เผาอ้อย

อ่าน: 9896

ระหว่างเดินทางไปสวนป่าเมื่อวันที่ 6 ก.พ. ที่ไหนสักที่ระหว่าง อ.ชุมพวง กับ อ.สตึก มืดพอดี เจอเขาเผาไร่อ้อยริมถนนครับ

ที่จริง มันควรจะเป็นเรื่องที่พบเห็นกันทั่วไป สำหรับผู้ที่เดินทางบ่อยๆ แต่สำหรับคนกรุงซึ่งหลังจากป่วยจนไม่ค่อยได้เดินทางไปต่างจังหวัดแล้ว ป้าจุ๋มกรุณาอธิบายว่าเค้าเผาเพราะเชื่อว่าจะเก็บเกี่ยวได้ง่ายขึ้น ว่าแล้วก็จอดรถให้ผมลงมาถ่ายรูป (ส่วนตัวเอง ถ่ายรูปจากที่นั่งคนขับ ฮี่ฮี่)

ฟังดูก็มีเหตุผลนะครับ คือใบกับเศษใบหายไป เหลือแต่ลำอ้อยโด่เด่ แต่มันก็น่าคิดว่าเพียงเพื่อความสะดวก ควรจะทำอย่างนี้หรือ

อ่านต่อ »


ผมเป็นปุ๋ย

9 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 19 January 2009 เวลา 0:12 ในหมวดหมู่ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม #
อ่าน: 5305

เปล่าครับ ผมไม่ได้จะรีบตายหรอก แต่จะบอกว่านักวิทยาศาสตร์ทางเกษตร ของมหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐมิสซิสซิบปี้ที่เมืองเวโรนา อ้างกับ Discovery News ว่าเส้นผมของมนุษย์ มีสารอาหารธรรมชาติที่เพียงพอสำหรับการเติบโตของต้นไม้ สามารถใช้เป็นปุ๋ยธรรมชาติได้ เส้นผมของคนยังย่อยสลายได้ในธรรมชาติ ไม่ต้องไปกำจัดเป็นขยะ

อย่างไรก็ตาม จะใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนก่อนที่สารอาหารในเส้นผม จะย่อยสลายในแสงแดดกลายเป็นสารอาหารที่ต้นไม้นำไปใช้ได้ ดังนั้นการใช้เส้นผมเป็นปุ๋ยธรรมชาติ ก็เหมาะกับพืชยืนต้น (โตช้า) มากกว่าพืชผักสวนครัว หรือไม้ประดับ

มีบริษัทในมลรัฐฟลอริด้า นำเข้าเส้นผมจากจีนและอินเดีย มาทอเป็นแผ่น ใช้รองใต้กระถาง หรือใช้ปูคลุมหน้าดินเอาไว้ บริษัทนี้แสดงผลที่น่าตื่นเต้นไว้ในเว็บไซต์ของตน นอกจากเรื่องเส้นผมเป็นสารอาหารธรรมชาติแล้ว เมื่อนำมาทอเป็นแผ่น ในกรณีที่วางคลุมโคนต้นไว้ ก็ช่วยเก็บความชุ่มชื้น และต่อสู่กับการเติบโตของวัชพืชได้ด้วย ส่วนกรณีที่วางไว้ใต้ต้นไม้ ก็จะทำให้รากเติบโตอย่างแข็งแรง

[ดูรูปและหนังหน้านี้ครับ]

Believe It Or Not!


ลงหลักปักฐานที่หมู่บ้านเฮ

อ่าน: 4735

หมู่บ้านเฮ เป็นทั้งชุมชนและเป็นพื้นที่ทำกิน คงไม่ถึงกับอยู่ดีๆ ก็มีกินโดยเนรมิตขึ้นมาหรอกนะครับ แต่ว่าข้าวปลาอาหารควรจะหาได้จากพื้นที่ของหมู่บ้านเฮ ไม่ต้องซื้อกิน (จะซื้อก็ได้ ไม่ว่าหรอกครับ)

หมู่บ้านเฮ ควรจะมีความมั่นคงทางพลังงาน พลังงานทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากพื้นที่ของหมู่บ้าน (น้ำ ลม ไบโอดีเซล ขยะ solar thermal ฯลฯ) หักกับพลังงานที่ซื้อหามา แล้วยังเหลือขายกลับไปให้การไฟฟ้าฯ

ก่อนจะเพ้อเจ้อต่อไป ก็ต้องหาที่ก่อนครับ เมื่อคืนคุยกับพ่อครูบา ป้าจุ๋ม ครูสุ กับน้าราณี บรรดาสาวๆ ให้ความเห็นถึงความต้องการพื้นฐานไว้น่าสนใจครับ

ความปลอดภัย

พื้นที่หมู่บ้าน จะต้องมีความปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย จากยาเสพติด จากการใช้กำลังตัดสิน/อิทธิพลมืด หมู่บ้านเฮอยู่ใต้กฏหมายไทย เป็นส่วนของราชอาณาจักรไทย

สังคมรอบข้าง

เราไม่ได้คิดจะไปตั้งหมู่บ้านเฮอยู่กลางป่าที่ห่างไกลผู้คนหรอกครับ จะไปอยู่ตรงไหน ก็จะมีคนอยู่ในพื้นที่นั้นแล้ว และเราก็คิดจะอยู่ร่วมกับเขาอย่างผาสุก จะจ้างงาน จะให้ความรู้ จะพยายามปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชุมชน ด้วยความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ของชาวเฮ

อ่านต่อ »


โลกร้อน (2.4)

อ่าน: 4445

เมื่อวาน ไปงานระพีเสวนา ซื้อหนังสือ “กัลยาณมิตร” มาฝากครูบาและฝากตัวเอง ในนั้นมีการถอดบทสนทนาระหว่างท่านครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ กับท่านอาจารย์วรภัทร์ ภู่เจริญในการบรรยายเนื่องในโอกาสวันครบรอบ 10 ปีโรงเรียนรุ่งอรุณ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ปีที่แล้ว

ฟังปราชญ์คุยกัน มันดีครับ ข้อมูลเรื่องโลกร้อนสอดคล้องกับที่ อัล กอร์ พูดไว้ เรื่องนี้น่าสนใจครับ

ครูบาสุทธินันท์

มีที่อาจารย์เล่าให้ผมฟัง เมื่อฟังแล้วรู้สึกเป็นห่วงคนรุ่งอรุณ ที่อาจารย์บอกครูโลกร้อนแล้วกรุงเทพฯ จะจมหายไปเป็นจริงหรือเปล่า

อาจารย์วรภัทร์

พูดไปสะเทือนใจกันเปล่าๆ ตอนนี้ทะเลบางขุนเทียนกัดเซาะมาประมาณ ๘๐๐ เมตรแล้ว เรื่อง Global warming ไปฟัง ดร.อาจองรุ่นพี่ผมก็แล้วกัน ผมบอกครูบาว่าน้ำท่วมโลก ถ้าเราดูของอัลกอร์ มีโอกาสที่น้ำจะท่วมแต่วิธีคิดของผมกับอัลกอร์ไม่เหมือนกัน แต่เราอย่าตกใจ ผมเคยสอนวิชา การบริหารความเสี่ยง ของสักอย่างมันมีความน่าจะเป็นสัก ๑๐% อย่างไรผมก็ไม่เสี่ยง ผมต้องมี action ข่าวดี แผ่นดินอีสานเป็นแผ่นดินที่ได้รับการอวยพร  อีสานมันจนจนกระทั่งน้ำท่วมโลกก็ไม่สามารถจนไปกว่านี้อีกแล้ว มีครูบามากอบกู้แผ่นดินเพราะหลังจากนี้อาจจะไม่มีน้ำมัน ไม่มีมือถือ สิ่งเดียวที่จะเอาตัวรอดได้คือความรู้แถวๆ นี้ มันอยู่ที่ตัวความรู้ มันมีหลายทฤษฎี มันมีอีก ๓๐๐ ปีเกิด อีก ๑๕๐ ปีเกิด อีก ๕๐ ปีเกิด และอีก ๑๕ ปีเกิด และอีก ๕ ปีเกิด ต้องเขียนแม็กทริก ในระหว่าง ๑๐๐​ ๕๐ ๓๐​๑๕ ที่น่าจะเกิดที่สุดน่าจะ ๕ ปี คือ ๒๐๑๒ ให้ไปหมดนี้หละที่บ้านครูบา ผมก็จะไปด้วย ขอเกษตรปราณี(ต)แค่ ๑ ไร่ เพราะกว่านี้ไม่ไหวแล้ว จากเคยตีกอล์ฟใช้เหล็ก ๑ ถึงเหล็ก ๙ ตอนนี้ผมมาเรียนรู้เหล็ก ๑๐ คือ จอบกับเสียมครับ มันสุดยอด วงสวิงเปลี่ยนเลย ไม่รู้จะตีกอล์ฟไปทำไม มาปลูกต้นไม้ดีกว่า

อ่านต่อ »


หมู่บ้านเฮ

อ่าน: 3141

เรื่องนี้ มีคนถามผมเยอะ แล้วผมก็เอาจริงนะเนี่ย

แต่มันมีปัญหาที่ต้องร่วมกันคิดหาทางเลือกกันหลายอย่าง ที่ถูกถามมากที่สุดคือจะตั้งอยู่ตรงไหน จะทำอะไร แล้วจะอยู่รอดได้ยังไง จะยั่งยืนไหม ฯลฯ แต่ว่าอยากตอบคำถามที่ไม่ได้ถามก่อนครับ

หมู่บ้านเฮ ไม่ใช่อะไร

  • หมู่บ้านเฮ ไม่ใช่ลัทธิ เมื่อตั้งเป้าหมาย อาจจะมีความเป็นอุดมคติอยู่บ้าง อันนี้ก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร ไฝ่สูงก็ดีแล้ว ดีกว่ามุ่งไปอีกทางหนึ่ีง หึหึ
  • หมู่บ้านเฮ ไม่ใช่ของเล่นราคาแพง เป็นเรื่องที่ต้องทุ่มเทอย่างยาวนาน ความฝันจึงจะเป็นจริงได้
  • หมู่บ้านเฮ ไม่ได้เป็นคำตอบสำหรับทุกอย่าง ความคิดเรื่องหมู่บ้านเฮ พยายามตอบคำถามอย่างเดียว คือทำอย่างไรจึงจะมีชีวิตอย่างยั่งยืน กล่าวคือมีอาหาร มีการเรียนรู้ มีการดูแลสุขภาพ มีสาธารณูปโภคในระดับที่เหมาะสม
  • หมู่บ้านเฮ ไม่ได้ปฏิเสธสิ่งที่เป็นอยู่ เช่นเงิน ธุรกิจชุมชนหรือส่วนตัว ปฏิสัมพันธ์กับสังคมรอบข้าง กฏหมาย

จะเริ่มได้อย่างไร

เริ่มจากการหาที่ก่อนครับ อยากได้ที่ที่ไม่ไกลจากเมืองมากนัก ในระยะเริ่มต้น จะยังไม่มีความพร้อม หมู่บ้านเฮจะต้องยืนอยู่ให้ได้ ที่ที่ไม่ไกลเมือง มักจะมีราคาแพง ถ้ามีที่น้อย จะขยายตัวไม่ได้ แต่ถ้าเยอะมากนัก ก็แพงอีก สมาชิกหมู่บ้านเฮก็จะซื้อไม่ไหว ที่พูดเรื่องการซื้อที่ดินนี้ ไม่่อยากให้มองเป็นเรื่องการจัดสรรที่ดิน แต่เป็นการรวมกำลังกันสร้างความฝันให้เกิดขึ้น

เมื่อได้ที่ดินแล้ว ปลูกต้นไม้ทันที ต้องการพืชคลุมดินโดยด่วน อาจจะต้องใช้เวลานาน สวนป่ามหาชีวาลัยอีสานที่สตึกใช้เวลา 10 ปี แต่เมื่อเวลาผ่านไป จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างพื้นที่ของสวนป่า กับพื้นที่ข้างเคียง แม้แต่ภาพถ่ายดาวเทียมก็เห็นชัดระหว่างพื้นที่สวนป่าสีเขียว กับพื้นที่ภายนอกที่สีไม่เขียว ในระหว่างที่รอต้นไม้โต ต้องหากิจกรรมมาทำอย่างต่อเนื่อง

อ่านต่อ »


เมกะโปรเจ็ค

อ่าน: 2607

ผมพอเข้าใจที่ภาครัฐวางแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการเริ่มทำโครงการขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ในกรุงเทพ แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมจึงทำในกรุงเทพ ทำแล้วปริมาณรถยนต์ ก็ไม่ได้ลดลง (ซื้อมาแล้ว จะให้จอดทิ้งไว้เฉยๆ หรือ)

ทำไมไม่ทำระบบรถไฟให้ดี ทำให้การเดินทาง และขนส่งสินค้าสะดวกกว่าปัจจุบัน และได้ประโยชน์โดยตรงกับชาวบ้านจริงๆ

จะเป็นรถไฟรางคู่ หรือจะเป็นเส้น มุกดาหาร-แม่สอด ยังน่าจะได้ประโยชน์มากกว่าเลยครับ กระจายงบก่อสร้างออกไปในพื้นที่ตลอดแนวรางรถไฟ รองรับการว่างงานได้หลายปี สร้างเศรษฐกิจใหม่ๆ ขึ้นมา


น้ำมันปาล์ม

อ่าน: 3183

เมื่อวานไปประชุมอนุกรรมการมาตรฐานฯ นั่งติดกับเพื่อนที่มาจากต่างประเทศ เค้าเล่าให้ฟังว่ากระบวนการสกัดน้ำมันปาล์มนั้น แทบไม่ได้พัฒนาเลยตลอด 115 ปีที่ผ่านมา

น้ำมันที่สกัดได้ เป็นเพียง 20% ของน้ำมันที่มีอยู่ ส่วนที่เหลือก็ทิ้งไปเปล่าๆ เค้าเล่าว่าไปดักตรงส่วนที่ทิ้ง นำไปให้ความร้อนอีกรอบหนึ่ง จะสามารถรีเคลมน้ำมันออกมาได้อีก 60% (รวมเป็น 80% ของน้ำหนัก)

ตัวเลขนี้ มาจากแล็ปที่ทดลอง proof of concept เค้ามาเมืองไทยเที่ยวนี้ จะมาทำการทดลองจริง ที่คุยกันนี้ ไม่ได้เกี่ยวกับงานของกรรมการชุดนั้นเลย

อนุสนธิจากเรื่องนี้ก็คือ

  • ทำไมจึงต้องสร้างกำแพงล้อมรอบตัวเอง ว่าเพราะเราเป็น ก จึงจะต้องสนใจแต่เฉพาะเรื่องของ ก เท่านั้น ใครตัดสินว่าเราเป็น ก ที่ไม่ใช่อย่างอื่นอย่างเด็ดขาด
  • ทำไมจึงคิดว่าสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว
  • นี่เราไม่กล้าแม้แต่จะคิดปรับปรุงเชียวหรือ
  • ข้อมูลใหม่ เชื่อถือได้หรือไม่ ยังไม่รู้ แต่ถ้าไม่ลองแล้วจะรู้ได้อย่างไร; ก็เป็นความรู้แบบแห้งๆ ตามที่คุ้นเคยกัน คือนึกว่ารู้ แต่ไม่เคยลอง และไม่รู้ว่าเมื่อนำไปปฏิบัติ จะเป็นไปได้หรือไม่
  • น่าคิดต่อว่ากระบวนการหีบเย็น (cold press process) เมื่อได้สิ่งที่ต้องการออกมาแล้ว ที่จริงเรายังหลงลืมอะไรเพียงเพราะมองไม่เห็นอีกหรือเปล่า


การท่องเที่ยวในบัญชีรายได้ประชาชาติ

อ่าน: 4618

ติดใจบันทึกของพี่ศศินันท์เรื่องการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น ทำให้ผมถามตนเองว่าแล้วการท่องเที่ยวของไทยนี่ สำคัญขนาดไหน ได้ยินว่าทำรายได้ประมาณปีละสี่แสนล้านบาท แต่ไม่รู้ว่าจริงแค่ไหน

วันนี้ได้โอกาส ก็เปิดเว็บของ สศช.​ (สภาพัฒน์ฯ) ซึ่งผมใช้เป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลเศรษฐกิจมานาน พบข้อมูลที่ต้องการได้เสมอ ในเวลาที่ต้องการ — อันนี้ต่างกับเว็บของส่วนราชการบางแห่งซึ่งปิดเว็บนอกเวลาราชการ กรณีอย่างนี้น่าจะถอด CIO (รองอธิบดี) ออกจากตำแหน่งเพราะว่าไม่เข้าใจเรื่องไอทีเลยครับ

ปรากฏว่าตัวเลขในขณะที่เขียนนี้ ปรับปรุงถึงประมาณการปี 2549 (2006) ซึ่งมีรายได้ประชาชาติ (GDP) 7.8 ล้านล้านบาท มีบัญชีรายได้จากโรงแรม 81,905 ล้านบาท บวกกับรายได้ในร้านอาหารอีก 304,477 ล้านบาท — ผมทนใช้หน่วย “81 พันล้าน หรือ 304 พันล้าน” ไม่ได้ ถ้าอยากใช้ ทำไมไม่ใช้ภาษาอังกฤษไปเลยนะครับ

ในบัญชีรายได้ประชาชาติ สองช่องนี้จัดไว้รวมกัน ได้ค่า 386,382 ล้านบาท แต่จะพูดให้เป็นธรรม ไม่ใช่ว่าทั้งหมดมาจากการท่องเที่ยว

แต่ถ้าเหมารวมกันไป รายได้จากหมวดนี้ คิดเป็น 4.93% ของ GDP แต่เสียงดังพราะดูดีมีสกุล ไฮโซมาก ในขณะที่รายได้จากหมวดเกษตรกรรม คิดเป็น 10.74% แต่เงียบเป็นเป่าสาก

รายได้ทุกบัญชีช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยไว้ จึงสมควรจะได้รับความเอาใจใส่ด้วยกันทั้งนั้น การตัดสินใจว่าจะทำอะไรหรือไม่ทำอะไร ไม่ควรขึ้นอยู่กับว่าสิ่งที่จะทำให้นั้น เป็นแหล่งทุนทางการเมืองหรือไม่


โลกอาจอยู่ใกล้มหาสงครามมากกว่าที่คิด!!!

อ่าน: 4451

ที่จริงอาจจะไม่ค่อยมีใครคิดถึงสงครามโลกในยุคนี้หรอกครับ กลายเป็นค่านิยมสากลไปแล้วว่าสงครามไม่ใช่คำตอบ ระบบการผลิตและระบบเศรษฐกิจ ไม่ได้ขึ้นกับพื้นที่อาณาเขตเพื่อครอบครองทรัพยากรอีกต่อไป การติดต่อค้าขายสามารถแลกมาซึ่งปัจจัยในการดำรงชีวิตได้

แต่สิ่งที่ไม่คาดหมาย ก็เกิดขึ้นในเวลาที่เราไม่คาดหมายเสมอๆ

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อการติดต่อค้าขายหยุดชะงัก การผลิตเพื่อการดำรงชีวิตยังจะสามารถดำเนินอยู่ต่อไปได้หรือไม่ ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ด้วยกำลังการผลิตที่มีผู้กล่าวว่าเกินความต้องการใช้ถึงสามเท่า ประกอบกับกระแสทุนนิยมหมกมุ่นและคงอยู่ด้วยการแสวงหากำไร

กำไรเกิดขึ้น เมื่อรายได้สูงกว่าต้นทุน สามารถกระตุ้นรายได้ได้ด้วยคุณภาพที่ดี ด้วยแบรนด์ ด้วยการตลาด และด้วยการบิดเบือนหลอกลวง ส่วนค่าใช้จ่ายลดลงได้ด้วยความชำนาญที่สูง ปริมาณผลิตที่มาก การตัดต้นทุนที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป บีบผู้ขายวัตถุดิบให้ต้นทุนต่ำลง ลดสเป็ค(โกงผู้บริโภค) ฯลฯ ป่วยการจะไปพูดเรื่องคุณธรรม หรือธรรมาภิบาล ในเมื่อธุรกิจส่วนใหญ่ยังตั้งอยู่บนความโลภ และการเบียดเบียนกัน เช่นเดียวกับการเมืองบ้านเรา

อ่านต่อ »


วิธีต่อสู้กับเหมืองแร่โปแตชด้วย “บุญกุ้มข้าว” ทำนารวม เพื่อหาทุนในการเคลื่อนไหวหยุดยั้งโครงการ

อ่าน: 4094

อยู่ดีๆ ก็เจอข้อมูลเสียงสัมภาษณ์จาก คลังเสียงไท เรื่อง บุญกุ้มข้าว นารวม การระดมทุน (ขอให้ฟัง 6 นาทีแรกก่อนจะตัดสินใจว่าจะฟังต่อหรือไม่นะครับ) คิดว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจทั้งในแง่วัฒนธรรมประเพณี และความพยายามที่จะต่อสู้กับกลุ่มทุนขนาดใหญ่เรื่องเหมืองโปแตชที่อุดรธานี

ข้อมูล (ด้านหนึ่ง) ของเรื่องราวเกี่ยวกับเหมืองโปแตช ติดตามอ่านได้ดังนี้



Main: 0.13591194152832 sec
Sidebar: 0.34884190559387 sec