ทดสอบระบบคลังภาพ
บ่ายสามโมงครึ่ง เริ่มมีน้ำเอ่อขึ้นมาแถวบ้าน เป็นระดับประมาณ 10 ซม.ต่ำกว่าถนนซึ่งค่อนข้างสูง
นอกจากว่านี่คือสัญญาณเตือนว่ากำลังจะเป็นผู้ประสบภัยแล้ว ยังแสดงให้่เห็นว่าน้ำหลากมาเป็นปริมาณมากอีกด้วย น้ำที่หลากมานี้มีปลาติดมาด้วย ซึ่งคุณภาพน้ำแย่มาก ขนาดปลาหงายท้องเลยครับ แต่เมื่อพระอาทิตย์ตกระดับน้ำสูงขึ้นประมาณ 10 ซม. จากนี้ไปคงขึ้นช้าเพราะว่าเป็นระดับเดียวกับน้ำในทะเลสาปใหญ่ซึ่งไม่ห่างจากบ้าน รอดไปอีกวันหนึ่ง
สหภาพยุโรป (EC) ได้ให้ทุนพัฒนาระบบตรวจการณ์ภัยพิบัติแก่บริษัท AnsuR ของนอรเวย์ ซึ่งเขียนโปรแกรมบนโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์ เรียกว่าระบบ ASIGN (Adaptive System for Image Communication over Global Networks) ซึ่ง
- ถ่ายรูปด้วยกล้องในโทรศัพท์หรือแท็บเล็ตที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
- ระบุพิกัดที่ถ่ายด้วย GPS (หรือ aGPS) ที่มีอยู่ในโทรศัพท์
- ส่งรูปถ่ายของสถานการณ์เข้าเซอร์เวอร์กลาง โดยส่งภาพเล็ก thumbnail ขนาด 600×360 pixels ทำให้ไม่เสียเวลาในการส่ง แต่เมื่อต้องการภาพละเอียดเพื่อซูมดู เซอร์เวอร์กลางจะขอภาพรายละเอียดสูงจากมือถือมาอีกครั้งหนึ่ง
ภาพจากโทรศัพท์มือถือเครื่องต่างๆ จะถูกรวบรวมเอาไว้เป็นจุดในแผนที่ตามพิกัดที่ถ่ายรูป เรื่องนี้เมื่อเราดูแผนที่ จะเห็นสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ พร้อมทั้งมีเวลาที่ถ่ายรูปกำกับไว้ด้วย
จึงอยากเชิญชวนผู้ที่มีโทรศัพท์แอนดรอยด์ โหลดโปรแกรมไปทดลอง ถ่ายภาพที่เกี่ยวกับอุทกภัย ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมแล้ว น้ำยังไม่ท่วม ภาพคน เขื่อน รอยรั่ว ความเสี่ยงต่างๆ การร้องขอความช่วยเหลือ ความต้องการ ฯลฯ ใช้ได้ไม่ว่าจะเป็นผู้ประสบภัยเอง หรือผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือ เมื่อถ่ายรูปแล้ว ส่งผ่าน 3G/EDGE/GPRS/Wi-fi/ADSL/LAN หรืออะไรก็ได้ที่เชื่อมต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ต