ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (9)

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 20 January 2012 เวลา 15:07 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 5135

วิดีโอคลิปอันนี้ คล้ายกับการทดลองที่สวนป่าครับ เป็นเตาเผาถ่าน biochar อย่างง่าย ซึ่งสร้างได้เอง

อ่านต่อ »


ทริปสวนป่า 6-8 ม.ค.

อ่าน: 4294

ระหว่างวันที่ 6-8 ที่ผ่านมา ผมชวนทีมบริหาร thaiflood (เว็บไซต์) และทีมบริหารกลุ่มอาสาดุสิตประเทศไทยกลับมาสดใสดีกว่าเดิม (เว็บไซต์) ไปถ่ายทำความรู้เกี่ยวกับชีวิตที่สวนป่า ยกทีมกันไปสิบสองคน

ความจริงทีมนี้เป็นทีมบริหารโครงการรวมพลังรับมือภัยพิบัติ ซึ่งทำงานทั้งป้องกัน เฝ้าระวัง รับมือและบรรเทา ตลอดจนฟื้นฟูเหตุจากสถานการณ์ภัยพิบัติ (2P2R)

กิจกรรมอาสาสมัครต่างๆ ที่เราเห็นกันโดยทั่วไป มักเป็นการบรรเทาทุกข์ฉุกเฉิน แต่โครงการรวมพลังรับมือภัยพิบัติ เป็นการรวมรวมความรู้ประสบการณ์และทำงานเพื่อช่วยให้ผู้ประสบภัยสามารถรับมือและผ่านภาวะวิกฤตได้ดีกว่านั่งรอความช่วยเหลือจากภายนอกอย่างเดียว

พอไปถึง ก็ชวนไปดูต้นเอกมหาชัยก่อนเลย เอกมหาชัยเป็นไม้พันธุ์มะกอก เมล็ดให้น้ำมันคุณภาพดี (แบบเดียวกับน้ำมันมะกอก ซึ่งใช้แทนน้ำมันพืช และใส่เครื่องยนต์ดีเซลได้) แต่จุดสำคัญคือต้นเอกมหาชัยมีระบบรากที่แข็งแรงมาก ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่ฝนตกหนัก เติบโตได้ดีในพื้นที่ลาดเอียง ดังนั้นหากปลูกต้นเอกมหาชัยไว้ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อดินถล่ม ก็น่าจะลดความเสี่ยงของดินถล่มได้ และอาจใช้ได้ทั้งภาคใต้และภาคเหนือ ทางสวนป่ากำลังเร่งขยายพันธุ์อยู่

อ่านต่อ »


หลังคาโค้งระบายอากาศ

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 29 December 2011 เวลา 1:40 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 4035

Buckminster Fuller (1895-1983) เป็นนักประดิษฐ์ชาวอเมริกันผู้ประดิษฐ์ geodesic dome อันดังเปรี้ยงปร้าง

เขาได้รับสิทธิบัตร 25 ชิ้น และเมื่อ geodesic dome เกิดเป็นที่กล่าวขวัญไปทั่ว มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าความร้อนภายในโดม ไม่ว่าจะมากน้อยแค่ไหน ก็จะลอยขึ้นสูง ไปรวมกันที่ยอดโดม (ฟูลเลอร์เรียกว่า “dome effect”) ทีนี้หากเปิดเป็นช่องระบายอากาศที่ยอดโดม อากาศร้อนลอยออกไป อากาศเย็นก็จะไหลเข้ามาตามช่องเปิดต่างๆ แทนที่อากาศร้อนที่ลอยออกไปแล้ว เป็นเหมือนการบังคับให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศ โดยไม่ต้องใช้พลังงานอื่นนอกจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ

ในช่วงสงครามโลก กองทัพบกสหรัฐจ้างฟูลเลอร์ให้ออกแบบที่พักทหารสำหรับเขตอากาศร้อนทารุณ (ของอ่าวเปอร์เซีย) ซึ่งการออกแบบนี้ ใช้ “dome effect” โดยปักเสาต้นหนึ่งไว้ตรงกลาง จากนั้นใช้สลิงจากยอดเสา ยึดโครงสร้างน้ำหนักเบาเอาไว้ ดูไปดูมาก็คล้ายๆ กับร่มเหมือนกัน แต่เรียกว่า Dymaxion house

อ่านต่อ »


กาลักน้ำ รดน้ำต้นไม้

อ่าน: 5034

ในการรดน้ำต้นไม้นั้น มีน้ำที่สูญเสียไปเยอะครับ

ต้นไม้ไม่ได้ดื่มน้ำเหมือนคน แต่ต้นไม้ใช้ความชื้นในดินทำให้ดินอ่อนเพื่อที่รากจะโตได้ และใช้น้ำในการดูดซึมอาหาร เวลาเรารดน้ำต้นไม้ เราก็เพียงแต่ต้องการทำให้ดินชุ่มชื้นเท่านั้น และไม่ได้ต้องการให้ดินที่ผิวหน้าเท่านั้นที่ชุ่มชื้น แต่ต้องการให้ดินที่ระดับของรากชุ่มชื้น [ให้น้ำที่ปลายราก]

โดยปกติ เราก็เอาสายยางรดดินจนชุ่ม (หวังว่าน้ำจะซึมผ่านดินชั้นบนลงไปหาราก) แม้ว่าจะเพิ่งผ่านเหตุการณ์มหาอุทกภัยมาก็ตาม น้ำก็เป็นทรัพยากรที่มีค่าอยู่ดี จึงมีคำถามว่าทำไมเราต้องสิ้นเปลืองน้ำรดต้นไม้มากมายขนาดนั้น

ผมมาคิดถึงเรื่อง [กาลักน้ำ] แล้ว คิดว่าน่าจะมีทางที่ให้น้ำในระดับของปลายรากและไม่ใช้พลังงาน โดยทำรางน้ำเอาไว้ตามแนวปลูกพืช ปล่อยน้ำเข้าไปในรางแบบเดียวกับคลองส่งน้ำ จากนั้นก็เอาเศษผ้าที่ไม่ใช้แล้ว (ปอ ป่าน หรืออะไรที่อุ้มน้ำก็ได้) ผูกกับหินก้อนเล็กๆโดยทิ้งปลายออกสองด้านให้ยาว เอาหินวางไว้ในราง ส่วนปลายของเศษผ้านั้น ฝังเอาไว้ในดินครับ

ถ้ายกรางนี้ไว้เหนือดินสักคืบเดียว ผ้าที่ผูกกับหินซึ่งวางเอาไว้ในราง ก็จะพาน้ำปีนพ้นจากรางน้ำได้ และเมื่อน้ำพ้นขอบของรางน้ำมาแล้ว ก็จะไหลลงที่ต่ำตามธรรมชาติ โดยไหลไปตามเส้นใยผ้าซึ่งมีแรงต้นทานต่ำ เราก็เพียงแต่เอาปลายผ้าฝังลงไปในดิน ก็จะเป็นวิธีที่ทำให้ดินชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลาแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องใช้สายยาง ไม่ต้องใช้แรงดันน้ำ ไม่ต้องใช้พลังงาน

อ่านต่อ »


ฟาร์มเห็ด

อ่าน: 3198

ถ้าจะทำเป็นเรื่องเป็นราว คงเป็นเชื้อเห็ดที่ขายเป็นขวด(หรือถุง) แล้วเพาะในโรงเรือนที่ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นนะครับ

คลิปนี้เป็นการเอาสปอร์มาเพาะเอง มีประเด็นอีกนิดหนึ่งคือว่าเมื่อเห็ดเจริญเติบโด ก็จะคายคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา หากมีการควบคุมความชื้นอยู่แล้ว ก็ควรถ่ายอากาศไม่ให้คาร์บอนไดออกไซด์สูงเกินไปด้วยครับ

เห็ดเป็นแหล่งโปรตีน ที่ให้ผลผลิตเร็ว เหมาะสำหรับเป็นอาหารยามที่ลำบาก


เติมพลังพลเมืองฟื้นฟูประเทศไทย

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 24 December 2011 เวลา 0:09 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3522

เมื่อวานนี้ ไทยพีบีเอสจัดงาน “เติมพลังพลเมืองฟื้นฟูประเทศไทย” เพื่อขอบคุณเครือข่ายและอาสาสมัครที่ทำงานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยร่วมกันมายาวนาน

ไหนๆ เครือข่ายก็มาเจอกันแล้ว จึงมีการถอดบทเรียนกันตั้งแต่เที่ยง ช่วงบ่ายก็มีรายการรายการเวทีสาธารณะ ตอน “พลังพลเมืองกับโจทย์ที่ยังไม่จบ” ตอนค่ำก็เป็น VTR ของอาสากลุ่มต่างๆ ที่แยกย้ายกันไปทำงานเพื่อผู้ประสบภัยแล้วถ่ายมาดูกันเอง ปิดท้ายรายการด้วยการร่วมแสดงเจตจำนงในการ “เติมพลังพลเมือง เพื่อฟื้นฟูประเทศไทย”…

นั่นเป็นโปรแกรมครับ แต่เมื่อคืนผมนอนตีห้า ดังนั้นจึงตื่นขึ้นมาเลยเที่ยงไปแล้ว กว่าจะไปถึงไทยพีบีเอส เค้าก็ถอดบทเรียนกันจวนจะจบอยู่แล้ว แล้วช่วงที่นั่งคุยกันบันทึกเทปรายการ เราก็ไม่ชอบออกหน้าอยู่แล้ว ส่วนช่วงเย็นผมต้องรีบกลับก่อนเพราะว่าไม่อยากขับรถกลางคืน (ไม่ไปงานช่วงค่ำทุกชนิดมานานแล้ว)

อ่านต่อ »


บ้านเล็ก (1)

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 22 December 2011 เวลา 3:33 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4662

บ้านที่ผมอยู่ปัจจุบันนี้ มีเนื้อที่ใช้สอย (ไม่รวมถนน สนาม และที่จอดรถ) ไม่เล็กหรอกครับ สัก 5 เท่าของบ้านจัดสรรสไตล์รีสอร์ตคงจะได้

แต่ว่าคนเราไม่ได้ต้องการพื้นที่มากขนาดนั้น แล้วทำไมจะต้องสร้างบ้านใหญ่โตเกินความจำเป็นด้วย ถ้าใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่นอกบ้าน แล้วพื้นที่หุงต้มสามารถใช้ร่วมกันใน “หมู่บ้าน” ได้ เนื้อที่ของบ้านก็ไม่ต้องใหญ่โตหรอกครับ

ตัวอย่างนี้ เป็นบ้านกล่องขนาด 4×4x4 เมตร หรือ 12×12x12 ฟุต มีชั้นครึ่ง แต่ก็มีที่นอน ห้องครัว ห้องนั่งเล่น ที่ทำงาน/กินข้าว และห้องน้ำ

อ่านต่อ »


วิธีก่อสร้างและความแข็งแรงของโดม

อ่าน: 2966

โครงสร้างรูปโดมมีความแข็งแรง ทนต่อน้ำหนักของตัวเอง ทนต่อแรงที่กระทำจากภายนอก และทนต่อแรงสั่นสะเทือน จึงสามารถทนต่อแรงพายุและแผ่นดินไหวได้ดี

โดมที่สร้างอยู่ชายทะเล สามารถทนต่อพายุเฮอริเคนได้ในขณะที่บ้านเรือนลักษณะอื่นๆ พังไปหมด ดังนั้น FEMA จึงออกประกาศเป็นความรู้ให้ผู้ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเสี่ยงต่อพายุได้ทราบทั่วกัน การที่โดมสามารถทนต่อแรงพายุและแผ่นดินไหวได้ ก็เนื่องจากผิวโค้งของโดม กระจายแรงออกไปทั่วผิวพื้น และเนื่องจากการใช้ผิวโค้งนี้เอง ทำให้การก่อสร้างโดมทำได้ไม่ง่ายนัก

อ่านต่อ »


เครื่องยนต์ที่ไม่ใช้น้ำมัน

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 20 December 2011 เวลา 16:29 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 2995

เวลาน้ำท่วม น้ำมันและแกสในพื้นที่ก็ไม่มีขายครับ ดังนั้นจึงเป็นง่อยกันหมด อาหารและน้ำสะอาดก็ต้องขนมาจากที่อื่น ในเมื่อผู้ประสบภัยออกไปไหนไม่ได้ ก็ต้องรอความช่วยเหลืออย่างเดียว ซึ่งจะมาหรือไม่มาก็กะเกณฑ์อะไรไม่ได้เลย เรื่องพวกนี้เตรียมการได้ครับ

คลิปนี้เป็นตัวอย่าง ซึ่งผู้มีความรู้ก็รู้อยู่แล้วว่าเมื่อเอาก๊าซเชื้อเพลิงใส่เข้าไปในเครื่องยนต์เบนซิน เครื่องยนต์ก็ทำงานได้ เพียงแต่ว่าต้องปรับองศาการจุดระเบิดก่อน แต่เรื่องพวกนี้เตรียมการล่วงหน้าได้ครับ

อ่านต่อ »


บ้านดินโครงไม้ไผ่

8 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 19 December 2011 เวลา 14:47 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 6203

บ้านดินมีข้อจำกัดที่น้ำหนักของตนเองครับ จึงเอามาทำโครงสร้างใหญ่โตโดยไม่เสริมความแข็งแรงของตัวเองไม่ได้

มีงานก่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ในอินโดนีเซีย ใช้เวลาสร้าง 6 เดือนครับ มีคลิปยาว 1:49 นาทีมาให้ดู วัสดุก่อสร้าง หาเอาในท้องถิ่นทั้งหมด ที่จริงดูเหมือนบ้านไม้ไผ่ผนังดินมากกว่าครับ (ที่จริงเป็นโครงไม้ไผ่มุงแฝกนะครับ)

สร้างเป็นศาลาการเปรียญ ศาลาประชาคม หรือศูนย์อบรมก็ไม่เลวนะครับ



Main: 0.17858099937439 sec
Sidebar: 0.38345909118652 sec