ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (5)

อ่าน: 3720

บันทึกที่แล้วเขียนทิ้งไว้เท่าที่นึกออกครับ บันทึกนี้จะพยายามเรียบเรียงความคิดว่าอะไรที่น่าจะมี เพราะอะไร

การพยากรณ์อากาศ

วิถีชีวิตคนไทยขึ้นกับลมฟ้าอากาศเป็นอย่างมาก เราจำเป็นต้องพยากรณ์อากาศล่วงหน้าให้ได้ระยะหนึ่ง กรมอุตุนิยมวิทยาทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในภูมิภาคขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ซึ่งไม่เพียงแต่รวบรวมข้อมูลจากประเทศต่างๆ เท่านั้น ยังเป็นแหล่งความรู้ทางอุตุนิยมวิทยาของภูมิภาคอีกด้วย

กรมอุตุฯ ทำการทำนายสภาวะอากาศวันละสองครั้ง คือเที่ยงคืนและเที่ยงวันตามเวลามาตรฐานสากล เราจึงเห็นกรมอุตุฯ ออกรายงานสภาพอากาศวันละสองครั้ง ตอนเจ็ดโมงเช้ากับหนึ่งทุ่ม เนื่องจากเวลาเมืองไทยเร็วกว่า UTC อยู่ 7 ชั่วโมง การพยากรณ์อากาศต้องอาศัยข้อมูลจากประเทศอื่นๆ ด้วยเช่นกัน การตรวจวัดอุณหภูมิ ความดัน ความชื้น อุณหภูมิของน้ำทะเล ในแต่ละประเทศโดยไม่สนใจบริเวณข้างเคียง ย่อมไม่แม่นยำเพราะว่าสภาวะอากาศเกี่ยวพันกันข้ามพรมแดนประเทศ

แต่ว่าการพยากรณ์อากาศวันละสองครั้งในภาวะที่อากาศแปรปรวนนั้น ไม่พอหรอกนะครับ ผมคิดว่ากรมอุตุฯ ก็ทราบดี จึงได้มีความพยายามจะพัฒนาสมรรถนะ แล้วก็ดันเกิดเป็นปัญหาการจัดซื้อซูเปอร์คอมพิวเตอร์อันลือลั่นเมื่อหลายปีก่อน จนปัจจุบันทางกรมก็ยังไม่มีซูเปอร์คอมพิวเตอร์ใช้งาน ยังใช้แผนที่อากาศเหมือนเมื่อสี่ห้าสิบปีก่อน

อ่านต่อ »


ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (4)

อ่าน: 3828

บันทึกนี้ ต่อจากตอนที่ 3

วันเสาร์-อาทิตย์ที่ 23-24 ที่จะถึงนี้ จะมีงาน BarCamp Bangkok ครั้งที่ 4 ที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน

งาน BarCamp เป็นงานชุมนุม geek จะมีผู้ที่มีความรู้ทางไอที มารวมกันเพื่อแลกเปลี่ยนแง่คิด มุมมอง ประสบการณ์ และเป็นโอกาสที่จะระดมสรรพกำลัง ไปร่วมกันทำงานที่มีประโยชน์

ในงานนี้ สปอนเซอร์รายหนึ่งบอกว่าจะจัด Crisis Camp ระดมคนทำงานเรื่องข้อมูลเชิงแผนที่ของวิกฤตการณ์ครั้งนี้

@thaiflood “ตลาดนัดจิตอาสาช่วยเหลือภัยพิบัติ” เสาร์-อาทิตย์ 23-24 นี้ (ข้ามคืน) ที่ม.ศรีปทุมบางเขน

ที่มา twitter

ผมคงไปร่วมไม่ได้หรอกครับ สวนป่ามีอบรมนักศึกษาจากคณะพยาบาล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ชนกันพอดี ก็ไปช่วยไม่ได้เลย ดังนั้นบันทึกนี้ ก็จะพยายามเรียบเรียงแง่คิดมุมมอง และประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติเอาไว้ หวังว่าจะมีใครได้ประโยชน์บ้าง ส่วนเกี่ยว-ไม่เกี่ยว ทำ-ไม่ทำ ใช่-ไม่ใช่ ขึ้นกับบริบทครับ

เรื่องระบบข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจนี้ คงไม่จบในบันทึกเดียว บันทึกนี้ จะพาขี่ม้าเลียบค่ายก่อน

อ่านต่อ »


ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (3)

อ่าน: 4729

บันทึกนี้เขียนต่อจาก ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 พูดถึงแนวทางในการฟื้นฟูครับ พื้นที่ไหนน้ำลดแล้ว เริ่มใช้ได้เลย

เมื่ออาทิตย์ก่อน ครูบาไปเป็น Igniter ในงาน Ignite Thailand++ ครั้งที่ 2 ที่หอประชุมจุฬาลงกรน์มหาวิทยาลัย [งาน Ignite Thailand++ ครั้งที่ 2] เกิดอุบัติเหตุทางเทคนิคขึ้น สไลด์ติดอยู่ที่สไลด์ที่สอง นานสองนาทีกว่า ที่เตรียมไป 20 สไลด์ พูดได้แค่ 8 สไลด์เท่านั้น หมดเวลาแล้ว

ในส่วนที่ไม่มีโอกาสได้พูดนั้น มีเรื่องน่าสนใจอีกหลายอย่าง แต่ผมยกมาเขียนเรื่องเดียวนะครับ

อ่านต่อ »


ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (2)

อ่าน: 4575

เขียนต่อจากบันทึกที่แล้วครับ บันทึกนี้เป็นเรื่องของการชะลอน้ำหลาก/น้ำป่า/runoff ลองดูภาพเงินเขาที่ถูกถางจนเรียบนะครับ

บนเนินเขา เราจะเห็นพื้นที่สองแบบ คือบริเวณที่มีต้นไม้ และบริเวณที่ถูกถางจนเรียบ ทั้งสองพื้นที่อยู่บนเนินเดียวกัน มีความลาดเอียงพอๆ กัน

อ่านต่อ »


ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (1)

อ่าน: 5713

ทุ่งกุลาร้องไห้เป็นอู่ข้าวสำคัญของไทย ตามการกำหนดขอบเขตของกรมพัฒนาที่ดิน ทุ่งกุลาร้องไห้มีพื้นที่ 2,107,690 ไร่ใน 5 จังหวัด 10 อำเภอ 79 ตำบล 1,048 หมู่บ้าน เป็นนาปลูกข้าวหอมมะลิอันเลื่องชื่อ 1,266,103 ไร่ ให้ผลผลิตปีละ 4 แสนกว่าตัน เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ 47,0961 ไร่ มีวัวควายอยู่ราว 270,000 ตัว มียูคาลิปตัสราว 60 ล้านต้น ให้ผลผลิตไม้ปีละราว 2 ล้านตัน มีแหล่งโบราณคดี 408 แห่ง มีคนอยู่อาศัยราว 620,000 คน — ข้อมูลจากวารสารสารคดี ฉบับเมษายน 2552

อีสานใต้ที่ท่วมหนักอยู่ในตอนนี้ เป็นขอบอ่างโคราช ซึ่งเป็นที่สูง น้ำไหลลงที่ต่ำไม่ได้เนื่องจากทางน้ำถูกขวางอยู่ อบต.ก็ชอบสร้าง+ซ่อมเหลือเกิน แต่โดยเฉลี่ยมีงบจัดการน้ำเพียง 2.15%

แผนที่ทางขวานี้ ต้องขอขอบคุณผู้จัดทำนะครับ ผมมองว่าให้ภาพหยาบๆ ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นที่ไหน (ไม่ได้หมายความว่าไม่ดี) ทั้งนี้ตามรายงานข่าวในโทรทัศน์ซึ่งก็พูดกว้างๆ อยากเห็นสถานีโทรทัศน์ ใช้แผนที่สถานการณ์ให้มากกว่านี้ครับ

อย่างไรก็ตาม ทางส่วนของราชการ ผมยังไม่เห็นแผนที่สถานการณ์ตัวจริงเลยครับ ภาพถ่ายดาวเทียมก็ได้ หากทางราชการมีแผนที่ว่า ณ.เวลาหนึ่ง เกิดน้ำท่วมขึ้นที่ไหนบ้าง ระดับน้ำสูงเท่าไร จะได้เตรียมแผนช่วยเหลือได้เหมาะสม ตลอดจนเป็นการแจ้งให้ผู้ที่อยู่ปลายน้ำ ได้เข้าใจสถานการณ์ตามที่เกิดขึ้น

เป็นเรื่องฝืนธรรมชาติที่น้ำท่วมอยู่ในที่สูง ในที่สุดน้ำก็จะไหลลงไปตามร่องน้ำธรรมชาติครับ ซึ่งสำหรับอีสานใต้คือแม้น้ำมูล ซึ่งเป็นแม่น้ำขนาดไม่ใหญ่ มีอัตราไหลต่ำ และคดเคี้ยวไปมา ดังนั้นจำหวังให้น้ำปริมาณมหาศาลลดลงอย่างรวดเร็วนั้น คงจะยากเหมือนกัน

อ่านต่อ »


ร่องดักน้ำฝน

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 13 October 2010 เวลา 0:34 ในหมวดหมู่ ธรรมชาติ สัตว์ ต้นไม้ สิ่งแวดล้อม #
อ่าน: 4255

บันทึกนี้เป็นเทคที่สามครับ ตามไปอ่านอันที่สองและอันแรก ซึ่งเป็นความคิดดั้งเดิมได้ ทั้งสองเสนอให้ขุดร่องเพื่อชะลอน้ำฝนที่ตกลงบนพื้นที่ลาดเอียง

ความคิดที่สามก็อยู่บนหลักการเดียวกัน แต่ว่าแทนที่จะปล่อยให้เป็นร่องเปิด ซึ่งเมื่อน้ำฝนไหลผ่านดินชั้นบนมาลงร่อง คราวนี้ผมเสนอให้เอกหิน/กรวดก้อนเล็กๆ ใส่ไว้ในร่อง ประการหนึ่งเป็นตัวกรองธรรมชาติ เพื่อที่น้ำที่ปลายด้านต่ำของร่องจะได้สะอาดขึ้น เนื่องจากโคลนดินและฝุ่นที่ถูกฝนชะมา จะถูกหินกรวดกรองเอาไว้

ประการที่สองคือกินกรวดจะค้ำยันร่องเอาไว้ไม่ให้ถล่มลง

อ่านต่อ »


หลังคาสีขาว

อ่าน: 3848

บันทึกนี้เป็นเรื่องโลกร้อนครับ

โลกโดนดวงอาทิยต์เผาอยู่ชั่วนาตาปี แม้ไม่มีมนุษย์ยุคอุตสาหกรรมกำเนิดขึ้นในโลก ต่อให้ไม่มีการค้นพบเชื้อเพลิงฟอสซิล โลกก็มีการเปลี่ยนแปลงภาวะอากาศเป็นช่วงๆ ตลอดมา ทั้งอุณหภูมิเฉลี่ย ทั้งระดับคาร์บอนไดออกไซด์ ต่างเปลี่ยนแปลงขึ้นลงช้าๆ ทำให้เกิดยุคน้ำแข็งเป็นระยะๆ ด้วยน้ำนี่ล่ะครับ น้ำที่เป็นไอและเป็นละออง เป็นตัวที่กั้นไม่ให้ความร้อนที่แผ่ทะลุลงมาถึงผิวโลก สะท้อนกลับออกไปสู่อวกาศ ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นได้

และเนื่องจากพื้นผิวโลก เป็นน้ำอยู่ถึงสามในสี่ เมื่อุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้น้ำระเหยเป็นไอได้ดีขึ้น เกิดเป็นการป้อนกลับแบบบวก คือเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจะมีเมฆมากขึ้น ซึ่งไปกั้นไม่ให้ความระอุที่โดยแสงแดดเผา แผ่ทะลุบรรยากาศออกไป

สมมุติฐานที่ว่าใช้หลังคาสีอ่อน จะสะท้อนความร้อนออกไปได้นั้น เป็นความจริงทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็ไม่เคยมีใครศึกษาจนสุดทาง จนกระทั่งห้องปฏิบัติการแห่งชาติ Lawrence Berkeley (LBNL) ได้ประกาศว่าหากเปลี่ยนสีของหลังคาในเมืองทั้งหมดเป็นสีขาว จะเหมือนเป็นการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์ถึง 300 ล้านคัน

อ่านต่อ »


Global Disruption

อ่าน: 3362

Dr. John Holdren นักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงของสหรัฐ (ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการสำนักนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำเนียบขาว และเป็นประธานร่วมของคณะที่ปรึกษาประธานาธิบดีโอบามา ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ในสมัยที่ยังอยู่ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ให้สัมภาษณ์กับเครือข่าย DemocracyNow.org เรื่อง Global Disruption ดังนี้ครับ

อ่านต่อ »


เที่ยวตลาดนัดธนบุรี

7 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 22 September 2010 เวลา 1:25 ในหมวดหมู่ ธรรมชาติ สัตว์ ต้นไม้ สิ่งแวดล้อม #
อ่าน: 4042

ตลาดนัดธนบุรีเป็นตลาดนัดคล้ายตลานัดสวนจตุจักรครับ ส่วนเก่ามีสิบเอ็ดโซน วันนี้เดินโซน 1 กับ 2 เป็นโซนไม้ประดับ

ที่จริงผมเคยมาหลายครั้งแล้ว มาครั้งแรกก็มาหา Ulem ที่จริงตลาดนัดธนบุรีไกลจากบ้านสี่สิบกว่ากิโลเมตรนะครับ แต่เมื่อวานก็ไปเพราะว่าจะหาต้นไม้ที่หายาก เดินไปเดินมาก็เจอแล้ว ต้นโนราที่ตามหา ตอนไปเยี่ยมฤๅษีอ้นเมื่อปีก่อน ฤๅษีให้ป้าจุ๋มมาสองต้น ให้ผมมาสองต้น ตอนนั้นหน้าหนาว โนราออกดอกพอดี ดอกโนรามีรูปร่างแปลก ตอนตูมเป็นก้อนทรงกลม เวลาบานแล้วเหมือนมีหาง มีกลิ่นหอมมาก

เห็นอยู่ต้นหนึ่งที่ซอยห้าโซนหนึ่ง ไม่มีคนขายแฮะ ซึ่งก็ดี เพราะผมไปสั่งไว้แล้วสองต้นจากร้านในซอยสี่โซนหนึ่ง แม่ค้าบอกที่สวนมี แต่รากมันทะลุกระถางลงไปในดินแล้ว ต้องกลับไปตัดรากแล้วพักไว้สักอาทิตย์หนึ่ง นัดกันว่าอาทิตย์หน้าจะไปเอา ก็ดีเลยเพราะจะได้ไปหาต้นไม้ที่ยังหาไม่เจอในวันนี้อีก

ไม้เถาโนรา สดใสงามตา สีขาวชมพู
ก้านจะลดเลี้ยว ใบเดี่ยวเป็นคู่ ดอกจะบานอยู่ ประมาณสามวัน
ดอกมันก็ร่วง ออกดอกเป็นพวง ทะยอยตามกัน
กลิ่นหอมอบอวล ยียวนใจฉัน งดงามมากครัน กลิ่นหอมจริงจริง

… เจตณภาง คงเรือง

ที่ไปซื้อมาเพิ่มเพราะว่าชอบกลิ่นโนรามากเลย หอมเหมือนดอกส้ม ซึ่งแม่เคยให้ดอกส้มแห้ง เป็นซองมาจากแคว้นโพรว็องซ์ในฝรั่งเศส ซึ่งเป็นดินแดนของดอกไม้หอม และการท่องเที่ยวเขตเมดิเตอร์เรเนียนของฝรั่งเศส (นีซ คานส์ มาร์กเซย​ เฟรนช์ริเวียรา ฯลฯ) ได้จากฤๅษีอ้นมาสองต้น ต้นหนึ่งก็ปลูกให้เลื้อยต้นไม้ใหญ่ข้างห้องทำงานของพ่อ ยังไม่โตเลยครับ อีกต้นหนึ่ง ปลูกนอกบ้านให้เลื้อยต้นไม้ใหญ่ข้างห้องน้องชาย แต่คนสวนไปตัดหญ้า เลยตัดต้นไม้ผมทิ้งไปด้วย เสียชีวิตตั้งแต่ยังเล็กอยู่เลย

อ่านต่อ »


การสำรวจวงปีของต้นไม้ เปิดเผยเรื่องน่ากลัว

อ่าน: 3667

Earth Institute แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาวงปีของต้นไม้ทั่วเอเซีย

อาจจะดูเหมือนเป็นการศึกษาแบบเด็กๆ เพราะว่าเราก็รู้ว่าวงปีของต้นไม้เกิดขึ้นปีละวง เมื่อต้นไม้ได้รับน้ำมากในหน้าฝน ต้นไม้ก็จะเจริญเติบโตมาก ทำให้เนื้อไม้ในช่วงนั้นโตเร็ว ในขณะที่หน้าแล้ง ต้นไม้ไม่ได้น้ำก็โตช้าหน่อย จึงเห็นว่าหากตัดต้นไม้ทางขวาง ก็จะเห็นวงในเนื้อไม้หนึ่งวงสำหรับการเจริญเติบโตหนึ่งปี

ประเด็นอยู่ตรงนี้ล่ะครับ เมื่อฝนมาก ระยะห่างระหว่างวงก็มาก เมื่อเจาะเนื้อไม้มาศึกษาวงปี ก็พบความจริงที่น่าตกใจ ว่าในช่วงหกร้อยปีที่ผ่านมา เกิดความแห้งแล้วอย่างแสนสาหัสในหลายพื้นที่ของเอเซีย รวมถึงในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่เราอยู่ด้วย (ในสารคดีนี้บอกว่านครวัดล่มสลายเพราะความแห้งแล้ง ถึงจะจริงแต่ “ขอม” ผู้สร้างนครวัดคงไม่ยอมแห้งตายหรอกครับ ต้องอพยพไปที่ราบลุ่มที่มีน้ำจืดอุดมสมบูรณ์ที่อื่นแน่นอน เผอิญไปคาบกับช่วงที่อาณาจักรอยุธยาเกิดโผล่ขึ้นมาในประวัติศาสตร์อย่างกระทันหันพอดี)

ไม่ว่าเมืองไทยจะมีโทรศัพท์สามจีหรือไม่ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ก็เป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลกเสมอ น้ำฝนมากับมรสุม ซึ่งมรสุมก็เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรอินเดีย กับในมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อมีปรากฏการณ์โลกร้อน อุณหภูมิของน้ำทะเลเปลี่ยนแปลง เสริมด้วยเอลนินโย ก็ทำให้เกิดความแห้งแล้วหนัก และมักเกิดเป็นรอบๆ บางรอบนานกว่าสิบปี หรืออาจเป็นหลายสิบปี

อ่านต่อ »



Main: 1.0285398960114 sec
Sidebar: 2.7105360031128 sec