เปิดตัวคุณชาย

อ่าน: 4140

อย่างที่รู้กันว่าถนนหลวงที่จะเข้ามาสวนป่านั้น ชำรุดเสียหายเป็นระยะทางยาว

ปีนี้ได้งบประมาณมา 6.93 ล้านบาทเพื่อซ่อมหลุมบ่อระยะทาง 1.3 กม. มี สส.มาติดป้ายแสดงความยินดีกับชาวบ้านด้วย แต่มันซ่อมไป 100 เมตรเท่านั้นก็เลิกซ่อมแล้ว (มันไหนก็ไม่รู้ แต่สมควรเรียกว่ามัน) เหลือระยะที่จะต้องซ่อมอีก 1.4 กม. (ไม่ได้คิดเลขผิด ถนนเสีย 1.5 กม.) เมื่อวาน ไปสั่งของในอำเภอมาสร้างบ้าน ผ่านมาเห็นกำลังง่วนกันอยู่เชียว แต่แวะช่วยไม่ได้เพราะมีธุระต้องรีบไปรีบกลับมาดูการล้มไม้ยูคาที่สวนป่า

วันนี้หลังจากเล่นเครื่องตบดินพอได้เหงื่อ จึงบอกครูบาว่าขอไปช่วยเค้าซ่อมถนน มีอะไรฉุกเฉินให้ครูบาโทรไปตาม (ครูบาอยู่คนเดียว แม่หวีไปวัด)

พอไปถึงที่ เค้าซ่อมไปแล้วกิโลหนึ่งเมื่อวาน วันนี้กำลังทำต่อ คิดว่าเย็นนี้จะเสร็จหมด — การซ่อมถนน ทำทีละครึ่งเพื่อจะได้ไม่ต้องปิดการจราจรทั้งสาย — ผมแบกจอบส่วนตัวลงรถเบนซ์ไปช่วย มีชาวบ้านประมาณ 30 คน พระ 3 รูป ไม่ต้องรู้จักใคร แต่ชาวบ้านคงเห็นผมเป็นตัวประหลาดเหมือนกัน ต่างมารุมซักถาม “มาจากไหน อยู่ที่ไหน มาทำอะไร ฯลฯ”

หนีจากความเป็นท่านในกรุงเทพ มาเป็นท่านเอากลางป่า อย่างนี้ก็มีด้วย

ทำไปก็สนุกดีครับ ไม่ต้องมีหัวหน้า ไม่ต้องมีคนสั่งการ ทุกคนรู้หน้าที่ เป็นประโยชน์ร่วมกัน มีคนหนึ่งที่ชาวบ้านเรียก “กำนัน” แรกๆ ก็ยืนดู ยืนชี้ พอผมลงมือทำ ก็ช่วยทำโน่นทำนี่

ระหว่างที่วางจอบไปขนหินขนทราย มีคนขอยืมจอบส่วนตัวไปใช้แล้วชมว่าเหมาะมือดี น้ำหนักกำลังดี

อ่านต่อ »


กำเนิดหมู่บ้านโลก

อ่าน: 3723

ครูบาขอให้ช่วยเขียนเรื่อง “กำเนิดหมู่บ้านโลก” ไปเสริมหนังสือโมเดลบุรีรัมย์ (Buriram Model) แต่เขียนเรื่องลึกลับอย่างนี้ ยากเหมือนกันครับ

หมู่บ้านโลกไม่ได้เกิดจากเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง เรื่องเกี่ยวกับชีวิตนั้น ไม่ใช่สมการเชิงเส้นตัวแปรเดี่ยว มีทั้งเรื่องเหตุผล อารมณ์ ความเหมาะสม การเรียนรู้ ประสบการณ์ ประโยชน์ และความเข้ากันได้

จุดใหญ่ใจความคือ ครูบากับแม่หวีทำงานหนักมาสามสิบปี ปลูกป่าจากที่แห้งแล้งไม่มีอะไรเลย จนเป็นป่าที่สมบูรณ์ พืชพรรณหลากหลาย เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ในนาม มหาชีวาลัยอีสาน มาเป็นสิบปีเช่นกัน มีผู้คนผ่านมาเรียนรู้วิถีธรรมชาติปีละหลายพันคน ทำงานตอบแทนคุณแผ่นดินด้านการศึกษา แสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างอย่างชัดเจนว่า คนกับธรรมชาติอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุขโดยไม่ต้องเบียดเบียนกัน แต่ใช้วิธีพึ่งพาอาศัยกันและกัน

เรียนในห้อง…ได้ความรู้
เรียนนอกห้อง…ได้ความจริง

เอาความรู้บวกกับความจริง
เราได้…ความรู้จริง

ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ หนังสือ “คนนอกระบบ”

ทั้งครูบาและแม่หวี ต่างอายุมากขึ้นเรื่อยๆ จะให้ทำงานหนักเหมือนสมัยก่อนคงไม่ได้แล้ว สิ่งที่มีค่ามากในตัวท่าน คือความรู้และประสบการณ์ จึงควรใช้สิ่งนั้นให้คุ้มค่าที่สุด แทนที่จะให้ท่านมาออกแรงทำเองทั้งหมดเหมือนก่อน

การทดแทนคุณแผ่นดินเป็นสำนึกของแต่ละคน ไม่ต้องให้ใครเห็นหรือชื่นชม และไม่มีใครบังคับให้ทำหรอกครับ ทำแล้วมีความสุขเอง ถ้าหากมีความพร้อม ยามแก่เฒ่าคงไม่ลำบาก แต่สำหรับชีวิตเกษตรกรซึ่งไม่มีลูกหลานดูแล แล้วปลูกและรักษาป่ามาทั้งชีวิต ตอนนี้แก่เฒ่า จะทำอย่างไรดี ถ้าตัดไม้ขายคงจะรวยอื้อซ่า แต่ว่าป่าคือชีวิตครับ ทั้งสองท่านทุ่มเทอย่างยากลำบากกว่าจะทำให้สวนป่าเป็นป่าที่สมบูรณ์มาขนาดนี้ ตั้งใจจะทิ้งป่าไว้ในแผ่นดินอีสาน

อ่านต่อ »


หมู่บ้านโลก (6)

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 20 May 2012 เวลา 22:48 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3552

ในฐานะของที่หลบภัย หมู่บ้านโลกก็เหมาะสมครับ แต่มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกนิดหน่อยที่ต้องปรับปรุง

ที่เขียนในประเด็นของภัยพิบัตินี้ก็เป็นธรรมดาเพราะว่าผมทำงานเรื่องนี้โดยตรง หากเกิดภัยพิบัติขึ้น สวนป่าเป็นที่หนึ่งที่เหมาะจะหลบภัย แต่ว่าเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น จะไปถึงสวนป่าได้หรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

หมายความว่าตัวสวนป่าน่ะปลอดภัยครับ แต่อาจจะเข้าไม่ได้ ไปไม่ถึง ทั้งจากระยะทางและจากเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นระหว่างทาง เช่นเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในเมืองใหญ่ๆ เมืองใดก็ตาม ถ้าหากสะพานลอยคนข้าม สะพานลอยรถข้าม สะพานข้ามคลอง+ช้ามแม่น้ำ ทางด่วนที่สร้างยกสูงจากพื้น หรือแม้แค่อาคารหักพังลงมาขวางถนน เคยศึกษาดูกันไหมครับว่ามีเส้นทางไหนออกจากเมืองได้(และนำความช่วยเหลือเข้ามาได้)โดยไม่ผ่านซากปรักเหล่านี้ หรือแม้แต่เกิดอุทกภัย ต่อให้ที่หมายน้ำไม่ท่วม แต่ถนนที่ไปยังที่หมายเดินทางได้จริงหรือเปล่า มีเส้นทางอื่นใช้ได้หรือไม่ ยิ่งจะเดินทางไกล ก็ยิ่งต้องศึกษาให้ละเอียดตลอดเส้นทาง

ภัยพิบัติอะไร จะเกิดเมื่อไร จะเกิดหรือไม่เกิด ผมไม่รู้หรอกครับ แต่มันไม่สำคัญเท่ากับว่าเราได้เตรียมรับมือ+หาทางหนีทีไล่เอาไว้หรือเปล่า ต่อให้ “รู้” ล่วงหน้าแต่ไม่เตรียมอะไรเอาไว้หรือเตรียมเอาไว้อย่างไม่ได้ไตร่ตรองให้รอบคอบ เมื่อเกิดภัยขึ้นก็ไม่รอดอยู่ดี — แต่หากเตรียมการไว้ไม่ว่าจะ “รู้” ล่วงหน้าหรือไม่ เมื่อเกิดภัยพิบัติก็จะมีทางเลือกเพิ่มขึ้น… ส่วนจะรอดจริงหรือไม่ ก็แล้วแต่ว่าที่คิดว่าเตรียมไว้ดีแล้วนั้น ดีจริงหรือไม่

อ่านต่อ »


หมู่บ้านโลก (4)

อ่าน: 4095

ผู้ที่ศึกษาทางพุทธมาบ้าง จะเข้าใจว่าชีวิตเป็นไปตามกฏของไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่สามารถกำหนด บังคับ ควบคุมได้ หากแต่ชีวิตนั้นมีค่า ไม่ควรปล่อยเวลาและศักยภาพทิ้งให้สูญเปล่า (”เรื่องใหญ่ของมนุษย์ มีอยู่แค่เรื่องเดียว คือเรื่องความไม่รู้ ว่าเรื่องใดน่ารู้” — คิดจากความว่าง โดยดังตฤณ)

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เมื่อนำมาปฏิบัติให้ได้ผลแล้ว ชีวิตจะไม่ตกต่ำลง เนื่องจากปัจจัยสี่มาจากดิน เป็นการเก็บกินไม่ใช่ทำกิน ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องเป็นลูกจ้าง ในเมื่อมีชีวิตอยู่ได้ หากสิ่งใดที่ทำแล้วเกิดคุณค่า ต่างเป็นกำไรของชีวิตทั้งนั้น ในเมื่อทุกคนเป็นนายจ้างของตนเอง จะทำกำไรได้มากเท่าไหร่ ก็แล้วแต่ว่าทำสิ่งที่เกิดประโยชน์ต่อคนอื่นหรือไม่ และขยันขันแข็งเพียงใด

แต่ว่าร่างกายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา คนจำเป็นต้องหาเครื่องมือผ่อนแรงช่วยให้ เครื่องมือเหล่านี้จะเปลี่ยนพลังงานรูปหนึ่งเป็นอีกรูปหนึ่ง มีส่วนต่างที่เกิดเป็น “งาน” ขึ้น ซึ่งงานตรงนี้ เรานำเอามาใช้ผ่อนแรง เช่นแทรกเตอร์ ปั้นจั่น ปั๊มน้ำ ลิฟต์ รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ​ เตา ฯลฯ คงจะพูดไม่ได้ว่าอะไรจำเป็นกว่าอะไร เนื่องจากแต่ละคนมีความจำเป็นที่แตกต่างกัน

ที่กลับมาอัพเดตความคืบหน้าของโครงการหมู่บ้านโลกหลังจากไม่ได้เขียนมาปีหนึ่งนี้ ผมไม่ได้ตั้งใจจะทำให้ใครเสียกำลังใจ ตรงกันข้ามเลยครับ ตลอดเวลาตั้งแต่เริ่มทำโครงการนี้มาอย่างเงียบๆ (ซึ่งเพิ่งประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อสิ้นปีที่แล้ว) ผมได้เรียนรู้อะไรมากมาย อยากนำประสบการณ์นี้มาแบ่งปัน เพื่อให้ผู้ที่คิดจะออกจากระบบเมืองแล้วกลับสู่วิถีธรรมชาติ ได้มองเห็นประเด็นและเตรียมตัวต่างๆ ล่วงหน้า ตั้งความคาดหวังให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง เมื่อพาครอบครัวออกไปสู่วิถีนี้แล้ว จะได้ไม่ต้องผิดใจกันว่ามันไม่เป็นอย่างฝันที่โรแมนติค มีอะไรจะต้องทำอีกเยอะเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรก ถ้าคิดว่าจะไปตายเอาดาบหน้า อาจได้เจอดาบเร็วกว่าที่คิดเพราะความไม่รอบคอบครับ

เรื่องความมั่นคงสามแนวทางสำหรับสวนป่าและหมู่บ้านโลกนั้น กล่าวไปแล้วในบันทึกที่แล้วว่าอาหารไม่เป็นห่วงเลย น้ำมีเรื่องที่ต้องปรับปรุงและปรับปรุงได้ไม่ยาก ส่วนเรื่องที่ยังไม่ได้พูดนั้นคือเรื่องพลังงาน

อ่านต่อ »


หมู่บ้านโลก (3)

อ่าน: 5542

มีหนึ่งในกลุ่มคนมีการศึกษาที่คิดจะทิ้งเมืองขอให้เล่าความเป็นมา จะขอศึกษาเพื่อนำไปปรับใช้ ผมก็ถือโอกาสนี้อัพเดตโครงการไปด้วย

แผนงานเรื่องของหมู่บ้านโลกปรับเปลี่ยนไปมาหลายครั้ง แผนที่ยังไม่ดีก็ปรับเปลี่ยนได้ครับ ถ้าไม่เปลี่ยนเป็นการดันทุรังหรือไม่ยอมรับความจริง

เดิมทีคิดจะสร้างที่พักให้ผู้ที่มาเยือนสวนป่า ตอนนี้ไม่ทำแล้ว อาคารเก่ายังใช้ได้ ทำไมจะต้องสร้างใหม่ ที่พักสำหรับวีไอพี จะลองปรับปรุงเตาเผาถ่านดูก่อน น่าจะเป็นสัดเป็นส่วนมากขึ้น หมู่บ้านโลกไม่ใช่หมู่บ้านจัดสรร (ไม่ขายที่ ไม่ขายบ้าน ไม่ให้ตัดต้นไม้ ถ้าอยากสร้างต้องขออนุญาตเจ้าที่แล้วสร้างเอง) ไม่ใช่รีสอร์ต (ไม่ใช่ว่ามีเงินจ่ายก็เข้าอยู่ได้ ถ้าไม่อยากมาเรียนรู้ อยู่บ้านสบายๆ ดีแล้วครับ ไม่มีรูมเซอวิส จะทำอะไรต้องทำเอง) และไม่ใช่โรงทาน (สวนป่ามีค่าใช้จ่าย อย่าแอ๊บลืมนะครับ)

บ้านผม ครูบากรุณาจัดที่เหมาะให้ เนื้อที่สักไร่หนึ่ง ซ่อนตัวอยู่ในชายป่า พายุมาก็พัดข้ามยอดไม้ไปหมด… ขยับมาเป็นครั้งที่สามแล้วครับ ครั้งแรกเป็นที่โล่งซึ่งตอนนี้คิดว่าเอาไปปลูกไร่ทานตะวันน่าจะดี ครูบาบอกว่าคนสันโดษ(และกวนโอ๊ย)อย่างผม อยากให้อยู่สงบๆ ไม่พลุกพล่าน ครั้งที่สองเป็นที่ขนาดสักสี่ห้าไร่คงจะได้ แต่ไม่มีต้นไม้ใหญ่เช่นกัน แล้วอยู่ห่างจากน้ำบาดาลเกินไปหน่อย ครั้งที่สามนี้เป็นทำเลที่เหมาะมาก ถูกใจทั้งท่านเจ้าของที่และผู้อยู่อาศัยจนกระทั่งครูบาเอากระต๊อบบัญชาการมาตั้งไว้ข้างหน้าที่แปลงนี้ และกินนอนมาเดือนกว่าแล้ว โซนของหมู่บ้านโลก อยู่ทางตะวันตกของบ้านผม ห่างไปสักห้าสิบเมตร

ก่อนจะตัดสินใจบอกครูบาว่าจะขอมาอยู่ด้วยเมื่อปลายปีที่แล้ว ผมหาที่ที่เหมาะสมอยู่หลายปี หลายจังหวัด หลายภาค แต่หาไม่ได้ครับ ที่ “สวยๆ” มีคนจะขายเยอะ แต่มันไม่เหมาะครับ ผมไม่ได้ซื้อมาทำรีสอร์ต ผมจะซื้อมาทำเกษตร ซึ่งที่ดินที่ทำเกษตรที่บอกขายมา เป็นที่ดินที่ทำเกษตรเชิงเดี่ยว เกษตรเคมี ต้นไม้เตี้ย แล้วยังต้องใช้ชีวิตแบบซื้อแหลกเหมือนอยู่ในเมือง ถ้าอาการหนักก็จะเป็นบริโภคนิยมแบบรสนิยมสูงรายได้ต่ำ แย่หนักเข้าไปอีก ผมไม่ปฏิเสธเรื่องการใช้เงินหรอกนะครับ ใช้ได้ตามแต่ความจำเป็น ซื้อพวกเครื่องมือมาทำเองจะพึ่งตัวเองได้กว่า แต่สิ่งที่หาซื้อไม่ได้คือต้นไม้ ธรรมชาติ และคนที่เข้ากันได้ครับ ที่ดินหัวโกร๋น ไม่มีร่มเงาไม้ ดินถูกแดดเผา จะร้อน ร้อน และโคตรร้อน พายุจะมีความรุนแรง

เมื่อตั้งใจไปอยู่ที่สวนป่าแล้ว ต้องทำให้อยู่ได้จริงๆ ด้วย ถ้าเสนออะไรแล้วครูบาเห็นด้วย ก็ต้องทำให้มันเกิดขึ้นจริง อย่ามัวเอ็นจอยแต่การชี้นิ้ว อยากทำให้ใช้ชีวิตอยู่ในสวนป่าโดยไม่ต้องออกไปภายนอกเลย ขนาดที่ว่าครูบา+แม่หวีอยู่ที่นี่มาสามสิบปีแล้ว มีอะไรๆ ตั้งมากมาย หมู่บ้านโลกในสวนป่าไม่ได้เริ่มจากไม่มีอะไรเลย แต่จนถึงขณะนี้ ผมปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานไปแล้วหลายอย่างแล้ว เช่น ทำถนน ถมปรับที่ ซ่อมปรับปรุงบ่อน้ำบาดาลบ่อที่สอง กระต๊อบ อิฐอัด รั้วกรงแพะสามารถล้อมคอกแพะขนาด 25 ไร่ได้สองคอกหมุนเวียนกันไป ระบบน้ำสำหรับแปลงผักใหม่ยาวร้อยเมตร ระบบ wifi ระบบเก็บกักน้ำฝน ฯลฯ ให้ครูบาเป็นคนรัวกดปุ่ม เติมเชื้อไฟเพื่อความมันในชีวิต อ้อ…ซื้อรถอีกคันหนึ่งไว้ใช้ที่สวนป่า รถเบนซ์ที่ใช้ประจำจะทิ้งไว้ให้พ่อแม่ใช้ที่บ้าน นี่ยังไม่ได้เริ่มสร้างบ้านเลยนะครับ แต่เงินเป็นเรื่องกระจอก คิดว่าทำไปให้เกิดประโยชน์ส่วนรวมก่อนดีกว่า เรื่องบ้านผมยังเป็นเรื่องเล็ก บ้านผมที่สวนป่า จะไม่พรั่งพร้อมสะดวกสบายเหมือนบ้านที่อยู่ตอนนี้ แต่ยังทำงานได้ไม่ลำบาก ถ้าเป็นไปได้ อยากสร้างบ้านเองด้วยแทนที่จะจ้างเขาสร้าง เมื่อมีที่นอนถาวรที่เก็บของได้ คราวนี้จะขนเครื่องมือไปอยู่สวนป่าได้นานๆ จะมีเวลาสร้างสิ่งที่จำเป็นขึ้นอีก น่าจะสนุก

ครูบา+แม่หวีอยู่ที่นี่มาสามสิบปี ใช้วิริยะเปลี่ยนไร่สวนที่พื้นดินร้อนจนต้องตะแคงเท้าเดิน ให้เป็นผืนป่าขนาด 600 ไร่ (1 ตารางกิโลเมตร) และอยู่ได้อย่างร่มเย็น อุณหภูมิต่ำกว่า “ภายนอก” หลายองศา เป็นสิ่งที่หาซื้อไม่ได้ แต่โลกนี้ “เจริญขึ้น” มีคนหลากหลายมาเรียนรู้ที่สวนป่า เพื่อให้ผู้มาเยือนซึ่งไม่คุ้นเคยกับสภาพตามธรรมชาติไม่ปรับตัวต้องมากนัก สวนป่าก็ควรจะมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีกว่านี้ ให้คนจากในเมืองที่ยังต้องซื้อแหลกทำอะไรไม่ค่อยเป็น (ผมด้วย) ได้รับความสะดวกสบายตามสมควร

อ่านต่อ »


เตือนภัยผ่านมือถืออีกแล้ว

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 12 May 2012 เวลา 7:01 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 5291

ไม่บ่อยนักที่ผมเขียนเรื่องเฉพาะกาล แต่เรื่องนี้สำคัญครับ

เช้านี้อ่านเจอข่าวรองนายกรัฐมนตรีซึ่งไปดูงานเรื่องการเตือนภัยพิบัติ ณ ประเทศญี่ปุ่น จะพูดให้เป็นธรรม ไม่บ่อยที่ผู้ใหญ่ที่ไปดูงานต่างประเทศ จะนำอะไรใหม่กลับมาเสนอหรอกนะครับ

เผอิญเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นงานที่ กทช. ควรจะทำมาตั้งนานแล้ว แต่ กทช. ก็ไม่ทำอย่างที่ควรทำ เมื่อ กทช. ล้มเลิกไป งานนี้ควรจะเป็นของ กสทช. ซึ่ง กสทช. ยังยุ่งอยู่กับแผนแม่บท มอบหมายให้กระทรวงไอซีทีทำ คาดว่าจะได้งานเตือนภัยผ่าน SMS แบบที่เป็นอยู่ด้วยความร่วมมือจากบริษัทโทรศัพท์มือถือ งานในลักษณะนี้ ในความเห็นของผม ไม่ดีพอหรอกครับ

เมื่อคราวเกิดแผ่นดินไหวทางใต้ก่อนวันสงกรานต์ที่ผ่านมา มีเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ในโรงพยาบาลในเขตเสี่ยงภัยท่านหนึ่ง ได้รับข้อความทาง SMS แจ้งเตือนหลังจากแผ่นดินไหวสองวัน ในขณะนั้นไม่มีเหตุการณ์แล้ว จึงส่งข้อความมาตรวจสอบกับผมว่าเกิดอะไรขึ้นหรือเปล่า — เดิมทีท่านไปสมัครรับข่าวสารเตือนภัยทาง SMS เอาไว้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ ทางหน่วยแจ้งเตือน ก็ส่ง SMS ไปยังผู้ที่สมัครรับข่าวสารหลายหมื่นราย ข่าวทาง SMS ทะยอยส่งไปยังโทรศัพท์มือถือเรียงตัว แต่เนื่องจากมีผู้สมัครรับข่าวสารเป็นจำนวนมาก คิวจึงยาวมาก กว่าที่ข่าวจะมาถึงท่าน ก็ผ่านไปสองวันแล้ว (สงสัยว่ากลางคืนจะไม่ส่งข่าวด้วยซ้ำไป คิวจึงคั่งค้างมาก)

เรื่องนี้ไม่ถูกต้องสองอย่าง คือ เมื่อเกิดเหตุท่านไม่ได้รับข่าวสารทันเวลา และหลังเกิดเหตุท่านยังได้รับการแจ้งเตือนถึงเหตุการณ์ในอดีตซึ่งไม่มีผลแล้วและไม่รู้ว่าข้อความนั้นล้าสมัยไปแล้ว (ซึ่งเป็นอีกประเด็นใหญ่อีกอันหนึ่งว่าข้อความแจ้งเตือนไม่ลงเวลา)

อ่านต่อ »


ประชุมภาคีโอเพ่นแคร์

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 10 May 2012 เวลา 16:27 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 2531

การประชุมภาคีของโอเพ่นแคร์ครั้งนี้ เกิดขึ้นตามคำเรียกร้องของภาคีสมาชิกเอง ที่อยากจะแลกเปลี่ยนข้อมูลความคืบหน้ากันบ้าง

การประชุมแบบนี้เคยจัดขึ้นเมื่อปลายปี 2552 แต่หลังจากนั้นก็ไม่ได้จัดขึ้นอีกเนื่องจากเมืองไทยประสบภัยพิบัติต่อเนื่องและยาวนาน กล่าวคือ ปี 2553: อุทกภัยและวาตภัยใหญ่ ภาคใต้ | ภัยหนาว, ปี 2554: ภัยจากการสู้รบชายแดนไทย-กัมพูชา | อุทกภัยจากลานินญา ภาคใต้ | แม่น้ำเจ้าพระยาเน่าเสีย | อุทกภัยตลอดลำน้ำน่าน | อุทกภัยใหญ่ ปี 2554/2555

ด้วยภาคีแต่ละหน่วยต่างก็มีงานล้นมือ จึงไม่มีเวลาพบปะกันเป็นกลุ่มใหญ่ ในวันนี้ แม้เป็นช่วงกำลังฟื้นฟูผลจากอุทกภัยใหญ่เมื่อปลายปีที่แล้ว แต่ยังพอมีเวลาพบปะกันได้ มีภาคีมาร่วมพบปะกัน ณ. กองบัญชาการทหารพัฒนา 8 หน่วยงาน คือ

  1. กสท.โทรคมนาคม (วิทยุเรือ)
  2. ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพอากาศ
  3. กรมอุตุนิยมวิทยา
  4. หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
  5. สํานักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย
  6. กรมกิจการพลเรือนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย
  7. Thaiflood.com
  8. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

อ่านต่อ »


งานวันรวมพลังรับมือภัยพิบัติ

อ่าน: 5173

เมื่อวาน โครงการรวมพลังรับมือภัยพิบัติ ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. จัดงานวันรวมพลังรับมือภัยพิบัติขึ้นเป็นครั้งแรก ที่หอประชุมใหญ่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ผมไปงานนี้ในฐานะเพื่อนของผู้จัด

เดี๋ยวนี้ผมไม่ค่อยจะไปงานไหนเนื่องจากจะเตรียมตัวไปอยู่สวนป่า ไม่อยากให้เกิดงานผูกพันมากเกินไปเนื่องจากข้อจำกัดของระยะทาง แต่ที่เลือกไปงานนี้ก็มีหลายเหตุผลครับ

  1. งานนี้ไม่ใช่งานปล่อยของ ไม่ใช่งานโปรดสัตว์ซึ่งผู้รู้มาบรรยายโดยมีผู้ฟังเป็นตัวประกอบเหมือนงานสัมนาทั่วไป ช่วงเช้าเป็นพิธีการและการติดเครื่อง ส่วนช่วงบ่ายเป็นเวทีของความคิดอิสระซึ่งผู้เข้าร่วมงานเสนอเรื่องเอง พูดเอง ฟังเอง สรุปเอง เลือกหัวข้อที่อยากมีส่วนร่วมเอง (Open-space Meeting) โดยผู้จัดไม่ปักธงมาล่วงหน้า แต่ปล่อยให้เป็นไปตามพลวัตของกลุ่มและผู้ที่มาเข้าร่วม
  2. ผมพอรู้เรื่องภัยพิบัติอยู่บ้าง และผมศึกษาเรียบเรียงแผนการรับมือภัยพิบัติที่มีความซับซ้อนมานานหลายปีแล้ว ใครจะเรียกผมว่าผู้เชี่ยวชาญก็เป็นเรื่องของเขานะครับ ผมรู้หลายอย่างแต่ไม่ได้รู้ทุกอย่างและไม่ได้หลงแสดงตนว่ารู้ไปหมดทุกเรื่องทำได้หมดทุกเรื่อง ผมเพียงแต่พอจะให้แง่คิดในเรื่องที่ผมศึกษามาแล้วได้เหมือนกันถ้าบริบทเหมาะสม
  3. ผมอยากไปฟังว่าคนทำงานในภาคประชาชน คิดอย่างไร เตรียมตัวในเรื่องการจัดการภัยพิบัติอย่างไร

ถึงตั้งใจไว้อย่างนั้น แต่ทำไม่ได้ ถูกแซวตั้งแต่เช้าเลยว่าสลึมสลือมางาน เห็นอัพเดต status ตั้งแต่เช้ามืดเลย นอนดึกตื่นเช้าอย่างนี้ จะไหวหรือ… ผมไม่ได้นอนดึกตื่นเช้าหรอกนะครับ ผมไม่ได้นอนต่างหาก จึงไม่ได้ทั้งนอนดึก นอนไม่พอ หรือว่าตื่นเช้า ถึงอย่างไรช่วงเย็นก็ต้องกลับบ้านก่อนเนื่องจากอายุอย่างผมนี่ไม่ควรขับรถในช่วงที่แสงน้อยแล้ว จึงไม่สามารถอยู่ร่วมจนจบได้อยู่ดีนั่นแหละ

อ่านต่อ »


บ่อน้ำ

อ่าน: 4588

ไม่มีน้ำ แย่แน่ครับ แต่น้ำที่จัดหามาเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นน้ำผิวดินอย่างเดียว

ในรัฐราชาสถานในอินเดีย ใกล้เมืองชัยปุระ มีบ่อน้ำซึ่งสร้างมาประมาณพันสองร้อยปีแล้ว ชื่อว่า Chand Boari เป็นบ่อหินยาปูน ลึกรอยฟุต ประมาณตึก 13 ชั้น ผนังชัน สร้างบันได 3500 ขั้นให้คนเดินลงไปตักน้ำ ดูรูปเพื่อความเข้าใจดีกว่าครับ

[รูปอีกเยอะแยะเลย]

อ่านต่อ »


บ้านใหม่ในสวนป่า แบบที่ 1ก

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 24 April 2012 เวลา 0:08 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 5597

แบบที่ 1ก — ก คือกลับทางครับ น้องซึ่งเป็นคนร่างแบบบอกว่ากลับทาง สเกลผิดด้วย ต้องลดขนาดลงมา ลองเขียนดูก็ได้

รูปนี้มองจากกระท่อมบัญชาการ จากทางทิศตะวันออกเฉียใต้ ตัวบ้านยก 1 เมตรจากพื้นเช่นเดิม เข้ามาจากคอคอดกระ จะมาเจอสันบ้านแล้วต้องเดินอ้อมบ้านไป จึงจะขึ้นบ้านได้ ทางขึ้นมีทางลาดสำหรับเก้าอี้รถเข็น หรือจะขึ้นทางบันไดห้าขั้นก็ได้ เดินเข้าไปมีห้องอยู่สองปีก ปีกละสองห้องเช่นเดิม

อ่านต่อ »



Main: 0.13503909111023 sec
Sidebar: 0.20111107826233 sec