ร่อนแปลงปลูก

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 29 February 2012 เวลา 14:36 ในหมวดหมู่ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม #
อ่าน: 3129

หากว่ารากพืชจะทำงานได้ ปลายรากก็ต้องชอนไชไปตามดินได้ โดยทั่วไปเราจะพรวนดินหรือใช้เครื่องตีดิน

แต่ในกรณีที่ดินแข็งมากจนเป็นดินดาน จนบางทีแม้จะขุดด้วยเครื่องมือก็ยังไม่ไหว แล้วรากพืชจะไชดินไหวได้อย่างไรครับ น้ำใต้ดินที่จะช่วยทำให้ดินอ่อนเพื่อที่ปลายรากพืชจะทำงานตามธรรมชาติได้ ก็ไม่สามารถจะขึ้นมาสู่บริเวณของปลายรากพืชได้ จึงต้องพึ่งการให้น้ำทางผิวดินอย่างเดียว ซึ่งการให้น้ำทางผิวดินนี้ น้ำส่วนหนึ่งจะระเหยไปในอากาศ และมีน้ำจำนวณน้อยที่ปลายรากพืชนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรงครับ

เช่นเดียวกับการแสวงหาคำตอบต่างๆ จะไม่มีคำตอบเดียวที่ใช้ได้ครอบจักรวาล การปลูกพืชก็เช่นกัน ไม่จำเป็นต้องเตรียมแปลงปลูกอยู่ในระดับผิวดินหรอกครับ

คลิปอันนี้เป็นวิธีร่อนดิน (ที่ผสมกับปุ๋ยหมัก) ให้ร่วน แล้วยกแปลงปลูกให้สูงขึ้นมาจากผิวดินเล็กน้อย เมื่อรดน้ำแล้ว น้ำซึมลงไปในผิวดินได้ดี ระเหยไปในอากาศน้อย

อ่านต่อ »


สำนักงานหมู่บ้านโลก

7 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 26 February 2012 เวลา 19:22 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4519

เวลาคนเราจะสร้างบ้าน ก็ควรจะมีอิสระที่จะได้ในสิ่งที่ตนเห็นว่าจำเป็น ซึ่งสำหรับผมแล้ว แค่ที่นอนสะอาด  สงบสบาย ปลอดภัย และมีเน็ตก็พอแล้ว

สิ่งอำนวยความสะดวกที่คุ้นเคยมาตลอดชีวิต ถ้ามีก็ดี แต่ถ้าไม่มีก็ต้องอยู่ให้ได้ พอถึงเวลาสร้างเอง กลับรู้สึกว่าจะไม่ได้ทำตามใจตัวเอง หมู่บ้านโลกเป็นเรื่องของคนอื่นเป็นส่วนใหญ่ครับ ถ้าจะให้ผู้ที่มาเรียนรู้ที่สวนป่าได้รับความสะดวกสบายพอสมควร จะต้องทำอะไรหลายอย่างเหมือนกันนะเนี่ย แต่แทนที่จะสร้างทุกอย่างรวมเอาไว้ในอาคารเดียว ผมคิดว่าแยกเป็นอาคารเล็กๆ แก้ไขดัดแปลงได้โดยอิสระดีกว่า

แบบอันนี้เป็นสำนักงาน และเป็นที่พักของวิทยากรที่มาช่วยบรรยายที่สวนป่า

อ่านต่อ »


พลาซา ลานคนป่า

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 24 February 2012 เวลา 14:57 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 5405

Plaza หมายถึงลักษณะลานกว้าง สามารถใช้ได้หลายวัตถุประสงค์

วิธีที่ง่ายที่สุด คือถมดินให้สูง บดอัด แล้วปูพื้นด้วยหินหรือกระเบื้องครับ วิธีนี้สิ้นเปลืองวัสดุ แรงงาน และเสียเวลามาก ในสมัยอาณาจักรโรมัน มีวิธีสร้างพลาซาซึ่งแปลกดี เค้าเอาหม้อไหลงไปเป็นฐานราก แล้วจึงปูพื้นทับอีกที น้ำหนักกระจายลงสู่ดินผ่านหม้อไหต่างๆ ภายหลังพัฒนามาเป็นเสาเล็กๆ หลายๆ ต้น ช่วยกันรับน้ำหนัก

ต่อมาเมื่อมีการใช้เหล็กและปูนในการก่อสร้าง การก่อสร้างพลาซาก็เปลี่ยนไปเป็นการตอกเสาเข็มและก่อคาน โดยน้ำหนักพื้นกระจายไปสู่คาน ซึ่งถ่ายน้ำหนักให้เสาเข็มอีกที

คลิปข้างล่างนี้เป็นวิธีผสมผสาน โดยสร้างเสาเล็กๆ ขึ้นมาจำนวนมาก แล้วเทคอนกรีตพื้นอยู่บนเหล่าเสานั้นเลย ช่างก่อสร้างก็คงจะคิดว่าไอ้นี่มันบ้า แค่ทำไม้แบบสำหรับเสาเล็ก จำนวนมากก็ตายแล้ว… วิธีนี้เค้ามีแบบหล่อทำด้วยพลาสติกครับ วางแบบหล่อแล้วเทปูนทับเลย ดูคลิปก่อนดีกว่า

อ่านต่อ »


ที่พักในหมู่บ้านโลก แบบที่ 1

8 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 23 February 2012 เวลา 17:08 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 7214

น้องชายงานยุ่ง ตอนนี้ไปเชียงใหม่ ยังไม่มีเวลาทำแบบที่พักที่หมู่บ้านโลก

เมื่อคืนก็เลยเปิด SketchUp มาเขียนแบบเล่น ซึ่งถ้าผู้ชำนาญการก่อสร้างเห็นแล้วคงก่ายหน้าผาก สร้างได้แต่แพง (โค้งแพงกว่าเหลี่ยม) แต่ถึงอย่างไรก็ไม่เสียหายที่จะเขียนเล่น

ผมวางแปลนบ้านเป็นรูปโดนัท ยกพื้นขึ้น 60 ซม. ด้านล่างโบ๋ๆ ให้ลมผ่านได้ โครงสร้างหลักเป็นวงกลมที่มาตัดเป็นแปดส่วน ที่จริงเป็นแปดเหลี่ยม มีคอร์ตในร่มอยู่ตรงกลาง ในแปดส่วนนั้น แบ่งเป็นห้องพักรูปร่างสี่เหลี่ยมคางหมูหกห้อง อีกสองส่วนเป็นทางเข้ากับห้องน้ำ

อ่านต่อ »


แกล้งบ้านให้ร้อน

อ่าน: 5204

ไปเจอการออกแบบแปลกประหลาดอันหนึ่งในเขตหนาว ที่สร้างเรือนกระจกไว้ในบางส่วนของบ้าน บังคับให้ลมร้อนลอยขึ้นข้างบน แล้วนำลมเย็นจากอีกส่วนหนึ่งของบ้านให้พัดเข้ามาแทนที่ อย่างไรก็ตาม แนวคิดก็แปลกดีครับ เค้าเรียกว่า Earthship

เรือนกระจกอยู่ทางด้านใต้ เนื่องจากบ้านเราอยู่ทางซีกโลกเหนือดังนั้นพระอาทิตย์จึงอ้อมทางใต้ เรือนกระจกนั้นก็ปลูกต้นไม้ล้มลุกที่ไม่โตนักเอาไว้บังแสง แต่เรายอมให้แสงตกกระทบพื้นในบริเวณเรือนกระจก

รอบๆ บ้าน ใช้ดินกลบผนังไว้สามด้าน เป็นฉนวนความร้อนและความเย็น โดยเดินท่ออากาศเข้ามาจากด้านเหนือ ท่ออากาศนี้อยู่ใต้ดิน อากาศที่ออกมาก็จะมีความเย็นกว่าอุณหภูมิในบ้าน ในช่วงกลางคืนดินและพื้นของเรือนกระจกจะคายความร้อนออกมา ซึ่งความร้อนลอยขึ้นสูง ดูดเอาความเย็นจากท่อฝังดินเข้ามา ทำให้บ้านนี้มีการพาความร้อนที่ดี และเกิดการถ่ายเทลมตามธรรมชาติโดยไม่ใช้หน้าต่าง

อ่านต่อ »


พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ

อ่าน: 5293

วันนี้กะไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปถึงที่ครับ แต่ไม่ได้เที่ยวเพราะเขาปิดพอดี

ที่ไปช้าเพราะผมมัวแต่โอ้เอ้เขียนเรื่องหมู่บ้านโลกบนเฟสบุ๊ค โพสต์เสร็จก็ไปบ้านน้องก้อยเอาหนังสือไปให้นักเขียนเซ็นให้ เสร็จแล้วรีบไปคลองหลวงเพื่อดูพิพิธภัณฑ์ครับ ไปถึงเอาบ่ายสามโมงกว่าแล้ว เค้าปิดพอดี เลยดูอะไรได้นิดหน่อยเท่านั้นเอง

ตัวอาคารใหญ่โตมโหฬาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2545 โดยหน่วยงานในกระทรวงเกษตรช่วยกันทำ ต่อมาในปี 2552 ก็เปลี่ยนรูปแบบเป็นองค์การมหาชนตามพระราชกฤษฎีกา

อ่านต่อ »


อวิชชาเป็นมลทินอย่างยิ่ง

อ่าน: 3567

ความไม่รู้เป็นยอดแห่งมลทิน การที่ไม่สามารถที่จะเรียนรู้ได้ เป็นเหตุแห่งยอดมลทิน สื่อสารเรื่องที่ผิดเป็นการขยายความไม่รู้

มลสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 ข้อ 105

[๑๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มลทิน ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนต์มีการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน ๑ เรือนมีความไม่หมั่นเป็นมลทิน ๑ ความเกียจคร้านเป็นมลทินของผิวพรรณ ๑ ความประมาทเป็นมลทินของผู้รักษา ๑ ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของหญิง ๑ ความตระหนี่เป็นมลทินของผู้ให้ ๑ อกุศลธรรมที่ลามกเป็นมลทินแท้ทั้งโลกนี้และโลกหน้า ๑ เราจะบอกมลทินที่ยิ่งกว่ามลทินนั้น คือ อวิชชาเป็นมลทินอย่างยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลายมลทิน ๘ ประการนี้แล ฯ

มนต์มีการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน เรือนมีความไม่หมั่นเป็นมลทิน ความเกียจคร้านเป็นมลทินของผิวพรรณ ความประมาทเป็นมลทินของผู้รักษา ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของหญิง ความตระหนี่เป็นมลทินของผู้ให้ ธรรมอันลามกเป็นมลทินแท้ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เราจะบอกมลทินที่ยิ่งกว่านั้น คือ อวิชชาเป็นมลทินอย่างยิ่ง ฯ

อ่านต่อ »


ถนนสูง เขื่อนยาว

อ่าน: 2805

การเปลี่ยนแปลงใดๆ มีผลกระทบต่อเนื่องต่อสิ่งที่อยู่รอบๆ เสมอ

รัฐบาลมีดำริจะสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมโดยยกถนนขึ้นอีก 1 เมตร และสร้างคันกั้นน้ำรอบเขตเศรษฐกิจสำคัญ เช่นนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างที่เขียนในบันทึกที่แล้วว่าผมคิดว่าเป็นสิทธิที่จะป้องกันชีวิตและทรัพย์สินครับ

แต่ในทำนองกลับกัน ก็อยากให้เรียนรู้จากบทเรียนของเขื่อนป้องกันสึนามิในญี่ปุ่นด้วย แม้ตามสถิติแล้ว ไม่น่าจะมีสินามิสูงเกิน 10 เมตร แต่เมื่อเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงผิดปกติและเกิดสึนามิตามมา คลื่นข้ามเขื่อนเข้ามาทำลายบ้านเมืองได้ เมื่อข้ามเข้ามาแล้ว น้ำกลับออกไปลงทะเลไม่ได้เนื่องจากมีเขื่อนขวางอยู่ ต้องค่อยๆ ระบายน้ำออก ซึ่งก็ยังดีที่ว่าแผ่นดินบนฝั่งอยู่สูงกว่าทะเลเสมอ จึงใช้แรงดึงดูดระบายน้ำได้

แต่กรณีของที่ราบลุ่มภาคกลางนั้น บางแห่งมีสภาพเป็นแอ่ง ปิดล้อมด้วยความสูงต่ำของภูมิประเทศ บางทีก็ด้วยถนน แม้ปริมาณน้ำส่วนใหญ่ผ่านไปหมดแล้ว แต่ก็ยังมีน้ำค้างทุ่งอยู่ในหลายอำเภอ ปัจจุบันน้ำลดลงแต่ยังไม่แห้ง พื้นที่ยังใช้เพาะปลูกไม่ได้ ทำการฟื้นฟูไม่ได้ ไม่รู้ว่าจะต้องรอไปถึงเมื่อไร ตอนนี้เท่าที่ทราบ รอน้ำระเหยไปตามธรรมชาติหรือไม่ก็ต้องจ่ายค่าพลังงานสำหรับสูบน้ำเองนะครับ

ถ้ายกระดับของ “เขื่อน” ขึ้นอีกหนึ่งเมตร แล้วกั้นน้ำไม่ให้ข้ามสันเขื่อนมาได้ จะมีอานิสงส์ดีคือจะไม่เกิดอาการน้ำค้างทุ่งแบบนี้อีก แต่ในทำนองกลับกัน ถ้าเกิดฝนตกหนัก หรือน้ำหลากข้ามสันเขื่อนเข้ามาได้ จะเกิดอาการน้ำค้างทุ่งสูงขึ้นอีกหนึ่งเมตร ท่วมหนักและยาวนาน พื้นที่หลังแนวถนนเขื่อน จะอยู่อาศัยไม่ได้เลย เพราะน้ำจะท่วมลึกขึ้นอีก 1 เมตร

อ่านต่อ »


แนวคิดเกี่ยวกับป่าต้นน้ำ

อ่าน: 3108

ผมคิดว่าเป็นเรื่องปกติที่ต่างคนต่างพยายามป้องกันทรัพย์สินและท้องถิ่นของตนเอง ในเมื่อปลายปีที่ผ่านมาเกิดมหาอุทกภัยทำให้เสียหายหนัก ปีนี้ทั้งรัฐ ทั้งเอกชนก็เกิดความพยายามต่างๆ มากมายที่จะป้องกันสถานการณ์ในลักษณะดังกล่าว แต่ผมคิดว่ากระบวนการคิดนี้ รีบเร่งจนอาจจะคิดไม่จบนะครับ

การปลูกป่าที่ต้นน้ำนั้น ก็สมควรอยู่แล้วครับ (ที่จริงคือไม่น่าไปถางป่าเลยตั้งแต่ต้น) แต่ลงมือปลูกวันนี้ เมื่อไรจะเป็นป่า

หยดน้ำมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 มม. คิดเป็นปริมาตรของหยดน้ำ 0.03 มิลลิลิตร ถ้าใบไม้หนึ่งใบมีน้ำฝนค้างอยู่หนึ่งหยด ต้นไม้เล็กหนึ่งต้นมีใบไม้พันใบ ต้นไม้เล็กสามหมื่นต้นก็จะมีใบไม้รวมกันสามสิบล้านใบ และสามารถหยุดน้ำไว้บนอากาศได้ 1 ลูกบาศก์เมตร (ไม่เยอะหรอกครับแต่ได้มาฟรี แล้วทำให้บริเวณนั้นเย็นสบายจาก evaporative cooling ดูน้ำหนาวที่โกร๋นไปหมดแล้วสิครับ ตอนนี้ไม่หนาวแล้ว) ต้นไม้เล็กสามหมื่นต้นนี่ เมื่อเทียบกับพื้นที่ภูเขาหนึ่งลูก เล็กมากครับ แต่ถ้าคิดจะ “ปลูก” จะเป็นมหกรรมใหญ่โตเลย

การปลูกป่าต้นน้ำ ควรหาต้นไม้โตเร็ว ใบเยอะ เพื่อปลูกเขื่อนไว้ในอากาศ อย่าเพิ่งไปปลูกไม้เบญจพรรณ ซึ่งโตช้า ใบใหญ่แต่ใบจำนวนน้อยเลยครับ ปลูกไม้พุ่มยังดีกว่า โตเร็ว ปลูกได้ถี่ ร่มไม้คลุมดิน ป้องกันดินจากแสงแดดเผา ลดแรงปะทะของเม็ดฝนซึ่งทำให้เกิดการกัดเซาะได้ด้วย

“ปลูกป่าแบบไม่ต้องปลูก” พระราชทานแนวคิดไว้ จำได้ไหมครับ

อ่านต่อ »


เตาเผาถ่านไร้ควัน

อ่าน: 13825

เรื่องนี้ ที่จริงควรจะอยู่ในชุด ผลิต Biochar อย่างจริงจัง แต่เนื่องจากกรณีนี้ เป็นกรณีของสวนป่า จึงแยกออกมาเขียนนะครับ

เรื่องนี้ได้ยินมาจากครูบาซึ่งเพิ่งเล่าให้ฟังเมื่อตอนผมถามเรื่องเตาเผาถ่าน สวนป่ามีเตาเผาถ่านขนาดใหญ่อยู่ 5 เตา เตาเล็กอีกต่างหาก ก็ตามประสาคนไม่รู้เรื่องละครับ ผมถามว่าเวลาเผาถ่านในเตาใหญ่ใช้เวลากี่วัน ถ้าผมจำไม่ผิด ครูบาว่า 14 วันกว่าจะมอดสนิท แต่ครูบายังเล่าเพิ่มเติมว่าพอจุดเตาไปได้สักพัก ก็จะมีควันที่เหม็นมาก เรียกว่าควันบ้า มีอยู่คราวหนึ่ง จุดทั้ง 5 เตา แล้วควันบ้าเกิดออกมาพร้อมกัน เหม็นตลบอบอวลไปทั้งป่า ขนาดที่อยู่สวนป่าไม่ได้ ต้องชวนแม่หวีหนีเข้าไปในอำเภอ

เรื่องนี้ซีเรียสครับ ควันบ้า ที่มีสี มีกลิ่น แสดงถึงการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ดูจากลักษณะของเตาก็คาดว่าเป็นอย่างนั้น ก๊าซที่ออกมานี้น่าจะเป็นก๊าซพิษด้วยซ้ำไปนะครับ ร่างกายจึงบอกว่าเหม็นเพื่อที่จะไปให้พ้น แต่ไม่ร้ายเท่าน้ำมันดิน (tar) ที่ออกมาพร้อมกันควัน จะยิ่งทำให้ไอ

ดังนั้น น่าจะดีกว่าที่จะสร้างเตาเผาถ่านอีกสักเตาหนึ่ง แต่ดูให้เป็นการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ คือไม่มีกลิ่น ไม่มีควัน ซึ่งในบันทึก [ทริปสวนป่า 6-8 ม.ค.] มีการทดลองเผ่าถ่าน Biochar เป็นที่สนุกสนาน เป็นถ่านคุณภาพดี แล้วใช้เวลาไม่นาน เราใช้ความร้อนเผาถังซึ่งบรรจุเศษไม้เอาไว้ เมื่อเศษไม้ในถังได้รับความร้อน ก็จะคายควันออกมา แล้วควันนี้ติดไฟได้ ก็ให้ความร้อนเผาถังอีกเป็นลูกโซ่ ดังนั้นการเผาถ่านในลักษณะนี้ ใช้เชื้อเพลิงน้อยกว่าการเผาถ่านปกติ

แต่ว่าการเผาถัง ก็จะได้มากได้น้อยก็แล้วแต่ขนาดของถัง (ซึ่งอย่างเก่ง ที่หาได้มักเป็นถัง 200 ลิตร) แล้วจะได้ถ่านประมาณหนึ่งในสามของปริมาตรถัง ถ้ามีไม้จะเผาเยอะ ก็ต้องเผาหลายครั้ง แต่ทีนี้ถ้าหากเราสามารถเผาไม้ได้ทีละตันหรือตันครึ่ง สัดส่วนของไม้ที่เป็นเชื้อเพลิงก็จะน้อยลงมา ซึ่งเมื่อเผาถ่านแล้ว จะได้ถ่าน 300-500 กก.ภายในเวลา 8-10 ชั่วโมง (แทนที่จะเป็นสองอาทิตย์) สัปดาห์หนึ่งเผาสามครั้ง — เผาวันหนึ่งตอนกลางวัน ส่วนคืนนั้นก็ปล่อยให้เย็น เช้าขึ้นเอาถ่านออก เย็นๆก็ขนไม้ลงไปในเตา รุ่งเช้าเผาอีก รอบละสองวัน สัปดาห์หนึ่งเผาไม้สามตัน ได้ถ่านหนึ่งตัน จ้างคนงานหกวันต่อสัปดาห์ จ้างผู้ใหญ่วันเว้นวันในวันที่ขนถ่านขนไม้เข้าออกจากเตา และจ้างเด็กวันเว้นวันสำหรับเอาถ่านใส่กระสอบ

อ่านต่อ »



Main: 0.05110502243042 sec
Sidebar: 0.14958596229553 sec