น้ำท่วม ข้อมูลก็ท่วมด้วย

อ่าน: 4319

คำว่า Information Overload เป็นคำที่ Alvin Toffler นำมาใช้จนแพร่หลาย เมื่อเขาเริ่มบรรยายถึงสังคมแห่งข่าวสารเมื่อ 40 ปีก่อน

อาการ Information Overload เกิดขึ้นเมื่อมีปริมาณข้อมูลหลั่งไหลเข้ามาจนประมวลไม่ทัน คืออ่านอย่างหาความหมาย แล้วคิดต่อจนรู้ว่าจะต้องทำอะไรต่อไม่ทัน

มีอีกคำหนึ่งคือ Sensory Overload ซึ่งน่าจะตรงกว่าสำหรับคำว่า “รับไม่ไหว” มากกว่า

ในเมื่อรับไม่ไหว มันก็ไม่ไหวล่ะครับ คนที่เจออาการ Information Overload เข้าบ่อยๆ เขามักข้ามไปเลย ซึ่งอันนี้กลับเป็นปัญหาอีกอย่างหนึ่ง คืออาจจะพลาดข่าวสารสำคัญ

ในปัจจุบัน มีสถานการณ์วิกฤตอุทกภัยเกิดขึ้นทั่วประเทศ เครื่องมือสื่อสารก็มีมากขึ้นเยอะ ทำให้ข้อสนเทศ​ (data) และสารสนเทศ​ (information) หลั่งไหลเข้าสู่เครือข่ายสังคม มากน้อยแล้วแต่ความป๊อบ

แต่ถ้าเป็นศูนย์รวมเช่น #thaiflood hash tag หรือเว็บไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับน้ำท่วม คนที่เฝ้าติดตาม อาจจะเจอ Information Overload ได้ — เมื่อวานผมเดี้ยงไป พอตื่นขึ้นมา เจอข้อความใน #ThaiFlood ห้าพันข้อความ เอื๊อก…

อ่านต่อ »


งานอาสาสมัครกับ Crowdsourcing

อ่าน: 4199

ในบางกรณี อาจจัดงานอาสาสมัครเป็น Crowdsourcing ได้ในแบบหนึ่ง

Crowdsourcing เป็นฝูงชนอิสระที่มีพลัง (แต่ตัวคนเดียวไม่มีพลังพอ) ที่ทำให้ความเห็นเล็กๆ การกระทำเล็กๆ กลายเป็นสิ่งที่มีค่า — ทั้งนี้เป็นเพราะคนแต่ละคนแตกต่างกัน จึงเลือกทำอย่างที่ตนทำได้ดี เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน เช่น Wikipedia ซึ่งแต่ละคนเขียนสิ่งที่ตนรู้ และถูกตรวจสอบโดยคนอื่น ไม่มีใครเขียน Wikipedia ทุกเรื่อง ไม่มีใครทำทุกเรื่อง หรือพยักหน้าหงึกๆ กับทุกเรื่อง แต่ทั้งหมดร่วมกันสร้าง Wikipedia ให้เป็น Wikipedia; ในมุมหนึ่ง ก็เป็นการก้าวข้ามลักษณะพวกมากลากไป ทำอะไรเหมือนกันไปหมดทุกคน หรือมีขาใหญ่ที่รู้ไปหมดแล้วสั่งลูกเดียวไม่ฟังใคร

อ่านต่อ »


บุก Crisis Camp

7 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 2 November 2010 เวลา 20:36 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4039

บ่ายนี้ ผมบุกวอร์รูมของเครือข่ายอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติภาคประชาชน เพิ่งเปิดดำเนินการบ่ายนี้เองครับ แต่มีอาสาสมัครตัวจริงเข้าทำงานแล้ว

อ่านต่อ »


เครือข่ายอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติภาคประชาชน

อ่าน: 4309

เย็นนี้ที่ สสท. (ทีวีไทย หรือ ThaiPBS) มีการประชุมเครือข่ายอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติภาคประชาชน ซึ่งเดิมใช้ชื่อเล่นว่า คชอ.ภาคประชาชน มีองค์กรพัฒนาเอกชน กลุ่มอาสาสมัครต่างๆ เข้าร่วมประชุม 60 ท่าน — การประชุมที่มีผู้เข้าร่วมเยอะๆ แบบนี้ มักไม่ค่อยมีประสิทธิผลหรอกครับ แต่ว่าในครั้งนี้ ผมคิดว่าต่างคนต่างมีเป้าหมายเดียวกัน ผ่านประสบการณ์ทำนองเดียวกันมา ถึงตื้นลึกยาวนานไม่เท่ากัน ก็ยังมองไปในทิศเดียวกัน

น่าจะกล่าวได้ว่าที่ประชุมเห็นร่วมกันว่า การรวมตัวกันเช่นนี้ ไม่ควรหยุดแค่อุทกภัยใหญ่ในครั้งนี้เท่านั้น แต่ควรจะรวมตัวกันต่อไปเนื่องจากการฟื้นฟู ยังจะใช้แรงใจและแรงงานอีกยาวนาน ใช้ประสบการณ์การทำงานร่วมกันให้เป็นประโยชน์ยิ่งขึ้นในภันครั้งหน้า(หากเกิดขึ้น)

กิจกรรม CSR แบบยกป้ายถ่ายรูป น่าจะเลิกกันได้แล้วครับ บริษัทห้่างร้านต่างๆ ที่ต้องการจะฝึกจิตสาธารณะของพนักงานจริงๆ ควรพิจารณาให้พนักงานสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อผู้อื่นบ้าง ให้ไปช่วยเหลือและเรียนรู้ความจริงจากพื้นที่ เช่นพนักงานขอลาพักร้อนไปทำกิจกรรมเพื่อสังคม 5 วัน บริษัทยอมให้พักต่อโดยไม่ต้องเข้าทำงานอีก 5 วันโดยจ่ายค่าจ้างตามปกติ — รวมเสาร์อาทิตย์อีก 3 รอบเป็น 16 วัน อบรมสองวัน พักตอนกลับมาสองวัน  เหลือเป็นเวลาลงพื้นที่ 12 วัน — เวลา 12 วันนี้ เหลือเฟือสำหรับสร้างบ้านที่เสียหายขึ้นมาใหม่นะครับ มีเวลาที่จะนำความรู้ที่ต่างคนต่างคิดว่ามีไปช่วยชาวบ้าน (หรือเรียนรู้ว่าที่จริงนั้น ตนไม่รู้อะไร) นั่นไม่สำคัญเท่ากับว่าให้โอกาสพนักงานได้เห็นสังคมไทยตามความเป็นจริง สร้างแรงบันดาลใจขึ้นมาใหม่ เข้าใจความสำคัญของความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติ

อ่านต่อ »


อย่ารอ: เครื่องอบแห้งข้าวเปลือกอนาถาเพื่อช่วยชาวนาที่น้ำท่วม

อ่าน: 3926

เทคโนโลยีชาวบ้าน ทำได้เองง่ายๆ ไม่ต้องพึ่งใคร ไม่ต้องรอใคร (ไม่ทำก็ไม่เป็นไรครับ)

อ่านต่อ »



Main: 0.39862394332886 sec
Sidebar: 0.23555898666382 sec