จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน จากมุมมองของมนุษย์ธรรมดา

อ่าน: 5381

สังคมมนุษย์เป็นสังคมของการพึ่งพากัน ไม่มีใครที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ (แบบที่มีคุณภาพชีวิตพอสมควร) ได้ด้วยตนเอง เมื่อคนอยู่รวมกลุ่มกัน ต่างก็พึ่งพาอาศัยกันและกัน

18 ต.ค. 2516 สี่วันหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลา ดำเนินไปถึงจุดไคลแม็กซ์ อ.ป๋วย เขียนบทความ The Quality of Life of a South East Asian : A Chronical of Hope from Womb to Tomb ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ the Bangkok Post บทความนี้ ต่อมามีการแปลเป็นภาษาไทย และกล่าวกันว่าเป็นแรงผลักดันสำคัญของแนวคิดแบบรัฐสวัสดิการของไทย

คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าบทความนี้ สร้างแรงบันดาลใจมหาศาล แต่ผมก็ขอตั้งข้อสังเกตว่ามันเป็นไปเช่นเดียวกับที่เคยเป็นมา คือคนเชื่อยังชี้นิ้วไปยังคนอื่น (รัฐ) ว่าจะต้องทำอย่างโน้น ทำอย่างนี้ ส่วนตัวเองนั้นขอพูด ขอวิจารณ์ ขอผลักด้นและกดดัน ประกาศความต้องการอย่างชัดแจ้ง ผมคิดว่ายังมีนัยอื่นในบทความนี้ ที่ระบุถึงหน้าที่ของทุกคนในรัฐสวัสดิการ — ถ้าหากว่าต้องการรัฐสวัสดิการจริง

หากว่าบทความนี้เป็น check-list ตามมาตรฐาน เราสอบตกไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานอะไรก็ตาม ทั้งรัฐที่ปกครองมาทุกยุคทุกสมัย และประชาชนที่ไม่ทำหน้าที่แต่เรียกร้องเอาเหมือนนับถือผี

อ่านต่อ »


ทางตรง: ตรงที่ไหน

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 27 February 2010 เวลา 18:11 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3030

เมื่อเราทำอะไรร่วมกัน สิ่งต่างๆ มักไม่เป็นไปตามใจเราปรารถนา ทำไมเราจึงจะต้องได้ในสิ่งที่ต้องการเดี๋ยวนี้ เสมอไป?

27022010132.jpg

27022010133.jpg

Posted by Wordmobi


ตรรกะผิดเพี้ยน

อ่าน: 7006

ได้ลิงก์น่าสนใจมาจากคุณ @bipole ลิงก์นี้พูดถึงความเข้าใจที่ผิดเพี้ยน ซึ่งอาจจะเริ่มตั้งแต่การเรียนรู้ที่ผิดเพี้ยน ฟังความข้างเดียว หรือการด่วนสรุป ไม่ให้เวลากับตัวเองได้พิจารณาให้ถ่องแท้

รู้สึกว่าเป็นศาสตร์เฉพาะ ซึ่งผมไม่ได้เป็นผู้เชื่ยวชาญหรอกครับ อ่านแล้วรู้สึกว่าน่าอ่าน และสังคมไทยน่ากลัวเหมือนกันเพราะผมเห็นว่ามีคนมีอาการอย่างนี้เยอะ จึงวุ่นวายมากเพราะมีคนคิดไปเองเยอะเกินไป

อ่านต่อ »


บรรยาย

อ่าน: 3562

เมื่อคืนนี้ ทวิตไปว่าทั้งโลกไม่มีใครรู้เรื่องที่พูดดีเท่าเรา ความสำเร็จของการพูดไม่ใช่ทำให้คนอื่นรู้เท่าเรา แต่ให้เขาคิดพิจารณาในประเด็นที่เราชี้”

ในทวิตเตอร์ จำกัดความยาวของข้อความไว้ที่ 140 ตัวอักษร จึงเขียนได้แค่นั้น ขออธิบายเพิ่มดังนี้ครับ

โดยทั่วไปนั้น การบรรยายเป็นการสื่อสารทางเดียว มักจะถูกเข้าใจว่าเป็นการสื่อความให้ผู้ฟัง มีความรู้เหมือนกับที่ผู้บรรยายพยายามจะถ่ายทอด — ความคิดแบบนี้มีปัญหาพื้นฐานอยู่ที่ว่า หากการถ่ายทอดมีประสิทธิภาพเต็มร้อย โลกนี้ก็ไม่ก้าวหน้า เพราะไม่มีความรู้ความคิดใหม่ๆ เกิดขึ้น แต่หากถ่ายทอดได้ไม่เต็มที่ โลกกลับเดินถอยหลัง เสื่อมลงไปเรื่อยๆ ผู้ฟังรอคอยของตาย พอฟังจบ นึกว่ารู้แต่ที่จริงไม่รู้เพราะไม่เคยทำ จึงยังรอแต่คำสั่งเหมือนเดิม ปลอดภัย/แน่นอน/มีคนอื่นรับผิดชอบแทน ไม่รู้จักคิดเอง จึงไม่ทำในสิ่งที่ควรทำ [อยากให้ฟัง ดร.วรภัทร์​ ภู่เจริญ พูดถึงคำว่าลูกอีแร้ง ตอนท้ายคลิปที่ 1 กับต้นคลิปที่ 2 แต่ถ้ามีเวลา ก็ดูตั้งแต่ต้นจนจบก็แล้วกันครับ]

ความสำเร็จในการบรรยาย จึงไม่ใช่การทำให้คนอื่นรู้เท่ากับที่เรารู้-เหมือนกับการจับความรู้ในสมองเราไปยัดใส่สมองผู้ฟัง วัดผลไม่ได้ด้วยเสียงปรบมือ จำนวนผู้เข้าฟัง หรือคำยกย่อง

ความสำเร็จในการบรรยาย สำหรับผู้ฟังคือการได้ประเด็นจากการฟังการบรรยายไปคิดพิจารณาต่อ เอาไปใช้ได้ สำหรับผู้บรรยายคือการทำให้ผู้ฟังคิดและพิจารณาในประเด็นที่เราพยายามชี้ให้เห็น อธิบายด้วยเหตุ ด้วยผล ด้วยการเปรียบเทียบ ด้วยตัวอย่าง ถ้าคิดเอาเองก็พูดให้ชัดว่าเป็นความเห็น ให้เกียรติผู้ฟัง แล้วก็ไม่จำเป็นต้องสรุปให้แบบแม่อีแร้ง — แยกแยะการรับรู้กับการเรียนรู้ออกจากกัน — อย่าพอใจแค่สาระของการบรรยาย ให้ดูว่าช่วยผู้ฟังให้เข้าใจแก่นสาร+ความหมายมากขึ้นได้อย่างไรครับ อย่าทำเหมือนรายการเล่าข่าว

หากจะฟังทั้งหมด คลิกตรงนี้ครับ


จริง ปลอม ใช่ ไม่ใช่ อะไรกันแน่

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 20 February 2010 เวลา 3:01 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3191

สิ่งที่เห็น เป็นจริงแน่หรือ ทำไม่จึงปักใจเชื่อกันง่ายอย่างนั้น อย่าว่าแต่เรื่องเล่าต่อๆ กันมาเหมือนเกมพรายกระซิบเลยครับ


ของขวัญอันแสนวิเศษ

อ่าน: 3213

ผมทำหน้าที่เหมือนเป็นศูนย์ไปรษณีย์ของชาวเฮ ทั้งนี้ก็เพราะเคยทำ DVD จากโอกาสต่างๆ แจกชาวเฮหลายครั้ง ตั้งแต่ เฮฯหก เป็นต้นมา จึงมีที่อยู่ของสมาชิกรวบรวมไว้เป็นจำนวนมาก

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว… ได้รับโทรศัพท์จากพี่ครูอึ่งถามหาที่อยู่ของป้าจุ๋ม แต่ผมไม่มีเพราะบ้านอยู่ห่างกัน 7-8 กม. ที่ทำการไปรษณีย์ที่ใกล้ที่สุดก็เกือบ 4 กม.แล้ว อย่างนี้ ขับรถไปหาดีกว่าครับ

พี่ครูอึ่งก็ถามหาที่อยู่ อ.วรภัทร์​ ซึ่งก็ไม่มีเหมือนกันครับ ส่งหนังสือ เจ้าเป็นไผ ๑ ในโควต้านักเขียนให้ อ.วรภัทร์เป็นท่านสุดท้ายเลยและต้องเอาไปส่งที่บ้านพักของท่านที่ร่มธรรม แต่ผมบอกพี่ครูอึ่งว่าน่าจะหาบริษัทอริยชนที่ซอยศูนย์วิจัยได้ ยังไงผมก็จะไปที่นั่นอยู่แล้ว เพราะกำลังพิมพ์ จปผ๑ อีกที จึงจะส่งไปให้นักเขียนทุกท่านอีกรอบหนึ่ง

พี่ครูอึ่งก็ส่งพัสดุมาให้เมื่อกลางเดือนก่อน (แต่เพิ่งได้รับเมื่อไม่กี่วันนี้เอง) แกะออกดู เป็นหนังสือสองเล่ม เล่มละ 3 ชุด พร้อมโน๊ตจากพี่ครูอึ่ง ฝากหนังสือให้ อ.วรภัทร์ กับป้าจุ๋ม พรุ่งนี้เสร็จงานบบ่าย ถ้าไปทันจะพยายามนำไปให้ อ.วรภัทร์ ในงานตอนค่ำครับ ส่วนป้าจุ๋มตอนนี้ไปปฏิบัติธรรมที่ผาซ่อนแก้ว ต้องรอกลับมาก่อน

หนังสือที่พี่ครูอึ่งส่งมา คือหนังสือที่ รศ.ดร.โสรีช์​ โพธิแก้ว เขียน และคณะลูกศิษย์จิตวิทยาการปรึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิมพ์ขึ้นในเนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปีของอาจารย์ ได้แก่หนังสือ

  • กระแสธารแห่งชีวิต (มีสะกดผิดในบรรทัดที่ 5 จากท้ายหน้า 94 ครับ)
  • ชีวิต..ความงาม..ความจริง

อ่านแล้วทั้งสองเล่ม ต้องถือว่าเป็นโชคมหาศาลที่ได้อ่าน พรุ่งนี้จะเอาให้พ่อกับแม่อ่าน

หนังสือสองเล่มนี้อ่านง่ายแต่ลึกซึ้งครับ ไม่มีราคา ไม่มีวิธีสั่งซื้อ ไม่รู้ว่าจะหาอ่านได้ที่ไหน แต่ถ้าไม่ได้อ่าน ก็ไม่รู้ว่าดีอย่างไรหรอกนะครับ (บอกไว้เฉยๆ)


ปรัชญาแผ่นดิน

อ่าน: 3430

เมื่อครั้งพลเอกเปรมเป็นนายกรัฐมนตรี ท่านได้มีดำริให้รวบรวมขึ้นเป็นหนังสือ ไว้เพื่อเป็นหลักในการบริหารบ้านเมือง มี 6 บท คือ ปรัชญาประมุขบริหารราชการ, ปรัชญาการปกครอง, ปรัชญาสังคม, อภิปรัชญา, ปรัชญาชีวิต และบทสรุป

พลเอกเปรมเป็นนายกรัฐมนตรีระหว่างปี 2523-2531 หลังจากพลเอกเกรียงศักดิ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2523 สภาผู้แทนราษฎรทำการหยั่งเสียงเพื่อหาตัวผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีมติเลือกพลเอกเปรม โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

หนังสือปรัชญาแผ่นดินนี้ ผมไม่มีข้อมูลว่าพิมพ์ครั้งแรกเมื่อใดครับ แต่พิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อปี 2525

ผมว่าน่าอ่านทุกบทล่ะครับ แต่ก็ไม่คิดว่าจะเหมาะกับทุกคนหรอก ออกแนวเซนหรือเต๋า ใช้ paradox ในการเปรียบเทียบ อ่านแล้วต้องคิดเยอะๆ ไม่จำเป็นต้องเชื่อแต่ต้องพิจารณา คนฉลาดก็ต้องเลือกอย่างฉลาดครับ

อ่านต่อ »


จุดยืน

8 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 11 January 2010 เวลา 18:29 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4237

เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าคนที่มีความมั่นคงทางอารมณ์ เป็นคนมีจุดยืน - แม้จะไม่มีความมั่นคงในอารมณ์ ก็จะพยายามแสดงว่ามีจุดยืนเหมือนกัน

ดังนั้นการดูว่าใครมีจุดยืนที่แท้จริงอยู่ตรงไหน อาจไม่สามารถดูได้จากสิ่งที่เขาแสดงออกมา หรือป่าวประกาศเพียงอย่างเดียว (นี่ก็สองอย่างเข้าไปแล้ว)

ถ้าเชื่อว่าปฏิกริยาของคน เริ่มต้นในจิตใจ (รวมทั้งเชื่อว่าความคิดในสมองก็เป็นปฏิกริยาของจิตใจด้วย) จะต้องดูแรงผลักดันสามด้านที่ชักคะเย่อกันอยู่ คือ

  1. ร่างกาย ต้องการหลีกหนีจากความวุ่นวายทั้งปวง ความไม่สงบ การเบียดเบียนกัน การตะโกนที่ไม่มีใครฟัง การใช้ความรุนแรง รวมทั้งความไม่แน่นอนอีกด้วย
  2. ศักดิ์ศรี ต้องการเป็นฝ่ายถูก รวมถึงความอยากทั้งหลายของอัตตา เช่นการมีคนมาห้อมล้อม ป้อยอ ยกย่อง เห็นด้วยไปหมดทุกอย่าง ต่อให้รู้ว่าเขาแสร้งทำเฉพาะหน้า ก็ยังพอใจอยู่ดี
  3. จิตสำนึก ต้องการทำในสิ่งที่ถูกต้อง การอบรมเลี้ยงดู จะสร้างค่านิยมว่าอะไรถูกต้อง อะไรที่คนรอบตัวและสังคมรับได้หรือไม่ได้

ในแรงผลักดันทั้งสามนี้ ไม่น่าจะทำให้วุ่นวายได้มาก แต่มันก็เกิดขึ้นด้วย“เหตุผล“ที่ยกมาอ้าง โดยลืมไปว่าแม้ความจริง ก็มีหลายมุมมอง แต่ความจริงในมุมของตน มักมีน้ำหนักมากกว่าความจริงของคนอื่น แถม “เหตุผล” นั้น เราคิดเองหรือฟังคนอื่นมาแล้วเชื่อนะครับ เหตุผลเป็นเพียงความคิด

เมื่อคนเรามีจุดยืนแล้ว อย่าเพิ่งคิดว่ามั่นคงนะครับ ต้องดูก่อนว่ายืนอยู่บนอะไรด้วย

อ่านต่อ »


“ความดี” ของคนไทยคืออะไร

อ่าน: 4840

เป็นประเด็นร้อนในส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่งในทวิตภพ — “ความดี” ของคนไทยคืออะไร — เรื่องนี้น่าคิดครับ เวลาเราบอกให้คนทำดี หมายความว่าอย่างไรกันแน่ ถ้ายังไม่รู้ แล้วจะทำดีได้อย่างไร

แต่ว่าตัวคำถามที่ต้องการคำตอบแบบเหมารวมแบบนี้ รังแต่จะทำให้เอนโทรปีของประเทศสูงขึ้นครับ… จะมีใครให้คำตอบแทน “คนไทย” ทั้งหมดได้ล่ะ

ค้นพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ที่จริงเคยค้นแล้วครับ) ไม่เจอเหมือนเคย จะอธิบายว่าอย่างไรดี… ก็คงเป็นเรื่องยากที่จะอธิบายนามธรรมให้ครอบคลุม อย่างไรก็ตาม พจนานุกรมนิยามคำว่า “ดี” ไว้สามความหมาย ซึ่งความหมายที่สอง เหมาะกับใช้อธิบายรากคำของความดี ว่า

ดี ๒ ว. มีลักษณะที่เป็นไปในทางที่ต้องการ น่าปรารถนา น่าพอใจ ใช้ใน
ความหมายที่ตรงข้ามกับลักษณะบางอย่างแล้วแต่กรณี คือ ตรงข้าม
กับชั่ว เช่น คนดี ความดี, ตรงข้ามกับร้าย เช่น โชคดี เคราะห์ดี; สวย,
งาม, เช่น หน้าตาดี, เรียบร้อย เช่น มรรยาทดี, เพราะ เช่น เสียงดี, จัด
เช่น แดดดี, เก่ง เช่น ดีแต่พูด, ชอบ เช่น ดีแล้ว, อยู่ในสภาพปรกติ เช่น
สุขภาพดี คืนดี.

เมื่อค้น Google ได้คำตอบที่น่าสนใจหลายอย่างครับ

อ่านต่อ »


คิดอย่างแตกต่าง

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 2 January 2010 เวลา 21:44 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4484

Apple เคยออกโฆษณาชุด Think Different มาเมื่อปี 1997 ซึ่งเป็นแคมเปญที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ผมดูกี่ครั้งก็ชอบครับ หนังไม่สวย เพลงไม่เพราะ แต่ข้อความในนั้น…

Here’s to the crazy ones! The misfits, the rebels, the trouble makers, the round pegs in the square holes. The ones who see things differently. They’re not fond of rules and they have no respect for the status quo. You can quote them, disagree with them, glorify or vilify them. About the only thing you can’t do is ignore them. Because they change things. They push the human race forward. And while some may see them as the crazy ones, we see genius. Because the people who are crazy enough to think they can change the world, are the ones who do.
Think different. [apple logo]

ขอบคุณคุณเครกที่ช่วยตรวจให้เมื่อ 7 ปีก่อน ตอนที่ผมสื่อสารกับพนักงานครับ

อ่านต่อ »



Main: 0.049036026000977 sec
Sidebar: 0.21037602424622 sec