แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ยืนยัน การเอาชนะกองกำลังติดอาวุธ ทำได้ยากมาก
อ่าน: 3755งานวิจัยจาก Institute for Operations Research and the Management Sciences (INFORMS®) แสดงให้เห็นว่าการเอาชนะการก่อการร้ายด้วยกองกำลังติดอาวุธนั้น ทำได้ยากมาก
- “Why Defeating Insurgencies is Hard: The Effect of Intelligence in Counterinsurgency Operations – A Best-Case Scenario” โดย Moshe Kress และ Roberto Szechtman แห่งสถาบันวิชาการชั้นสูงของกองทัพเรือสหรัฐ
งานวิจัยอันนี้ น่าสนใจในแง่ที่ใช้กองทัพสหรัฐ กับกลุ่มติดอาวุธตาลีบัน (ซึ่งเป็นคนละขั้ว และดูว่าจะไม่มีทางเจรจาเรื่องอะไรกันได้เลย) เป็นกรณีศึกษา
- กองกำลังติดอาวุธอย่างกลุ่มตาลีบัน ‘พบ’ ได้ด้วยการข่าวที่ดี แม่นยำ และทันต่อเหตุการณ์เท่านั้น และแม้จะมีการข่าวที่แม่นยำและทันต่อเหตุการณ์ ‘รัฐบาล’ ก็ทำได้เพียงแต่จำกัดขอบเขตของความเสียหาย ไม่สามารถเอาชนะโดยการปราบปรามลงได้ทั้งหมด
- การไม่มีการข่าวที่ดี ทำให้กองกำลังติดอาวุธโจมตีและหลบหนีไปได้อย่างลอยนวล แล้วกลับมาโจมตีใหม่ซ้ำแล้วซ้ำอีก ทำให้เกิดความรู้สึกในหมู่ประชาชนผู้สูญเสีย ว่ารัฐปกป้องความปลอดภัยของตนและครอบครัวไม่ได้ จึงหันไปสนับสนุนกองกำลังติดอาวุธ และในที่สุดก็ทำให้กลุ่มก่อการร้ายกล้าแข็งขึ้น ทั้งในด้านการสนับสนุน การข่าว และกำลังพล
- การโจมตีฐานที่มั่นของตาลีบันโดยเครื่องร่อนไร้นักบินของสหรัฐ ทำให้ผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต ซึ่งทำให้ญาติผู้ตายหันไปสนับสนุนกองกำลังติดอาวุธ เช่นเดียวกับสถานการณ์ในอิสราเอล และโคลัมเบีย
- นักวิจัยทั้งสองเห็นว่า รัฐบาลไม่สามารถขจัดกองกำลังติดอาวุธด้วยกำลัง “อย่างดีที่สุด” เมื่อมองในมุมของฝ่ายรัฐบาล คือการควบคุมสถานการณ์ไม่ให้ลุกลามไปกว่าที่เป็น ซึ่งหากสถานการณ์มีระดับความรุนแรงต่ำ ก็เป็นไปได้ที่กองกำลังติดอาวุธจะตระหนัก ว่าไม่สามารถใช้กำลังเอาชนะได้ ก็จะหันมาเจรจา หรือแตกสลายไปเมื่อทุนหมด
- ในแบบจำลองคณิตศาสตร์ที่เป็น best case scenario นั้น “กรณีอย่างดีที่สุด” เกิดขึ้นเมื่อมีสามเงื่อนไขพร้อมกันคือ
- กำลังของรัฐมีไม่จำกัด มีการเสริมกำลังตลอดเวลา
- รัฐบาลมีความอดทน อดกลั้นสูง ไม่ยอมแพ้ทุกกรณี (ที่จริงยอมแพ้เฉพาะกรณีกำลังจะถูกบดขยี้ it surrenders to the insurgents only when it is totally annihilated)
- กำลังเสริมของกองกำลังติดอาวุธ ได้มาจากญาติผู้บริสุทธิ์ซึ่งเสียชีวิตในการปราบปราม (collateral casualties)