ความมั่นคงสามแนวทาง 1.1

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 2 December 2011 เวลา 0:11 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 2908

บทเรียนและสถานการณ์ต่อเนื่องจากน้ำท่วมใหญ่คราวนี้ ทำให้ผมมานั่งเพ้อเจ้อต่อถึงบันทึกเก่า [ความมั่นคงสามแนวทาง เพื่อให้อยู่ได้]

น้ำท่วมใหญ่ความนี้ เห็นว่าคนช่วยเหลือตนเองไม่ได้เยอะครับ ไม่อย่างนั้นก็ไม่เรียกว่าภัยพิบัติหรอก แต่น้ำท่วมใหญ่ปี 54 นี้ ต่างกับปีก่อนที่เส้นทางความช่วยเหลือจากส่วนกลางถูกตัดขาด แหล่งผลิตอาหารเสียหายหนักเป็นวงกว้าง อุตสาหกรรมเสียหาย คนตกงาน หลังน้ำลดแล้ว เมื่อการคมนาคมขนส่งกลับมาใช้ได้ เราอาจจะพบความจริงของการขาดแคลน ว่าของที่เคยหาซื้อได้ อาจจะหาไม่ได้ หรือราคาแพงขึ้นมาก… ก็ดีไปอย่างที่จะได้แยกแยะกันได้ซะที ระหว่างความอยากกับความจำเป็น

แต่ในเรื่องของความอยู่รอดนั้น นอกจากปัจจัยสี่แล้ว ยังมี “อาหาร น้ำ พลังงาน” ซึ่งต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ สิ่งเหล่านี้ ใช้เรื่อยๆ และไม่อาจเนรมิตมาได้ทันอกทันใจ เราไปติดกับความสะดวกสบายของการใช้เงิน มีเงินซะอย่าง ซื้ออะไรก็ได้ น้ำท่วมคราวนี้ คงได้บทเรียนกันว่าไม่แน่เสมอไป ว่าข้าวของแถวบ้าน แม้มีเงินจะซื้อ แต่ไม่มีของขายเพราะสินค้าเอามาส่งไม่ได้เนื่องจากน้ำท่วมถนน ท่วมโรงงาน หรือท่วมโกดังสินค้า

อ่านต่อ »


ฟื้นฟูไม่ใช่แค่ทำให้เหมือนเก่า

อ่าน: 2838

การฟื้นฟูไม่ใช่การทำให้กลับไปเป็นเหมือนเก่า แต่ต้องทำให้ “ดีกว่า” เก่า ในแง่ที่ว่าหากเกิดภัยขึ้นอีก จะไม่ทุลักทุเลเหมือนครั้งที่ผ่านมา ถ้าหากว่าฟื้นฟูเพียงแต่ทำให้กลับไปเหมือนเก่าก็จะโดนอีก หมดตัวอีก เพราะความเสี่ยงยังมีอยู่เหมือนเดิม ผ่านภาวะวิกฤตมาได้ แต่ไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย

อ่านต่อ »


ธุรกิจจิ๋ว ในฐานะจุดเริ่มต้นของการฟื้นฟู

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 30 November 2011 เวลา 0:33 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3678

พอเขียนเรื่องการฟื้นฟู ก็คงจะมีคนบ่จอยเท่าไหร่ที่พื้นที่ของตนท่วม/หนักท่วมนาน ในขณะที่พื้นที่อื่นน้ำลดแล้วครับ

(หาเรื่องโดนด่า) สภาพน้ำท่วมส่วนใหญ่เป็นไปตามภูมิประเทศ มีเหมือนกันที่น้ำลดช้าเพราะต่อคิวกันไปเข้าตามทางระบายน้ำ จะระบายออกจากพื้นที่หนึ่ง ก็จะไปท่วมอีกพื้นที่หนึ่ง ถ้าหากว่ากำลังการระบายน้ำไปลงแม่น้ำหรือทะเลไม่ได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย บางกรณีระบายเท่าไหร่ก็ไม่หมด เพราะว่าน้ำที่ไหลเข้ามาในพื้นที่ยังมากกว่าหรือเท่ากับน้ำที่ระบายออกไป

อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงการฟื้นฟู ของจากโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐแล้ว การฟื้นฟูที่มีความหมายต่อชีวิตประชาชนที่สุด คือการทำให้คนทุกคนมีงานทำ พอมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ มีกำลังบูรณะความเสียหายที่เกิดขึ้น ในชุมชนแถบชานเมือง คาดว่าจะมีผู้เดือดร้อนเป็นจำนวนมาก งานไม่มี เงินไม่มี ความหวังก็ไม่มี

เมื่อเกือบสามปีก่อน ผมเขียนบันทึกเรื่อง [ธุรกิจจิ๋ว] เอาไว้ ให้ความหมายในทางกว้างไว้ว่าเป็นงานบริการแบบง่ายๆ เช่นรับตัดหญ้า แต่งสวน รดน้ำต้นไม้ ทำแก้เครียด/แก้เหงา ไม่ต้องลงทุนอะไรมาก เดินไปทำงานในซอยได้เลย ได้ค่าตอบแทนเล็กน้อยดีกว่าอยู่เปล่าๆ

ความคิดเรื่องธุรกิจจิ๋วกลับมาอีกครั้ง ในฐานะที่จะเป็นเครื่องกระตุ้นเศรษฐกิจระดับปัจเจก ช่วงนี้น้ำเริ่มลดลง จะต้องมีการระดมทำความสะอาดกันขนานใหญ่ อาทิเช่น

อ่านต่อ »


ขอบเขตของมุมมอง

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 29 November 2011 เวลา 18:33 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3336

คนเราโดยปกติก็มองไปไม่ได้เกินระยะที่สายตามองเห็นหรอกครับ แต่ด้วยความสนใจใคร่รู้ เราจึงบริโภคข่าวสารซึ่งเป็นข้อมูลมือสอง เราดูโทรทัศน์ ดูคลิป อ่านหนังสือ เม้าธ์ในเฟสบุ๊คและเว็บบอร์ด แล้วเราก็รีบร้อนตัดสินประหนึ่งว่าไปรู้ไปเห็นมาด้วยตนเอง

ข่าวสารมือสองที่ผ่านสื่อ โดยทั่วไปจะพออนุมาณได้ว่าเป็นไปโดยจริยธรรมของสื่อ (ซึ่งบางทีก็อนุมาณอย่างนั้นไม่ได้เหมือนกัน) เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น แต่ข้อเท็จจริงนั้นขึ้นกับมุมมองเหมือนกัน สิ่งที่เราเห็นเป็นเพียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยที่เราไม่รู้เรื่องราวเบื้องหลัง

ข่าวตามสื่อมวลชนกว้างได้แค่ผู้สื่อข่าวไปถึงเท่านั้น มีหลายสถานีที่พยายามเชิญชวนลักษณะของสื่อพลเมือง ซึ่งก็เป็นความพยายามที่ดีครับ แต่ผมคิดว่ายังดีกว่านั้นได้อีก คือลักษณะของสื่อพลเมือง เป็นการเสนอเหตุการณ์จากผู้ประสบเหตุแต่สถานีเป็นผู้เลือกสรรว่าจะนำเสนออะไร แต่สถานีโทรทัศน์มีเวลาออกอากาศที่จำกัด แม้จะใช้กับหนังสือพิมพ์ ก็ติดขัดที่เนื้อที่ในการตีพิมพ์อีกด้วย

การที่มีการเลือกสรรข่าวที่จะนำเสนอ หมายความว่าจะมีข้อเท็จจริงบางส่วนที่หายไป เช่นเดียวกับการรายงานเหตุการณ์น้ำท่วมของระบบราชการ แต่ลักษณะที่ “ไว้ใจ” รายงานของผู้ประสบเหตุ และ “ไว้ใจ” ผู้บริโภคข่าวสารว่าสามารถประเมินสถานการณ์ได้เองก็มีตัวอย่างอยู่หลายอัน

อ่านต่อ »


บำบัดน้ำเสีย เติมออกซิเจนในน้ำ

อ่าน: 7131

สำหรับบ้านเรือนที่น้ำท่วมแล้วระดับน้ำไม่ยอมลด หรือคาดว่าจะลดช้า (หรือเป็นมานานแล้ว/ทนมานานแล้ว) ปัญหาน้ำเน่าเสียเป็นปัญหาใหญ่เรื่องหนึ่งครับ

น้ำเสียเกิดจากหลายสาเหตุ แต่มีสองลักษณะที่มักจะเกิดร่วมกัน คือ (1) น้ำนิ่ง ไม่ไหวเวียนถ่ายเท และ (2) ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ ต่ำมาก

วันนี้เอาคลิปเรื่องวิธีการง่ายๆ ในการเติมอากาศลงในน้ำ และยังทำให้น้ำหมุนเวียนด้วย คือใช้ปั๊มน้ำแบบจมน้ำ ดูดน้ำมาแล้วปล่อยออกใต้น้ำนั่นละครับ แต่ก่อนปล่อย เราหาข้อต่อสามทางมา โดยที่ทางหนึ่งต่อสายยางขึ้นมารับอากาศบนผิวน้ำ ทางหนึ่งต่อกับปั๊มน้ำ อีกทางหนึ่งปล่อยน้ำออก

เมื่อเดินปั๊ม อากาศจะถูกดูดจากข้างบนลงไปตามสายยางเองโดยอัตโนมัติ (ด้วย Venturi effect) ไปผสมกับน้ำที่ปั๊มส่งออกมา กลายเป็นฟองอากาศเล็กๆ อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะเพิ่มออกซิเจนให้ละลายอยู่กับน้ำ ยิ่งกว่านั้น ปั๊มน้ำยังทำให้น้ำเคลื่อนไหว ทั้งสองอาการน่าจะช่วยปรับปรุงน้ำเสียได้บ้าง

อ่านต่อ »


เข้าใจก่อน จึงจะคาดหวังได้

อ่าน: 2894

ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ในฐานะของกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ให้สัมภาษณ์รายการเจาะข่าวเด่น ทางไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันที่ 25 ที่ผ่านมา ซึ่งถ้าหากสื่อให้เวลาแก่อาจารย์โดยไม่แย่งพูดแย่งแปลมากนัก ผู้ชมก็จะได้ข้อเท็จจริง และนำไปสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องได้ครับ

อ่านต่อ »


ปั๊มน้ำที่ใช้อากาศ

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 26 November 2011 เวลา 0:06 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 7153

เป็นที่รู้กันว่าเมื่อปล่อยอากาศเป็นอิสระใต้น้ำ อากาศก็จะลอยขึ้นเหนือน้ำ แต่เมื่ออากาศลอยขึ้น ก็จะยกน้ำขึ้นด้วยแรงที่เท่ากับน้ำหนักของอากาศที่แทนที่น้ำ (ตามหลักของอคีมีดีส)

ดังนั้นหากอัดอากาศลงไปใต้น้ำได้ เราก็จะได้ปั๊มน้ำครับ

ประเด็นของวันนี้คือว่า เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าพื้นที่ที่น้ำขังจะต้องสูบน้ำออกเท่านั้นจึงจะแห้ง แล้วจะไปหาปั๊มน้ำจากที่ไหนล่ะ ในเมื่อถูกใช้ไปหมดแล้ว… แต่ว่ายังมีเครื่อมือกลแบบอื่นเช่นปั๊มลม สามารถเอามาประยุกต์ใช้ประกอบเป็นปั๊มน้ำได้ตามคลิปข้างบน ดังนั้นหากมีช่องทางระบายน้ำไปลงแม่น้ำ ก็อย่ารอใครมาทำให้เลยครับ

ปล่อยลมที่ปลายท่อที่จุ่มอยู่ในน้ำ อีกปลายหนึ่งก็จะมีน้ำกับอากาศไหลออกมา ท่อกลายเป็นปั๊มน้ำไป

อ่านต่อ »


ดีดน้ำ

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 25 November 2011 เวลา 0:03 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 4822

หลักการสำคัญของปั๊มน้ำ คือเร่งให้น้ำมีความเร็วเพื่อที่พลังงานจลน์ของน้ำจะได้มีค่าไม่ต่ำกว่าพลังงานศักย์ของน้ำที่ความสูงที่ต้องการ

½mv2 ≥ mgh โดย m เป็นมวลของน้ำ v เป็นความเร็วต้นของน้ำ g เป็นค่าคงตัวของแรงโน้มถ่วง และ h เป็นความสูงของปลายที่สูงที่สุดของทางลาด หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือเราจะต้องปั่นให้น้ำมีความเร็ว v ≥ √(2gh)

แต่ปั๊มน้ำนั้น มักจะออกแบบให้ยกน้ำได้สูงมากๆ คือพลังงานที่ใส่ให้กับน้ำแล้วแปลงเป็น v มีค่าสูงเกินไปและสูญเปล่าซะเยอะ อีกอย่างหนึ่งคือปั๊มน้ำของทางราชการ ระดมมากรุงเทพและปริมณฑลแทบหมดประเทศอยู่แล้ว ปั๊มน้ำของนากุ้งซึ่งเป็นปั๊มแบบ head ต่ำแต่ปริมาณสูบสูง ก็ไม่รู้จักเอามาใช้ หากไม่ได้ปั๊มของทางราชการมาช่วย (เพราะอะไรก็แล้วแต่) แล้วหยิบยืมหรือหาเช่าปั๊มจากนากุ้งไม่ได้ น้ำท่วมขังจะหายไปได้อย่างไร?

บ้านเมืองเราเคยใช้ระหัดวิดน้ำ ใช้ลมเป็นต้นกำลัง จะใช้แรงคนถีบเอง หรือจะใช้มอเตอร์ก็ได้

อ่านต่อ »


เครื่องกรองน้ำราคาถูกมาก “น้ำใจปีบทอง” จาก มทส.

9 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 24 November 2011 เวลา 0:27 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 22978

ได้รับข่าวแจกจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เรื่องการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำคุณภาพดี และราคาถูกมากครับ (150 บาท) เป็นหลักการ slow sand filter แต่ปรับปรุงให้กรองได้คุณภาพดี ชาวบ้านที่เดือดร้อน สร้างเองได้ง่าย

หากใช้ท่อพีวีซีขนาดสองนิ้ว ก็จะได้ปริมาณน้ำประมาณหนึ่งหยดต่อวินาที หรือวันละ 15 ลิตร ซึ่งพอสำหรับการบริโภคในครัวเรือน แต่หากยังไม่พอ ก็สามารถใช้ท่อพีวีซีที่ขนาดใหญ่ขึ้นได้ — ใช้ลักษณะท่อ ต่อเป็นรูปตัว U ทำให้ไม่มี head มากเกินไป และน้ำที่จะกรอง ก็วิ่งผ่านทรายเป็นระยะทางยาว ดูแล้วผมชอบใจ Like มาก

นี่ละครับ ผู้ที่มีความรู้จริง ก็จะสามารถสร้างสรรค์สิ่งที่มีประโยชน์ต่อชีวิตได้ ดีกว่าความรู้แห้งๆ ในตำราเป็นไหนๆ

ดู press release ก่อนนะครับ

อ่านต่อ »


ปรับตัวหลังน้ำท่วม

อ่าน: 3251

วิกฤตยังไม่จบหรอกครับ สำหรับท่านที่น้ำลดแล้ว ก็ยินดีด้วย แต่ท่านคงรู้แจ้งว่าแม้น้ำลดแล้ว ยังมีปัญหารออยู่อีกมาก ดินอิ่มน้ำ อันตรายกว่าที่เห็น

สี่ปีที่ผ่านมา ผมโชคดีที่ได้ไปเยี่ยมสวนป่าของครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์หลายครั้ง แล้วผมก็พบว่าชีวิตเรียบง่ายนั้น ไม่ใช่แค่อวดอ้างแสดงตัวว่าเรียบง่าย แต่ต้องใช้ความรู้จริงมากมาย แล้วยังต้องเตรียมการไว้ล่วงหน้าเผื่อเหลือเผื่อขาดไว้ด้วย จึงจะไปถึงสถานะที่เก็บกินได้ ใครจะยังไงก็ไม่เดือดร้อน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบไม่หลอกตัวเอง มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ไม่ได้ปลีกวิเวกไปอยู่ในป่า — เก็บกินไปได้เรื่อย ถ้ามีแรงเหลือและยังมีความอยาก ค่อยทำกินหาเงินหาทองมาซื้อเครื่องมือที่จำเป็น เพื่อที่จะทำงานให้เกิดประโยชน์และประสิทธิผลที่ดียิ่งขึ้น แต่ถ้ารู้สึกว่าพอแล้ว ก็มีกินไปเรื่อยๆ

ครูบาจะเขียนหนังสือร่วมกับ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญเล่มหนึ่ง ขอโปรโมทไว้ตรงนี้ก่อนเลยครับ

เงินนั้นมีที่ให้ใช้เสมอครับ แต่วิถีที่รู้จักพอแบบนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินซื้อทุกสิ่งทุกอย่าง และไม่ซื้อสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อชีวิต ถ้าหากว่าเรามีความรู้จริงๆ ไม่ใช่แค่รู้ตามหลักสูตร ก็ต้องนำความรู้นั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

ภาวะน้ำท่วมจะผ่านไป ปีหน้าฟ้าใหม่จะโดนอีกหรือเปล่าก็ไม่รู้ ในภาวะน้ำท่วม มีเงินมีทองเหมือนไม่มีเพราะหาซื้ออะไรที่ต้องการแทบไม่ได้เลย ในสภาพเมืองที่เกิดน้ำท่วม การคมนาคมขนส่งสินค้าเป็นไปด้วยความยากลำบาก ผู้คนเอารถไปจอดหนีน้ำตามที่สูง ในกรุงเทพแท็กซี่ก็หยุดวิ่งเพราะเจ้าของแท็กซี่เอารถไปจอดหนีน้ำไว้แล้วที่ังเหลือวิ่งอยู่ ก็หาก๊าซเติมไม่ได้เพราะรถส่งก๊าซก็หยุดส่งเหมือนกัน  ตามห้างสรรพสินค้า ของหมดชั้นวางสินค้า ส่วนคนที่จะไปดูให้เห็นว่าของไม่มีขายแล้วนั้น แค่จอดรถก็แย่แล้ว [สึนามิโลก]

ความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว (เป็น past tense) จะชดเชยเยียวยาอย่างไร ก็ไม่เหมือนเดิมหรอกครับ การที่จะไปจมอยู่กับอดีต ก็เหมือนกับเด็กที่ร่ำร้องจะย้อนอดีตให้กลับคืนมา เหมือนเอาหัววิ่งชนกำแพงหวังจะให้กำแพงพังเพื่อที่ตัวจะได้ผ่านไปได้

น้ำท่วมจะผ่านไปเพราะว่าน้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำตามแรงโน้มถ่วงเสมอ ซึ่งชีวิตเราจะผ่านไปได้หรือไม่ ก็ขึ้นกับว่าปรับตัวได้หรือไม่

อ่านต่อ »



Main: 0.4171130657196 sec
Sidebar: 0.99743986129761 sec