ปลูกพืชไม่กลัวน้ำท่วม

อ่าน: 5497

เมื่อตอนหัวค่ำ คุณปรีดา ลิ้มนนทกุล คนทุพพลภาพมืออาชีพ (ข้อมูลจาก google) โทรมาคุยเรื่องไผ่ คุณปรีดาประสบอุบัติเหตุทำให้ครึ่งตัวล่างขยับไม่ได้ มือก็ไม่สมบูรณ์ ถึงไม่ได้ประกอบอาชีพวิศวกรแล้ว ก็ยังไม่ยอมแพ้ ยังสร้างสรรค์งานศิลปะ ระดมเงินไปบริจาคช่วยเหลือผู้อื่น คนที่มีองคาพยพสมบูรณ์แต่ทำตัวเป็นกาฝาก ไม่ทำงานทำการ ควรดูไว้เป็นแบบอย่างนะครับ

ข้อมูลจากคุณปรีดาก็น่าสนใจ ผมไม่รู้ว่าจริงหรือไม่ และจะไม่ดัดจริตแสร้งทำเป็นรู้หรอกครับ

  1. โอกาสที่ไผ่จะจมน้ำตายนั้น อาจจะไม่มากนัก เพราะลำต้นสูง โตเร็ว เมื่อน้ำท่วม ยังมีใบที่โผล่พ้นน้ำ ยังหายใจและสังเคราะห์แสงต่อไปได้ แน่นอนว่าเรื่องนี้ไม่นับหน่อไผ่ซึ่งอาจจะเน่าตายไปได้เหมือนกัน
  2. พืชเช่นข้าวที่จมน้ำ ถ้าน้ำไม่ขุ่นจนแสงแดดส่องไม่ถึงใบ ก็อาจทนอยู่ได้สักสองสามวัน (เกินนั้นก็ไม่รอดเหมือนกัน)

พูดเรื่องนี้แล้ว ยังมีพืชน้ำ พืชอาหารขนาดลำต้นไม่ใหญ่โต (รากไม่ลึก) ที่เราอาจเอาใส่กระถางลอยน้ำไว้เก็บกินในช่วยน้ำท่วมได้

ถ้ากระถางลอยน้ำได้ ก็เอามาปลูกข้าวได้ จะใช้โฟม จะใช้อิฐมวลเบา หรืออะไรก็แล้วแต่ หนึ่งกระถาง ปลูกข้าวหนึ่งกอ ใช้น้ำน้อยด้วย เพราะว่าไม่ต้องไขน้ำให้ท่วมนา คือให้ท่วมในกระถางก็พอ กระถางป้องกันวัชพืชได้ ถ้ากระถางมีรูปทรงเหมาะ อาจกันหอยเชอรี่ได้ อาจวางกระถางชิดกันได้มากขึ้น เนื่องจากรากของกอข้าว ไม่แย่งอาหารกันเองระหว่างกอ เป็นการเพิ่มผลผลิตไปในตัว และที่สำคัญคือกระถางลอยน้ำ ดังนั้นเมื่อข้าวออกรวง ก็ไม่กลัวน้ำท่วม เวลาเก็บเกี่ยว ไขน้ำเข้านา แล้วเอาเชือกกวาดกระถางที่ลอยน้ำมารวมกัน เกี่ยวทีเดียวใกล้ๆ คันนา ไม่ต้องเอารถไถลงไปลุย คันนาจะได้ปลูกพืชอื่น บังลมไม่ให้ข้าวร่วงจากลมแรง — ทั้งหมดนี้ คิดเอาเองครับ ทำได้หรือไม่ได้ ต้องทดลองดู

อ่านต่อ »


ถ่านอัดแท่ง

อ่าน: 6741

ดูวิดีโอคลิปก่อนกันครับ

พ่ออยู่ แขมพลกรัง อยู่ที่ ต.ปรุใหญ่ อ.เมือง นครราชสีมา ประดิษฐ์แท่งเหล็กทรงกระบอก เอาไว้ใช้กระแทกลงไปบนเศษถ่าน (เดิมทีอาจจะเป็นเศษผงที่แตกหักจากการเผาถ่านขาย) จนกลายเป็นถ่านอัดแท่ง ซึ่งสูตรของพ่ออยู่นั้น ประกอบไปด้วย เศษถ่าน หรือถ่านป่นจากการเผาถ่านวัสดุเหลือใช้ 4 กก. แป้งมัน 2 ขีด กับน้ำ 4 ลิตร คลุกให้เข้ากัน แล้วนำมาอัดด้วยกระบอก (หรือสกรูเพรสก็ได้) นำไปตากจนแห้งสนิท ก็จะได้ถ่านที่มีคุณภาพสูง ไร้ควัน

ถ่านอัดแท่งแบบนี้ ก็เป็นแนวทางที่ดีสำหรับการฟื้นฟูอาชีพสำหรับผู้ประสบภัย ชาวบ้านไม่ได้ปลื้มกับเงินชดเชยห้าพันบาท++ มันเทียบไม่ได้กับการหมดตัวหรอกครับ (ทำไมนักการเมืองถึงได้ภูมิใจเรื่องนี้กันนักนะ) ถ้าจะช่วยให้ชาวบ้านฟื้นตัวขึ้นมาได้ นอกจากวันนี้จะมีกินระหว่างรอน้ำลดแล้ว เมื่อน้ำลดก็จะต้องมีรายได้ พอที่จะปลดหนี้ปลดสิน หรืออย่างน้อยก็ไม่เป็นหนี้เพิ่ม

อ่านต่อ »


สวนครัวแนวตั้ง

อ่าน: 12395

… มีข้อมูลจากชาวบ้านในพื้นที่ ว่าแผลที่เกิดขึ้นตามมือและเท้านั้นยังไม่หาย จากกรณีดังกล่าว ได้ทำการปรึกษาคุณหมอแล้ว คุณหมอแจ้งว่าอาจมิได้เกิดจากน้ำกัดมือกัดเท้า แต่อาจเป็นแผลที่เกิดจาก สารเคมีที่ใช้ในการเกษตร …

อืม…จริงหรือไม่ก็ไม่อาจตัดสินได้ครับ ไม่มีความรู้อย่าฟังธง ถึงมีความรู้มีประสบการณ์แต่ไม่ได้ตรวจก็อย่าฟันธง(จนกว่าจะเข้าใจบริบทก่อน) ข่าวคราวจะบอกต่อก็ไม่ต้องขยายความ — โมเดลการแก้น้ำท่วมก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน ไม่มีคำตอบสำเร็จรูปสำหรับทุกพื้นที่หรอกครับ ทุกพื้นที่มีบริบทที่แตกต่างกัน ตั้งโมเดลทำไม ก่อนจะทำอะไร ถาม+ขอความรู้จากชาวบ้านซะหน่อยดีไหมครับ

สวนแนวตั้งเป็นความคิดของผู้ที่ไม่มีพื้นที่เพาะปลูกตามห้องพักในมหานครที่อัดกันแน่น ที่จริงแล้วก็ไม่เชิงว่าคนที่อาศัยอยู่ตามมหานคร จะสิ้นไร้ไม้ตอกขนาดที่ไม่มีที่ทางปลูกอะไรหรอกครับ แต่เหตุผลเค้าเยอะไปเท่านั้นเอง ถ้าจะปลูกต้นไม้นั้น ปลูกได้เสมอ ไม่มีพื้นดิน->ปลูกในกระถางได้ ไม่มีที่วางกระถาง->แขวนก็ได้

ในกรณีอุทกภัยนั้น พื้นที่อยู่อาศัยลดลงมาก ที่ยังมีอยู่ ก็ไม่รู้จะรอดหรือไม่ เราลืมต้นไม้เล็กๆ กันไปหรือเปล่าครับ ต้นไม้เล็กพวกสวนครัวจมน้ำตายหมด ถ้าจะรอน้ำลดแล้วเริ่มปลูกใหม่ กว่าจะโตก็เสียเวลาไปเท่ากับระยะเวลาที่น้ำท่วมซึ่งคราวนี้สงสัยจะยาวครับ เป็นเดือนแน่เลย

อ่านต่อ »


สร้างแพกันเถอะ

8 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 7 September 2011 เวลา 3:08 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 14359

ยิ่งได้ข้อมูลน้ำท่วมก็ยิ่งรู้สึกถึงภาวะวิกฤตมากขึ้นเรื่อยๆ อย่ารอจนเห็นโลงศพก่อนเลยครับ ถ้ายังพอทำอะไรได้ ก็ทำอย่างที่ควรทำเถอะ

จนถึงปัจจุบัน ตามรายงานล่าสุดของ ปภ. มีชาวบ้านเดือดร้อน 4.2 ล้านคน (เทียบกับน้ำท่วมใหญ่ปลายปีที่แล้วประมาณ 9 ล้านคน — ถึงจะไม่เชื่อตัวเลข ก็คงใช้ประมาณได้ว่า อุทกภัยส่งผลกระทบประมาณครึ่งหนึ่งของอุทกภัยเมื่อปลายปีที่แล้ว นี่เพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น)… แต่ว่าสัปดาห์นี้ฝนจะมาอีก น้ำเหนือซึ่งปัจจุบันลงมากองอยู่แถวนครสวรรค์และไหลลงมาเรื่อยๆ เมื่อน้ำเข้าสู่ที่ราบลุ่มภาคกลางซึ่งมีความลาดเอียงต่ำ ก็จะแผ่ออก จะทำให้มีชาวบ้านเดือดร้อนมากกว่านี้มากครับ

มีคอขวดอยู่ตรงโผงเผงเหนือบางบาล หากน้ำมาเกิน 1800-2000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที น้ำก็จะยกตัวขึ้นล้นตลิ่ง ไหลบ่าออกท่วมทุ่งทางตะวันตก ตอนนี้ก็เป็นอยู่ น้ำนี้จะไหลไปทางตะวันตกเฉียงใต้ตามความลาดเอียง ท่วมอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม จนไปลงทะเลทางแม่น้ำท่าจีน ชาวบ้านแถวนี้ก็อย่างนิ่งนอนใจล่ะครับ — ที่ไม่ค่อยปรากฏเป็นข่าวคือมีน้ำท่วมแถบเพชรบูรณ์ จริงอยู่ที่เขื่อนป่าสักมีน้ำอยู่ที่ระดับ 55% ของความจุ เขื่อนป่าสักนั้นรับน้ำได้อีก 350 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ฝนกำลังจะตก เมื่อเขื่อนป่าสักต้องระบายน้ำ (วันนี้น้ำเข้า=น้ำออก) สระบุรี อยุธยา ก็จะเป็นเหมือนปีที่แล้วอีก น้ำจากแม่น้ำป่าสักจะมารวมกับแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเกาะเมืองอยุธยา น่าจะเป็นปริมาณน้ำสูงสุดด้วยความจุของลำน้ำทั้งสอง ไม่เกิน 4,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ซึ่งหากน้ำทะเลไม่หนุนสูง หรือฝนไม่ตกหนัก กรุงเทพก็ไม่น่าจะท่วม (แต่บ้านผมซึ่งไม่ได้อยู่กรุงเทพไม่แน่เหมือนกัน)

อ่านต่อ »


ขนของบนน้ำ

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 6 September 2011 เวลา 1:58 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 4825

การมีความรู้ ไม่ใช่ว่าจะหาทางออกของปัญหาเจอ แต่การใช้ความรู้นั้น จะทำให้มีทางเลือกของทางออกมากขึ้น ซึ่งถ้าอดทนพอก็คงจะหาทางออกจนได้เอง (หรือเรียนรู้ที่จะหาทางออกจนได้) ส่วนการไม่มีความรู้ พบเห็นได้ทั่วไปคือใช้เงินซื้อไงครับ คนไทยเก่งเรื่องใช้เงินแต่ไม่ใช้ความรู้อยู่แล้ว

น้ำท่วมคราวนี้ คงจะยาวนาน น้ำไม่ได้อยู่นิ่งๆ แต่ไหลไปเรื่อย จากที่สูงไปยังที่ต่ำ — น้ำท่วมทางเหนือ มาเร็ว ไปเร็ว ต้องการปฏิบัติการที่รวดเร็ว และเมื่อน้ำไปแล้ว งานก็ไม่จบเพราะน้ำมาแรง บ้านเรือนไร่นาเสียหาย ยังต้องฟื้นฟูกันอีกนาน

มื่อน้ำเริ่มไหลลงมาสู่ภาคกลางซึ่งมีความลาดเอียงต่ำกว่า น้ำจะแผ่ออกท่วมเป็นวงกว้าง และท่วมอยู่นาน หมายความว่ามีชาวบ้านติดเกาะ หรือต้องทิ้งถิ่นฐานเป็นเวลานาน จึงต้องหาทางออกเรื่องโลจิสติกส์ของการส่งกำลังบำรุงไว้ด้วย ไม่ใช่คิดแค่ของที่จะนำไปส่ง ไม่มีประโยชน์อะไรที่ส่งของไปกองไว้แล้วเอาไปส่งให้ชาวบ้านไม่ได้

ยิ่งกว่านั้น มวลน้ำจะเคลื่อนลงต่ำไปเรื่อยๆ เป็นวงกว้างด้วย ดังนั้นจึงต้องมีวิธีการขนของไปบนน้ำ ที่เคลื่อนย้ายสะดวก ราคาถูก และประหยัดพลังงาน อย่าลืมว่าพื้นที่น้ำท่วมหาน้ำมันเติมได้ยาก

แรกทีเดียว ผมนึกถึงเรือ catamaran (เรือแบบหลายลำตัว) เหมือนรูปทางขวา มีเสถียรภาพสูง ไม่พลิกล่มง่าย ต้านน้ำน้อย

แต่ดูให้ละเอียดแล้ว แพ catamaran น่าจะ practical กว่าเยอะ เงินเท่ากันสร้างได้หลายลำมากกว่าเรือ เบา ถอด+ประกอบง่าย แข็งแรง สะดวกกับการขนย้ายมากกว่าเรือมาก เพียงแค่ยึดลำเรือ (hull) ไว้ด้วยท่อแข็ง น่าจะทำได้ง่ายๆ ครับ ส่วนพื้นที่บรรทุกนั้น ก็อยู่ด้านบนระหว่างท่อที่ยึดลำเรือ

อ่านต่อ »


ส่งน้ำดื่มจำนวนมาก

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 5 September 2011 เวลา 4:45 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 3394

ผมไม่อยากให้บันทึกในลานซักล้างนี้ ถูกใช้ในทางการเมืองนะครับ แต่สถานการณ์จากพื้นที่นั้น เห็นความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นจริง จะกี่โมเดล จะใช้ทฤษฎีไหน ข้อเท็จจริงก็คือความช่วยเหลือไปไม่ทั่วถึงครับ

น้ำดื่มสำคัญที่สุด

พื้นที่บางระกำ เจ้าหน้าปกครองติดประชุมกันเยอะ ทางท้องถิ่น+ภาคประชาชนก็ประสานช่วยเหลือกันอยู่ แต่เรื่องการขนน้ำเป็นเรื่องใหญ่มากครับ ทั้งหนัก ทั้งกินพื้นที่ขนส่ง พื้นที่ประสบภัยกว้างใหญ่ เรือไม่พออีก

ถ้าคนหนึ่งดื่มน้ำวันละ 2 ลิตร บ้านหนึ่งมี 5 คน (ไม่ชอบตัวเลขก็เปลี่ยนเอา) ก็วันละ 10 ลิตร แต่เรือที่เข้าไปเยี่ยม ไม่สามารถจะแวะทุกบ้านทุกวันได้ ถ้าหากว่าไปเยี่ยมได้สามวันครั้ง แต่ละบ้านก็ต้องมีน้ำสำรองอยู่ 30 ลิตรนะครับ

ชาวบ้านไม่มีน้ำกิน นอกจากน้ำซึ่งเริ่มเน่าที่ท่วมอยู่รอบๆ บ้าน — รองน้ำฝนก็ไม่เวิร์ค น้ำท่วมสูงระดับหลังคาแล้ว แจกเครื่องกรองน้ำก็ไม่ทั่วถึง ดูท่าว่าลำเลียงน้ำดื่มจากพิษณุโลกเป็นจำนวนมาก น่าจะเหมาะที่สุด เหมาะกว่าขนจากกรุงเทพแน่นอน

ขนน้ำปริมาณมากลงเรือไปแจก ใช้วิธีนี้ดีไหมครับ

อ่านต่อ »


แผลบ แผลบ

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 September 2011 เวลา 20:30 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 4518

ตอนแรกจะตั้งชื่อบันทึกว่า กระดึ๊บ กระดึ๊บ แต่คำว่ากระดื๊บไม่มีในพจนานุกรม มีแต่กระดืบ

บันทึกนี้ พูดถึงวิธีขับเคลื่อนเรือหรือแพ ที่ใช้กำลังคน (ใช้ในน้ำนิ่ง และไม่แนะนำสำหรับน้ำเชี่ยวเนื่องจากมีอันตรายครับ); เมื่อเราพูดถึงแรงคน สามัญสำนึกก็จะบอกว่า ใช้พาย หรือถ่อเอาซิ — ก็นั่นไงครับ ถึงมาเขียนบันทึกนี้ เพื่อเสนอทางเลือกใหม่

มีสินค้าตัวหนึ่ง ใช้ชื่อการค้าว่า Hobie MirageDrive เหมือนเป็นครีบปลาติดอยู่ใต้ท้องเรือ ครีบทั้งสองโบกไปมาสลับกัน; ตามคำโฆษณา ชี้จุดดีอยู่สองสามจุด

  1. ใช้ขาถีบ เป็นการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ ให้แรงมากกว่าใช้แขน ความล้าน้อยกว่า
  2. หนึ่งรอบ แต่ละครีบพุ้ยน้ำสองครั้ง ในขณะที่ใบพายให้กำลังครั้งเดียว
  3. ครีบสลับไปมาสวนกัน จะช่วยเรื่องเสถียรภาพของลำเรือ (ถ้าไม่มีหางเสือและลมไม่แรง เรือก็จะพุ่งตรงไปข้างหน้า)

แล้วก็มีคลิปประลองกำลัง (ชักคะเย่อ) ระหว่างผู้ประดิษฐ์ MirageDrive และแชมป์โอลิมปิกสองสมัยของกิีฬาเรือแคนนูปั่น (Canoe Sprint) ทั้งคู่แก่พอกัน — เป็นการทดลองง่ายๆ ระหว่าง กำลังขา+MirageDrive มีสองครีบตามรูปข้างบน กับกำลังแขนกับพายสองด้าน

ผลก็แน่นอนครับ MirageDrive ชนะ ไม่อย่างนั้นเค้าจะเอาผลมาโฆษณาทำไม; แล้วมีของแถม คือเป็นการแข่งกันระหว่าง MirageDrive กับแชมป์เรือแคนนูคู่โอลิมปิก (สองคนสี่พาย) ผลก็สูสีกัน

อ่านต่อ »


น้ำท่วมขัง (2)

อ่าน: 5075

เรื่องเก่า ที่เขียนไว้เมื่อปลายปีที่แล้ว [น้ำท่วมขัง (1)]

น้ำท่วมขังนำมาซึ่งความทุกข์ใจยิ่งกว่าน้ำท่วมทั่วไป เพราะน้ำลดยากกว่า น้ำท่วมขังเกิดได้ในสภาพพื้นที่เป็นแอ่ง เมื่อน้ำข้ามคันกั้นน้ำ (ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์สร้างขึ้นหรือเป็นสภาพตามธรรมชาติก็ตาม) น้ำก็จะไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ แต่เมื่อน้ำหลากผ่านไปแล้ว น้ำที่ข้ามคันกั้นน้ำเข้ามา กลับไม่มีทางออก ท่วมอยู่ในพื้นที่นั้นเป็นเวลานาน

น้ำท่วมไร่นา ชาวบ้านหมดเนื้อหมดตัว แต่น้ำท่วมขัง ชาวบ้านซึ่งหมดตัวไปแล้ว ยังถูกตอกย้ำด้วยภาพของน้ำท่วมโดยไม่ยอมลด มองไปทางไหนก็มีแต่น้ำ เห็นอยู่ทุกเวลา เหมือนกับย้ำเตือนอยู่ตลอดเวลา ว่าหมดตัว หมดตัว หมดตัว

นอกจากความเครียดสะสมข้างบนแล้ว ยังมีโรคที่มากับน้ำอีก เมื่อน้ำลดแล้ว ก็มีความเสี่ยงจากการระบาดซ้ำของโรคไข้หวัดนก

ทางการเป็นห่วงไข้หวัดนก ระบาดหนักหลังน้ำลดในเดือนพฤศจิกายนนี้ ระบุพื้นที่น้ำท่วมเป็นพื้นที่เดียวกับหวัดนกระบาด และเป็นฤดูนกอพยพพอดี เตรียมพร้อมน้ำยาพ่นฆ่าเชื้อโรคในทุกพื้นที่ที่มีการเลี้ยงสัตว์ปีก แม้ว่าขณะนี้ยังมีรายงานเรื่องการเกิดโรคระบาดในสัตว์ แต่ต้องระวังการเกิดโรคระบาดที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงหลังน้ำลด — http://www.bangkokhealth.com/

สภาพน้ำท่วมขัง ยังนำมาซึ่งความเสี่ยงของการระบาดของหอยเชอร์รี่ เพลี้ย… ยิ่งดูละเอียด ก็ยิ่งไปกันใหญ่

เป็นเรื่องที่เกินกำลังของรัฐ หรือหน่วยงานใดๆ (เงินเยียวยาช่วยได้บ้าง แต่เทียบไม่ได้กับการหมดตัวซ้ำซากหรอกครับ) จึงต้องระดมความช่วยเหลือจากหลากหลายวิทยาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคประชาชน

อ่านต่อ »


โดมดาว (2)

อ่าน: 4482

ต่อจากตอนที่แล้ว ถ้ายังไม่ได้อ่าน ลองกลับไปอ่านก่อนได้ครับ

ยังมีประเด็นเกี่ยวกับการสร้าง star dome อีกเล็กน้อย…

ที่เสนอให้ทำรูปโดม ก็เพราะว่าโดมกระจายแรงกดไปทั่วผิว ทำให้ทนต่อแรงลม แรงฝนได้ดีกว่าโครงสร้างแบบอื่น เช่นเต้นท์หรือจั่ว ตัวที่รับแรงคือโครงสร้างไม้ กับการยึดโครงสร้างให้ไม่ขยับไปมา ส่วนผิวของโดมเพียงแต่กันลมกันฝน

ส่วนผิวนั้น ทำได้ง่ายๆ โดยตัดเย็บผ้าตามรูปโครงสร้างโดม ระยะ s คือ ระยะ หนึ่งในห้าของความยาวโครงไม้

เอาเชือกมัดผ้าคลุมไว้กับโครงไม้ข้างนอกโดม เหมือนสุ่มไก่ห่อผ้าห่มกันหนาว

อ่านต่อ »


โดมดาว (1)

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 29 August 2011 เวลา 5:41 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 5139

ในขณะที่ความสนใจ พุ่งไปทางเหนือ เนื่องจากน้ำเหนือกำลังมา ทางใต้ก็กำลังสาหัสเหมือนกัน เผลออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำไป เนื่องจากฝนยังตกอยู่ แล้วพื้นที่เป็นป่าเขาเช่นกัน เมื่อฝนตกบนภูเขา น้ำก็ไหลลงสู่ที่ต่ำ ไปตามลำน้ำซึ่งระบายไม่ทัน น้ำยกตัวขึ้นท่วมเมืองที่น้ำไหลผ่าน ทำความเดือนร้อนไปทั่ว

ฝนทางใต้นั้น ตกแบบน่ารำคาญ คือตกไม่เลิก ไม่ว่ามีลมหรือไม่ ปริมาณฝนเกิด 100 มม.ได้ง่ายๆ ในแต่ละวัน ในเมื่อที่ลุ่มมีน้ำท่วม ผู้คนต้องทิ้งถิ่นฐานบ้านเรือนไปชั่วคราว แล้วจะให้ไปอยู่กันที่ไหนล่ะครับ หนีขึ้นเขาก็ไม่มีอะไรเลย เผลอๆ มีดินถล่มซ้ำอีกเนื่องจากดินอุ้มน้ำไว้ไม่ไหวแล้ว

ฝนตกหนักทั่วฝั่งตะวันตก ที่พังงา น้ำท่วม อ.กะปง อ.ตะกั่วป่า และ อ.คุระบุรี แล้วที่ระนองก็มีอาการแบบเดียวกัน

ผมมาคิดถึงที่พักชั่วคราว เคยเขียนเรื่อง [โดมสำหรับพักพิงชั่วคราว] และ [บ้านปลอดภัย] เอาไว้ แต่มาอ่านอีกที รู้สึกว่ายุ่งยากเหมือนกัน เพราะว่าเป้นความพยายามที่จะทำรูปเหลี่ยมให้ดูโค้ง น่าจะมีวิธีสร้างที่ง่ายและถูกกว่านั้น ก็มาเจองานของอาจารย์ญี่ปุ่นครับ เรียกว่า Star Dome หรือโดมดาว — เอามาจาก stardome.jp นะครับ

โดมดาว เริ่มจากการคำนวณครึ่งทรงกลมง่ายๆ (แต่คนใช้ไม่ต้องคำนวณ เอาตัวเลขไปใช้เลย)

เค้าใช้ไม้ไผ่ยาว มาผ่าเป็นซีกเพื่อให้ดัดให้งอได้ จำนวน 17 ท่อน แบ่งเป็นท่อนแบบสีน้ำเงินข้างล่าง 10 ท่อน และแบบสีเขียวและสีแดง อีก 7 ท่อน

ทั้ง 17 ท่อนมีความยาวเท่ากัน แต่ว่าท่อนสีน้ำเงิน แบ่งเป็นสามส่วนเท่าๆ กัน (เจาะรู 4 รู) และแบบสีเขียนกับสีแดง แบ่งเป็น 5 ส่วนเท่าๆ กัน (เจาะรู 6 รู)

เราเอาท่อนไม้ไผ่ต่างๆ มาวางให้รูที่เจาะไว้ตรงกัน แล้วผูกให้แข็งแรง จากนั้นงอจนได้รูป

อ่านต่อ »



Main: 0.059659004211426 sec
Sidebar: 0.15035891532898 sec