ให้ความคิดเห็นเมื่อ 8 July 2011 เวลา 7:05

    คาถาธรรมบท ในวรรคหนึ่งๆ นั้น จะแยกออกเป็นชุดๆ ซึ่งแต่ละชุดมี ๑ คาถา หรือ ๒-๓ คาถาขึ้นไปก็มี…

    เฉพาะตามที่ยกมา….

    บุคคลไม่พึงเสพธรรมอันเลว ไม่พึงอยู่ร่วมกับความประมาท ไม่พึงเสพมิจฉาทิฐิ ไม่พึงเป็นคนรกโลก (หนึ่งคาถา)

    ภิกษุไม่พึงประมาทในบิณฑะที่ลุกพึงขึ้นยืนรับ พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า (หนึ่งคาถา)

    …ฯลฯ….

    ในพระไตรปิฏกตามที่คุณโยมคัดมานั้น ท่านมิได้แยกชุดไว้ จึงทำให้อ่านค่อนข้างจะเข้าใจยาก ประเด็นนี้ มิใช่บกพร่องที่คุณโยม แต่บกพร่องที่ผู้นำเสนอในพระไตรปิฏกฉบับแปล ท่านคงจะแปลให้คนฉลาดเหมือนท่านศึกษา มิได้คิดว่าคนที่ไม่ได้เรียนรู้และฉลาดเทียบเท่าท่านนั้น ยังมีอีกเยอะ…

    ขออีกหน่อย… แม้ในคาถาอื่นๆ ในพระไตรปิฏกแปลทั่วไป ก็ทำนองเดียวกัน คาถามจะนำเสนอเรื่องราวเป็นชุดๆ ซึ่งผู้ฉลาดต้องแยกแยะเอาเอง บางทีเอาต่างชุดมาเชื่อมเป็นชุดเดียวกัน ทำให้ความเข้าใจผิดเกิดขึ้นได้…

    เจริญพร

  • #2 ป้าหวาน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 8 July 2011 เวลา 12:46

    สาธุ

  • #3 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 8 July 2011 เวลา 17:37
    ผมคิดว่าโดยความต่อเนื่องของเนื้อความแล้ว ถึงไม่ย้อนกลับไปดูบาลี (โลกวรรค มี 12 คาถา จบด้วย ฯ) ผู้ที่ศึกษาและสังเกต น่าจะพอแยกแยะได้ครับ พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐนี้ เป็นการชำระและจัดพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ.2468-2473 ซึ่งภาษาไทยในสมัยนั้น ก็เขียนกันยาวๆ ไม่ค่อยแยกย่อหน้าครับ

    • บุคคลไม่พึงเสพธรรมอันเลว ไม่พึงอยู่ร่วมกับความประมาท ไม่พึงเสพมิจฉาทิฐิ ไม่พึงเป็นคนรกโลก
    • ภิกษุไม่พึงประมาทในบิณฑะที่ลุกพึงขึ้นยืนรับ พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า
    • พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึงประพฤติให้ทุจริต ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า
    • มัจจุราชย่อมไม่เห็นบุคคลผู้พิจารณาเห็นโลก ดุจบุคคลเห็นฟองน้ำเห็นพยับแดด ฉะนั้น
    • ท่านทั้งหลายจงมาดูโลกนี้อันวิจิตรเปรียบด้วยราชรถที่พวกคนเขลาหมกอยู่ [แต่] พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่
    • ก็ผู้ใดประมาทแล้วในกาลก่อน ในภายหลังผู้นั้นย่อมไม่ประมาท เขาย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น
    • ผู้ใดทำกรรมอันลามกผู้นั้นย่อมปิด [ละ] เสียได้ด้วยกุศล บุคคลนั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น
    • โลกนี้มืดมน ในโลกนี้น้อยคนที่จะเห็นแจ้ง สัตว์ไปสวรรค์ได้น้อยดุจนกพ้นจากข่าย
    • ฝูงหงส์ย่อมไปในทางพระอาทิตย์ ท่านผู้เจริญอิทธิบาทดีแล้ว ย่อมไปในอากาศด้วยฤทธิ์ นักปราชญ์ทั้งหลายชนะมารพร้อมทั้งพาหนะได้แล้ว ย่อมออกไปจากโลก
    • คนล่วงธรรมอย่างเอกเสียแล้ว เป็นคนมักพูดเท็จ ข้ามโลกหน้าเสียแล้ว ไม่พึงทำบาป ย่อมไม่มี
    • คนตระหนี่ย่อมไปสู่เทวโลกไม่ได้เลย คนพาลย่อมไม่สรรเสริญทานโดยแท้ ส่วนนักปราชญ์อนุโมทนาทาน เพราะการอนุโมทนาทานนั่นเอง ท่านย่อมเป็นผู้มีความสุขในโลกหน้า
    • โสดาปัตติผลประเสริฐกว่าความเป็นพระราชาเอกในแผ่นดิน กว่าความไปสู่สวรรค์ และกว่าความเป็นอธิบดีในโลกทั้งปวง ฯ

    การแปลอีกสำนวนหนึ่ง:บาลี-ไทย-อังกฤษ สารบัญ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.11036491394043 sec
Sidebar: 0.15471720695496 sec