เรือส่วนตัวราคาถูก

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 3 October 2011 เวลา 23:39 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 6505

เดินทางในน้ำท่วม เรามักจะนึกถึงเรือก่อนเสมอ แล้วก็เป็นเรือ “ตามรูปแบบ” ที่ไม่ได้เตรียมไว้่ล่วงหน้าเสียด้วยสิ ก็เลยไม่รู้จะทำอะไร นั่งทอดอาลัยกับความเสียหาย

เรือไฟเบอร์แพงตามระดับน้ำ แถมแพก็หาไม้ไผ่ไม่ได้ จะใช้พีวีซีก็หลังละพันกว่าสองพัน แล้วถ้าจะกดราคาให้ต่ำกว่าลำละพันบาท จะทำได้ไหม… ได้อยู่แล้วครับ ไม่งั้นผมก็ไม่เขียนหรอก แต่ว่ามีเงื่อนไขคือเรือประกอบเองอย่างนี้ นั่งได้ พายได้ ถ่อได้ แต่ใช้ในน้ำเชี่ยวไม่ได้ เพราะใช้แรงคนซึ่งไม่สามารถต้านทานแรงน้ำไหว (อย่าซ่าเด็ดขาด) เสถียรภาพของเรือ ขึ้นกับน้ำหนักที่ถ่วงลงต่ำตรงกลางลำเรือ ถ้าหนักมากก็จะมีเสถียรภาพมาก แต่น้ำหนักบรรทุกน้อยลงเพราะแรงลอยตัวที่เกิดขึ้น ต้องไปแบกน้ำหนักถ่วงด้วย

การกดราคาให้ต่ำวิธีของคืนนี้คือใช้ไม้หรือท่อพีวีซีขนาดเล็กต่อเป็นโครง แล้วสร้างผิวกันน้ำที่เหนียวโดยใช้ Duct Tape

อ่านต่อ »


ตามมีตามเกิด

อ่าน: 5308

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายคำว่า ตามมีตามเกิด ไว้ว่า “สุดแต่กำลังความสามารถอันน้อยเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้น” ตรงข้ามกับความหมายของคำว่า งอมืองอตีน ซึ่งพจนานุกรมแปลว่า “เกียจคร้าน, ไม่สนใจขวนขวายทำการงาน, ไม่คิดสู้”

ในภาวะวิกฤตนั้น เรื่องที่มีอันตรายร้ายแรงแต่ไม่ค่อยพูดถึงกันคือเรื่องความเครียด… ก็ผู้ประสบภัยหมดตัวจะไม่ให้เครียดได้ยังไงครับ มองไปทางไหนก็มีแต่น้ำ แล้วจะไม่ให้คิดเรื่องหมดตัวซ้ำซากได้อย่างไร

ดังนั้น ควรหาอะไรที่ผู้ประสบภัยทำแล้วเกิดประโยชน์ต่อตัวเองและครอบครัว ไม่นั่งรอความช่วยเหลือแต่ถ่ายเดียว

เรือฝาชี

อันแรกเป็นเรือของคนอเมริกันพื้นเมือง รูปร่างเหมือนฝาชีที่เอาชันยาก้นให้กันน้ำได้ ถ้าหาชันไม่ได้ อาจจะลองสีพลาสติกเกรดหนาหน่อย ก็คงพอใช้ได้ครับ

จะรับน้ำหนักได้แค่ไหน ก็แล้วแต่ความแข็งแรงของฝาชี และน้ำหนักบรรทุก

นั่งในฝาชี พายไปพายมา โรแมนติคไปอีกแบบ

แต่ห้ามใช้เรือฝาชีในน้ำเชี่ยวอย่างเด็ดขาด เนื่องจากเสถียรภาพต่ำมาก พลิกคว่ำในคลื่นหรือกระแสน้ำแรงได้ง่าย

เสื้อชูชีพทำเอง

เรื่องนี้ต้องขอยกย่องชื่นชมเป็นพิเศษต่อ ผู้ประดิษฐ์ ผู้ทดลอง ผู้ถ่ายทำ และผู้เผยแพร่ความรู้ (คุณ 1Bigidea — คุณประเสริฐ มหคุณวรรณ เบอร์โทรหาได้ในลิงก์ข้างบน)

อ่านต่อ »


ระบบขับเคลื่อนแพ

อ่าน: 2822

อันนี้เป็นหลักการครีบปลาที่เขียนไว้ในบันทึก [แผลบ แผลบ] ละครับ แต่ถีบกันสองคนจากด้านข้างของคาตามารัน

อ่านต่อ »


พาหนะสำหรับเดินทางระยะไกลในน้ำเชี่ยว

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 23 September 2011 เวลา 23:57 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 3458

ยิ่งเห็นข้อมูลผู้ประสบภัย ยิ่งรู้สึกว่าภัยครั้งนี้ครอบคลุมพื้นที่กว้างใหญ่ และรุนแรงในแง่ที่กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านเป็นจำนวนมาก

มีชาวบ้านหลายพื้นที่ ที่ถูกตัดขาดเป็นระยะเกิน 10 กม. พายเรือมารับความช่วยเหลือก็ไม่ไหว ครั้นไม่ออกมาก็จะถูกลืมหรือถูกมองข้ามไป หากว่าไฟฟ้าไม่ดับและการสื่อสารยังใช้ได้ โทรออกมาบอก อบต. (หรือ สพฉ. 1669 ขอให้ช่วยประสานกับมูลนิธิในบริเวณนั้น) อาจจะเป็นความหวัง แต่ถ้าโชคไม่ดี เจ้าหน้าที่มีงานล้นมือ มีคนต้องการความช่วยเหลือทั่วไปหมด ความช่วยเหลือก็ไม่มาเสียที อย่างนี้ชาวบ้านมีแต่ตายกับตายครับ

ทางออกนั้น คงไม่มีทางอื่นนอกจากจะหาวิธีเดินทางออกมารับความช่วยเหลือกลับเข้าในหมู่บ้าน แต่ก็มีปัญหาใหญ่ตามมาอีก คือน้ำเชี่ยวมาก หากน้ำไม่แรง ใช้แพราคาหน่วยเป็นพันบาทยังพอไหว แต่ถ้าน้ำแรงขนาดเรือราคาหลายหมื่นบาท (หรือเป็นแสน) ล่มได้ จะต้องหาวิธีอื่นที่ดีกว่า เรื่องนี้คงจะเกินกำลังของชาวบ้าน แต่หากผู้ที่มีความรู้ มีกำลังจะช่วย ก็จะเป็นอานิสงส์แรงครับ

เรื่องพาหนะในน้ำเชี่ยวนั้น ผมคิดถึงไฮโดรฟอล์ย จะใช้กำลังคน หรือใช้เครื่องก็แล้วแต่ หลักการใช้โครงเป็นแพหรือเรือคาตามารัน (เรือหลายลำตัว) ที่หากไม่เคลื่อนที่ก็ลอยได้ แต่เมื่อเคลื่อนที่ ใต้ท้องเรือก็จะมีปีกสร้างแรงยก ทำให้ลำตัวเรือลอยขึ้นเหนือน้ำ การที่ลำตัวเรือไม่สัมผัสผิวน้ำ จะลดแรงต้านของน้ำ ทำให้ไม่ต้องการแรงขับมากนัก นอกจากนั้นก็ยังทนต่อความแรงของกระแสน้ำได้ดีกว่าเรือหรือแพธรรมดา

อ่านต่อ »


หลังคามือถือ

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 22 September 2011 เวลา 23:07 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 3359

ได้ข้อมูลจากอาสาสมัครที่ลงพื้นที่ว่าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (สถานีอนามัย) ถูกน้ำท่วม ชาวบ้านได้รับความลำบากในการเข้าไปรับบริการ บางแห่งน้ำท่วมสูงจนไม่สามารถเปิดบริการได้ บุคลากรทางการแพทย์ ต้องออกมาให้บริการชาวบ้านอยู่ริมถนนซึ่งน้ำไม่ท่วม… ฟังแล้วรู้สึกรันทดมาก ทำอะไรช่วยเหลือได้ ก็ควรช่วยครับ จึงได้คิดเรื่องหลังคามือถือขึ้นมา

ที่จริงเมื่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลต่างๆ ย้ายมาตั้งริมถนนกันนะครับ เขามีเต้นท์มาตั้งอยู่แล้ว แต่ผู้ที่มารอรับบริการและผู้ที่รอคิวอยู่มักจะต้องตากแดด ยิ่งกว่านั้น ชาวบ้านที่อพยพมาอยู่กันตามริมถนน ก็ตากแดด

ใช้โฟมแผ่น ขนาด 120×60 ซม. ซึ่งมีขายทั่วไป มาตัดให้เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ให้ได้ฐานยาว 60 ซม. และสูง 120 ซม. ทำอย่างนี้สามแผ่น เอาเทปกาวติดยึดทั้งสามแผ่นเข้าด้วยกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง สามเหลี่ยมสามแผ่นแบบนี้สองชุด ก็จะสร้างเป็นหลังคาจั่วที่มีฐานเป็นหกเหลี่ยมได้ ครึ่งของหลังคาที่เป็นสามเหลี่ยสามแผ่นต่อกัน สามารถพับ ทำให้ขนส่งได้สะดวก ส่วนตอนประกอบ ก็กางออก เอาสองชุดประกบกัน ติดเทปสองจึ๊ก ก็ได้หลังคาบังแดดบังฝนแล้ว น้ำหนักเบา ตั้งบนเสาสามเสา ผูกหลังคาไว้กับเสากันปลิวไปตามลม

ถ้าเอาโฟม 120×60 ซม. สองแผ่นมาต่อกัน เป็น 120×120 แต่ตัดให้ได้สามเหลี่ยมหน้าจั่วที่มีฐานยาว 120 ซม. สูง 120 ซม. ใช้วิธีการแบบเดิม ก็จะได้หลังคาที่ครอบคลุมพื้นที่ใหญ่กว่าเดิมเป็นสี่เท่าตัว กลางวันยกสูง เอาไว้บังแดด กลางคืนลดลงต่ำ กันลม กันฝน

อ่านต่อ »


ครัวลอยฟ้า

อ่าน: 5020

บ่ายสามโมงเมื่อวานนี้ iwhale ขอให้ช่วยระดมทุนเพื่อซื้อเสื้อชูชีพ 50 ตัว โดยจะนำไปให้ รพ.อินทร์บุรี ซึ่งอาสาดุสิตไปเยี่ยมและเห็นความเดือดร้อนมาเมื่อสองวันก่อน สี่โมงเย็น คุณปรีดา คนทุพลภาพมืออาชีพ ก็จัดทำเว็บเรียบร้อย ซึ่งภายในเวลาข้ามคืน ก็สามารถระดมทุนสำหรับชูชีพ 50 ตัวได้ครบ… ที่จริงมีเหลืออีกด้วย ดังนั้นโปรแกรมนี้ จึงขยายเป็นการระดมทุนจัดหาชูชีพสำหรับโรงพยาบาลในพื้นที่ประสบอุทกภัย เพราะว่าโรงพยาบาลอื่นๆ ก็คงมีปัญหาเดียวกัน ขออนุโมทนาด้วยครับ… “คนไทย มีน้ำใจ ไม่ทิ้งกัน”

เมื่อวานมีผู้บริจาคประเดิมให้ 20 ตัว ไปรับเมื่อวาน และวันนี้อาสาดุสิตกำลังเดินทางไปสิงห์บุรีเพื่อส่งมอบเสื้อชูชีพล็อตแรกให้โรงพยาบาล เรื่องความปลอดภัย รอไม่ได้เลยครับ และเมื่อไปถึงตรงนั้นแล้ว ทีมก็จะไปดูพื้นที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า ใกล้กับวัดธรรมามูลวรวิหารซึ่งเคยไปทอดกฐิน อยู่กันคนละฝั่งของแม่น้ำ

ตอนน้ำท่วมน่านเมื่อต้นเดือนที่แล้ว อำเภอเมืองยังพอจะโอเค แต่อำเภอภูเวียงซึ่งอยู่ติดกันทางตะวันออกถูกตัดขาด มีแม่น้ำน่านคั่น น้ำเชี่ยวมาก ตอนนั้นเสนอให้ทำตั้งเสา ขึงสลิง ทำกระเช้าส่งของข้ามน้ำไป เรื่องนี้ไม่เกิดขึ้นไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ผมคิดว่าเป็นความคิดที่ดีที่ช่วยให้ชาวบ้านพอจะช่วยตัวเองได้บ้าง เรื่องอย่างนี้ ใครๆ ก็รู้ครับ เพียงแต่เวลาทุกข์ท่วมท้น อาจนึกไม่ออก อาสาสมัครที่เข้าไปในพื้นที่ ก็เพียงแต่สะกิดความคิดเท่านั้น เคารพการตัดสินใจของชาวบ้านซึ่งรู้ข้อจำกัดของตัวเองดีกว่าคนนอก อาสาสมัครไม่ควรที่จะนำของไปแจกเพียงอย่างเดียว เป็นโอกาสที่จะใช้ความรู้พลิกฟื้นชีวิตของชาวบ้าน ก็ใช้โอกาสนี้ให้คุ้มค่า ถึงอย่างไรอาสาสมัครก็ไม่ได้อยู่ตรงนั้นตลอดไป ให้ความคิดทิ้งเอาด้วยไว้ดีกว่าไหมครับ

ทีนี้ก็มีเรื่องละสิครับ กระแสน้ำเชี่ยวมาก ฝั่งตะวันตกที่ชาวบ้านอาศัยอยู่ จมน้ำหมด ฝั่งตะวันออกเป็นภูเขา เข้าออกถนนสายเอเซียได้ ตั้งเต้นท์ช่วยเหลือชาวบ้านได้ แต่ถ้าให้ชาวบ้านมารับความช่วยเหลือ ก็จะมีอันตรายมากเนื่องจากความแรงของกระแสน้ำ ส่วน อบต.ซึ่งตั้งฐานอยู่ฝั่งตะวันออก เอาความช่วยเหลือลงเรือไปแจก ก็ไม่ไหวเหมือนกัน ทำมาสักพักแล้ว กำลังจะหมดแรง ในที่สุดแล้ว ก็คงประกาศให้อพยพ และตัดไฟฟ้า

ตาม พรบ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา 29 เมื่อสั่งอพยพแล้ว ไม่ออกจากพื้นที่ไม่ได้ครับ

มาตรา ๒๙ เมื่อเกิดหรือใกล้จะเกิดสาธารณภัยขึ้นในพื้นที่ใดและการอยู่อาศัย
หรือดำเนินกิจการใด ๆ ในพื้นที่นั้นจะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรง ผู้บัญชาการ รองผู้บัญชาการ ผู้อำนวยการกลาง  ผู้อำนวยการจังหวัด ผู้อำนวยการอำเภอ และผู้อำนวยการท้องถิ่นโดยความเห็นชอบของผู้อำนวยการอำเภอ จะประกาศห้ามมิให้บุคคลใด ๆ เข้าไปอยู่อาศัยหรือดำเนินกิจการใดในพื้นที่ดังกล่าวก็ได้ ประกาศดังกล่าวให้กำหนดระยะเวลาการห้ามและเขตพื้นที่ที่ห้ามตามที่จำเป็นไว้ด้วย

หากชาวบ้านอพยพออกมา ก็จะหมดห่วงเรื่องความปลอดภัยไปเปลาะหนึ่ง แต่ผมก็ไม่สงสัยเช่นกัน ว่าจะไม่ได้เตรียมที่ทางเอาไว้พอ — เข้าใจครับ ว่ามันยุ่งมาก มีล้านเรื่องที่ต้องทำในเวลาเดียวกัน ที่เป็นอย่างนี้เพราะไม่ได้ทำแปดแสนเรื่องไว้ก่อนล่วงหน้า

อ่านต่อ »


เดินทางในน้ำนิ่ง

อ่าน: 3907

ถนนของเมืองที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ไม่ว่าเมืองไหนก็เป็นคล้ายๆ กันหมดละครับ มีอยู่สองลักษณะ คือมีถนนเลียบแม่น้ำเลย ใช้ถนนเป็นเขื่อนไปในตัว หรือว่าถนนอยู่ห่างตลิ่ง แล้วมีซอยเข้าไปยังบ้านเรือนริมน้ำ

ในเขตเมืองต่างจังหวัด เช่นอ่างทอง นครสวรรค์ พิษณุโลก จะเป็นลักษณะถนนเลียบแม่น้ำอย่างนี้ อาจจะเป็นเพราะเมืองขยายตัวช้ากว่าถนน จึงไม่ต้องเวนคืนที่ริมน้ำด้วยราคาแพง แต่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลนั้น ที่ดินราคาแพงมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว การเวนคืนที่ริมน้ำจะสิ้นเปลืองงบประมาณมาก ดังนั้นถนนจึงไม่มีถนนที่เลียบริมน้ำ ประกอบกับดิดอ่อน ถนนจึงขยับไปอยู่ห่างตลิ่ง สามารถระบายการจราจรได้เร็วเพราะตัดถนนได้ตรงมากกว่า จากนั้นจึงสร้างซอยแยกจากถนนใหญ่เข้าไปยังบริเวณบ้านเรือนริมน้ำ อาการอย่างนี้เห็นได้ชัดตั้งแต่ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพ และสมุทรปราการ

เพราะว่าริมตลิ่งแม่น้ำ มีบ้านเรือนตั้งอยู่ ทำให้สร้างแนวป้องกันน้ำท่วมได้ลำบาก ดังนั้นบ้านเรือนริมน้ำ ก็มักจะมีน้ำท่วมในช่วงหน้าน้ำเสมอๆ ทำให้ชาวบ้านตามริมน้ำเข้าออกบ้านด้วยความลำบาก

อ่านต่อ »


ชาวบ้านริมแม่น้ำ

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 14 September 2011 เวลา 12:59 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 6575

ได้รับอีเมลจากตัวแทนชาวบ้านที่กำลังเดือดร้อนที่อยุธยาซึ่งอยู่ติดแม่น้ำ และอยู่นอกแนวป้องกันน้ำท่วมครับ

เรียน ท่านผู้มีจิตศรัทธาและมีน้ำใจ

เรื่อง ขอความช่วยเหลือจากผลกระทบน้ำท่วมหนัก

ผมเป็นตัวแทนชาวบ้าน จะของบประมาณในการสร้างสะพาน เนื่องจากน้ำท่วมสูง และกระแสน้ำแรง ประชาชนในหมู่บ้านต้องเดินทางไปทำงานหรือติดต่อกับ ภายนอกด้วยความยากลำบาก เพราะหลายคนทำงานโรงงาน ต้องใส่ชุดอยู่บ้านลุยนำ ออกไปเปลี่ยนชุดข้างนอก ที่ถนนใหญ่ทั้งชายและหญิง เพื่อขึ้นรถไปทำงาน พายเรือก็เป็นความเสี่ยงที่เรือจะล้ม เพราะกระแสน้ำแรงมากต้องพายทวนกระแสน้ำ และเรือมักจะล้มอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งจากสภาพปีที่แล้ว (2553) เป็นความลำบากมาก และเมื่อมาถึงปีนี้น้ำก็มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และน่าจะคงสภาพความลำบากเช่นนี้อีกนาน เพราะอีกฝั่งกั้นขั้นดินไม่ให้น้ำเข้าพื้นที่ เพราะเป็นพื้นที่ส่วนนา ซึ่งระยะทางในการออกไปถนนใหญ่ประมาณ 3-4 ร้อยเมตร จึงเรียนมาเพื่อขอคำปรึกษาและขอความช่วยเหลือ ว่าจะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง ซึ่งพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 14 ต.ปากกราน อ. พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา ส่วนรายละเอียดต่างๆสามารถติดต่อผมได้ ที่ 089-xxxxxxx ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

ด้วยความเคารพและขอบคุณ

อับดุสสลาม xxxxxxxx

ตัวแทนชาวบ้านผู้เดือดร้อนจากผลกระทบน้ำท่วม

จดหมายไม่ได้เจาะจงแต่ส่งมาถึงมูลนิธิ เช้านี้ผมติดต่อกลับไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันประมาณ 15 นาที และได้ความว่าอยู่ติดกับวัดไชยวัฒนาราม อยุธยา ตรงนั้นมีสภาพเป็นคุ้งน้ำ ทำให้น้ำพัดเข้าพื้นที่ด้วยความแรง จนเรือพายล่มได้บ่อยๆ ชาวบ้านต้องลุยน้ำออกมาหลายร้อยเมตร ผู้หญิงลำบาก น่าเห็นใจมากครับ

อ่านต่อ »


ถังหมักของเสียจากส้วม

อ่าน: 4301

คนเราต้องกินต้องถ่าย แต่ช่วงอุทกภัยนั้น ลำบากทั้งกิน ทั้งถ่าย แถมการหุงหาอาหาร ก็ยากลำบากด้วย

ครอบครัวในเมือง ก็เปลี่ยนไปใช้ก๊าซหุงต้มกันหมด ถ้าน้ำท่วมเมืองจะส่งถังก๊าซลำบากมาก ส่วนครอบครัวที่ไม่ได้อยู่ในเมืองอาจจะใช้ถ่านหรือฟืน แต่ในภาวะที่น้ำท่วม จะไปหาถ่านหาฟืนจากไหน การหมักไบโอจากมูลสัตว์ไว้ใช้ เป็นทางออกที่ดี เพียงแต่ว่าเมื่อน้ำท่วม ถังหมักก็ท่วมด้วย

บันทึกนี้เสนอความคิดเรื่องถังหมักสำหรับครัวเรือน ที่ใช้หมักของเสียจากส้วม ผลิตก๊าซชีวภาพเอาไปใช้ในการหุงหาอาหาร มีหลายแบบ เลือกเอาตามความเหมาะสมก็แล้วกันครับ

ถ้าใช้ส้วมกระดาษ หรือถ่ายใส่ถุงพลาสติก คงรวบรวมของเสียมาหมักแบบนี้ได้ง่ายครับ ซึ่งการหมักแบบนี้เป็น anaerobic digestion ไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งก็หมายความว่าของเสียที่มี เติมน้ำจนเต็ม แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เกิดก๊าซ โดยแรกๆ จะเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งปล่อยทิ้งไป หลังๆ จะเป็นมีเทนซึ่งติดไฟได้ เอาไปใช้เป็นก๊าซหุงต้มแก้ขัดไปพลางก่อน ผู้ประสบอุทกภัยก็จะมีที่กักเก็บของเสีย และมีก๊าซหุงต้มไว้ให้หุงหาอาหาร

อ่านต่อ »


เครื่องอบข้าว

อ่าน: 9387

เมื่อคืนจะเขียนเรื่องนี้ในบันทึกที่แล้ว แต่ง่วงเกินไป ประกอบกับยังคิดไม่รอบคอบ เนื่องจากผมเป็นคนเมืองมาตั้งแต่เกิด ไม่เข้าใจบริบทของการทำนาอย่างแท้จริง เพียงแต่รู้สึกได้ถึงความเดือดร้อน — มาวันนี้ ก็ยังไม่เข้าใจ+คิดไม่รอบคอบอยู่ดี แต่มีความเห็นของพี่บางทราย (ลูกชาวนาตัวจริงและทำงานพัฒนากับชาวบ้านหลายท้องถิ่นมาตั้งแต่จบมหาวิทยาลัยจนเกษียณอายุ และยังทำต่อ) มาบอกว่าคิดไม่ผิดทางนัก ก็เลยตัดสินใจเขียนต่อครับ

อีกเหตุหนึ่งที่ไม่เขียนเรื่องเครื่องอบข้าว ก็เพราะไม่รู้จะเอาเครื่องอบข้าวเข้าไปในพื้นที่อุทกภัยได้อย่างไร มาวันนี้คิดตกแล้วว่าถ้ายุ้งฉางจมน้ำด้วย ก็ไม่มีที่เก็บข้าวอยู่ดีหรือข้าวเปียกจนเกินเยียวยา ดังนั้นก็ตั้งสมมติฐานไว้เลยว่า มีที่แห้งเก็บข้าว จะได้ไม่ต้องเอาเครื่องอบข้าว ลงแพหรือเรือท้องแบน ตามไปอบข้าวที่ยุ้งฉางที่จมน้ำอยู่ พื้นที่น้ำท่วม มีความชื้นสัมพัทธ์ 100% อยู่ดี ถึงอบไปก็จะชื้นใหม่อย่างรวดเร็ว

เดิมทีคิดจะใช้เกลียวของอาร์คิมิดีส ที่ปลายต่ำใส่ข้าวชื้น และจุดเตา เอาความร้อนใส่ไปในท่อ ความร้อนลอยขึ้นสูงไปออกปลายบน จะไม่อบอวลจนข้าวไหม้ หมุนๆๆๆๆ ข้าวที่มาโผล่ข้างบนจะชื้นน้อยลง แต่ถ้ายังชื้นอยู่ ก็ปล่อยข้าวลงไปข้างล่างตามทางลาด เอาไปขึ้นเกลียวที่สอง ที่สาม … ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนความชื้นเหลือน้อยพอที่จะส่งไปจำนำข้าว

มาคิดอีกที สมมุติเอาข้าวมาอบหนึ่งตัน ต้องหมุนเกลียวเพื่อยกน้ำหนัก คิดเป็นงานเหมือนกับยกน้ำหนักหนึ่งตันจะระดับพื้นข้างล่าง ขึ้นมาสู่ระดับปลายบนของท่อนะครับ แล้วเกิดผ่านท่อครั้งเดียวยังไล่ความชื้นออกได้ไม่พอ จะต้องส่งผ่านท่ออย่างนี้หลายๆ ท่อ ก็เท่ากับว่าต้องยกน้ำหนักหลายตัน โอย… อย่างนี้จะหมุนท่อไหวเหรอ

โชคดีที่เวลาชาวนาเอาข้าวเปลือกมาอบ ก็มักจะมาด้วยรถ(อีแต๋น) เราใช้ล้อรถขึ้นเพลามาหมุนเกลียวได้ ทดให้เครื่องเดินเบาหมุนเกลียวอย่างช้าๆ ส่วนค่าพลังงานเพื่อหมุน+ค่าใช้จ่ายในการขนส่งและโกย ชาวนาออกเอง ทำเอง ไม่ต้องจ่ายค่าหัวคิวให้ใคร

อ่านต่อ »



Main: 0.20703816413879 sec
Sidebar: 0.42528486251831 sec