ป้องกันการหลงทางบนเฟสบุ๊ค

อ่าน: 4290

ผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่าทำไมจึงอยากมีเพื่อนบนเฟสบุ๊คเยอะๆ เวลาเปิดอ่าน News feed เจอข้อความของเพื่อนเป็นร้อยเป็นพัน

ผมไม่ได้ขอเป็นเพื่อนกับใคร แต่ใครขอมาก็รับหมด — ไม่ได้ต่อต้านสังคม หรือว่าหยิ่งยโสอะไร เพียงแต่ข้อความที่มีอยู่ในตอนนี้ก็อ่านไม่ไหวแล้วครับ — นึกไม่ออกเหมือนกันว่าคนที่มีเพื่อนหลายพันจะทำอย่างไร คงต้องกลายเป็นคนที่เขียนอย่างเดียว อ่านของคนอื่นได้น้อยมาก (นอกจากสุ่มเจอในเวลาที่เล่นเฟสบุ๊คพอดี…ซึ่งถ้าใช้ในเวลาที่ไม่ตรงกัน ก็จะไม่ได้อ่านข้อความของเพื่อน)

อีกประการหนึ่ง เรื่องที่ผมสนใจนั้นมีจำกัด ดังนั้นการตะลุยอ่าน News feed ทั้งหมด จะเสียเวลามากและได้ประโยชน์น้อย… แต่เรื่องนี้ มีทางออกครับ

อ่านต่อ »


ทีมไอซีที เทศบาลนครพิษณุโลก 24-26 พ.ค. 56

อ่าน: 2468

หมอจอมป่วนพาทีมจากเทศบาลนครพิษณุโลกมาคุยที่สวนป่า เป็นทีมที่จะเริ่มใช้เครื่องมือทางไอที ช่วยในการจัดการความรู้ และขยายการมีส่วนร่วมของประชาชน

ไม่รู้ขับรถอย่างไร ออกจากพิษณุโลกเก้าโมงเช้าของวันวิสาขบูชา กว่าจะถึงสวนป่าก็หกโมงเย็นกว่าๆ แล้ว เนื่องจากขับรถมาไกล และครูบาอยากให้พักก่อน กินข้าว อาบน้ำ จึงงดโปรแกรมเวียนเทียนไป (เพื่อที่จะได้ดูละครคุณชายพุฒิภัทรตอนจบ?)

เช้าวันรุ่งขึ้น (วันนี้) ก็เริ่มคุย

อ่านต่อ »


ทดสอบระบบคลังภาพ

อ่าน: 3578

บ่ายสามโมงครึ่ง เริ่มมีน้ำเอ่อขึ้นมาแถวบ้าน เป็นระดับประมาณ 10 ซม.ต่ำกว่าถนนซึ่งค่อนข้างสูง

นอกจากว่านี่คือสัญญาณเตือนว่ากำลังจะเป็นผู้ประสบภัยแล้ว ยังแสดงให้่เห็นว่าน้ำหลากมาเป็นปริมาณมากอีกด้วย น้ำที่หลากมานี้มีปลาติดมาด้วย ซึ่งคุณภาพน้ำแย่มาก ขนาดปลาหงายท้องเลยครับ แต่เมื่อพระอาทิตย์ตกระดับน้ำสูงขึ้นประมาณ 10 ซม. จากนี้ไปคงขึ้นช้าเพราะว่าเป็นระดับเดียวกับน้ำในทะเลสาปใหญ่ซึ่งไม่ห่างจากบ้าน รอดไปอีกวันหนึ่ง

สหภาพยุโรป (EC) ได้ให้ทุนพัฒนาระบบตรวจการณ์ภัยพิบัติแก่บริษัท AnsuR ของนอรเวย์ ซึ่งเขียนโปรแกรมบนโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์ เรียกว่าระบบ ASIGN (Adaptive System for Image Communication over Global Networks) ซึ่ง

  1. ถ่ายรูปด้วยกล้องในโทรศัพท์หรือแท็บเล็ตที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
  2. ระบุพิกัดที่ถ่ายด้วย GPS (หรือ aGPS) ที่มีอยู่ในโทรศัพท์
  3. ส่งรูปถ่ายของสถานการณ์เข้าเซอร์เวอร์กลาง โดยส่งภาพเล็ก thumbnail ขนาด 600×360 pixels ทำให้ไม่เสียเวลาในการส่ง แต่เมื่อต้องการภาพละเอียดเพื่อซูมดู เซอร์เวอร์กลางจะขอภาพรายละเอียดสูงจากมือถือมาอีกครั้งหนึ่ง

ภาพจากโทรศัพท์มือถือเครื่องต่างๆ จะถูกรวบรวมเอาไว้เป็นจุดในแผนที่ตามพิกัดที่ถ่ายรูป เรื่องนี้เมื่อเราดูแผนที่ จะเห็นสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ พร้อมทั้งมีเวลาที่ถ่ายรูปกำกับไว้ด้วย

จึงอยากเชิญชวนผู้ที่มีโทรศัพท์แอนดรอยด์ โหลดโปรแกรมไปทดลอง ถ่ายภาพที่เกี่ยวกับอุทกภัย ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมแล้ว น้ำยังไม่ท่วม ภาพคน เขื่อน รอยรั่ว ความเสี่ยงต่างๆ การร้องขอความช่วยเหลือ ความต้องการ ฯลฯ ใช้ได้ไม่ว่าจะเป็นผู้ประสบภัยเอง หรือผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือ เมื่อถ่ายรูปแล้ว ส่งผ่าน 3G/EDGE/GPRS/Wi-fi/ADSL/LAN หรืออะไรก็ได้ที่เชื่อมต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ต

อ่านต่อ »


การสื่อสารจากมุมที่แตกต่าง

อ่าน: 2809

เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน ผมทำงานอยู่บริษัทข้ามชาติสาขาประเทศไทย เป็นพนักงานรุ่นแรกๆ ก็มีโอกาสได้ร่วมงานเปิดสำนักงานอย่างเป็นทางการ ในงานนั้น มีผู้ใหญ่มาเปิดงาน มีลูกค้าและคู่ค้ามาร่วมแสดงความยินดีด้วย เจ้าหน้าที่ท่านหนึ่ง เกิดไม่แน่ใจขึ้นมาว่าจะต้องแต่งตัวอย่างไรจึงจะเหมาะสม จึงถามกรรมการผู้จัดการ ว่า Do we have to dress? กรรมการผู้จัดการ (คนอเมริกัน) กลับตอบว่า You are free to nake ซึ่งทำให้คนถามกลับงงหนักเข้าไปใหญ่ ว่าทำไมจึงได้รับคำตอบแบบนั้นพร้อมเสียงหัวเราะ

เรื่องนี้เป็นเพราะความไม่เข้าใจในภาษา ผู้ถามจะถามว่าต้องแต่งชุดใหญ่หรือเปล่า แทนที่จะถามว่า Do we have to dress up? กลับไปถามว่าต้องใส่เสื้อผ้าหรือเปล่า กรรมการผู้จัดการเค้าก็เก็ตครับว่าไม่ใช่ภาษาพ่อภาษาแม่ เลยตอบกลับมาอย่างตลกๆ ว่า คุณจะเปลือยกายก็ได้ ซึ่งทำให้ผู้ถามงงหนักเข้าไปใหญ่ เพราะไม่เข้าใจว่าตัวเองพูดอะไรออกไป ทำไมจึงได้รับคำตอบอย่างนั้น ส่วนคนฟังรวมทั้งผมด้วย ก็ลงไปกองอยู่ตรงนั้นหัวเราะกันท้องคัดท้องแข็ง… กรรมการผู้จัดการรู้อยู่แล้วว่าผู้ถามใช้คำไม่ถูกต้องและตอบกลับไปในแนวตลก แต่ผู้ถามที่ได้คำตอบนั้นไม่เก็ต จนกระทั่งอธิบายให้ฟังว่าตลกยังไง (มีหัวเราะกันอีกรอบโดยผู้ที่ไม่เก็ตในรอบแรก)

งานอาสาและการบรรเทาทุกข์ก็มีลักษณะคล้ายกัน แม้จะสื่อกันด้วยภาษาไทย แต่ที่ยากที่สุดคือการสื่อบริบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่เคยฝึกมา หรือไม่ละเอียดพอ ข่าวสารที่ไม่มีบริบทหรือมีความจริงเพียงส่วนเดียว จะถูกเข้าใจผิดหรือบิดเบือนโดยจงใจได้ง่าย

อ่านต่อ »


นาฬิกาแดด

อ่าน: 6172

น้ำจะท่วม ในชั่วโมงนี้ สิ่งที่ควรเตรียมแล้วยังไม่ได้เตรียม ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรแล้วล่ะครับ

ระหว่างรอความช่วยเหลือ ให้นึกถึงความปลอดภัยของตนเองและครอบครัวก่อน อย่าทำตนเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์ ซึ่งอาจจะได้อยู่เฝ้าจริงๆ ติดตามข่าวสารกันหน่อย จากสภาพแห้งๆ เปลี่ยนเป็นท่วมมิดหัวได้ในวันเดียว หน่วยงานทางปกครอง ควรจะประสานเครือข่ายเฝ้าระวังทางด้านต้นน้ำ ทำกันเป็นทอดๆ ไป ขอให้ช่วยเตือนบ้านเรือนทางใต้น้ำด้วย หากเขตของท่านน้ำท่วม ก็เมตตาเขตที่อยู่ใต้น้ำด้วย แจ้งสถานการณ์เขาไปโดยด่วนเพื่อที่จะเตรียมพร้อม

แล้วเมื่อได้รับคำเตือนมา หากยังไม่ได้เตรียมการใดๆ ไว้ ก็ควรจะเตรียมอพยพนะครับ ขนข้าวของขึ้นที่สูงแล้่วย้ายผู้ป่วย ผู้สูงอายุ และเด็ก ไปสู่ที่ปลอดภัยก่อน (ว่าแต่รู้และกำหนดกันหรือยังว่าสถานที่ปลอดภัยอยู่ตรงไหน จะไปตามหากันตรงไหน)

ทีนี้เวลาอพยพไปอยู่ที่สูงกันแล้ว สิ่งที่คุ้นเคย ก็หาไม่เจอหรอกครับ แม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไร แต่ผมนึกถึงนาฬิกาแดด

ถ้าหากเชื่อว่าการโคจรของเทหวัตถุเป็นไปตามกฏเกณฑ์ทางฟิสิกส์ ก็ใช้โปรแกรมนี้คำนวณได้ครับ แต่ถ้าหากเชื่อว่าทางโคจรของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้าเปลี่ยนไปมาแบบขึ้นและตกบนภูเขาผิดลูก ก็ข้ามบันทึกนี้ไปเลย

อ่านต่อ »


เก็บตกการบรรยายในค่าย THNG #2

อ่าน: 3186

บ่ายวันนี้ ถึงจะไม่ค่อยสบาย ก็ยังไปบรรยายในงาน THNG Camp ครั้งที่ 2 ทั้งนี้เป็นเพราะผู้จัดได้ทาบทามล่วงหน้ามาหกเดือนแล้ว หลังจากที่เคยไปบรรยายในค่ายครั้งแรกเมื่อปีก่อน — เจออธิการบดีด้วย (เรียนศศินทร์รุ่นดึกดำบรรพ์พร้อมกัน) เพิ่งรู้ว่าวันนี้เพื่อนร่วมรุ่นนัดสังสรรค์กันตอนเย็น ซึ่งผมต้องขอตัว ฮี่ฮี่ฮี่

เพราะค่าย #THNGCamp ต้องการเอาเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการจัดการภัยพิบัติ ดังนั้นแทนที่จะบรรยายตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมายมา (OpenCARE เครือข่ายเพื่อการเตือนภัย เชื่อมโยงทั้งในและนอกประเทศ) ผมตัดสินใจเพิ่ม framework เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติ ทั้งที่รู้ว่าเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดเยอะ ผู้เข้าร่วมค่าย THNG อาจจะมีประสบการณ์เรื่องนี้มาไม่มากนัก ก็ยิ่งจำเป็นต้องตั้งทิศทางกันเสียก่อน (ถ้าฟังทัน)

โหลดสไลด์ได้ที่นี่ครับ (6.2 MB) แต่สิ่งที่ผมพูดมักไม่เขียน ถ้าหากอ่านไม่รู้เรื่องก็ขออภัยด้วยนะครับ มันเป็นสไลด์สำหรับการบรรยาย ไม่ใช่สไลด์สำหรับอ่าน

อ่านต่อ »


ระบบตามหาคน

อ่าน: 4292

ประสบการณ์จากเหตุสึนามิที่มีความอลหม่าน ทำให้เนคเทคพัฒนาระบบตามหาคนขึ้นมา”สอง”ระบบ ซึ่งมีประสิทธิภาพดี เมื่อโทรศัพท์แน่นไปหมด

ระบบแรกเป็นระบบตามหาคน Missing person เป็นระบบให้ผู้ตามหาผู้(ที่คาดว่าจะ)ประสบภัย ได้มาลงทะเบียนว่าตามหาคนชื่อ “nnnnn” อยู่นะ ในขณะที่เขียน ระบบนี้ยังทำงานอยู่ แต่ก็ไม่ค่อยมีใครใช้

ส่วนอีกระบบหนึ่งนั้นก็ไม่ใช่ความคิดใหม่ เมื่อคราวเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ที่เมืองโกเบในญี่ปุ่น ต้นปี 1995 เขามีระบบ I Am Alive ซึ่งปรากฏอยู่ใน ISOC INET2000 proceedings เพื่อให้ผู้ประสบภัยที่รอดจากภัยพิบัติ แต่พลัดหลงกับครอบครัวแล้วไม่รู้จะไปตามหากันที่ไหน ได้มาลงทะเบียน อย่างน้อยเผื่อว่ามีใครตามหาอยู่ จะรู้ว่ายังปลอดภัย — ขณะนี้ ระบบ I am alive ในเมืองไทยไม่ได้ทำงานอยู่ครับ

สำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินแบบกรณีสึนามินั้น ผมคิดว่าทั้งสองระบบทำงานได้อย่างวิเศษครับ เหมาะมากกับสถานการณ์ที่มีศูนย์พักพิง โรงพยาบาลสนาม หรือส่งต่อไปยังโรงพยาบาลอื่น กระจัดกระจายกันอยู่ อยู่กันคนละกระทรวง โดยที่การตรวจสอบรายการชื่อของคนเข้าออก กระทำได้ลำบากเนื่องจากเจ้าหน้าที่มีงานล้นมือ… เรื่องแบบนี้ ควรจะใช้คอมพิวเตอร์ค้นหาเอา

แต่ขอร้องอย่างหนึ่งครับ ว่าอย่าเอารายชื่อในฐานข้อมูลขึ้นเว็บเด็ดขาด มันเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยที่คนไม่ค่อยคิดกัน

อ่านต่อ »


IPv4 หมดแล้ว

อ่าน: 4309

อินเทอร์เน็ตทำงานด้วยการเชื่อมต่อจาก IP address อันหนึ่ง ไปสู่อีกอันหนึ่ง เป็นเหมือนบ้านเลขที่ ที่จะบอกว่าส่งจากไหนไปไหน และจะส่งผลลัพท์กลับมาอย่างไร ถ้าไม่มี IP address อินเทอร์เน็ตทำงานไม่ได้ครับ

IANA เป็นองค์กรกลางที่คอยดูแลรักษาหมายเลขต่างๆ ที่ยังทำให้อินเทอร์เน็ตทำงานอยู่ได้ รวมทั้ง IP address ด้วย โดย IANA แจ้งว่าได้แจกจ่าย IP address บล็อคใหญ่ (/8) ซึ่งเหลืออยู่ 7 ก้อนให้แก่ APNIC (ศูนย์ดูแลระดับภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก) จำนวนสองก้อน จึงเหลือ /8 อยู่ห้าก้อน

และตามนโยบายของ ICANN ซึ่งดูแลความเป็นไปของการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งหมด เมื่อเหลือ IP address อยู่น้อยแล้ว IANA จะต้องแจกจ่ายก้อนสุดท้ายไปยังศูนย์ภูมิภาคทั้งหมดอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้นศูนย์ภูมิภาคทั้งห้า คือ ARIN (ทวีปอเมริกาเหนือ) LACNIC (ละตินอเมริกา) RIPE (ยุโรป ตะวันออกกลาง และเอเซียกลาง) AFRNIC (อัฟริกา) และ APNIC (เอเซีย-แปซิฟิค) ก็จะได้รับการจัดสรร IP address ก้อนสุดท้าย ศูนย์ละหนึ่งก้อน /8 ซึ่งถ้าหมดแล้ว ก็จะไม่มี IPV4 ให้อีก (มีทางออกอื่น แต่ไม่สะดวกเหมือน IPv4) — เรื่องนี้ เคยเขียนเตือนไว้ใน [โลกที่ปราศจากอินเทอร์เน็ต]

ดูเหมือนว่า APNIC ที่เมืองไทยอยู่ด้วยนี้ จะได้รับ IP address ใหม่มาสามก้อน แต่ถ้าดูให้ดีแล้ว ขอบเขตของ APNIC มีประเทศที่พลเมืองล้นหลามเกินพันล้านคนคือ จีน และอินเดีย และยังมีประเทศที่มีพลเมืองขนาดเกินร้อยล้านคนอีกหลายประเทศ คือ อินโดนีเซีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ญี่ปุ่น แถมด้วยประเทศที่มีประชากรเข้าใกล้ร้อยล้านคนอีกไม่น้อย เช่น ฟิลลิปปินส์ เวียดนาม ไทย… เมื่อสิบกว่าปีก่อน เคยคุยกับศาสตราจารย์จากจีนซึ่งดูแลแผนของประเทศ เขาบอกว่าแค่เดินตามแผน แค่เชื่อมต่อมหาวิทยาลัยของจีนเข้าสู่อินเทอร์เน็ตทั้งหมด IP address ในเวลานั้นก็มีไม่พอแล้ว

ด้วยจำนวนประชากร ตลอดจน “การพัฒนา” ในประเทศต่างๆ ทั่วทั้งภูมิภาค IP address ที่ APNIC ได้มา ก็น่าจะหมดไปอย่างรวดเร็วกว่าศูนย์อื่นๆ

อ่านต่อ »


แก้มลิงใต้ดิน

อ่าน: 4680

ผมเขียนที่บล็อกลานซักล้างนี้มาเกือบหนึ่งพันบันทึกแล้ว ย้อนกลับไปดูบันทึกเก่าๆ เจอเรื่องราวที่เอามาผูกกันเป็นเรื่องใหม่แล้วอาจจะเวิร์คครับ

  1. แก้มลิงต้องการพื้นที่แปลงใหญ่ แต่ในหลายปีที่ผ่านมา พื้นที่มีราคาแพงขึ้นมากเนื่องจากมีนายทุน(ไทยและต่างชาติ)กว้านซื้อ องค์กรจัดการภัยพิบัติสหรัฐ​ FEMA ซึ่งบังคับให้ทุกชุมชนทำแก้มลิง ได้กำหนดความหมายของแก้มลิง (floodway) ไว้ว่า A “Regulatory Floodway” means the channel of a river or other watercourse and the adjacent land areas that must be reserved in order to discharge the base flood without cumulatively increasing the water surface elevation more than a designated height. Communities must regulate development in these floodways to ensure that there are no increases in upstream flood elevations. For streams and other watercourses where FEMA has provided Base Flood Elevations (BFEs), but no floodway has been designated, the community must review floodplain development on a case-by-case basis to ensure that increases in water surface elevations do not occur, or identify the need to adopt a floodway if adequate information is available.
  2. ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ปีนี้มีแล้งจัด ร้อนจัด จนน้ำเกือบหมดเขื่อน! จากนั้นต่อด้วยเปียกจัด เกิดอุทกภัยขึ้นใน 51 จังหวัด มีคนได้รับผลกระทบประมาณ 9 ล้านคน คิดเป็น 13.4% ของประชากรทั้งหมด และมีแนวโน้มว่าจะต่อด้วยหนาวจัดด้วย
  3. โดยสถิติ ถึงฝนจะมาไม่ตรงเวลา ปริมาณฝนเฉลี่ยก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง — หมายความว่า เวลาฝนทิ้งช่วงจะเกิดการขาดแคลนน้ำ ส่วนเวลาฝนมาก็จะท่วม

อ่านต่อ »


ภาพมุมสูง: วิธีสร้างและวิธีใช้

อ่าน: 4057

การประชุมเมื่อวานนี้ @iwhale พูดถึงเรื่องภาพถ่ายมุมสูง เรื่องนี้ สามอาทิตย์ก่อน ผมเคยตีฆ้องร้องป่าวบ้าบอขนาดขอเครื่องบินทหารบินถ่ายรูปด้วยซ้ำไป

ปัญหาคือการรับการร้องขอความช่วยเหลือเป็นการทำงานแบบ reactive (แต่ก็จำเป็นต้องทำ) ทีนี้หากผู้ประสบภัยถูกตัดขาด ติดต่อโลกภายนอกไม่ได้ล่ะก็ แย่เลย

ถ้าจะทำแบบ pro-active ก็ควรจะรู้ว่าขอบเขตของน้ำท่วม อยู่แค่ไหน มีประชากรอยู่ตรงนั้น (และน้ำยังท่วมอยู่) กี่คน จะได้เตรียมความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม ไม่มากไปจนเหลือทิ้งเปล่า ไม่น้อยใปจนทำให้ชุมชนแตกแยก; ช่วยให้กำหนดเส้นทางเข้าพื้นที่; ช่วยให้กำหนดจุดตั้งคลังของความช่วยเหลือในพื้นที่ อันจะเพิ่มความถี่ในการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ​ (สทอภ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องความรู้ทายภาพถ่ายจากดาวเทียม และได้ตั้งเว็บไซต์ flood.gistda.go.th ขึ้นมา เว็บไซต์นี้ แสดงภาพถ่ายดาวเทียมที่มีรายละเอียดพอสมควร ใช้งานได้

อ่านต่อ »



Main: 0.19801998138428 sec
Sidebar: 0.45420598983765 sec