หนังสือ Popular Mechanics เดือนตุลาคม 2009 ตีพิมพ์เรื่องของคนสี่คนประสบภัยพิบัติจากธรรมชาติ แต่ก็เอาตัวรอดได้ บทเรียนของคนทั้งสี่ เป็นคำแนะนำที่น่าพิจารณา ผมตีความตามแบบของผมเอง ส่วนถ้าอยากอ่านบทความต้นทาง ก็เชิญที่ลิงก์ข้างบนครับ
ภัยพิบัติเป็นสิ่งที่เราโดยมากไม่เคยประสบมากับตัว ดังนั้นจึงมักจะเป็นประสบการณ์ใหม่เอี่ยมเสมอ ที่ถาโถมกระหน่ำเข้ามาจนไม่สามารถจะตั้งตัวได้ หากไม่คิดหรือเตรียมการไว้ล่วงหน้า ก็จะผ่านไปได้ยาก
Some disasters are simply not survivable. But most are, and research on human behavior suggests that the difference between life and death often comes down to the simple—yet surprisingly difficult task of recognizing threats before they overwhelm you, then working through them as discrete challenges. The people who survive disasters tend to be better prepared and more capable of making smart decisions under pressure. Not everyone is born with these traits, but almost anyone can learn them. Here’s how to wire your brain for survival.
1. เตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์เลวร้ายที่สุด
เพราะเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น สิ่งต่างๆ ที่เคยคุ้นเคย จะเปลี่ยนไป ขาดแคลน หรือไม่มีอีกต่อไป ดังนั้น เตรียมการล่วงหน้าซะก่อน ดีกว่าจะไปหาเอาหลังจากเกิดภัยพิบัติแล้ว: อาหาร ยา วิธีจุดไฟ แหล่งจ่ายไฟ แสงสว่าง เครื่องมือจุดไฟ มีดพร้า แม่แรง น้ำมัน พาหนะ ที่พักชั่วคราว เผื่อแผ่คนอื่นบ้าง ฯลฯ
2. อย่าตกใจจนสติแตก
การไม่มีสติ ยากจะตัดสินใจได้ดี เมื่อเกิดภัยพิบัติ เป็นปฏิกริยาของมนุษย์ที่มีอาการตกใจเป็นธรรมดา แต่ถึงอย่างไร มันก็ผ่านไปแล้ว เลิกบ้ากับมันได้แล้ว ตั้งสติพิจารณาความเสี่ยงให้ดี ถ้าเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง ในเวลาที่เกิด เคลื่อนที่เข้าหา “สามเหลี่ยมปลอดภัย” เมื่อแผ่นดินไหวจบแล้ว ย้ายออกจากสิ่งปลูกสร้างโดยเร็วที่สุด ไม่ต้องโชว์ความกล้าหาญหรือบ้างานขึ้นมากระทันหัน
3. รอความช่วยเหลือ
ถ้าสถานที่ที่ประสบภัยไม่ได้อยู่ในสถานการณ์นรกแตก (เช่นไฟไหม้ หรือบ้านเรือนหายหมดมีคนตายเยอะ) สถานที่ที่ดีที่สุดที่จะรอความช่วยเหลือก็คืออยู่ตรงนั้นแหละ พยายามรวมกลุ่มไว้
4. อยู่รอดให้ได้หลังภัยพิบัติ
อะไรที่เคยมี อาจไม่มีแล้ว แต่ชีวิตก็ต้องดำเนินต่อไป มีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน ตีโพยตีพายอะไรไปก็ไม่มีประโยชน์; ในสถานการณ์แบบนี้ ควรช่วยเหลือกัน เนื่องจากกลยุทธ์ “เห็นแก่ตัว” หรือ “ดีแต่พูด” ไม่ช่วยอะไรเลย — ชีวิตในปัจจุบัน ซับซ้อนจนไม่มีใครสามารถจะทำอะไรได้ทุกอย่าง เนื่องจากไม่มีทั้งความรู้ ความชำนาญ ตลอดจนแรงงานเพียงพอที่จะทำทุกอย่างเอง ดังนั้นจึงต้องพึ่งพาผู้ที่ยังรอดอยู่ ซึ่งก็อยู่ในความทุกข์ยากและต้องการความช่วยเหลือเช่นกัน — ถ้าอยากได้ความช่วยเหลือ ก็หัดช่วยคนอื่นซะบ้างครับ