ปฏักแห่งสติ

อ่าน: 3097

…ระบบการศึกษาที่ดำรงอยู่ทำให้เกิดความอ่อนแอทางปัญญา เพราะเป็นระบบการศึกษานอกสังคม ไม่ร่วมทุกข์ร่วมสุข ไม่ร่วมแก้ปัญหา จึงอ่อนแอทางปัญญา ปัญญาจะเข้มแข็งต่อเมื่อเผชิญปัญหาและพยายามแก้ปัญหา การปฏิรูปการศึกษาที่กำลังทำอยู่ ไม่เพียงพอต่อการอภิวัฒน์ทางปัญญา เพราะยังทำอยู่ในภพเดิมที่ถือว่าความรู้มาจากตำรา เป็นการคิดแยกชีวิตกับการศึกษาออกจากกัน ว่าชีวิตก็อย่างหนึ่ง การศึกษาก็อีกอย่างหนึ่ง โดยการศึกษาเอาวิชาเป็นตัวตั้ง ไม่ได้เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง…

ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์
หนังสือ ดินดิ้นได้ กรกฎาคม ๒๕๔๘
สคส. สกว. สสส.


เที่ยวงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี ๒๕๕๓

อ่าน: 7520

วันนี้ไปส่งหนังสือ เจ้าเป็นไผ ๑​ ที่โรงพิมพ์อีกครั้ง เพราะมีคนแก้หนังสือหลังปิดฉบับไปแล้ว เพราะว่าทำงานดึกมาหลายคืน วันนี้ตื่นซะเที่ยงเลย แล้วก็อ้อยอิ่งทำโน่นทำนี่ ออกไปโรงพิมพ์เอาบ่ายสองโมง กว่าจะเสร็จขับรถมาถึงอนุสาวรีย์หลักสี่ก็บ่ายสามโมงแล้ว

ไหนๆ ออกมานอกบ้านแล้ว ไม่ต้องรีบร้อนกลับบ้าน มีทางเลือกสองทางคือไปเที่ยวงานเกษตรแฟร์ หรือไปเที่ยงงานวันนักประดิษฐ์

อยากไปทั้งสองงานล่ะครับ คิดว่าเดินเที่ยวเกษตรแฟร์ น่าจะมีเวลามากกว่านี้ ก็เลยไปเที่ยวงานวันนักประดิษฐ์ ที่ฮอล 9 อิมแพ็ค

อ่านต่อ »


แผน ICT2020

อ่าน: 4180

เมื่อวานไปร่วมแสดงความคิดเห็นใน ICT2020 : High-level Expert Roundtable เจอ อ.หมอวิจารณ์ อ.แหวว/สสสส.1 และคนคุ้นเคยในวงการไอทีที่ทำเรื่องทางสังคมอีกประมาณครึ่งโหล และที่ไม่รู้จักสองโหล

ด้วยความที่มีเรื่องอึดอัดใจที่เกี่ยวกับการใช้งานไอซีทีในการพัฒนา และในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไป อยู่หลายเรื่อง ผมก็เลยล่อไปหลายดอกครับ อิอิ ที่จริงแล้ว ไม่ใช่ความผิดของคนทำแผนหรอก คนทำแผนกับคนปฏิบัติเป็นคนละหน่วยงานกัน มีข้อจำกัดไม่เหมือนกัน

ประเด็นที่คุยกัน ก็น่าฟังทั้งนั้น จนสงสัยว่าจะใส่เข้าไปหมดได้ยังไง…

ไม่เป็นไร… ผมดีใจที่คนทำแผนเปิดรับฟังความคิดเห็นเป็นการทั่วไป โดยไม่เชื่อแต่ผู้เชี่ยวชาญ หรือคิดเอาเองนะครับ ในเมื่อเปิดโอกาสแล้ว ใครมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาไอซีทีของเมืองไทย ก็ขอให้ช่วยกันออกความเห็นหน่อยนะครับ อย่าเอาแต่บ่นเลย มีโอกาสแล้ว ใช้ให้คุ้มค่านะครับ

ในโอกาสที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จะจัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2554-2563 (ICT 2020) คณะทำงานฯ เห็นความสำคัญของการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงประชาชนทั่วไป ได้มีส่วนร่วมให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะในทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดทำ เอกสารดังกล่าว จึงได้เปิดเว็บไซต์นี้ขึ้นเพื่อเป็นช่องทางในการรับฟังความคิดเห็น รวมทั้งการสื่อสารระหว่างคณะทำงานฯ และประชาชนทั่วไปในประเด็นที่เกี่ยวกับการจัดทำ ICT2020 นี้…

ขอความคิดเห็นเพื่อกำหนดภาพ ICT ของไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า


กับเฮฮาศาสตร์

อ่าน: 2830

เมื่อวานออกเดินทางมาสวนป่าอีกวาระหนึ่ง คราวนี้มาช่วยครูปูพูดคุยกับนักศึกษาและอาจารย์จาก VBAC คิดว่าเด็กกลุ่มนี้โชคดีครับ

ครูมิมเดินทางมาจากพิษณุโลก มาถึงบ้านป้าจุ๋มตั้งแต่เช้า แต่ผมไปรับสายเอง กว่าจะมาทันกลุ่มของครูปูแถวเขาใหญ่ ก็ช้าไปเกือบชั่วโมง เมื่อกินข้าวกลางวันเสร็จ ก็นัดพบกันอีกครั้งที่ตลาดสตึกเพื่อเข้าไปสวนป่าด้วยกัน ผมแยกไปบ้าน อ.แพนด้า+อ.หลินฮุ่ย

พอเย็น ออกจากสวนป่าอีกครั้งมารับป้าหวานซึ่งเป็นแขกพิเศษ กินข้าวเย็น แล้วตั้งวง dialogue (แบบแปลกๆ) แต่ผมก็ดีใจกับเด็กชุดนี้ที่ได้มีประสบการณ์ที่หาได้ยาก

ช่วงดึกหลังจากเลิกวง dialogue ครูน้อยชวนคุยเรื่องกระบวนการเรียนรู้ของครูบา ตรงนี้ผมกลับคิดว่าผมโชคดี ที่ได้มีโอกาสคิดใคร่ครวญกับคำถามของครูน้อย ทำให้ชัดเจนกับกระบวนการเรียนรู้แบบเฮฮาศาสตร์มากขึ้น จำไม่ได้หรอกครับว่าตอบอะไรไป แต่ตอบต่อหน้าหลายคน ตอบไปอย่างที่คิด และรู้สึกดีที่ได้ตอบไป รายละเอียดรอไปอ่านใน dissertation ของครูน้อยก็แล้วกัน


โรงเรียนเปลี่ยนนิสัย

อ่าน: 11397

ความจริงไม่อยากเขียนบันทึกนี้ในตอนนี้เลยครับ เกรงว่าจะไปกระทบกระเทือนใจใคร ฮี่ฮี่ แต่ดูสารคดีแล้วผมโทรไปคุยกับพี่ครูอึ่ง เลยโดนขอให้เขียนเล่าหน่อย ก็ไม่รู้จะทำยังไงนะเออ เชื่อเถอะครับ ผมไม่อ้อมไปอ้อมมาหรอก อิอิ

เมื่อวานดูสารคดีช่อง Discovery Channel เจออยู่เรื่องหนึ่งชื่อ Brat Academy (โรงเรียนเด็กเกเร) เห็นเป็นวิธีการแก้ไขนิสัยเกเร — ไม่รู้จะมีฉายซ้ำหรือเปล่านะครับ เมื่อวานฉายไปสองรอบแล้ว อย่างไรก็ตาม ผมค้นวิดีโอภาษาอังกฤษมาให้ดู (คลิก) ถึงฟังไม่ทัน ดูภาพก็เห็นเยอะแล้วครับ เว็บของ Discovery Asia บรรยายว่า “As more and more children spin out of control in fast-developing China, desperate parents turn to a new breed of private schools for help.”

นโยบายการมีลูกคนเดียวของจีน ประกอบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว ได้สร้างปัญหาที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ก่อน คือพ่อแม่มีลูกคนเดียว เป็นความหวังเมื่อยามแก่เฒ่า เป็นทุกสิ่งทุกอย่าง จึงสรรหาทุกสิ่งที่จะหาได้มาปรนเปรอ เลี้ยงลูกเป็นเทวดา ทำให้เด็กเอาแต่ใจตัว ก้าวร้าว ไม่สนใจใครโดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อแม่ ประมาณว่าเด็ก 20% เป็นเด็กเหลือขอ

อ่านต่อ »


อุดมศึกษา

อ่าน: 3021

อาทิตย์ก่อน ผมไปร้านหนังสือ จะไปหาความรู้พื้นฐานเพิ่มเติมเรื่องเกี่ยวกับเคมีอินทรีย์ เพื่อพยายามเข้าใจให้ได้ว่าเซลลูโลส เปลี่ยนไปเป็นน้ำมันได้อย่างไร ปรากฏว่าพบจริงๆ ครับ เป็นหนังสือภาษาไทยด้วย คือหนังสือประมาณว่าคัมภีร์เคมีรวบยอด ม4-5-6 สำหรับเอ็นทรานซ์/เอเน็ตอะไรประมาณนั้น

นอกจากดีใจแล้ว ยังตกใจอีกด้วย ว่าเดี๋ยวนี้การเรียนการสอนในระดับมัธยมนั้น กำลังทำอะไรกัน เอา “ความรู้” แบบไหนใส่ให้กับเด็ก ให้เด็กนักเรียนมัธยมปลายเรียนเป็นแสนคน คุ้มค่าหรือครับ


วิชาเหมือนสินค้า

อ่าน: 7053

ไม่แน่ใจเหมือนกัน ว่าการจัดการศึกษาแบบให้ทุกคนเหมือนกันหมดตามมาตรฐาน กับให้แสวงหาเอาตามความต้องการ (และอยากเรียน) แบบไหนจะดีกว่ากันนะครับ

วิชาเหมือนสินค้า อันมีค่าอยู่เมืองไกล
ต้องยากลำบากไป จึงจะได้สินค้ามา

จงตั้งเอากายเจ้า เป็นสำเภาอันโสภา
ความเพียรเป็นโยธา แขนซ้ายขวาเป็นเสาใบ

นิ้วเป็นสายระนาง สองเท้าต่างสมอใหญ่
ปากเป็นนายงานไป อัชฌาสัยเป็นเสบียง

สติเป็นหางเสือ ถือท้ายเรือไว้ให้เที่ยง
ถือไว้อย่าให้เอียง ตัดแล่นเลี่ยงข้ามคงคา

ปัญญาเป็นกล้องแก้ว ส่องดูแถวแนวหินผา
เจ้าจงเอาหูตา เป็นล้าต้าฟังดูลม

ขึ้เกียจคือปลาร้าย จะทำลายให้เรือจม
เอาใจเป็นปืนคม ยิงระดมให้จมไป

จึงจะได้สินค้ามา คือวิชาอันพิสมัย
จงหมั่นมั่นหมายใจ อย่าได้คร้านการวิชา

เจษฎาจารย์ ฟ.ฮีแลร์


วันศุกร์มหัศจรรย์

อ่าน: 3783

เมื่อวันพฤหัสไปวัดพระบาทห้วยต้มว่าดีแล้ว วันศุกร์เจอเรื่องไม่คาดฝันเยอะกว่า ฝนฟ้าเป็นใจ ทั้งที่มีฝนตกมาก แต่เมื่อเราจะไปยังสถานที่ต่างๆ ฝนหยุดให้ดูอย่างจุใจ

เริ่มต้นตอนเช้า ไปโรงเรียนมงคลวิทยา คุยกับครูในโรงเรียน ฟังครูบาพูดสนุกมาก ได้พบเด็กหญิงเสื้อสีส้มจากบล็อกพี่ครูอึ่ง เสื้อสีแดง เสื้อสีเขียว และที่ยังไม่ได้ระบุสีเสื้อ จากนั้นไปพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมือง เป็นที่ที่น่าไปดูมาก เป็นโรงเรียนมงคลวิทยาเก่าด้วย แล้วก็ไปวัดพระธาตุหริภุญชัย องค์พระธาตุกำลังบูรณะ จึงมีวาสนาได้ดูฉัตรทองคำซึ่งนำลงมาแสดงในวิหาร

กินข้าวกลางวันที่ร้านก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋นลำไย แล้วไปพิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้วซึ่งอยู่ใกล้ๆกัน

บ่ายไปหอศิลป อุทยานธรรมะ เป็นบ้านของพ่ออินสนธิ์ วงศ์สาม ศิลปินแห่งชาติ อยู่ดีดี พ่ออินสนธิ์ เดินมาพาทัวร์ด้วยตัวเอง ผมไม่เล่าล่ะนะครับ รออ่านจากบล็อกครูบาก็แล้วกัน

บ่ายแก่ๆ ไปกินไอติม รับพี่สร้อย (น้าอึ่งอ๊อบไปน่านแล้ว) แล้วไปวัดต้นเกว๋น ค่ำไปวัดพระธาตุดอยคำ ได้ถ่ายรูปพระธาตุองค์เบ้อเริ่มใกล้ๆ ก่อนขึ้นไป เค้ากำลังตั้งขบวนจะเดินขึ้นพระธาตุพอดี เลยรีบขึ้นไปที่วัดซึ่งอยู่บนยอดเขา ได้สรงน้ำพระธาตุ ถ่ายรูปวิวของเมืองเชียงใหม่ ขาลงมาเจอขบวนซึ่งกำลังเริ่มเดินขึ้นเขา จอดรถถ่ายรูปอีก

เย็นกินข้าวที่ร้านข้าวต้มย้ง ไปกราบครูบาเจ้าศรีวิชัยที่ห้วยแก้ว เสร็จแล้วบุกห้องอาจารย์สาว (พี่สร้อย) กินมะม่วง กินลิ้นจี่ ดื่มชา

อ่านต่อ »


ทฤษฎีการเรียนรู้

อ่าน: 10080

วิกิพีเดียภาษาไทยให้นิยามไว้ว่า

ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่ เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน

บทความเต็มฉบับออนไลน์

ส่วน Wikipedia ภาษาอังกฤษ ให้คำนิยามไว้ว่า

In psychology and education, a common definition of learning is a process that brings together cognitive, emotional, and environmental influences and experiences for acquiring, enhancing, or making changes in one’s knowledge, skills, values, and world views (Illeris,2000; Ormorod, 1995). Learning as a process focuses on what happens when the learning takes place. Explanations of what happens constitute learning theories. A learning theory is an attempt to describe how people and animals learn, thereby helping us understand the inherently complex process of learning. Learning theories have two chief values according to Hill(2002). One is in providing us with vocabulary and a conceptual framework for interpreting the examples of learning that we observe. The other is in suggesting where to look for solutions to practical problems. The theories do not give us solutions, but they do direct our attention to those variables that are crucial in finding solutions.

There are three main categories or philosophical frameworks under which learning theories fall: behaviorism, cognitivism, and constructivism. Behaviorism focuses only on the objectively observable aspects of learning. Cognitive theories look beyond behavior to explain brain-based learning. And constructivism views learning as a process in which the learner actively constructs or builds new ideas or concepts.

Full Wikipedia article

เท่าที่ประเมินดู คิดว่าวิกิพีเดียภาษาไทย แปล/อ้างอิงจากบทความเดียวกันใน Wikipedia รุ่นเก่าซึ่งข้อความปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปเยอะมากแล้วครับ

ที่น่าสนใจคือข้อความในย่อหน้าที่สองของ Wikipedia — การเรียนรู้ อาจนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างอย่างน้อยอย่างหนึ่ง ในสามอย่าง คือ

อ่านต่อ »


รู้

อ่าน: 3516

ตามเรื่องในพุทธประวัติ ความตอนหนึ่งที่กล่าวโดยย่อคือ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช ปัญจวัคคีตามปรนิบัติอยู่หกปี จนเมื่อทรงละการบำเพ็ญทุกรกริยา ปัญจวัคคีจึงละทิ้งท่านไป ด้วยสำคัญผิดว่าพระองค์จะละทิ้งการแสวงหาทางหลุดพ้น เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้ว จึงตามหาพระอาจารย์ปรากฏว่าสิ้นอายุขัยไปแล้ว จึงระลึกถึงปัญจวัคคี เมื่อตามจนพบกัน พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตตนสูตรในวันอาสาฬหบูชา

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้น คำว่าตรัสรู้ คือรู้ถึงสิ่งที่ไม่เคยได้ร่ำเรียนหรือรับรู้มาก่อน แต่ยังมีประเด็นที่น่าสนใจซึ่งพระพรหมคุณาภรณ์ เขียนบทความเรื่อง หัวใจพุทธศาสนา (ซึ่งมีหลายมิติ) ความตอนหนึ่งว่า

บางท่านบอกว่า ” อริยสัจสี่ ” เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา  เพราะว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดรวมอยู่ในอริยสัจสี่

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว เสด็จไปแสดงปฐมเทศนา  พระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ….พระองค์ตรัสพุทธพจน์ตอนหนึ่ง มีความว่า ตราบใดที่เรายังไม่ ( จตูสุ อริยสจฺเจสุ ติปริวฎฺฎํ ทวาทสาการํ ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ ) มีญาณทัศนะที่มีปริวัฎ ๓ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจสี่ เราก็ยังปฏิญาณไม่ได้ว่า ได้ตรัสรู้ ต่อเมื่อเรามีญาณทัศนะนั้น  จึงปฏิญาณได้ว่า ตรัสรู้   หมายความว่า  ตรัสรู้อริยสัจสี่ครบ  ๓  ด้าน  คือรู้ว่าคืออะไร แล้วก็รู้ว่าหน้าที่ต่ออริยสัจสี่แต่ละอย่างนั้นคืออะไร และรู้ว่าได้ทำหน้าที่ต่ออริยสัจนั้นแล้ว เวียนไปทุกข้อเรียกว่า  ๓  ปริวัฎ   อธิบายว่า รู้ในอริยสัจสี่แต่ละอย่างเริ่มตั้งแต่รู้ว่าทุกข์คืออะไร เราจะต้องทำอะไรต่อทุกข์ แล้วก็รู้ว่าหน้าที่ต่อทุกข์นั้นเราได้ทำแล้ว ถ้ายังไม่รู้อริยสัจด้วยญาณทัศนะครบทั้ง ๓ ในแต่ละอย่าง (รวมทั้งหมดเป็น  ๑๒  เรียกว่ามีอาการ  ๑๒) ก็ยังไม่สามารถปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ

ต่อเมื่อได้ตรัสรู้อริยสัจ โดยมีญาณในอริยสัจแต่ละข้อครบทั้ง ๓ รวมเป็น ๑๒ จึงปฏิญาณได้ว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ

เป็นอันว่า  พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจสี่  และการตรัสรู้อริยสัจสี่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า  อริยสัจสี่จึงเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา

ประเด็นอยู่ตรงนี้ครับ

ความรู้ที่เผยแพร่กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่พยายามบอกว่า “คืออะไร” เสียมากกว่า ดังนั้นจึงเป็นลักษณะบอกให้รับรู้ (แล้วจะสอบได้ ถ้าใครถามก็ตอบ “ถูก”); ส่วนรู้แล้วจะต้องทำอะไร (หน้าที่) และการนำความรู้นั้นไปปฏิบัติให้ได้ผล (ทำหน้าที่) กลับเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะละเลยกัน

คาถาธรรมบท มรรควรรคที่ ๒๐

โยคา เว ชายตี ภูริ
เอตํ เทฺวธา ปถํ ญตฺวา
ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย

อโยคา ภูริสงฺขโย
ภวาย วิภวาย จ
ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ.

ภูริปัญญาย่อมเกิดเพราะการประกอบแล, ความสิ้นไปแห่งปัญญาเพราะการไม่ประกอบ, บัณฑิตรู้ทางสองแพร่งแห่งความเจริญและความเสื่อมนั่นแล้ว พึงตั้งตนไว้โดยประการที่ภูริปัญญาจะเจริญขึ้นได้.

ภูริปัญญา = ปัญญาอันกว้างขวาง เสมอด้วยแผ่นดิน
การประกอบ = การกระทำ



Main: 0.16987895965576 sec
Sidebar: 0.19373512268066 sec