“ความดี” ของคนไทยคืออะไร

อ่าน: 4842

เป็นประเด็นร้อนในส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่งในทวิตภพ — “ความดี” ของคนไทยคืออะไร — เรื่องนี้น่าคิดครับ เวลาเราบอกให้คนทำดี หมายความว่าอย่างไรกันแน่ ถ้ายังไม่รู้ แล้วจะทำดีได้อย่างไร

แต่ว่าตัวคำถามที่ต้องการคำตอบแบบเหมารวมแบบนี้ รังแต่จะทำให้เอนโทรปีของประเทศสูงขึ้นครับ… จะมีใครให้คำตอบแทน “คนไทย” ทั้งหมดได้ล่ะ

ค้นพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ที่จริงเคยค้นแล้วครับ) ไม่เจอเหมือนเคย จะอธิบายว่าอย่างไรดี… ก็คงเป็นเรื่องยากที่จะอธิบายนามธรรมให้ครอบคลุม อย่างไรก็ตาม พจนานุกรมนิยามคำว่า “ดี” ไว้สามความหมาย ซึ่งความหมายที่สอง เหมาะกับใช้อธิบายรากคำของความดี ว่า

ดี ๒ ว. มีลักษณะที่เป็นไปในทางที่ต้องการ น่าปรารถนา น่าพอใจ ใช้ใน
ความหมายที่ตรงข้ามกับลักษณะบางอย่างแล้วแต่กรณี คือ ตรงข้าม
กับชั่ว เช่น คนดี ความดี, ตรงข้ามกับร้าย เช่น โชคดี เคราะห์ดี; สวย,
งาม, เช่น หน้าตาดี, เรียบร้อย เช่น มรรยาทดี, เพราะ เช่น เสียงดี, จัด
เช่น แดดดี, เก่ง เช่น ดีแต่พูด, ชอบ เช่น ดีแล้ว, อยู่ในสภาพปรกติ เช่น
สุขภาพดี คืนดี.

เมื่อค้น Google ได้คำตอบที่น่าสนใจหลายอย่างครับ

อ่านต่อ »


พระปูน: หยุดแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 9 January 2010 เวลา 17:39 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 3148

ตัดสินใจหยุดทำพระปูนแล้วครับ พระยังอยู่ดีไม่ได้เสียหาย แต่ว่าอาทิตย์หน้า ผมจะไปเที่ยวกับคุณพ่อคุณแม่หลายวัน ยังมีอะไรที่ต้องทำอีกเยอะแยะ

ที่จริงจะกลับมาทำต่อก็ได้ แต่เมื่อดูเนื้อปูนแล้ว ผมก็เห็นว่าในที่สุดแล้ว finishing จะไม่สวยเหมือนพระไม้ที่ปิดทอง แล้วในที่สุด จะมีน้ำหนักมากไป นี่ยังไม่ได้ทำฐานเลยนะครับ เมื่อรู้ตัวแล้ว หยุดเลย ดีกว่าดันทุรังต่อครับ

พระปูนองค์นี้ ได้วิธีหล่อปูน แกะปูนขึ้นรูปในชิ้นงานที่ยาก ได้ลองสีสองสี

และที่สำคัญคือจะหาวัสดุที่ดีกว่าปูนพลาสเตอร์ มาสร้างพระปางไสยาสน์ให้พ่อครับ

เออ… ไม่รู้ว่าพระปูนที่ทำไม่เสร็จ จะบอกอะไรคนได้บ้างหรือเปล่า


พระปูน: ถ้าจะพังก็แถวนี้ล่ะ

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 8 January 2010 เวลา 23:40 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 3865

เมื่อกี้ แกะจุดที่ยากที่สุด คือช่วงเศียรพระ กรขวา และหมอนครับ ที่ยากคือไม่มีส่วนไหนตรงเลย โค้งทั้งหมด แล้วก็ไม่ตั้งฉากกับพื้นผิวด้วย

แต่… ยังไม่พังครับ

พระปูนยังองค์ใหญ่อยู่ เพราะว่าค่อนข้างอันตรายที่จะขุดเข้าไปถึงระดับผิวจริงด้วยเครื่องมือหยาบๆ เช่นสิ่ว เวลาเข้าใกล้ผิวจริง ต้องใช้กระดาษทรายครับ

เทียบกับเมื่อวานนี้


วันเด็ก

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 8 January 2010 เวลา 20:27 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 6938

วันนี้ไม่ได้ทำพระปูนต่อครับ แต่ออกไปซื้อดินเพื่อนำมาลองวิธีการสร้างอะไรที่อยากสร้าง ไหนๆ ออกไปนอกบ้านแล้ว ผมก็เลยคิดจะเอา จปผ๒ ไปส่งในเมืองให้พี่ที่นับถือ ซึ่งสั่งซื้อมา 50 เล่มเมื่อวาน (ทำให้นับถือยิ่งขึ้นไปอีก) แล้วจะไปไปรษณีย์ส่ง จปผ๒ อีก 5 เล่มซึ่งเป็นการสั่งซื้อเพิ่มซึ่งสั่งมาเมื่อวานนี้

โหย คิดการใหญ่ ไหนๆ จะไปไปรษณีย์แล้ว ซื้อดินส่งไปเป็นของขวัญให้ญาติเฮที่ขยุกขยิกไม่อยู่นิ่งดีกว่า ไหนๆ พรุ่งนี้ก็จะเป็นวันเด็กแล้ว

ดินปั้นหัตถกรรม เป็นข้อมูลจากยอดฝีมือระดับไร้กระบวนท่า น่าสนใจในแง่ที่เป็นวัสดุทางเลือกอีกอันหนึ่ง สำหรับไว้สร้างสิ่งที่ต้องการความแข็งแรงและไม่แตกหักง่ายนัก

ร้านของผู้ผลิตอยู่ไม่ไกลจากบ้านมากนัก ตอนบ่ายก็เลยแวะไปดูครับ ร้านขายนี้คือ หจก. เพชรสุพรรณ วัสดุก่อสร้าง อยู่ลึกเข้าไปสัก 500 เมตรในซอยรัตนาธิเบศร์ 24 (ตรงข้ามคาร์ฟูร์รัตนาธิเบศร์ นนทบุรี) (รายละเอียด) พอไปถึงไม่มีใครอยู่เลย ปิดร้านเงียบ ก็เลยโทรตามตามเบอร์ที่ติดอยู่หน้าร้าน รอสักสิบนาที ก็แห่กันกลับมาครับ

ได้คุยกับเจ้าของร้าน ทราบว่ามีโรงงานผลิตเองอยู่ที่สุพรรณบุรี เมื่อกี้เขาออกไปส่งของกัน ผมซื้อน้อย เขาขาย กก.ละ 110 บาท

ดินปั้นนี้อยู่ในห่อพลาสติก ห่อละ 400 กรัม ดูขนาดแล้ว เล็กกว่าดินน้ำมันที่ผมซื้อมาปั้้นแบบพระ ซึ่งดินน้ำมันหนึ่งก้อนปั้นแบบพระสูง 6 นิ้วได้สององค์ แล้วยังเหลือเศษอีกนิดหน่อย

ประมาณว่าดินปั้นหนึ่งก้อน จะสามารถปั้นพระสูง 6 นิ้วได้สององค์เช่นกัน

ใช้วิธีการปั้นดินเหนียวตามปกติ ใช้น้ำลูบเพื่อประสารเชื่อมต่อ นวดดินก่อน ระหว่างปั้น เอาผ้าชื้อคลุมดินที่ยังไม่ได้ใช้ ป้องกันการแห้ง แล้วเมื่อไม่ใช้แล้ว เก็บดินส่วนที่เหลือใส่ถุงพลาสติก ปิดให้มิดชิดกันดินแห้ง

เวลาดินปั้นแห้งแล้ว มีลักษณะแข็ง ในบางสัณฐานตกไม่แตก

อ่านต่อ »


พระปูน: ขึ้นรูปไม่ง่าย แต่จะลองทำดู

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 7 January 2010 เวลา 20:32 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 4780

เมื่อคืนหล่อบล็อคพระ ลืมบอกไปว่าไม่ได้เอาพระดินน้ำมันใส่ไปข้างในปูนนะครับ ผมทำผนังกระดาษล้อมพระดินน้ำมันไว้ เพื่อเป็นขนาดคร่าวๆของเนื้อปูนที่จะใช้ จะได้ไม่ต้องขุดออกเยอะ หลังจากได้ผนังแล้ว ก็เอาพระดินน้ำมันออกมาก่อนพอกปูนลงในแบบ

วันนี้ มีน้องจากบริษัทมาช่วยดูวงจรเส้นใหม่ให้ (ขอบคุณนะครับ) ระหว่างที่เขาทำ ผมก็ปลีกวิเวกมาแกะพระต่อ — คือบางทีนะ เราต้องรู้ตัวว่าช่วยได้หรือทำให้ยุ่งเหยิงกว่าเก่า

โอ๊ย ปูนพลาสเตอร์แกะง่ายมากครับ แต่ในความง่ายนี้ มีอันตรายซ่อนอยู่สองอย่าง คือ

  • ฟองอากาศ ซึ่งเกิดจากการเทปูนหล่อแล้วไม่อัดให้ดี ถ้าฟองอากาศอยู่ภายในผิวของชิ้นงาน ก็ดูจะไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าอยู่ที่ผิวของชิ้นงาน ก็จะเห็นเป็นรู (คิดว่าซ่อมได้ในขั้นตอนสุดท้าย)
  • ความแข็งแรงต่ำ จึงต้องระวังส่วนที่เปราะบาง เช่นแขน หรือหมอน ให้มากๆ

อ่านต่อ »


พระปูน: บล็อคที่ไม่ใช่บล็อค

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 6 January 2010 เวลา 21:44 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 5396

การทำบล็อคหรือแบบหล่อ โดยปกติก็เพื่อทำขอบนอกของชิ้นงาน เพื่อที่เวลาเราเทสารสำหรับเนื้อชิ้นงานลงไป ก็จะได้ตัวชิ้นงานที่มีรายละเอียดด้านนอกที่ชัดเจน

แต่ผมพิสดารกว่านั้น ผมอยากหล่อปูนตันเป็นบล็อคสี่เหลี่ยม แล้วขุดเนื้อปูนออกจนเป็นรูปพระ ทำอย่างนี้เพื่อความสะใจครับ

แทนที่จะหล่อปูนเป็นแท่งสี่เหลี่ยมเลย ผมไม่เลือกวิธีนี้ เพราะจะต้องขุดปูนออกเยอะ ยิ่งขุดเยอะ ก็ยิ่งเสี่ยงต่อการแตกหัก เมื่อวานลองทำแล้วพบปัญหาใหญ่คือ ถ้าผสมปูนไว้มากจะเทลงแบบไม่ทัน ถ้าผสมปูนน้อยเวลาเทลงไปเกิดช่องอากาศ ทำให้ชิ้นงานโบ๋

วันนี้เริ่มต้นโดยเอากระดาษลูกฟูก ตัดเป็นแถม แล้วเอาไปล้อมพระดินน้ำมันไว้ เมื่อได้ขนาด ก็ตัดกระดาษ ติดเป็นรูปทรงพระที่เปิดด้วยบนกับด้านล่าง นำแบบวางไว้บนถุงขนม เป็นบล็อคกระดาษ ไม่แข็งแรงก็ช่าง ปูนมีทางเข้าทางเดียวคือด้านบน

มีเครื่องมือใหม่ คือเกรียงขนาดเล็ก ผสมปูนทีละน้อย ปูนหนึ่งถ้วยไอติมป้าจุ๋ม น้ำประมาณครึ่งถ้วย พอผสมเข้ากันแล้ว ก็เอาเกรียงตักมาแล้วกดอัดเข้าไปในแบบ เริ่มตั้งแต่ชั้นล่างขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่รีบร้อน ประเด็นสำคัญคืออย่าให้เกิดช่องว่างขึ้น จึงต้องคอยเอาเกรียงกดไปทั่วชิ้นงาน ปูนจะไหลไปไหนก็ช่าง ยังไงก็ไม่ออกนอกบล็อค

อ่านต่อ »


พระปูน

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 6 January 2010 เวลา 3:56 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 8049

จากเรื่องพระไม้ปางห้ามพยาธิ ซึ่งตั้งใจจะทำให้พ่อ แต่ดันจำวันเกิดพ่อผิด (จำวันที่ถูกแต่จำวันในสัปดาห์ผิด) พระไม้ก็เลยตกเป็นของแม่ซึ่งเกิดวันจันทร์แทน ส่วนพ่อเกิดวันอังคาร เป็นปางไสยาสน์ ทีนี้ก็เป็นเรื่องเลยครับ

ครูบา+แม่หวีให้ไม้โมกมาห้าท่อนครับ บอกให้ตากแดดไว้สักเดือนให้ไม้แห้งก่อน ตอนนี้ไม้ก็ยังไม่แห้ง

ถ้าใช้ไม้ทั้งท่อน โดยสัดส่วนแล้ว จะทำให้องค์ใหญ่มาก แต่ถ้าแกะไม้ขนาดเดียวกับองค์ที่ให้แม่ เหลือองค์นิดเดียว ซึ่งหมายความว่าต้องแกะไม้ออกเยอะ รู้สึกเสียดายไม้… ก็เลยคิดว่าจะลองปั้นพระปูนดูบ้าง ถึงอย่างไร ไม้ก็ยังไม่แห้งอยู่ดี…

เริ่มต้นปั้นพระดินน้ำมันก่อนครับ ปั้นเพื่อกะขนาดของพระปูน พระดินน้ำมันนี้ สัดส่วนยังไม่ถูกใจ แต่ถ้าความสูงไม่เปลี่ยน รายละเอียดยังแก้ไขได้อีก…

ปั้นแล้วเห็นปัญหาหลายอย่างครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงเศียร กรขวา+หัตถ์ขวา และหมอน ซึ่งเป็นช่องเปิด แถมช่องเปิดทั้งโค้ง ทั้งเอียง ไม่เป็นช่องตรงๆ อีกต่างหาก ผมปั้นพระดินน้ำมันตามที่คิดว่าท่านจะนอนสบายหน่อย ไม่ได้เอาตามรูปถ่ายที่พบในเว็บ

อ่านต่อ »


เติมน้ำในอากาศ

อ่าน: 4664

สงสัยว่าบันทึกนี้ จะอ่านยากนะครับ

ช่วงวันหยุดยาวปีใหม่ ผมไม่ได้ไปไหน ก็นั่งอ่านสิทธิบัตรของสหรัฐไปเรื่อย ไปเจอสิทธิบัตรอันหนึ่งน่าสนใจมาก เรื่อง Atmospheric Vortex Engine เป็นวงจรเทอร์โมไดนามิกส์ที่มีขนาดยักษ์ ระหว่างระดับน้ำทะเลกับบรรยากาศชั้น tropopause (11-17 กม.) โดยเขาใช้ลมหมุน (vortex) ส่งความร้อนขึ้นไปในบรรยากาศให้ไปเย็นและเบาบางลงข้างบน เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับพลังงาน แล้วดักจับเอาพลังงานนี้มาใช้ มีประสิทธิภาพประมาณ 20% (ดูเป็นไปได้เหมือน Carnot Cycle)

ในการกระทำอย่างนี้ ใช้หลักการง่ายๆ ว่าความร้อนลอยขึ้นสูงเสมอ และในบรรยากาศเมื่อลอยขึ้นสูงแล้ว ความหนาแน่นความดันยังต่ำลงด้วย เมื่อมี waste heat เช่นความร้อนจากกระบวนการอุตสาหกรรม ซึ่งแม้หลังจาก co-generation แล้ว ก็ยังมีความร้อนเหลือ เขาเอาความร้อนนี้มาปั่นไฟฟ้าด้วย AVE อีกรอบหนึ่ง มีการพิสูจน์การคำนวณทางเทอร์โมไดนามิกส์ยาวเหยียด โดยประมาณการว่าความร้อนเหลือทิ้งขนาด 1000 MW สามารถนำมาปั่นไฟฟ้าได้อีก 200 MW — แต่จะต้องสร้างเครื่องทำลมหมุนในเขตห้ามบิน เพราะคงไม่เหมาะที่จะให้เครื่องบิน บินผ่านลมหมุนแบบนี้ ซึ่งดูจะเป็นเรื่องใหญ่

อย่างไรก็ตาม เรื่องน่าสนใจในสิทธิบัตรนี้ คือการจงใจบังคับความร้อนให้ลอยขึ้นสูงในลักษณะที่ก่อให้เกิดลมหมุน เช่นเดียวกับลมบ้าหมู นาคเล่นน้ำ หรือพายุใต้ฝุ่น ฯลฯ เดิมที ผมสนใจเรื่อง Vortex เพื่อเอาไปใช้เพิ่มความเร็วลมในกังหันลมแบบ VAWT ซึ่งมีสเกลการลงทุนและเทคโนโลยีต่ำพอที่ชาวบ้านจะลงทุนและสร้างเองได้

เรื่อง Vortex นี้ เอามาประยุกต์เป็นเครื่องมือเติมความชื้นให้อากาศได้ โดยให้ใบพัดตีน้ำให้เป็นละอองเล็กๆ (เหมือนบันทึกสร้างเมฆ) ให้ความร้อนพาละอองน้ำขึ้นไปบนฟ้า การใช้ใบพัดตีน้ำให้เป็นละอองน้ำ จะใช้พลังงานน้อยกว่าการใช้ไอน้ำ

ความคิดเรื่องการนำความร้อนมาใช้เพื่อการถ่ายเทอากาศ (และปั่นกำลังกล) นี้ ฝรั่งเรียก Solar Chimney ซึ่งประสิทธิภาพขึ้นกับความสูงของปล่อง — ถ้าอยากดูภูมิปัญญาชาวบ้าน ก็คงดูได้ที่สวนป่าของครูบาครับ ตอนผมไปเดือนที่แล้ว กำลังทำหลังคาอยู่ (ห้องอบสมุนไพรเดิม) — ซึ่งถ้าจะเอามาปั่นไฟฟ้า ก็ต้องให้ปล่องสูงมาก (200 เมตรในสเปน และ 1 กม.ในออสเตรเลีย) แต่ถ้าใช้ Vortex ปล่องไม่ต้องสูงมาก ทำให้ประหยัดค่าก่อสร้าง

ยิ่งกว่านั้น ถ้าการปั่นไฟฟ้าไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด เราก็ไม่ต้องการลมหมุนขึ้นไปสูงลิบ แค่ความสูงระดับครึ่งหนึ่งของความสูงของเมฆชั้นต่ำก็อาจจะพอแล้ว เราไม่ได้ต้องการสร้างเมฆขึ้นเอง หวังเพียงแต่ส่งความชื้นจำนวนมากขึ้นสูง ให้ความชื้นในบรรยากาศรวมตัวกับน้ำที่เราส่งขึ้นไปกลายเป็นก้อนเมฆ ลดความร้อนที่ตกกระทบพื้นดิน ก่อให้เกิดเมฆมากขึ้น (เพื่อทำฝนเทียมหรืออะไรก็แล้วแต่)

ถึงจะไม่ทำในขนาดที่มีผู้เสนอไว้ ถ้าเกิด Vortex ขึ้นได้จริง ก็ยังปั่นไฟฟ้าได้ แม้จะไม่ได้กำลังสูงสุดตามการคำนวณ


หนาวก็ไม่หนาว ยังไม่ทันไร จะแล้งอีกแล้ว

อ่าน: 4125

ทำอย่างไรจึงจะสร้างเมฆได้ ไม่มีเมฆก็ไม่มีฝน ไม่มีฝน คนเดือดร้อน

น้ำ 97% เป็นน้ำทะเล ที่เหลือเป็นน้ำจืด 3%
ในปริมาณน้ำจืดทั้งหมด เป็นหิมะ 68.7% เป็นน้ำใต้ดิน 30.1% น้ำผิวดิน 0.3% และอื่นๆอีก 0.9%
ในบรรดาน้ำผิวดินทั้งหมด อยู่ในทะเลสาบ 87% ในบีงชุ่มน้ำ 11% และในแม่น้ำ 2%

แล้วเวลาแล้ง เราพึ่งอะไรครับ เมืองไทยจัดหาน้ำจืดกันอย่างไร? ผมเพิ่งกลับมาจากเมืองท่องเที่ยว มีทะเลล้อมรอบ แต่ไม่มีน้ำ บางทีแล้งจัดๆ ขายน้ำจืดกันคิวละร้อยบาท!


ขั้วแม่เหล็กโลกเปลี่ยนไป

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 3 January 2010 เวลา 22:09 ในหมวดหมู่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี #
อ่าน: 4171

วันนี้ไทยรัฐออนไลน์ลงข่าว “ขั้วแม่เหล็กโลก เลื่อนจากตำแหน่งเดิมมุ่งไปทางรัสเซีย” ซึ่งคงจะเป็นข่าวแปลจาก National Geographic “North Magnetic Pole Moving Due to Core Flux

สนามแม่เหล็กของโลกเกิดจากการหมุนของแกนโลกซึ่งมีเหล็กหลอมละลายเป็นองค์ประกอบสำคัญ เมื่อเหล็กหลอมละลายหมุนจะเกิดสนามแม่เหล็ก สนามแม่เหล็กโลกปกป้องโลกและชีวิต จากพลังงานและอนุภาคที่แผ่ออกมาจากดวงอาทิตย์

อย่างไรก็ตาม สนามแม่เหล็กโลก และขั้วแม่เหล็กโลก เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ และได้เปลี่ยนแปลงตลอดมา

สักวันหนึ่ง ขั้วแม่เหล็กโลก ก็อาจจะสลับเหนือใต้ อย่างที่เคยเกิดมาแล้วหลายครั้ง ถ้าคลิกไปอ่านลิงก์นี้ ก็อ่านส่วนสุดท้าย Effects on biosphere and human society ด้วยครับ

การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของขั้วแม่เหล็กโลก และการสลับขั้วแม่เหล็กโลก เป็นคนละเรื่องกับการเปลี่ยนแกนหมุนของโลก ซึ่งเคยเขียนไว้ในบันทึก ส้มลูกนี้ ต่อไปอาจจะแสดงอาการน่าเกลียด



Main: 0.25221085548401 sec
Sidebar: 0.37936902046204 sec