การวิพากษ์ที่ไม่อยู่บนความเป็นจริง คือการฟุ้งซ่าน

อ่าน: 3404

พจนานุกรมให้ความหมายว่า:

วิพากษ์ = พิจารณาตัดสิน
จริง = แน่ แท้ ไม่ปลอม ไม่เท็จ ไม่โกหก ไม่หลอกลวง
ฟุ้งซ่าน = ไม่สงบ พล่านไป ส่ายไป

การวิพากษ์และการวิจารณ์ ไม่ยากหรอกครับ ที่ยากคือการตระหนักว่าเราไม่รู้อะไรต่างหาก

ถ้าไม่รู้แต่ดันนึกว่ารู้ ก็จะทำให้การตัดสินใจผิดเพี้ยนออกจากหลักของเหตุและผล หลักของการไม่ละเมิดซึ่งกันและกัน และหลักของความยุติธรรม


เมืองไทยเรานี้ ทำดีย๊ากยาก

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 13 August 2009 เวลา 0:46 ในหมวดหมู่ การเมือง การปกครอง กฏหมาย #
อ่าน: 5083

ในขณะที่บ้านเมืองโหยหาคุณความดี แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีความไม่ไว้วางใจกันอยู่มาก ไม่เชื่อว่าผู้อื่นก็ทำความดีได้เหมือนกัน ใช่ว่าตัวเองจะทำเป็นคนเดียวซะเมื่อไหร่

ในสถานการณ์ที่มีความไม่ไว้วางใจกัน แล้วตัวเองรวบความดีมาทำเสียเองคนเดียว ใครทำอะไรก็บ่นว่า ติติงไปหมดทุกอย่าง การทำแบบนี้นอกจากตัวเองจะทำไม่ไหวแล้ว ยังไม่สร้างกำลังใจให้คนที่พยายามจะทำดีอีกด้วย ในที่สุดก็กลายเป็นสังคมธุระไม่ใช่ ต่างคนต่างอยู่ พอมีเรื่องของส่วนรวม ก็โบ้ยไปให้ใครก็ไม่รู้ หาเหตุผลต่างๆนานาที่จะไม่ทำ (เพราะทำไม่ไหว ทำไม่เป็น ฯลฯ)

ฟังดูเป็นเหมือนการบ่น แต่ไม่ได้บ่นหรอกครับ ในนี้มีคำถาม ว่า “การทำดี” คืออะไร ใครได้ประโยชน์ ถูกใจใคร ทำเพื่ออะไร — ถ้าเรื่องนี้ไม่ชัด ก็ยากจะตัดสินได้ว่า “ดี” อะไร “ดี” อย่างไร แล้วก็ไปจบที่การชี้นิ้วเหมือนเดิม


ภาษีกับการบริจาค

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 August 2009 เวลา 0:10 ในหมวดหมู่ การเมือง การปกครอง กฏหมาย #
อ่าน: 5165

เมื่อคืน เขียนเรื่อง”เงินบริจาคที่นำไปหักภาษีเงินได้ได้” เอาไว้ในลานเจ๊าะแจ๊ะ แต่ที่บล็อกนั้น ผู้ที่ไม่ใช้สมาชิกลานปัญญาอ่านไม่ได้ ก็เลยย้ายมาที่นี่ เรื่องเริ่มต้นที่ว่ามีองค์การสาธารณกุศลเป็นจำนวนมาก ที่กรมสรรพากรไม่ได้รับรู้ว่าเป็นองค์การสาธารณกุศล เรื่องนี้ทำให้ผู้ที่บริจาคเงินและสิ่งของให้องค์การสาธารณกุศลเหล่านี้ ไม่สามารถนำมูลค่าที่บริจาคไปหักภาษีเงินได้ได้

กรมสรรพากรจะรับรู้ก็ต่อเมื่อนำชื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งก่อนที่จะทำอย่างนั้น องค์การสาธารณกุศลก็จะต้องพิสูจน์ตัวเองว่ากระทำการอย่างถูกต้อง โปร่งใส ใช้สิ่งที่ได้รับบริจาค (รวมทั้งเงินด้วย) เพื่อสาธารณประโยชน์จริงๆ มีบัญชีเดียว+ทำอย่างถูกต้อง มีผลงานตามเงื่อนไขของกรมสรรพากรเป็นเวลาอย่างน้อยสามรอบบัญชีเสียก่อน แล้วจึงขอให้กรมสรรพากรประเมิน (ซึ่งอาจจะได้หรือไม่ได้)

การที่ไม่สามารถนำมูลค่าของการบริจาคไปหักภาษีเงินได้ได้นั้น ก็อาจจะทำให้ผู้บริจาคบางท่าน ไม่ว่าเป็นบุคคลหรือนิติบุคคล พะวงว่าสิ่งที่บริจาค ไปถึงมือประชาชนผู้ทุกข์ยากจริงหรือไม่ แล้วการนำมูลค่าของการบริจาคไปหักภาษีเงินได้นั้น เป็นประหนึ่งว่าผู้บริจาคบังคับให้รัฐช่วยเหลือองค์กรที่บริจาคให้ เป็นมูลค่าเท่ากับมูลค่าของการบริจาคคูณด้วยอัตราภาษีสูงสุดที่ผู้บริจาคชำระ (คือผู้บริจาคได้เงินคืนจากรัฐเป็นจำนวนเท่านั้น เมื่อตอนคืนภาษี) เช่นผู้บริจาคซึ่งเสียภาษีในอัตรา 37% บริจาคเงินหนึ่งล้านบาท ถ้าผู้รับบริจาคเป็นองค์การสาธารณกุศลที่กรมสรรพากรยอมรับ สิ้นปีผู้บริจาคสามารถขอรับเงินคืนจากกรมสรรพากรได้ 370,000 บาท รวมที่จ่ายออกไป 630,000 บาท ส่วนผู้รับบริจาคได้เงินเต็ม 1,000,000 บาท (และรัฐจ่ายให้องค์กรนี้ 370,000)

อ่านต่อ »


พระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติของรัชกาลที่ ๗

อ่าน: 20778

เมื่อวันพฤหัส ผมได้พบกับพี่ที่นับถือมากท่านหนึ่ง เพราะไม่ได้พบกันนานแล้ว จึงนั่งคุยกันอย่างออกรสชาตินานสามชั่วโมงครึ่ง เป็นที่สนุกสนาน ในโอกาสนี้ นอกจากกินข้าวฟรีแล้ว ยังได้รับหนังสือ “สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น: ประวัติศาสตร์เปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕” กับ “สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น ภาคจบ” โดย ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล ซึ่งท่านได้ทรงนิพนธ์ไว้เสร็จสมบูรณ์ตั้งแต่ปี ๒๔๘๖ แต่ไม่ได้รับการตีพิมพ์ ผ่านไป ๕๖ ปี มาจนปี ๒๕๔๒ ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงตรวจแก้ไขเล็กน้อย แล้วประทานให้ “ศิลปวัฒนธรรม” พิมพ์เผยแพร่ เล่มที่ผมได้รับมา เป็นการพิมพ์ใหม่ (ครั้งที่ ๖ กับครั้งที่ ๓) ในปี ๒๕๕๑ เข้าใจว่าหาหนังสือนี้ในตลาดหนังสือไม่ได้แล้วครับ

ปี ๒๔๗๕ เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลังจากนั้นมีความแตกแยกทางความคิดในคณะราษฎร์
ปี ๒๔๗๖ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก ใช้อำนาจเผด็จการในรัฐสภา; พระยาพหลพลพยุหเสนา ทำการรัฐประหารครั้งแรก; เกิดกบฏบวรเดช เป็นกบฎครั้งแรก
ปี ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ สละราชสมบัติ เมื่อคราวเสด็จประพาสอังกฤษ เพื่อทรงรับการถวายการผ่าตัดพระเนตรด้านซ้าย

เอกสารอ้างอิงอื่นๆ สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ครับ (20 MB pdf) แต่ไม่มีพระราชหัตถเลขาที่สละราชสมบัติ ซึ่งเมื่ออ่านแล้ว ก็พอเข้าใจได้ ว่าทำไมรัฐบาลในสมัยนั้นจึงไม่นำมารวม

ผมอ่านแล้วจึงอยากอัญเชิญพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ มาตีพิมพ์ไว้เพื่อให้มีเอกสารอ้างอิงแบบออนไลน์ดังนี้ครับ

อ่านต่อ »


Eric Hoffer ปัญญาชน คนธรรมดา

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 8 June 2009 เวลา 0:08 ในหมวดหมู่ การเมือง การปกครอง กฏหมาย #
อ่าน: 5528

Eric Hoffer (2445-2526) เป็นนักเขียนเรื่องเชิงสังคม และนักปรัชญา ชาวอเมริกัน ที่ได้รับการยกย่องมาก

เมื่ออายุห้าขวบ แม่ของ Hoffer ตกบันไดในขณะที่อุ้มเขาอยู่ ทำให้แม่อาการไม่ดีมาตลอด และตายจากไปในอีกสองปีต่อมา ส่วน Hoffer ก็ตาบอดตั้งแต่อายุเจ็ดขวบ แต่สายตาของเขา อยู่ดีๆ ก็กลับคืนมาเมื่ออายุสิบห้า เพราะกลัวว่าจะสูญเสียการมองเห็นไปอีกครั้ง เขาเริ่มอ่านทุกสิ่งทุกอย่าง และกลายเป็นนักอ่านตัวยงมาตั้งแต่นั้น (อาการตาบอด ไม่เคยกลับมาอีก)

ชีวิตไม่ได้สุขสมบูรณ์ เมื่ออายุ 29 เขาเคยพยายามฆ่าตัวตายมาแล้ว แต่ก็ผ่านมาได้ เขาทำงานเป็นกรรมกรที่ท่าเรือซานฟรานซิสโกตั้งแต่อายุ 39 จนเกษียณที่อายุ 65

Hoffer ไม่ได้เรียนสูงส่ง ใช้เวลาว่างจากงานเขียนหนังสือ ซึ่งเขาเคยเขียนบรรยายไว้ในจดหมายว่า

My writing is done in railroad yards while waiting for a freight, in the fields while waiting for a truck, and at noon after lunch. Towns are too distracting.

เขามีมุมมองที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่กับนักวิชาการ มุมมองของเขาได้รับการวิจารณ์(จากนักวิชาการ)ว่าเป็นแนวคิดสุดขั้วของพวกซ้ายใหม่ บางทีก็ในลักษณะของปัญญาชนเสรีนิยม เขาใช้การวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ พยายามทำความเข้าใจกับการรวมตัวทางสังคมเพื่อผลักดันประเด็นต่างๆ (mass movements)  “my writing grows out of my life just as a branch from a tree.

ผมสนใจ Hoffer เพราะคิดว่า quote ของเขามีที่โดนๆ เยอะเลยครับ

อ่านต่อ »


รีเซ็ตประเทศไทย (2)

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 18 April 2009 เวลา 0:10 ในหมวดหมู่ การเมือง การปกครอง กฏหมาย #
อ่าน: 3444

คนไทยควรเลิกดัดจริตกันเสียทีครับ อย่าพูดเลยว่าเป็นกลาง ถ้ามีคนอยู่สามคนยืนเรียงหน้ากระดาน คนอยู่ซ้ายจะว่าคนกลางอยู่ทางขวา ส่วนคนอยู่ขวาก็จะว่าคนกลางอยู่ซ้าย ความเป็นกลางนั้นไม่มี เพราะมนุษย์ไม่ใช่หุ่นเชิด มีความคิดเห็นต่อทุกเรื่อง ทุกประสบการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ไม่ควรปล่อยผ่านไปเฉยๆ โดยไม่พิจารณาให้รู้ซึ้งถึงประโยชน์และโทษ ในโลกสามมิติ ไม่มีอะไรหรอกครับที่จะมีด้านเดียว

แม้แต่ในความวางเฉย ที่มักจะเรียกกันว่า “อุเบกขา” สมเด็จพระญาณสังวรทรงแสดงอรรถาธิบายไว้ว่า ไม่ใช่แยกตัวปลีกวิเวกไม่ยุ่งไปซะทุกอย่าง แต่เป็นการวางเฉยด้วยความรู้ คือหลังจากพิจารณาไตร่ตรองแล้ว เห็นดี เห็นชั่วแล้ว จึงค่อยวางเฉย

ในหลายปีที่ผ่านมา เรามีรัฐบาลที่ทำดีก็มาก ทำชั่วก็เยอะ (แต่หักล้างกันไม่ได้ ทำดีก็สนับสนุน แต่ถ้าทำผิดต้องรับผิด) แถมที่แทบไม่ทำอะไรเลยก็มีเหมือนกัน ทุกรัฐบาลที่ผ่านมา อ้างประชาธิปไตยกันทั้งนั้น แต่กระทำการแบบอัตตาธิปไตย กล่าวคือขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยองคาพยพของรัฐ ซึ่งมีกำลังเพียง 10% ของขนาดเศรษฐกิจเท่านั้น

รัฐบาลแถลงนโยบายในรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ แต่กลไกของสภา ก็เป็นเรื่องน่าขัน น้ำลายท่วมสภา สาระมีน้อยเต็มที ต่างฝ่ายต่างแย่ง prime time กันจนผมคิดว่าควรเลิกถ่ายทอดสดการประชุมสภากันดีไหม สภาที่มีสาระมาก แต่ได้รับความสนใจน้อย คือสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งให้คำแนะนำต่อรัฐบาล ในลักษณะที่มองรอบด้านกว่าข้อเสนอของกระทรวง ซึ่งถูกกฏหมายจำกัดขอบเขตอำนาจไว้

ทุกรัฐบาล แม้จะได้เสียงข้างมาก ก็ควรเคารพประชาชนมากกว่านี้ จะทำอะไรใน หนึ่งเดือน สองเดือน สามเดือนข้างหน้า ประกาศออกมาให้ชัดได้ไหมครับ เพื่อที่ทุกคนจะได้เห็นเป้าหมายเดียวกัน ขับเคลื่อนประเทศไทยไปในทิศทางที่โปร่งใสชัดเจน

ประกาศเป้าหมาย หลักชัย และกำหนดเวลาไว้ล่วงหน้าก่อนเลย ทำได้ไม่ได้ยังเป็นเรื่องรอง เรื่องหลักคือประเทศไทยควรเดินอย่างมีเป้าหมายครับ อันนี้เป็นหลักเบื้องต้นของการบริหารเลยทีเดียว


ตัดสิน

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 16 April 2009 เวลา 22:30 ในหมวดหมู่ การเมือง การปกครอง กฏหมาย #
อ่าน: 2827

คำว่าตัดสินแปลว่าลงความเห็นชี้ขาด

การอยู่ร่วมกัน ก็ต้องมีข้อตกลงกันว่าอะไรยอมรับได้ อะไรยอมรับไม่ได้ ในสังคมประเทศ เราเรียกข้อตกลงนั้นว่ากฏหมาย การเอาผิดและการตัดสินว่าใครผิดใครถูก เรียกว่ากระบวนการยุติธรรม ซึ่งเริ่มตั้งแต่ผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ สอบสวน/สืบสวน เจ้าพนักงานอัยการ ศาล ในทุกขึ้นตอนมีคนเกี่ยวข้อง และมีการลงความเห็นทั้งนั้น

ความเห็นในแต่ละขั้นตอน ไม่ได้เป็นการชี้ขาด ซึ่งรัฐธรรมนูญก็รองรับสิทธิ์ตรงนี้อยู่ — ศาลซึ่งตัดสินชี้ขาด ไม่ใช่ว่านึกจะตัดสินอะไรก็ตัดสินได้ การสู้คดีในศาลและตัดสินของศาล เป็นไปตามความผิดที่เกิดขึ้นจากการละเมิดกฏหมาย ซึ่งหมายความว่ามีการออกกฏหมายไว้ก่อนว่าทำอะไรแล้วผิด

ผู้กระทำผิด คงไม่คิดหรอกว่าตนกระทำผิด แต่คำพิพากษาอิงอยู่กับกฏหมาย และมีการฟังความทั้งสองด้าน — กฏหมายประกาศความฐานผิดไว้ล่วงหน้า ผู้ต้องหาละเมิดข้อห้ามในกฏหมาย แล้วผ่านกระบวนการสอบสวนสืบสวนของผู้รักษากฏหมายมาก่อนจะไปถึงศาล

ศาลจะต้องพิจารณาไปตามกฏหมาย ไม่สามารถเลือกปฏิบัติได้; ถ้าคนสองคนทำผิดแบบเดียวกัน คำตัดสินก็ต้องเหมือนกัน แต่ทว่าต้องเข้าใจอยู่อย่างหนึ่งว่า อยู่ดีๆ จะให้ศาลตัดสินไม่ได้ จะต้องมีกระบวนการก่อนหน้านั้น ส่งเรื่องให้ศาล

เมื่อศาลตัดสินให้ผิดแล้ว ทีนี้ผู้กระทำผิด เริ่มมีเหตุผลต่างๆ มากมายที่จะไม่ชอบใจคำตัดสินนั้น ลืมไปอย่างหนึ่งคือกฏหมายห้ามไว้ล่วงหน้า แต่ผู้กระทำผิดกลับทำลงไปตามพยานหลักฐาน


การล่มสลายของประชาธิปไตย

อ่าน: 4175

เป็นบันทึกรีไซเคิลอีกแล้วครับ

มีผู้กล่าวว่า Alexander Fraser Tytler หรือ Lord Woodhouselee (1747-1813) เป็นผู้เขียนไว้ใน The Fall of Athenian Republic การล่มสลายของสาธารณรัฐเอเธนส์ (ต้นแบบประชาธิปไตย) ว่า

A democracy is always temporary in nature; it simply cannot exist as a permanent form of government. A democracy will continue to exist up until the time that voters discover that they can vote themselves generous gifts from the public treasury. From that moment on, the majority always votes for the candidates who promise the most benefits from the public treasury, with the result that every democracy will finally collapse due to loose fiscal policy, which is always followed by a dictatorship.

กล่าวโดยย่อ คือประชาธิปไตยล่มสลายด้วยประชานิยม ผู้ออกเสียงลงคะแนนเองนั่นแหละ ที่เลือกทำลายประชาธิปไตยโดยการโหวตให้กับคนที่สัญญาว่าจะให้สูงสุด สถานการณ์แบบนี้ มักจบลงด้วยการปกครองแบบเผด็จการอยู่เสมอๆ

และมี Quote อีกอันหนึ่ง โดย Tytler เช่นกัน กล่าวว่า

The average age of the worlds greatest civilizations from the beginning of history has been about 200 years. During those 200 years, these nations always progressed through the following sequence:

  • From Bondage to spiritual faith; (จากความผูกพัน สู่ศรัทธา)
  • From spiritual faith to great courage; (จากศรัทธา สู่ความกล้า)
  • From courage to liberty; (จากความกล้า สู่เสรีภาพ)
  • From liberty to abundance; (จากเสรีภาพ สู่ความอุดมสมบูรณ์)
  • From abundance to complacency; (จากความอุดมสมบูรณ์ สู่ความพึงพอใจ)
  • From complacency to apathy; (จากความพึงพอใจ สู่การขาดความเอาใจใส่)
  • From apathy to dependence; (จากการขาดความเอาใจใส่ สู่ภาวะที่ช่วยตัวเองไม่ได้)
  • From dependence back into bondage. (จากภาวะช่วยตัวเองไม่ได้ ย้อนกลับสู่ความผูกพัน)

เอกสารอ้างอิง


โคลนติดล้อ

อ่าน: 27020

เมื่อตอนกลางปี 2550 ท่านอาจารย์ไร้กรอบพูดถึงเรื่องการศึกษา แล้วเลยไปถึงบทพระราชนิพนธ์อันหนึ่ง จำเนื้อความได้ลางๆ แต่หาอ่านไม่ได้แล้ว

ผมจึงไปค้นมาได้ว่าเป็นบทพระราชนิพนธ์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ.​ 2458 เกือบร้อยปีมาแล้ว อยากนำมาให้อ่านอีกครั้งหนึ่งครับ

สหายเอยจงเงยหน้า และเปิดตาพินิจดู
เผยม่านพะพานอยู่ กำบังเนตรบ่เห็นไกล
เปิดม่านแลมองเถิด จะเกิดความประโมทย์ใจ
เห็นแคว้นและแดนไทย ประเสริฐแสนดังแดนสรวง
หวังใดจะได้สม เสวยรมยะแดดวง
เพ็ญอิสสะโรปวง ประชาเปรมเกษมสานต์
ซื่อตรงและจงรัก ผดุงศักดิ์ดิถูบาล
เพื่อทรงดำรงนาน อิศเรศร์ประเทศสยาม

โคลนติดล้อ หมายถึงความเห็นผิดที่เหนี่ยวรั้งเมืองไทยไม่ให้ก้าวหน้า มี 12 ข้อ น่าอ่าน แล้วน่าคิดทุกข้อครับ

อ่านต่อ »


เชื่อใจ

อ่าน: 4750

เมื่อวันอาทิตย์ ลูกกตัญญูพาคุณแม่ไปช็อบปิ้ง ระหว่างคุณแม่เพลิดเพลิน ผมก็แวะเข้าร้านหนังสือ B2S เจอหนังสือของ Covey อีกเล่มหนึ่งชื่อ The Speed of Trust: the one thing that changes everything

พลิกๆดูก็ชอบครับ แต่ไม่ได้หยิบมา คิดว่าค้นเน็ตอาจจะเจออะไรดีๆ ก็ได้ แล้วก็เจอจริงๆ มีหนังสือแปลด้วย ชื่อว่า พลานุภาพแห่งความไว้วางใจ: The speed of trust

คนบางคน ไม่มีความเชื่อใจใครเลย ระแวงไปหมด ปสด.แบบนี้ ป่วยการจะพูดถึงสันติวิธีและการสมานฉันท์ หรือว่าจะพูดถึงเป้าหมายร่วม ประโยชน์ของส่วนรวม อาจจะเป็นจากความเจ็บปวดที่ถูกทำร้ายจิตใจอย่างใดอย่างหนึ่งในอดีต จึงระแวงไปหมด และกลายเป็นคนขาด self-esteem ไปในที่สุด ไม่สามารถจะวางใจ หรือชื่นชมใครอย่างจริงใจได้

อาการนี้เป็นเช่นเดียวกับระบบราชการ ซึ่งเป็นระบบที่ไม่ไว้ใจใคร เพราะมีประสบการณ์ที่เลวร้ายมาจากอดีต เลยเต็มไปด้วยกฎเกณฑ์ จนทำให้แทบจะปฏิบัติงานไม่ได้ หรือเป็นไปด้วยความล่าช้า ไม่มีประสิทธิภาพ ปรับเปลี่ยนตามความต้องการในพื้นที่ไม่ได้ (เนื่องจากขัดกับเอกสาร แล้วเอกสารก็ไม่เคยเขียนได้ครอบคลุมทุกกรณี)

แต่การเชื่อใจ ก็ไม่เหมือนกับการอ่อนต่อโลก+มองโลกในแง่ดี ใครพูดอะไรก็เชื่อไปหมด ซึ่งนั่นก็เป็นฉันทาคติซึ่งเป็นหนึ่งในอคติ ๔

ในทางธุรกิจ เรามักจะได้ยินผู้รู้กล่าวว่า Strategy x Execution = Result แต่หนังสือเล่มนี้ กลับบอกว่า Strategy x Execution x Trust = Result คือว่า ไม่มี trust ก็ไม่มี result

อ่านต่อ »



Main: 0.056977033615112 sec
Sidebar: 0.23393583297729 sec