หลุมหลบภัย

อ่าน: 4440

ข่าวการสู้รบที่ชายแดนแสดงอาการไม่ค่อยดี มีพลเรือนได้รับผลกระทบโดยตรงด้วย ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม

รูปทรงเรขาคณิตที่รับแรงได้ดีที่สุดคือทรงกลม ซึ่งสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมันเคยใช้บังเกอร์ส่วนตัวเป็นรูปทรงกลม แต่บังเกอร์แบบนี้ก็มีปัญหาในตัวเอง คืออยู่ได้คนเดียว ไม่เหมาะสำหรับเป็นที่หลบภัยสำหรับพลเรือนจำนวนมาก

บังเกอร์ที่ตั้งอยู่บนพื้น จะเป็นเป้าหมายของกระสุน จึงควรลงไปหลบอยู่ใต้ดินมากกว่า โดยขุดดินลงไปให้กว้างพอ แต่ไม่ต้องลึกนัก เป็นลักษณะแบบสนามเพลาะ เอาไว้หลบอย่างเดียว

สนามเพลาะแบบเปิดด้านบน สร้างง่าย รวดเร็ว แต่ไม่สามารถจะกันสะเก็ดจากด้านบนได้ ระเบิดจากกระสุนปืนใหญ่ จรวด หรือระเบิดจากเครื่องบิน ระเบิดขึ้นด้านบน แต่ส่งแรงอัดไปยังดินด้วย แม้แรงส่วนใหญ่ (น่าจะ) ลงในแนวดิ่ง แต่ก็มีแรงที่ส่งออกทางด้านข้างด้วยเหมือนกัน

ดังนั้นหากใช้ท่อระบายน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.2 เมตร วางลงไปในสนามเพลาะที่ขุดขึ้น แล้วเอาดินกลบตรงกลางโดยเปิดหัว-ท้ายไว้ ก็จะเป็นบังเกอร์อย่างดี

อ่านต่อ »


ดัชนีชี้วัดความเจริญก้าวหน้า

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 6 February 2011 เวลา 15:30 ในหมวดหมู่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี #
อ่าน: 4822

เมื่อปี 2507 นักบินอวกาศรัสเซียชื่อ Nicolai Kardashev เสนอแนวคิดวัดความก้าวหน้าของอารยธรรม โดยพิจารณาจากความสามารถในการใช้พลังงาน เรียกเป็น Kardashev scale แบ่งเป็น Type I II และ III ครับ

Type I คืออารยธรรมที่สามารถใช้พลังงานในดาวเคราะห์ดวงหนึ่งได้ทั้งหมด; โลกมีพลังงาน 1.74 x 1017 วัตต์ (ส่วนใหญ่ได้รับจากดวงอาทิตย์ บวกกับอย่างอื่นอีกเล็กน้อย)

Type II คืออารยธรรมที่สามารถจะใช้พลังงานจากดาวฤกษ์ดวงหนึ่งได้ทั้งหมด มีค่าประมาณ 4 x 1026 วัตต์; ดวงอาทิตย์ปล่อยพลังงานประมาณ 3.86 x 1026 วัตต์

ส่วน Type III คืออารยธรรมที่ใช้พลังงานได้เท่ากับพลังงานของกาแลกซี่ หรือประมาณ 4 x 1037 วัตต์ ซึ่งตัวเลขนี้อาจจะกว้างมาก เนื่องจากกาแลกซี่มีขนาดที่ไม่เท่ากัน ซึ่งตัวเลข 4 x1037 วัตต์นี้ เป็นค่าประมาณพลังงานของกาแลกซี่ทางช้างเผือก

อาจจะเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า มนุษยชาติมีอารยธรรมในระดับดวงดาวหรือไม่ เพราะยังมีการรบราฆ่าฟันแย่งชิงกันอยู่ เมื่อเก็บเกี่ยวพลังงานมาใช้ได้มากๆ หากใช้ในการรบราฆ่าฟันแย่งชิงกัน ก็จะเป็นอันตรายร้ายแรงได้ Carl Segan เองก็สนใจในแง่ที่ว่าการแปะป้ายว่าเป็น I II หรือ III นั้น เหมือนการจัดกลุ่ม ไม่มีความต่อเนื่อง ดังนั้นเขาก็เสนอวิธีซอยย่อยดัชนีให้เป็นตัวเลข ตามสูตร:

อ่านต่อ »


น้ำใต้ดิน

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 5 February 2011 เวลา 14:41 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 3704

รูปนี้ เคยเอามาให้ดูครั้งหนึ่งแล้ว ซึ่งเป็นความจริงอันโหดร้ายว่าเราใช้แต่น้ำผิวดินซึ่งมีอยู่น้อยมากครับ

ตามพรมแดนธรรมชาติที่ใช้สันปันน้ำแบ่งเขตแดน เช่นตั้งแต่ อ.สิรินธร อุบลราชธานี จน อ.กาบเชิง สุรินทร์ มีภูเขาเป็นพื้นที่รับน้ำ มีต้นไม้บนภูเขาบางส่วนชะลอน้ำไว้ ทำให้น้ำฝนที่ไหลมาตามความลาดเอียงของภูเขา ซึมลงใต้ดินได้บ้าง กลายเป็นน้ำใต้ดิน สามารถเอามาใช้ได้

อ่านต่อ »


เที่ยวงานเกษตรแฟร์ 2554

8 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 February 2011 เวลา 17:44 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 3749

เป็นที่รู้กันว่างานเกษตรแฟร์ แน่นทุกปีครับ ปีนี้ก็แน่นอีก

เดินเรื่อยเปื่อย ไปดูขนมก่อนเลย ปรากฏว่าหาเผือกทอดไม่เจอ ไม่รู้ย้ายร้านไปอยู่โซนไหน ตรงที่เคยขายอยู่ กลายเป็นมะขามทั้งถนน คือทุกร้านขายแต่มะขาม บนถนนมีแต่เม็ดมะขาม เดินไปหาตามโซนอาหารก็ไม่เจอ

ทีนี้ก็เลยเดินเรื่อยเปื่อยไปถึงโซนเครื่องมือการเกษตร ได้เลื่อยอันเล็กๆ มาอันหนึ่ง ตัดไม้ ตัดตะปู ตัดเหล็ก ตัดท่อพีวีซี ตัดอะลูมิเนียม ตัดขวด ตัดกระจก และตัดกระเบื้องได้ ได้ทั้งแนวตรงและแนวโค้ง ก็เลยซื้อมา ยังไม่รู้เหมือนกันว่าจะเอาไปทำอะไรดีครับ

ซื้อหน่อกล้วยไข่มาสองหน่อ แม่ขอบกินกล้วยใบเล็กๆ บอกว่ากล้วยใบใหญ่เช่นกล้วยน้ำว้่า กินไม่หมด กล้วยเล็บมือนางที่ไปซื้อจากงานนิทรรศการกล้วยกับ อ.แฮนดี้และครูบาเมื่อปีที่แล้ว มีลูกแล้ว แต่ไม่ค่อยได้กินเพราะปลูกไว้นอกบ้าน มีคนผ่านมาตัดไปกินหมด เช่นเดียวกับมะรุม และหน่อไผ่

พอเริ่มเย็นลง ก็เลยออกมาจากงาน ควักโทรศัพท์มาดู มีข้อความอันหนึ่ง

พ่อจะฝากซื้อต้นมะขามป้อมยักษ์+ต้นมะ?ยักษ์ อย่างละ 1 ต้น ถ้าป๋าได้ไปงานเกษตรแฟร์นะคะ หนูอยู่ระยองเลยไปให้บ่ได้ค่ะ

เวรละซิ ขับรถออกมาตั้งนานแล้ว จะวกกลับไป ก็กลัวจะมืดเสียก่อน หาที่จอดยากมาก พรุ่งนี้ ถ้าไม่มีอะไรทำ ก็จะไปให้อีกทีนะครับครูบา ว่าแต่ว่าต้นมะขามป้อมยักษ์ กับต้น มะ?ยักษ์ นี่ขายกันอยู่ตรงไหนล่ะครับ


เที่ยวงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2554

9 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 3 February 2011 เวลา 16:40 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 3862

เมื่อคืน ระหว่างพายุเข้ารัฐควีนส์แลนด์ในออสเตรเลีย กับมีการประท้วง+ปะทะในอียิปต์ ผมก็นั่งคิดอยู่ว่าจะไปเที่ยวงานเกษตรแฟร์หรืองานวันนักประดิษฐ์ดี ในที่สุดก็เลือกเอางานหลังเพราะว่างานจะจบก่อนงานเกษตรแฟร์สองวัน

งานอย่างนี้ สนุกตรงที่ได้ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเด็กและอาจารย์ครับ เราน่ะคิดไม่เหมือนเขาหรอก (หรือเขาคิดไม่เหมือนเราหว่า)

ผมชอบงานประดิษฐ์แบบที่ชาวบ้านทำเองได้ ไม่ต้องลงทุนมาก ประสิทธิภาพไม่สูงสุดก็ยังไม่เป็นไรตราบใดที่ทำเองได้ไม่เหลือวิสัย ถ้าชาวบ้านทำเองแล้วได้ประสิทธิภาพสูง ก็ยิ่งดีครับ

งานประดิษฐ์กลับมุ่งไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรม ประสิทธิภาพสูง ลงทุนสูง แต่อยู่เกินเอื้อมของชาวบ้าน มีจำนวนคนที่ได้ประโยชน์น้อยกว่า

อ่านต่อ »


IPv4 หมดแล้ว

อ่าน: 4328

อินเทอร์เน็ตทำงานด้วยการเชื่อมต่อจาก IP address อันหนึ่ง ไปสู่อีกอันหนึ่ง เป็นเหมือนบ้านเลขที่ ที่จะบอกว่าส่งจากไหนไปไหน และจะส่งผลลัพท์กลับมาอย่างไร ถ้าไม่มี IP address อินเทอร์เน็ตทำงานไม่ได้ครับ

IANA เป็นองค์กรกลางที่คอยดูแลรักษาหมายเลขต่างๆ ที่ยังทำให้อินเทอร์เน็ตทำงานอยู่ได้ รวมทั้ง IP address ด้วย โดย IANA แจ้งว่าได้แจกจ่าย IP address บล็อคใหญ่ (/8) ซึ่งเหลืออยู่ 7 ก้อนให้แก่ APNIC (ศูนย์ดูแลระดับภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก) จำนวนสองก้อน จึงเหลือ /8 อยู่ห้าก้อน

และตามนโยบายของ ICANN ซึ่งดูแลความเป็นไปของการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งหมด เมื่อเหลือ IP address อยู่น้อยแล้ว IANA จะต้องแจกจ่ายก้อนสุดท้ายไปยังศูนย์ภูมิภาคทั้งหมดอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้นศูนย์ภูมิภาคทั้งห้า คือ ARIN (ทวีปอเมริกาเหนือ) LACNIC (ละตินอเมริกา) RIPE (ยุโรป ตะวันออกกลาง และเอเซียกลาง) AFRNIC (อัฟริกา) และ APNIC (เอเซีย-แปซิฟิค) ก็จะได้รับการจัดสรร IP address ก้อนสุดท้าย ศูนย์ละหนึ่งก้อน /8 ซึ่งถ้าหมดแล้ว ก็จะไม่มี IPV4 ให้อีก (มีทางออกอื่น แต่ไม่สะดวกเหมือน IPv4) — เรื่องนี้ เคยเขียนเตือนไว้ใน [โลกที่ปราศจากอินเทอร์เน็ต]

ดูเหมือนว่า APNIC ที่เมืองไทยอยู่ด้วยนี้ จะได้รับ IP address ใหม่มาสามก้อน แต่ถ้าดูให้ดีแล้ว ขอบเขตของ APNIC มีประเทศที่พลเมืองล้นหลามเกินพันล้านคนคือ จีน และอินเดีย และยังมีประเทศที่มีพลเมืองขนาดเกินร้อยล้านคนอีกหลายประเทศ คือ อินโดนีเซีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ญี่ปุ่น แถมด้วยประเทศที่มีประชากรเข้าใกล้ร้อยล้านคนอีกไม่น้อย เช่น ฟิลลิปปินส์ เวียดนาม ไทย… เมื่อสิบกว่าปีก่อน เคยคุยกับศาสตราจารย์จากจีนซึ่งดูแลแผนของประเทศ เขาบอกว่าแค่เดินตามแผน แค่เชื่อมต่อมหาวิทยาลัยของจีนเข้าสู่อินเทอร์เน็ตทั้งหมด IP address ในเวลานั้นก็มีไม่พอแล้ว

ด้วยจำนวนประชากร ตลอดจน “การพัฒนา” ในประเทศต่างๆ ทั่วทั้งภูมิภาค IP address ที่ APNIC ได้มา ก็น่าจะหมดไปอย่างรวดเร็วกว่าศูนย์อื่นๆ

อ่านต่อ »


ปรากฏการณ์ลิงตัวที่ร้อย

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 2 February 2011 เวลา 0:15 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4616

ปรากฏการณ์ลิงตัวที่ร้อย กล่าวถึงจุดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม

แม้จะเป็นองค์ความรู้ที่มีประโยชน์ หรือเป็นนวัตกรรมใหม่ในสังคม สมาชิกของสังคมก็ดูเหมือนจะเพิกเฉย จนกระทั่งมีคนทำเป็นจำนวนมากจนพอเกิดเป็นกระแส

มีเรื่องเล่าอยู่ว่า

ในป่าบนเกาะเล็กๆ ในญี่ปุ่นหลังสงครามโลก มีลิงพันธุ์พื้นเมืองอยู่ชนิดหนึ่ง เมื่อปี 2495 นักวิทยาศาสตร์เข้าไปสำรวจ และหยิบยื่นมะเขือเทศหวานให้แก่ลิงเหล่านี้ เผอิญมะเขือเทศตกลงทรายหมดเลย ลิงน่ะชอบรสชาติของมะเขือเทศ แต่ทรายรสชาติแย่มาก ลิงเด็กตัวหนึ่งเกิดค้นพบวิธีแก้ปัญหา คือนำมะเขือเทศที่เปื้อนทราย ไปล้างยังลำธารใกล้ๆ ก็ได้กินมะเขือเทศหวานฉ่ำ ลูกลิงตัวนี้จึงสอนแม่ของเธอ บรรดาเพื่อนเล่นก็ได้เรียนวิธีการนี้ด้วย แล้วก็ไปสอนบรรดาแม่ของตัวอีกต่อหนึ่ง ปรากฏการณ์นี้ เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตานักวิทยาศาสตร์ผู้เฝ้าสังเกตอยู่

ผ่านไปหลายปี ลูกลิงต่างเรียนรู้วิธีกินมะเขือเทศที่อร่อยถูกปากกันหมด แต่ลิงแก่ที่ไม่ยอมเลียนแบบ ก็ยังคงกินมะเขือเทศปนทรายต่อไป หกปีต่อมา มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ ตอนนั้นมีลิงที่เรียนรู้วิธีการล้างมะเขือเทศอยู่จำนวนเท่าไหร่ไม่ทราบแน่ สมมุติว่า 99 ตัวก็แล้วกัน แต่พอมีลิงตัวที่ 100 เรียนรู้่ว่าการล้างมะเขือเทศทำให้มะเขือเทศอร่อยกว่า ลิงทุกตัวในฝูงต่างล้างมะเขือเทศก่อนกินกันทั้งนั้น แม้แต่ตัวที่เคยเห็นวิธีการแต่ไม่เคยล้าง ก็กลับมาล้างด้วย

การที่ลิงตัวที่ 100 เรียนรู้การล้างมะเขือเทศ นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมลิง ไม่เฉพาะแค่ล้างมะเขือเทศเป็นนิสัยเท่านั้น แต่ความรู้อันนี้ ยังกระจายข้ามเกาะไปด้วย โดยลิงในเกาะอื่นๆ และที่เกาะใหญ่ของญี่ปุ่น ก็เริ่มล้างมะเขือเทศด้วย

ในเชิงสังคมวิทยา เขาอธิบายว่าเมื่อสมาชิกในสังคมเกิดความตระหนักรู้ใหม่ขึ้นจนถึงระดับหนึ่ง (ระดับมวลวิกฤต) ความรู้นี้จะแพร่กระจายอย่างไฟลามทุ่ง…แต่ถ้าความรู้ใหม่นี้ ถูกจำกัดอยู่ในวงแคบๆ มันก็จะเป็นความรู้พิเศษของผู้สูงส่งอยู่ต่อไป หากความรู้นี้แพร่กระจายออกสู่คนจำนวนมาก ก็จะกลายเป็นความตระหนักรู้สาธารณะ

หนังสือ The Hundredth Monkey ฉบับเต็ม


วอลเปเปอร์ถุงขนมแก้หนาว

อ่าน: 4459

หนาวจนจะหมดหนาวอยู่แล้ว แต่ผมยังติดใจเรื่องผ้าห่มที่ทำจากหนังสือพิมพ์อยู่ครับ หมึกพิมพ์มีตะกั่ว จึงไม่เหมาะจะเอามาทำผ้าห่ม หรือปิดฝาบ้านกันลมเย็นจากรอยแยกในฝาบ้าน

แต่เมืองไทยนี้ มีวัฒนธรรมกินขนมแบบฉีกซองที่จริงจังมาก ระบาดไปทั่วทุกหัวระแหง หมึกพิมพ์บนซองขนมไม่เลอะเทอะ แถมซองก็ต้องทิ้งอยู่แล้ว ทำไมไม่เอามาต่อกันเป็นแผ่นใหญ่ๆ แปะฝาบ้านกันความเย็นจากภายนอก และรักษาความอบอุ่นไว้ภายใน

ไอเดียนี้ เริ่มมาจากที่มีคำแนะนำให้คนไม่มีที่อยู่ ที่อาศัยนอนตามถนนในเมืองที่มีอากาศหนาวจัด ใช้ผ้าห่มฉุกเฉินรักษาความอบอุ่นของร่างกาย… อืม แล้วจะไปเอาผ้าห่มมาจากไหน ก็เลยมีชาวบ้านแนะนำซ้อนขึ้นมาอีกทีหนึ่ง บอกว่าทำเองดิ

เอาถุงขนมห่อที่ทิ้งแล้ว มาล้างและตัดให้แผ่ออก จากนั้นก็ปะเทปผสานกันหลายๆ ถุง กลายเป็นผืนใหญ่… ดูไปก็ง่ายดีครับ ทำเป็นสุ่มไก่แทนเสื้อกันหนาวก็ไม่เลว



Main: 0.04953408241272 sec
Sidebar: 0.14852595329285 sec