พลังงานจากดวงอาทิตย์ (3)
อ่าน: 4740ในตอนที่แล้ว ออกไปในเชิงทฤษฎีซะเยอะเลย แต่ก็มีความจำเป็น คือว่าก่อนจะทำอะไร ก็ควรจะประเมินก่อนว่าทำแล้วได้อะไร
ปริมาณพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบผิวโลก มีค่าเฉลี่ยประมาณ 200 W/m2 ถ้าอยากได้พลังงานมากๆ ก็ต้องใช้พื้นที่มากขึ้น เมื่อรวมรวมพลังงานที่ตกกระทบพื้นแล้วหักเหแสงไปรวมกันที่ solar collector แล้ว ก็เปลี่ยนพลังงานแสง/ความร้อน เป็นพลังงานในรูปแบบอื่นเพื่อนำไปใช้ต่อไป
ปัญหาในขั้นที่สอง ก็อยู่ตรงนี้ล่ะครับ เมื่อมีการเปลี่ยนรูปพลังงาน ก็จะเกิดความสูญเสียเสมอ; พลังงานที่ตกกระทบกระจก สะท้อนออกไปไม่ได้ 100%; เมื่อนำแสงไปรวมกันที่ solar collector ก็จะมีความสูญเสียอีก
ห้องปฏิบัติการแห่งชาติแซนเดีย ของสหรัฐ ได้ทำการทดลอง Heliostat (หอรับแสงจากกระจกสะท้อนแสง) ในโครงการ National Solar Thermal Test Facility (NSTTF) พื้นที่รับแสงประมาณ 8 เอเคอร์ (32,328 ตารางเมตร หรือ 20 ไร่) รวมรวมแสงสะท้อนได้ 5 ล้านวัตต์ สร้างอุณหภูมิได้ 4000°F (2200°C) แต่นำความร้อนจากการรวมแสงนี้ไปเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าได้ 1.5 ล้านวัตต์ (ประสิทธิภาพ 30%)
ประสิทธิภาพนี้ดูต่ำ เพราะ NSTTF ใช้สารละลายเกลืออิ่มตัว เป็นตัวพาความร้อนจาก solar collector ไปเก็บไว้ แล้วนำความร้อนไปปั่นไฟอีกต่อหนึ่ง เนื่องจากเป็นกระบวนการหลายทอด จึงมีความสูญเสียความร้อนเกิดขึ้น แต่มีข้อดีคือสามารถปั่นไฟในช่วงที่ดวงอาทิตย์ตกไปแล้ว ซึ่งมีความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงกว่ากลางวัน