ความดีกับคุณธรรมในสายตาเยาวชน

โดย Logos เมื่อ 27 July 2008 เวลา 17:39 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4789

เมื่อต้นปี ศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และ วิจัยความสุขชุมชน เสนอผลสำรวจเรื่อง ความรักวันวาเลนไทน์ ดารา นักการเมืองและประชาธิปไตยในมุมมองของเด็กและเยาวชน : กรณีศึกษาเด็กเยาวชนอายุ 12-19 ปี ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ดังข่าวที่ปรากฏอยู่โดยทั่วไป

เรื่องที่น่าสนใจคือทัศนคติของเยาวชนที่เป็นกลุ่มสำรวจครับ เอามาบันทึกไว้เพราะเกรงว่าข้อมูลจะหายไป

  • ตัดตอนจาก วิกฤติเยาวชนไทยยอมมีเพศสัมพันธ์คืนวันวาเลนไทน์, กรุงเทพธุรกิจ 11 ก.พ. 2551

    ดร.นพดล แถลงถึงมุมมองความรู้สึกของเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ต่อการเมืองไทย พบว่า ร้อยละ 60.9 รู้สึกเบื่อ น่ารำคาญ วุ่นวาย และเซ็งต่อการเมืองของประเทศ ในขณะที่ร้อยละ 29.1 ไม่สบายใจและเป็นห่วง ร้อยละ 10.9 รู้สึกว่าคนไทยไม่รักไม่สามัคคีกัน และร้อยละ 4.4 ระบุว่าการเมืองไทยมีแต่เรื่องโกงกิน

    นอกจากนี้ ผลสำรวจ 10 อันดับภาพลักษณ์ของนักการเมืองที่เด็กและเยาวชนจะเลือกทำตาม ซึ่งพบว่า ร้อยละ 28.3 ระบุเป็นเรื่องความฉ้อฉล เห็นแก่ตัว ทุจริต โกหก ของบรรดานักการเมือง ขณะที่ร้อยละ 16.9 ระบุการทำตัวดี บุคลิกดี และร้อยละ 9.8 ระบุความซื่อสัตย์

    “ที่น่าสนใจคือ ถามว่าพอจะหานักการเมืองที่เป็นแบบอย่างที่ดีด้านคุณธรรมได้หรือไม่ ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 47.5 ระบุว่าหายาก ร้อยละ 52.5 ระบุว่าพอหาได้ จากนั้นสอบถามชื่อนักการเมืองที่ชื่นชอบในเรื่องความดี คุณธรรม ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 45.2 ระบุว่าเป็น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 23.2 ระบุนายสมัคร สุนทรเวช ร้อยละ 22.4 ระบุนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

    สิ่งที่น่าพิจารณาคือ ร้อยละ 55.9 เห็นด้วยต่อการนำหลักปรัชญาและวิถีปฏิบัติแห่งเศรษฐกิจพอเพียงในการแก้ ปัญหาวิกฤติของประเทศไทย รองลงมา ร้อยละ 17.7 ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 22.5 เห็นด้วยปานกลาง

    สำหรับมุมมองทางการเมืองของเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า เด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีหัวใจเป็นประชาธิปไตย แม้ประเทศไทยจะมีปัญหาวิกฤติใดๆ ก็ตาม และทางออกของปัญหาที่กำลังอยู่ในใจของเด็กเยาวชนเหล่านี้คือ การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้แก้ปัญหาต่างๆ ของประเทศ

    อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ต้องวิพากษ์วิจารณ์กันต่อไปคือ ผลวิจัยก่อนหน้านี้ที่เคยพบว่าเด็กและเยาวชนเกินกว่าครึ่งมีความเอนเอียง ที่จะยอมรับรัฐบาลที่โกงกินแต่ทำให้พวกเขาอยู่ดีกินดี รวมไปถึงการกินค่าหัวคิวหรือการกินตามน้ำ ถ้าหากพวกเขาเติบโตขึ้นมาในอีก 10 ปีข้างหน้า และไปอยู่ในสาขาวิชาชีพต่างๆ ของประเทศ โดยบรรดาผู้ใหญ่ในสังคมตามกลไกของกระบวนการยุติธรรมในขณะนี้ ไม่กระทำอะไรบางอย่างเพื่อขัดเกลาทัศนคติและพฤติกรรมของพวกเขาแล้ว สังคมไทยจะเป็นเช่นไรในเวลานั้น

  • ตัดตอนจาก โจ๋ไทยส่วนใหญ่ปฏิเสธมีเซ็กซ์วันวาเลนไทน์ - กว่า 60%เซ็งการเมือง, ผู้จัดการ Online, 10 ก.พ. 2551

            ดร.นพดล ยังกล่าวถึงมุมมองความรู้สึกของเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ต่อการเมืองของ ประเทศไทย พบว่า เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.9 รู้สึกเบื่อ น่ารำคาญ วุ่นวาย และเซ็งต่อการเมืองของประเทศ ในขณะที่รองลงมาคือ ร้อยละ 29.1 ไม่สบายใจและเป็นห่วง ร้อยละ 10.9 รู้สึกว่าคนไทยไม่รักไม่สามัคคีกัน ร้อยละ 9.6 ระบุการเมืองไทยไม่สงบ เปลี่ยนแปลงบ่อยเกินไป ร้อยละ 6.1 รู้สึกภูมิใจ รู้สึกเป็นประชาธิปไตย และร้อยละ 4.4 ระบุว่าการเมืองไทยมีแต่เรื่องโกงกิน

            ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ผลสำรวจ 10 อันดับภาพลักษณ์ของนักการเมืองที่เด็กและเยาวชนจะเลือกทำตาม ซึ่งพบว่า ร้อยละ 28.3 ระบุเป็นเรื่องความฉ้อฉล เห็นแก่ตัว ทุจริต โกหก ของบรรดานักการเมือง รองลงมาคือร้อยละ 16.9 ระบุการทำตัวดี บุคลิกดี ร้อยละ 13.1 ระบุความเป็นผู้นำ ร้อยละ 12.8 ระบุพูดจาดี คุยดี ร้อยละ 11.8 ระบุความรับผิดชอบ ร้อยละ 9.8 ระบุความซื่อสัตย์ ร้อยละ 8.5 ระบุการทำงานหนัก ร้อยละ 7.0 ระบุการโต้เถียง ร้อยละ 5.9 ระบุความสามารถ และร้อยละ 5.2 ระบุการใช้อำนาจ

            ที่น่าสนใจคือ ถามว่าพอจะหานักการเมืองที่เป็นแบบอย่างที่ดีด้านคุณธรรมได้หรือไม่ ผลสำรวจพบว่า เด็กและเยาวชนจำนวนมากหรือร้อยละ 47.5 ระบุว่า หายาก แต่ประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 52.5 ระบุว่าพอหาได้ จากนั้นสอบถามชื่อนักการเมืองที่ชื่นชอบในเรื่องความดี คุณธรรม ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 45.2 ของกลุ่มนี้ระบุ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร รองลงมาคือร้อยละ 23.2 ระบุนายสมัคร สุนทรเวช ร้อยละ 22.4 ระบุนายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ร้อยละ 15.7 ระบุพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ร้อยละ 9.9 ระบุนายชวน หลีกภัย และร้อยละ 8.3 ระบุนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ตามลำดับ

            และเมื่อถามถึงดารานักร้องนักแสดงที่เป็นแบบอย่างที่ดีด้านคุณธรรม พบว่า ร้อยละ 43.2 ระบุว่าหายาก ในขณะที่ร้อยละ 56.8 ระบุพอหาได้ โดยในกลุ่มนี้ร้อยละ 15.6 ระบุ เขมนิจ จามิกรณ์ (แพนเค้ก) ร้อยละ 9.3 ระบุอุษามณี ไวทยานนท์ (ขวัญ) ร้อยละ 8.7 ระบุนักร้องวงแคลช ร้อยละ 7.1 ระบุธงไชย แมคอินไตย์ และร้อยละ 6.8 ระบุวรนุช วงศ์สวรรค์ (นุ่น) ตามลำดับ

            อย่างไรก็ตาม เด็กและเยาวชนเกินครึ่งหรือร้อยละ 52.5 เห็นว่าการปกครองประเทศไทยแบบประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ดี ขณะที่ร้อยละ 24.5 ระบุค่อนข้างดี ร้อยละ 18.6 ระบุปานกลาง ร้อยละ 3.0 และร้อยละ 1.4 เท่านั้นที่ระบุไม่ค่อยดีและไม่ดีตามลำดับ

            นอกจากนี้ เมื่อถามความเห็นของเด็กและเยาวชนต่อถ้อยคำที่ว่า ถึงแม้ประเทศไทยมีปัญหาวิกฤต แต่การปกครองแบบประชาธิปไตยยังดีกว่าการปกครองแบบอื่น ผลสำรวจพบว่า เด็กและเยาวชนร้อยละ 45.7 ระบุเห็นด้วย ร้อยละ 21.4 ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 24.9 เห็นด้วยปานกลาง ร้อยละ 4.6 ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 3.4 ไม่เห็นด้วย

            สิ่งที่น่าพิจารณาคือ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.9 เห็นด้วยต่อการนำหลักปรัชญาและวิถีปฏิบัติแห่งเศรษฐกิจพอเพียงในการแก้ ปัญหาวิกฤตของประเทศไทย รองลงมาคือร้อยละ 17.7 ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 22.5 เห็นด้วยปานกลาง ร้อยละ 2.4 และร้อยละ 1.5 เท่านั้นที่ไม่ค่อยเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ตามลำดับ

            หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า เด็กและเยาวชนช่วงอายุนี้มีจำนวนทั้งสิ้นทั่วประเทศกว่า 7.5 ล้านคน และในอีกประมาณสี่ปีข้างหน้าพวกเขาจะเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกือบ 5 ล้านคนหรือประมาณร้อยละ 10 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดจึงเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีนัยสำคัญต่อทิศ ทางการพัฒนาประเทศ การทำวิจัยเพื่อเฝ้าระวังรักษาคุณภาพของพวกเขาโดยมีฐานข้อมูลเชิงคุณภาพ เกี่ยวกับทัศนคติและพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้น่าจะเป็นเรื่องที่ สำคัญสำหรับสังคมไทย

            ดังนั้น รัฐบาลต้องเข้ามาจัดการกับสาเหตุของปัญหาที่กระทบต่อคุณภาพของเด็กและ เยาวชนกลุ่มนี้เพราะบางอย่างเป็นเรื่องที่เกินขอบเขตของชุมชนจะจัดการแก้ไข ได้เพียงลำพัง เช่น สภาพแวดล้อมที่ไม่ดี เพราะมีคนใช้ยาเสพติดในชุมชน มีกลุ่มมั่วสุมของวัยรุ่น มีสถานบันเทิงในชุมชน มีสถานบริการทางเพศใกล้

แล้วสื่อสิ่งพิมพ์ เลือกที่จะพาดหัวอย่างไรเนี่ย

« « Prev : ชีวิตนี้น้อยนัก

Next : “รีเซ็ต” » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 KL ให้ความคิดเห็นเมื่อ 27 July 2008 เวลา 20:52

    อ่านแล้วเห็นเลยว่าราวกับอยู่กันคนละโลก คนละประเทศ
    แต่มาคิดดู…ก็ไม่ต่างจากที่เห็นพฤติกรรมในสถานศึกษา
    เด็กวัยรุ่น ไม่ค่อยรับรู้ และไม่อยากรับรู้สิ่งดี หรือคุณธรรม จริยธรรมคืออะไร ไม่ค่อยรู้ บอกไม่ได้ อธิบายไม่ถูก และเลือกที่จะเีลียนแบบพฤติกรรมแปลก มากกว่าพฤติกรรมที่จัดว่าดี หรือเหมาะสม..

    แปลก..แต่จริง

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 28 July 2008 เวลา 1:44

    เด็กเป็นผลผลิตของสังคมครับ ไม่ว่าจะเป็นค่านิยม จริยธรรม คุณธรรม มารยาท ไม่ว่าจะ “ไม่มี” หรือ “มีผิด”


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.13291907310486 sec
Sidebar: 0.16347312927246 sec