เรื่องไม่ง่ายกับการประชุม

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 1 April 2009 เวลา 0:35 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ #
อ่าน: 4375

การประชุม คือการพยายามหาประโยชน์จาก collective brain power เพื่อก้าวไปสู่คำตอบที่ดีกว่า การประชุมเป็นการลงทุนของ องค์กร เมื่อลงทุนด้วยเวลา และความเหนื่อยยากของบุคลากร ทั้งการจัดเตรียมวาระ-เอกสารต่างๆแล้ว องค์กรก็น่าที่จะได้ข้อสรุปที่ดี นำไปใช้ได้

ในการประชุมนั้น เรากลับต้องการความแตกต่างทางความคิดหากว่าคิดเหมือนกันหมด ก็ไม่รู้จะประชุมกันไปทำไม ของทุกอย่างในโลก (ยกเว้นทรงกลม) เมื่อมองจากมุมที่แตกต่างกัน จะเห็นเป็นภาพที่แตกต่างกันเสมอ แม้บางทีรูปร่างเหมือนกัน แสง-เงาก็ต่างกัน ดังนั้นหากเรากำลังเสนอสิ่งที่คิดว่าดีที่สุด จะแน่ใจได้อย่างไรว่าความคิดของเราถูกต้องเสมอจนไม่ต้องฟังใคร หรือว่าการที่ผู้อื่นเห็นด้วยนั้น เป็นการเห็นด้วยจากการยอมรับในเหตุผล ไม่ใช่ความเกรงใจ หรือแรงกดดันอื่นๆ

ในด้านที่ไม่เกี่ยวกับ การเมืองนั้น ข้อสรุปจากการประชุม คือความเห็นร่วมกันถึงทางออกที่ดีที่สุดสำหรับประเด็นต่างๆ จึงเป็นเรื่องผิดมารยาทที่จะมีลักษณะของเสียงข้างน้อย ความเห็นที่แตกต่างจากข้อสรุปของการประชุมนั้น สามารถขอให้บันทึกไว้ในรายงานการประชุมได้ (มีผลคุ้มครองทางกฏหมายด้วย)

การลงมติ มักจะให้ความรู้สึกว่าเป็นประชาธิปไตย เรื่องนี้ก็จริงครับ แต่เป็นเพียงรูปแบบ-กระบวนการ ไม่ใช่เนื้อหาซึ่งคือความรับผิดชอบต่อส่วนรวม; การลงมติ ไม่ได้เป็นการรับประกันว่าจะได้ข้อสรุปที่ดีที่สุด เราประชุมกันเพื่อแก้ปัญหาหรือหาข้อสรุปอะไรบางอย่าง ไม่ได้ประชุมกันเพื่อให้ใครมาชื่นชมว่าใช้กระบวนการลงมติในการสรุป สำหรับผม ข้อสรุปจากการประชุมไม่น่าจะเกิดจากการลงมติ คณะกรรมการต่างๆประชุมเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับปัญหาต่างๆ ข้อสรุปก็ไม่ใช่การทำข้อสอบปรนัย ไม่จำเป็นต้องเลือกจากข้อเสนอต่างๆที่เกิดขึ้น

อ่านต่อ »


เจ็ดบทเรียน นำพาฝ่าวิกฤติ

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 26 March 2009 เวลา 0:15 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ #
อ่าน: 6053

Bill George เป็นอาจารย์ที่ Harvard Business School ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือขายดีชื่อ Authentic Leadership และ True North ผมชอบอ่านข้อเขียนของเขาครับ

เมื่อเร็วๆ นี้ เขาเขียนบทความชื่อ Seven Lessons for Leading in Crisis ลงตีพิมพ์ใน the Wall Street Journal ซึ่งเป็นภาวะที่เกือบทุกสถาบันในสหรัฐและทั่วโลก กำลังเผชิญกับความโกลาหลปั่นป่วน มีการเลิกจ้าง

ถ้าท่านเป็นผู้นำ คงอ่านภาษาอังกฤษจากลิงก์ข้างบนได้อยู่แล้ว ผมจึงแปลมาเป็นไทยแบบคร่าวๆ ดังนี้ครับ

  1. เผชิญหน้ากับความเป็นจริง
  2. อย่าประเมินสถานการณ์ต่ำเกินไป
  3. เก็บเงินสดไว้ บริหารเงินสดอย่างฉลาด
  4. กระจายงานออก อย่าทำเป็นเก่งอยู่คนเดียว
  5. ก่อนจะขอให้ผู้อื่นเสียสละอะไร ลองสละเองก่อน
  6. ถือโอกาสเปลี่ยนแปลง อย่าปล่อยผ่านเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
  7. ตลาดเปลี่ยนแปลงไปแล้ว อย่าทำเหมือนเดิม ออกไปเรียนรู้และค้นพบตลาดใหม่ซะ


บทเรียนจาก Star Trek

อ่าน: 5257

Star Trek เป็นหนังชุดแบบ SciFi ในโทรทัศน์ เริ่มสร้่างในปี 1966 มีทั้งหมด 726 ตอน และมีการสร้างเป็นภาพยนตร์ต่อมาอีกสิบชุด (ชุดที่ 11 มีกำหนดฉายเดือนธันวาคม 2551) มนุษย์ชาติใน Star Trek ตามความคิดของ Gene Roddenberry ผู้สร้าง ค่อนข้างจะเป็นอุดมคติ และมีโครงสร้างทางสังคมที่แตกต่างกับสิ่งที่พบเห็นอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมองจากสังคมทุนนิยมที่เห็นต่อประโยชน์ส่วนตนก่อนสิ่ง อื่นทั้งหมด

ด้วยเหตุนี้ จึงมีนักคิด นักฝัน เสรีชน ติด Star Trek ทั่วโลกเป็นจำนวนมาก — อาจจะเป็นวิธีหนีไปจากโลกของความเป็นจริงที่เผชิญอยู่ — พวกนี้เรียกตัวเองว่า Trekkies

“Space, the final frontier. These are the voyages of the starship Enterprise. Its five-year mission: To explore strange new worlds. To seek out new life and new civilizations. To boldly go where no man has gone before.

เรื่องราวของ Star Trek เริ่ม หลังจากสงครามโลกครั้งที่สาม จากการที่ Zephram Cochrane ค้นพบวิธีเดินทางที่เร็วกว่าแสงในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 21; ชาว Vulcan ได้พบ warp signature (ร่องรอยของอนุภาคซึ่งใช้ขับเคลื่อนเครื่องยนต์เข้าสู่ความเร็วแสง) และได้เริ่มติดต่อกับมนุษย์อย่างเปิดเผย

ต่อมาในศตวรรษที่ 22 ชาว Vulcan มนุษย์ และเผ่าพันธ์อื่น ก็ได้ร่วมกันตั้ง สหพันธ์แห่งดาวเคราะห์ the United Fedreation of Planets หรือเรียกสั้นๆ ว่า the Federation หรือ สหพันธ์ฯ ; การปฏิบัติการของตัวละครที่อยู่ในสหพันธ์ เป็นไปตาม Prime Directive ซึ่งกล่าวไว้ว่า The Prime Directive dictates that there can be no interference with the internal affairs of other civilizations. …ฟังดูเหมือนอาเซียนยังไงก็ไม่รู้!

อ่านต่อ »


ฉายเดี่ยว

อ่าน: 2996

ทำอะไรคนเดียว บางทีมันก็ออกมาดีเหมือนกัน เพียงแต่ว่าไม่ใช่ทุกอย่างจะออกมาดีถูกใจผู้คนเสมอไปหรอกนะครับ

คนที่ทำอะไรคนเดียวออกมาได้ดี มีเคล็ดลับอยู่ว่าเขาจะต้องมีอิสระที่จะเลือก และเข้าใจตัวเองว่าเขาทำอะไรได้ดี (”ทำได้” ต่างกับ “ทำได้ดี”)



คลิปนี้ มีเล่นผิดหลายเม็ดเหมือนกัน แต่ถ้าให้ผมเล่น ผมก็เล่นไม่ได้ ดังนั้น ฟังอย่างเดียวดีแล้วครับ


ความกล้าหาญของ “ผู้จัดการ”

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 20 February 2009 เวลา 16:03 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ, ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 5616

บันทึกที่เขียนไว้เมื่อสองปีก่อน นำมาดัดแปลงครับ

ผมแปลคำว่า manager ว่า “ผู้จัดการ” ซึ่งในความหมายที่แท้จริง ควรจะแปลว่า “ผู้บริหาร” ครับ — แต่ถ้าแปลว่าผู้บริหาร ก็จะมีคนถามว่าทำไม manager จึงไม่แปลว่าผู้จัดการอีก เลยช่างมัน


เมื่อปี ค.ศ.1963 Peter Drucker ตั้งคำถามเตือนสติไว้ 3 คำถามเกี่ยวกับการทำงานของผู้จัดการไว้ใน Harvard Business Review ว่า

1. What is the manager’s job?

ใครๆก็คงจะตอบได้ว่าหน้าที่ของผู้จัดการคือการจัดสรรทรัพยากรและความพยายามในการดำเนินธุรกิจ เพื่อผลลัพธ์ที่มีนัยสำคัญทางเศรษฐกิจต่อองค์กร -- ฟังดูน่าเบื่อซ้ำซาก และน่าจะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้

แต่ Drucker ก็เขียนไว้ว่า “But every analysis of actual allocation of resources and efforts in business that I have ever seen or made showed clearly that the bulk of time, work, attention, and money first goes to “problems” rather than to opportunities, and, secondly, to areas where even extraordinarily successful performance will have minimum impact on results.” เวลา-งาน-ความสนใจ-เงิน-ทรัพยากรส่วนใหญ่กลับถูกใช้ไปในการแก้ไขปัญหาแทน ที่จะใช้ไปเพื่อสร้างและจัดการกับโอกาสในทางธุรกิจ (เป็นการแก้ไขเรื่องในอดีต แทนที่จะมองไปในอนาคต) และแม้ว่าจะแก้ปัญหาได้ ก็ลืมถามตัวเองก่อนว่าปัญหาเหล่านั้นเป็นเรื่องที่มีนัยสำคัญต่อองค์กรหรือไม่

2. What is the major problem?

มีความสับสนมากระหว่างประสิทธิภาพกับประสิทธิผล ซึ่งนำไปสู่ความไม่ชัดเจนระหว่างการทำสิ่งที่ถูกต้องเพื่อผลลัพธ์ (doing the right things) กับการทำสิ่งที่ถูกตรงตามระเบียบกฏเกณฑ์ (doing things right)

ในอีกบทความหนึ่ง Drucker เขียนไว้และกลายเป็น management quote อันมีชื่อเสียงว่า Efficiency is doing things right; effectiveness is doing the right things.” — ไม่มีอะไรจะไร้สาระเท่ากับการมีประสิทธิภาพสูงแต่ไม่มีประสิทธิผล คนเป็นนายควรจะถามตัวเองอยู่บ่อยๆว่าเหนื่อยทำไม-คุ้มหรือไม่ ตัวเลขต่างๆที่มี (kpi, financial ratio, growth) ต่างเน้นไปที่ประสิทธิภาพไม่ใช่ประสิทธิผล

ตำแหน่ง ผู้จัดการจึงมีอยู่เพื่อจัดสรรทรัพยากรต่างๆเพื่อประสิทธิผล ไม่ใช่เพื่อให้สิ่งต่างๆเป็นไปตามธรรมชาติปกติ เพราะเหล่าพนักงานและระบบงานทำอย่างนั้นได้อยู่แล้วโดยไม่ต้องมีผู้จัดการ เรื่องที่ผู้จัดการต้องทำคือ “(1) a way to identify the areas of effectiveness (of possible significant results), and (2) a method for concentrating on them.”

3. What is the principle?

องค์กรธุรกิจไม่ใช่ปรากฏการณ์ธรรมชาติ หากแต่เป็นปรากฏการณ์ทางสังคม และในเมื่อมันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม กฏ 20-80 จึงมีผลมาก กล่าวคืองาน 10-20% อาจจะสร้างผลกระทบถึง 80-90% ในขณะที่งานส่วนใหญ่สร้างผลไม่มากแต่เหนื่อย — อันนี้อาจเป็นคำตอบสำหรับความรู้สึกที่ว่าทำไปก็เท่านั้นไม่มีใครเห็น ที่ไม่มีคนเห็นนั้น เป็นเพราะมันยังไม่ดีพอ-ไม่มีผลต่อองค์กรอย่างเพียงพอ-ยังปรับปรุงได้อีก

เป็นเรื่องผิดธรรมชาติหากว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำจะมีคนมาชื่นชม แต่เราก็มักจะคาดหวังการยอมรับใน ลักษณะแปลกๆแบบนี้อยู่เรื่อย ถ้าเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นจริง อาจเป็นไปได้จากสาเหตุอย่างน้อยสองอย่าง คือ คนๆนั้นไม่มีอะไรทำ นอกจากเฝ้าดูเราตลอดเวลา หรือนั่นคือการสอพลอ

ความกล้าหาญของ”ผู้จัดการ” คือการทำในสิ่งที่ต้องทำ เพื่อตอบคำถามทั้งสาม


หายนะที่คาดเดาได้

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 30 January 2009 เวลา 0:06 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4067

เป็นเรื่องแปลกที่ทั้งที่หายนะนั้นคาดเดาได้ แต่มันก็ยังเกิดขึ้น

ในช่วงหาเสียงของ Clinton/Gore Presidential Campaign เขามีนโยบายที่จะเพิ่มความเข้มงวด เรื่องความปลอดภัยในการโดยสารเครื่องบิน แต่พอได้เข้ามาบริหารกลับกลัวที่จะทำ เพราะเกรงว่าผู้โดยสารจะไม่ได้รับความสะดวก แล้วก็เกิดเหตุการณ์เครื่องบินชนตึก 9/11 — เราจำอันนี้ไม่ได้เพราะมันถูกกลบด้วย National Information Infrastructure (NII) ซึ่งกล่าวถึงวิสัยทัศน์ที่ทุกบ้าน/ทุกโรงเรียนมีอินเทอร์เน็ต อันเป็นจุดที่อินเทอร์เน็ตขยายตัวอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนทั่วโลก

วิกฤติซับไพร์มในสหรัฐ มีสัญญาณมาหลายปีก่อน กล่าวคือ subprime mortgage มีค่าประมาณ 10% ระหว่างปี 2001-2003 แต่เพิ่มขึ้นเป็น 18-21% ในช่วงระหว่างปี 2004-2006 พอปี 2008 ก็เกิดลูกโป่งแตกทันที

แล้วรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 ล่ะครับ… ผมว่าอันนี้ก็ใช่ ความทะนงตนของผู้มีอำนาจในเวลานั้น ตลอดจนการไม่ได้รับข้อเท็จจริง ทำให้ตัดสินใจยืนหยัดชนลูกเดียว ทั้งที่การถอยเสียหนึ่งก้าว ก็จะเป็นการสลายเงื่อนไขการยึดอำนาจได้อย่างนุ่มนวล

การจัดการกับหายนะที่คาดเดาได้นี้ ไม่ใช่ใช้การควบคุมความเสี่ยงแต่อย่างเดียว แต่ยังต้องผสมผสานวิธีการจัดการ การเฝ้าระวัง การติดตามความคืบหน้า ฯลฯ ตลอดจนความจริงจังที่จะกำจัดบรรเทาหายนะต่างๆ เรียกว่าการบริหารความเสี่ยง คือทำงานอย่างตระหนักรู้

ในชีวิตของเรา ไม่มีใครต้องการจะเผชิญกับหายนะทั้งนั้น ในด้านธุรกิจก็เช่นเดียวกัน แต่ธุรกิจต้องดำเนินไป ไม่มีธุรกิจใดที่ไม่เสี่ยง ถ้าหากไม่รับความเสี่ยงเสียเลย ก็ไม่ควรทำธุรกิจอีกต่อไป จะทำธุรกิจก็ควรเข้าใจความเสี่ยงของงานที่ทำอยู่ หาทางป้องกัน ลดโอกาสที่จะเกิดความเสียหาย ดำเนินการอย่างระมัดระวัง แต่อย่าให้ถึงขนาดที่กระบวนการเหล่านี้ขัดขวางการทำงาน ประสาทหลอนจนต้องคลุมโปงนอนอยู่ในบ้านอย่างเดียว ไม่ยอมทำอะไรเลยก็แล้วกันครับ ยิ่งเศรษฐกิจเป็นอย่างนี้ ทำอะไรจะต้องระมัดระวัง แต่ควรแยกให้ออกระหว่างการระวังรอบคอบ กับอาการประสาทหลอน

รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์​ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเคยเขียนบทความไว้เมื่อสามเดือนที่แล้ว บรรยายถึงลักษณะหกประการของหายนะที่คาดเดาได้ (Predictable Surprises) ว่า…

อ่านต่อ »


บทเรียนจากหมอก

อ่าน: 4872

เมื่อเช้า ขับรถพาแม่ไปโรงพยาบาล หมอกลงจัด ทัศนวิสัยแย่มาก รถสวนมาเปิดไฟหน้า แต่มองเห็นได้เพียงสิบเมตร เมื่อเช้า ผมขึ้นทุกทางด่วนเพราะว่าเป็นทางแยกกับเลนที่สวนมา และขับไปด้วยความเร็วที่ช้าผิดปกติ จากเดิมที่ขับช้าอยู่แล้ว

ที่น่าแปลกใจคือธรรมดาหมอกในกรุงเทพ 8 โมงก็หายหมด แดดแจ๋แล้ว คราวนี้ 9 โมงยังมีหมอกหนา เริ่มจางไปตั้งแต่ 10 โมง แสดงว่าหมอกคราวนี้ลงหนามาก (เป็นความสูงหลายๆ ร้อยฟุต) แสงแดดใช้เวลานานกว่าจะให้ความร้อนแก่หมอกจนระเหยไปหมด

เมื่อวานหมอกลงจัดจนเรือเฉี่ยวกันบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา วันก่อนนั้น เครื่องบินลงที่สุวรรณภูมิไม่ได้ ต้องย้ายมาลงดอนเมือง 20 เที่ยว ถามถึงโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ ก็แทบเป็นไปไม่ได้เลย ซึ่งนั่นกลับเป็นประเด็นของบันทึกนี้

อ่านต่อ »


“โฟกัส” ในความหมายของ สตีฟ จ๊อบส์

อ่าน: 4286

People think focus means saying yes to the thing you’ve got to focus on. But that’s not what it means at all. It means saying no to the hundred other good ideas that there are. You have to pick carefully.

คงไม่ต้องอธิบายนะครับ ว่าสตีฟ จ็อบส์คือใคร


เชื่อใจ

อ่าน: 4746

เมื่อวันอาทิตย์ ลูกกตัญญูพาคุณแม่ไปช็อบปิ้ง ระหว่างคุณแม่เพลิดเพลิน ผมก็แวะเข้าร้านหนังสือ B2S เจอหนังสือของ Covey อีกเล่มหนึ่งชื่อ The Speed of Trust: the one thing that changes everything

พลิกๆดูก็ชอบครับ แต่ไม่ได้หยิบมา คิดว่าค้นเน็ตอาจจะเจออะไรดีๆ ก็ได้ แล้วก็เจอจริงๆ มีหนังสือแปลด้วย ชื่อว่า พลานุภาพแห่งความไว้วางใจ: The speed of trust

คนบางคน ไม่มีความเชื่อใจใครเลย ระแวงไปหมด ปสด.แบบนี้ ป่วยการจะพูดถึงสันติวิธีและการสมานฉันท์ หรือว่าจะพูดถึงเป้าหมายร่วม ประโยชน์ของส่วนรวม อาจจะเป็นจากความเจ็บปวดที่ถูกทำร้ายจิตใจอย่างใดอย่างหนึ่งในอดีต จึงระแวงไปหมด และกลายเป็นคนขาด self-esteem ไปในที่สุด ไม่สามารถจะวางใจ หรือชื่นชมใครอย่างจริงใจได้

อาการนี้เป็นเช่นเดียวกับระบบราชการ ซึ่งเป็นระบบที่ไม่ไว้ใจใคร เพราะมีประสบการณ์ที่เลวร้ายมาจากอดีต เลยเต็มไปด้วยกฎเกณฑ์ จนทำให้แทบจะปฏิบัติงานไม่ได้ หรือเป็นไปด้วยความล่าช้า ไม่มีประสิทธิภาพ ปรับเปลี่ยนตามความต้องการในพื้นที่ไม่ได้ (เนื่องจากขัดกับเอกสาร แล้วเอกสารก็ไม่เคยเขียนได้ครอบคลุมทุกกรณี)

แต่การเชื่อใจ ก็ไม่เหมือนกับการอ่อนต่อโลก+มองโลกในแง่ดี ใครพูดอะไรก็เชื่อไปหมด ซึ่งนั่นก็เป็นฉันทาคติซึ่งเป็นหนึ่งในอคติ ๔

ในทางธุรกิจ เรามักจะได้ยินผู้รู้กล่าวว่า Strategy x Execution = Result แต่หนังสือเล่มนี้ กลับบอกว่า Strategy x Execution x Trust = Result คือว่า ไม่มี trust ก็ไม่มี result

อ่านต่อ »


อุปนิสัย 7 ประการสำหรับผู้ที่มีประสิทธิภาพสูง

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 12 January 2009 เวลา 0:28 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ, ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 5177

ตามที่ทราบกัน หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือขายดีของ Steven Covey มีการแปลเป็นภาษาไทย ผมอ่านเมื่อนานมาแล้ว มีโอกาสได้มารื้อฟื้นประเด็นต่างๆ ก็ดีเหมือนกันครับ

อ่านต่อ »



Main: 0.045614957809448 sec
Sidebar: 0.13229608535767 sec