เดินทางในน้ำนิ่ง

อ่าน: 3898

ถนนของเมืองที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ไม่ว่าเมืองไหนก็เป็นคล้ายๆ กันหมดละครับ มีอยู่สองลักษณะ คือมีถนนเลียบแม่น้ำเลย ใช้ถนนเป็นเขื่อนไปในตัว หรือว่าถนนอยู่ห่างตลิ่ง แล้วมีซอยเข้าไปยังบ้านเรือนริมน้ำ

ในเขตเมืองต่างจังหวัด เช่นอ่างทอง นครสวรรค์ พิษณุโลก จะเป็นลักษณะถนนเลียบแม่น้ำอย่างนี้ อาจจะเป็นเพราะเมืองขยายตัวช้ากว่าถนน จึงไม่ต้องเวนคืนที่ริมน้ำด้วยราคาแพง แต่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลนั้น ที่ดินราคาแพงมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว การเวนคืนที่ริมน้ำจะสิ้นเปลืองงบประมาณมาก ดังนั้นถนนจึงไม่มีถนนที่เลียบริมน้ำ ประกอบกับดิดอ่อน ถนนจึงขยับไปอยู่ห่างตลิ่ง สามารถระบายการจราจรได้เร็วเพราะตัดถนนได้ตรงมากกว่า จากนั้นจึงสร้างซอยแยกจากถนนใหญ่เข้าไปยังบริเวณบ้านเรือนริมน้ำ อาการอย่างนี้เห็นได้ชัดตั้งแต่ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพ และสมุทรปราการ

เพราะว่าริมตลิ่งแม่น้ำ มีบ้านเรือนตั้งอยู่ ทำให้สร้างแนวป้องกันน้ำท่วมได้ลำบาก ดังนั้นบ้านเรือนริมน้ำ ก็มักจะมีน้ำท่วมในช่วงหน้าน้ำเสมอๆ ทำให้ชาวบ้านตามริมน้ำเข้าออกบ้านด้วยความลำบาก

อ่านต่อ »


น้ำท่วมกรุงเทพ?

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 17 September 2011 เวลา 12:20 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4264

แม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ อ.เมืองปทุมธานีเป็นต้นมา กว้าง 200 ม. อย่างสม่ำเสมอ ยกเว้นตรงเกาะเกร็ด นนทบุรี ซึ่งเป็นคลองขุดกว้าง 100 ม. (แต่แม่น้ำสายเก่าที่ไหลอ้อมไป อยู่ติดกันและยังกว้าง 200 ม. เช่นเดิม)

ความกว้าง 200 ม. นี้ เท่ากับที่ปากน้ำโพ นครสวรรค์ และเท่ากับที่ ต.โผงเผง อ.ป่าโมก อ่างทอง ซึ่งอยู่เหนือ อ.บางบาล อยุธยา แต่ถ้าฝนไม่ตกหนัก ผมไม่คิดว่ากรุงเทพจะจมน้ำ

ทั้งนี้เป็นเพราะความจุของลำน้ำแถบ โผงเผง บางบาล มีเพียง 1,800 ลบ.ม./วินาที อันนี้หมายความว่าถ้าน้ำไหลมาเป็นปริมาณเกินค่า 1,800 ลบ.ม./วินาที น้ำก็จะยกตัวขึ้นพ้นตลิ่ง ไหลเข้าท่วมแผ่นดิน แล้วแต่ว่าที่ไหนต่ำกว่าก็จะท่วมก่อน บางบาลจึงน้ำท่วมหนักทุกปี เมื่อเขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำมาเกินนี้ และน้ำไม่สามารถจัดสรรไปยังช่องทางอื่นได้ บางบาลก็ท่วมครับ

อ่านต่อ »


อย่าแผ่ว

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 16 September 2011 เวลา 23:38 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 2881

ตั้งชื่อบันทึกว่าอย่าแผ่ว แต่ตัวผมเองก็ไม่ไหวครับ สัปดาห์ที่ผ่านมา มีงานเช้าสามวัน ต้อง “เข้าเมือง” ก่อนเจ็ดโมงเช้า ไม่อย่างนั้นรถติด ก็เลยไม่ได้นอนทั้งสามวัน ถ้ายังเป็นเหมือนตอนหนุ่มๆ อยู่ ก็ไม่เป็นไร เคยทำงานไม่ได้กินไม่ได้นอน 60 ชั่วโมงติดกันก็ยังไหว ตอนนี้ไม่ไหวแล้ว ควรรู้ตัวและใช้เวลาอย่างมีค่ามากขึ้น

เมื่อวันที่ 3 กันยายน เป็นวันที่ได้ภาพถ่ายจากดาวเทียม Terra (NASA/GSFC) ที่ชัดมาก เมื่อดูรายละเอียดใน Google Earth แล้ว ส่วนของแม่น้ำยม เห็นขอบเขตของน้ำท่วมตั้งแต่ใต้ อ.เมืองสุโขทัย อ.กงไกรลาศ อ.บางระกำ แล้วท่วมตลอดริมแม่น้ำผ่านพิจิตรไปยันนครสวรรค์ ส่วนแม่น้ำน่านนั้น ท่วมที่ อ.พรหมพิราม ข้าม อ.เมืองพิษณุโลก แล้วท่วมต่อตลอดลำน้ำไปยันบึงบระเพ็ดที่นครสวรรค์ ตอนนั้น “บางระกำโมเดล” กำลังฮิตกัน ข่าวที่ปรากฏในสื่อ ก็มีได้เพียงแค่ที่ผู้สื่อข่าวกล้าตายสามารถเดินทางไปถึง แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดของพื้นที่และเวลานำเสนอจึงไม่สามารถให้รายละเอียดอย่างเพียงพอ ผู้บริโภคข่าวสารอาจจะไม่เห็นภาพว่าอุทกภัยครั้งนี้ ชาวบ้านเดือดร้อนในวงกว้างขนาดไหน

ตลอดสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศไทย ทำให้มีเมฆมาก ภาพถ่ายจากดาวเทียมมองไม่เห็นขอบเขตของน้ำท่วมเลย จนคืนนี้ ภาพล่าสุดจากดาวเทียม Aqua พอมองเห็นขอบเขตของน้ำที่เคลื่อนตัวลงมา (ที่ท่วมอยู่เมื่อ 13 วันก่อน ก็ยังท่วมอยู่ครับ) แต่มีพื้นที่ใหม่ที่ท่วมแล้ว ดูด้วย Google Earth จะเห็นบริเวณที่น้ำท่วมใหม่ในหลายพื้นที่ เพชรบูรณ์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี มีแนวโน้มจะไปลงทะเลที่แม่น้ำท่าจีน ซึ่งจะกระทบนครปฐมด้วย — ถ้าไม่มี Google Earth ก็ควรโหลดมาใช้ซะ ฟรีครับ (หรือดูรูปนี้ก็ได้ แต่ว่ามันไม่มีเขตจังหวัด เขตอำเภอ และซูมดูบริเวณที่สนใจไม่ได้)

ลุ่มน้ำชี ก็ท่วมตามริมฝั่งครับ กาฬสินธุ์ ยโสธร อุบลราชธานี

ถ้าคิดว่าทำอะไรได้บ้าง ควรเริ่มจากการตรวจสอบข้อเท็จจริง ไม่ใช่แค่รับฟัง เกิดอารมณ์คล้อยตาม แล้วเชื่อไปเลยนะครับ (กาลามสูตร) ยกตัวอย่างเช่นกรณีดินถล่มที่ น้ำปาด อุตรดิตถ์ ข้อมูลจาก 3 แหล่งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน คือทีมอาสาสมัครที่ลงพื้นที่เอง ทีมเครือข่ายการจัดการพิบัติภัยจากธรรมขาติพื้นที่ภาคใต้ที่ยกมาช่วยและขอการสนับสนุนมา และจากมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ขณะนี้ของบริจาคกองเป็นพะเนินแล้วครับ เสาร์-อาทิตย์นี้จะมีเพิ่มอีก แต่ยังขาดแรงงาน เครื่องมือ และวัสดุซ่อมสร้างบูรณะบ้านเรือนที่เสียหาย… การกระทำโดยความไม่รู้นั้น ยากจะเกิดผลดีครับ ของบริจาคส่วนเกินจะกลายเป็นภาระไป

อ่านต่อ »


ร่วมแสดงความยินดีในโอกาสที่เนคเทคครบรอบ 25 ปี

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 15 September 2011 เวลา 17:00 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4074

วันนี้ มีงาน NECTEC-ACE ซึ่งจัดขึ้นในโอกาสที่เนคเทคสถาปนาครบรอบ 25 ปี (ตามมติ ครม. เนคเทคตั้งในวันที่ 16 กันยายน 2529 เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์)

ทางเนคเทคก็ชวนผมไปขึ้นเวทีในฐานะที่คุ้นเคยกับเนคเทคมานาน ขอรับฟังมุมมองอย่างตรงไปตรงมา ไม่ว่าดีหรือไม่ดี เวทีนี้มีอาจารย์บรรยงค์ สุวรรณผ่อง  ที่ปรึกษาชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินรายการ และมี รศ.ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์ ราชบัณฑิต, ดร.มนู อรดีดลเชษฐ์ ประธานกรรมการนโยบาย ICT มหาวิทยาลัยศรีปทุม, คุณชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กับผม

ที่จริงก็รู้จักกับวิทยากรทุกท่านมานานแล้วทั้งนั้นละครับ แต่เป็นรุ่นใหญ่ทั้งนั้นเลย (หรือว่าเราแก่แล้วหว่า) แต่อย่างไรก็ต้องค้นข้อมูล ย้อนกลับไปตรวจสอบหน่อย ว่าผมเกี่ยวข้องกับเนคเทคอย่างไร แค่ไหน เมื่อไหร่…

เรื่องที่จะเขียนต่อไปนี้ ไม่มีโอกาสได้พูดบนเวทีหรอกครับ มีเวลาน้อยมาก… และเขียนไม่ครบทุกเรื่องที่เตรียมไปด้วยครับ

อ่านต่อ »


ชาวบ้านริมแม่น้ำ

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 14 September 2011 เวลา 12:59 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 6561

ได้รับอีเมลจากตัวแทนชาวบ้านที่กำลังเดือดร้อนที่อยุธยาซึ่งอยู่ติดแม่น้ำ และอยู่นอกแนวป้องกันน้ำท่วมครับ

เรียน ท่านผู้มีจิตศรัทธาและมีน้ำใจ

เรื่อง ขอความช่วยเหลือจากผลกระทบน้ำท่วมหนัก

ผมเป็นตัวแทนชาวบ้าน จะของบประมาณในการสร้างสะพาน เนื่องจากน้ำท่วมสูง และกระแสน้ำแรง ประชาชนในหมู่บ้านต้องเดินทางไปทำงานหรือติดต่อกับ ภายนอกด้วยความยากลำบาก เพราะหลายคนทำงานโรงงาน ต้องใส่ชุดอยู่บ้านลุยนำ ออกไปเปลี่ยนชุดข้างนอก ที่ถนนใหญ่ทั้งชายและหญิง เพื่อขึ้นรถไปทำงาน พายเรือก็เป็นความเสี่ยงที่เรือจะล้ม เพราะกระแสน้ำแรงมากต้องพายทวนกระแสน้ำ และเรือมักจะล้มอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งจากสภาพปีที่แล้ว (2553) เป็นความลำบากมาก และเมื่อมาถึงปีนี้น้ำก็มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และน่าจะคงสภาพความลำบากเช่นนี้อีกนาน เพราะอีกฝั่งกั้นขั้นดินไม่ให้น้ำเข้าพื้นที่ เพราะเป็นพื้นที่ส่วนนา ซึ่งระยะทางในการออกไปถนนใหญ่ประมาณ 3-4 ร้อยเมตร จึงเรียนมาเพื่อขอคำปรึกษาและขอความช่วยเหลือ ว่าจะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง ซึ่งพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 14 ต.ปากกราน อ. พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา ส่วนรายละเอียดต่างๆสามารถติดต่อผมได้ ที่ 089-xxxxxxx ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

ด้วยความเคารพและขอบคุณ

อับดุสสลาม xxxxxxxx

ตัวแทนชาวบ้านผู้เดือดร้อนจากผลกระทบน้ำท่วม

จดหมายไม่ได้เจาะจงแต่ส่งมาถึงมูลนิธิ เช้านี้ผมติดต่อกลับไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันประมาณ 15 นาที และได้ความว่าอยู่ติดกับวัดไชยวัฒนาราม อยุธยา ตรงนั้นมีสภาพเป็นคุ้งน้ำ ทำให้น้ำพัดเข้าพื้นที่ด้วยความแรง จนเรือพายล่มได้บ่อยๆ ชาวบ้านต้องลุยน้ำออกมาหลายร้อยเมตร ผู้หญิงลำบาก น่าเห็นใจมากครับ

อ่านต่อ »


ถังหมักของเสียจากส้วม

อ่าน: 4288

คนเราต้องกินต้องถ่าย แต่ช่วงอุทกภัยนั้น ลำบากทั้งกิน ทั้งถ่าย แถมการหุงหาอาหาร ก็ยากลำบากด้วย

ครอบครัวในเมือง ก็เปลี่ยนไปใช้ก๊าซหุงต้มกันหมด ถ้าน้ำท่วมเมืองจะส่งถังก๊าซลำบากมาก ส่วนครอบครัวที่ไม่ได้อยู่ในเมืองอาจจะใช้ถ่านหรือฟืน แต่ในภาวะที่น้ำท่วม จะไปหาถ่านหาฟืนจากไหน การหมักไบโอจากมูลสัตว์ไว้ใช้ เป็นทางออกที่ดี เพียงแต่ว่าเมื่อน้ำท่วม ถังหมักก็ท่วมด้วย

บันทึกนี้เสนอความคิดเรื่องถังหมักสำหรับครัวเรือน ที่ใช้หมักของเสียจากส้วม ผลิตก๊าซชีวภาพเอาไปใช้ในการหุงหาอาหาร มีหลายแบบ เลือกเอาตามความเหมาะสมก็แล้วกันครับ

ถ้าใช้ส้วมกระดาษ หรือถ่ายใส่ถุงพลาสติก คงรวบรวมของเสียมาหมักแบบนี้ได้ง่ายครับ ซึ่งการหมักแบบนี้เป็น anaerobic digestion ไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งก็หมายความว่าของเสียที่มี เติมน้ำจนเต็ม แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เกิดก๊าซ โดยแรกๆ จะเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งปล่อยทิ้งไป หลังๆ จะเป็นมีเทนซึ่งติดไฟได้ เอาไปใช้เป็นก๊าซหุงต้มแก้ขัดไปพลางก่อน ผู้ประสบอุทกภัยก็จะมีที่กักเก็บของเสีย และมีก๊าซหุงต้มไว้ให้หุงหาอาหาร

อ่านต่อ »


เครื่องอบข้าว

อ่าน: 9376

เมื่อคืนจะเขียนเรื่องนี้ในบันทึกที่แล้ว แต่ง่วงเกินไป ประกอบกับยังคิดไม่รอบคอบ เนื่องจากผมเป็นคนเมืองมาตั้งแต่เกิด ไม่เข้าใจบริบทของการทำนาอย่างแท้จริง เพียงแต่รู้สึกได้ถึงความเดือดร้อน — มาวันนี้ ก็ยังไม่เข้าใจ+คิดไม่รอบคอบอยู่ดี แต่มีความเห็นของพี่บางทราย (ลูกชาวนาตัวจริงและทำงานพัฒนากับชาวบ้านหลายท้องถิ่นมาตั้งแต่จบมหาวิทยาลัยจนเกษียณอายุ และยังทำต่อ) มาบอกว่าคิดไม่ผิดทางนัก ก็เลยตัดสินใจเขียนต่อครับ

อีกเหตุหนึ่งที่ไม่เขียนเรื่องเครื่องอบข้าว ก็เพราะไม่รู้จะเอาเครื่องอบข้าวเข้าไปในพื้นที่อุทกภัยได้อย่างไร มาวันนี้คิดตกแล้วว่าถ้ายุ้งฉางจมน้ำด้วย ก็ไม่มีที่เก็บข้าวอยู่ดีหรือข้าวเปียกจนเกินเยียวยา ดังนั้นก็ตั้งสมมติฐานไว้เลยว่า มีที่แห้งเก็บข้าว จะได้ไม่ต้องเอาเครื่องอบข้าว ลงแพหรือเรือท้องแบน ตามไปอบข้าวที่ยุ้งฉางที่จมน้ำอยู่ พื้นที่น้ำท่วม มีความชื้นสัมพัทธ์ 100% อยู่ดี ถึงอบไปก็จะชื้นใหม่อย่างรวดเร็ว

เดิมทีคิดจะใช้เกลียวของอาร์คิมิดีส ที่ปลายต่ำใส่ข้าวชื้น และจุดเตา เอาความร้อนใส่ไปในท่อ ความร้อนลอยขึ้นสูงไปออกปลายบน จะไม่อบอวลจนข้าวไหม้ หมุนๆๆๆๆ ข้าวที่มาโผล่ข้างบนจะชื้นน้อยลง แต่ถ้ายังชื้นอยู่ ก็ปล่อยข้าวลงไปข้างล่างตามทางลาด เอาไปขึ้นเกลียวที่สอง ที่สาม … ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนความชื้นเหลือน้อยพอที่จะส่งไปจำนำข้าว

มาคิดอีกที สมมุติเอาข้าวมาอบหนึ่งตัน ต้องหมุนเกลียวเพื่อยกน้ำหนัก คิดเป็นงานเหมือนกับยกน้ำหนักหนึ่งตันจะระดับพื้นข้างล่าง ขึ้นมาสู่ระดับปลายบนของท่อนะครับ แล้วเกิดผ่านท่อครั้งเดียวยังไล่ความชื้นออกได้ไม่พอ จะต้องส่งผ่านท่ออย่างนี้หลายๆ ท่อ ก็เท่ากับว่าต้องยกน้ำหนักหลายตัน โอย… อย่างนี้จะหมุนท่อไหวเหรอ

โชคดีที่เวลาชาวนาเอาข้าวเปลือกมาอบ ก็มักจะมาด้วยรถ(อีแต๋น) เราใช้ล้อรถขึ้นเพลามาหมุนเกลียวได้ ทดให้เครื่องเดินเบาหมุนเกลียวอย่างช้าๆ ส่วนค่าพลังงานเพื่อหมุน+ค่าใช้จ่ายในการขนส่งและโกย ชาวนาออกเอง ทำเอง ไม่ต้องจ่ายค่าหัวคิวให้ใคร

อ่านต่อ »


ข้าวชื้น

อ่าน: 4434

ข้าวที่เร่งเก็บเกี่ยวหนีน้ำ มีปัญหาตามมามากมาย ทั้งเก็บเกี่ยวก่อนเวลา และความชื้นสูง

ตามนโยบายจำนำราคาข้าวของรัฐบาล ถ้าจะให้ได้ราคาตันละหมื่นห้า/ข้าวหอมมะลิตันละสองหมื่น ก็ต้องมีความชื้นไม่เกิน 15% ครับ ซึ่งแน่ล่ะ น้ำท่วมอย่างนี้ เก็บเกี่ยวและนวดข้าวทันก็ถือว่าโชคดีแล้ว แต่จะเอาพื้นที่ที่ไหนตากลดความชื้นในเมื่อน้ำท่วมสุดลูกหูลูกตา ยุ้งฉางจมน้ำ (ข่าว) แต่รัฐบาลทำตามสัญญาตอนหาเสียงก็ดีแล้วครับ

การลดความชื้นของข้าว จำเป็นต้องใช้ที่แห้งซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในภาวะอุทกภัย ใช้เครื่องอบลดความชื้นได้แต่มีค่าใช้จ่ายอีก แล้วชาวนาที่นาล่มจะเอาเงินมาจากไหน — อย่างไรก็ตาม เมืองไทยน้ำท่วมขนาดนี้ เวียดนามซึ่งรับพายุตรงๆ เสียหายหนักกว่าเรามากครับ ประเมินได้ว่าปริมาณข้าวในตลาดโลกจะลดลง ทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกจะสูงขึ้น นโยบายประกันราคาข้าวในปีนี้ ถ้าไม่มีทุจริตก็คงจะไม่เสียหายอะไรเท่าไหร่

อ่านต่อ »


ปลูกพืชไม่กลัวน้ำท่วม

อ่าน: 5486

เมื่อตอนหัวค่ำ คุณปรีดา ลิ้มนนทกุล คนทุพพลภาพมืออาชีพ (ข้อมูลจาก google) โทรมาคุยเรื่องไผ่ คุณปรีดาประสบอุบัติเหตุทำให้ครึ่งตัวล่างขยับไม่ได้ มือก็ไม่สมบูรณ์ ถึงไม่ได้ประกอบอาชีพวิศวกรแล้ว ก็ยังไม่ยอมแพ้ ยังสร้างสรรค์งานศิลปะ ระดมเงินไปบริจาคช่วยเหลือผู้อื่น คนที่มีองคาพยพสมบูรณ์แต่ทำตัวเป็นกาฝาก ไม่ทำงานทำการ ควรดูไว้เป็นแบบอย่างนะครับ

ข้อมูลจากคุณปรีดาก็น่าสนใจ ผมไม่รู้ว่าจริงหรือไม่ และจะไม่ดัดจริตแสร้งทำเป็นรู้หรอกครับ

  1. โอกาสที่ไผ่จะจมน้ำตายนั้น อาจจะไม่มากนัก เพราะลำต้นสูง โตเร็ว เมื่อน้ำท่วม ยังมีใบที่โผล่พ้นน้ำ ยังหายใจและสังเคราะห์แสงต่อไปได้ แน่นอนว่าเรื่องนี้ไม่นับหน่อไผ่ซึ่งอาจจะเน่าตายไปได้เหมือนกัน
  2. พืชเช่นข้าวที่จมน้ำ ถ้าน้ำไม่ขุ่นจนแสงแดดส่องไม่ถึงใบ ก็อาจทนอยู่ได้สักสองสามวัน (เกินนั้นก็ไม่รอดเหมือนกัน)

พูดเรื่องนี้แล้ว ยังมีพืชน้ำ พืชอาหารขนาดลำต้นไม่ใหญ่โต (รากไม่ลึก) ที่เราอาจเอาใส่กระถางลอยน้ำไว้เก็บกินในช่วยน้ำท่วมได้

ถ้ากระถางลอยน้ำได้ ก็เอามาปลูกข้าวได้ จะใช้โฟม จะใช้อิฐมวลเบา หรืออะไรก็แล้วแต่ หนึ่งกระถาง ปลูกข้าวหนึ่งกอ ใช้น้ำน้อยด้วย เพราะว่าไม่ต้องไขน้ำให้ท่วมนา คือให้ท่วมในกระถางก็พอ กระถางป้องกันวัชพืชได้ ถ้ากระถางมีรูปทรงเหมาะ อาจกันหอยเชอรี่ได้ อาจวางกระถางชิดกันได้มากขึ้น เนื่องจากรากของกอข้าว ไม่แย่งอาหารกันเองระหว่างกอ เป็นการเพิ่มผลผลิตไปในตัว และที่สำคัญคือกระถางลอยน้ำ ดังนั้นเมื่อข้าวออกรวง ก็ไม่กลัวน้ำท่วม เวลาเก็บเกี่ยว ไขน้ำเข้านา แล้วเอาเชือกกวาดกระถางที่ลอยน้ำมารวมกัน เกี่ยวทีเดียวใกล้ๆ คันนา ไม่ต้องเอารถไถลงไปลุย คันนาจะได้ปลูกพืชอื่น บังลมไม่ให้ข้าวร่วงจากลมแรง — ทั้งหมดนี้ คิดเอาเองครับ ทำได้หรือไม่ได้ ต้องทดลองดู

อ่านต่อ »


ถ่านอัดแท่ง

อ่าน: 6729

ดูวิดีโอคลิปก่อนกันครับ

พ่ออยู่ แขมพลกรัง อยู่ที่ ต.ปรุใหญ่ อ.เมือง นครราชสีมา ประดิษฐ์แท่งเหล็กทรงกระบอก เอาไว้ใช้กระแทกลงไปบนเศษถ่าน (เดิมทีอาจจะเป็นเศษผงที่แตกหักจากการเผาถ่านขาย) จนกลายเป็นถ่านอัดแท่ง ซึ่งสูตรของพ่ออยู่นั้น ประกอบไปด้วย เศษถ่าน หรือถ่านป่นจากการเผาถ่านวัสดุเหลือใช้ 4 กก. แป้งมัน 2 ขีด กับน้ำ 4 ลิตร คลุกให้เข้ากัน แล้วนำมาอัดด้วยกระบอก (หรือสกรูเพรสก็ได้) นำไปตากจนแห้งสนิท ก็จะได้ถ่านที่มีคุณภาพสูง ไร้ควัน

ถ่านอัดแท่งแบบนี้ ก็เป็นแนวทางที่ดีสำหรับการฟื้นฟูอาชีพสำหรับผู้ประสบภัย ชาวบ้านไม่ได้ปลื้มกับเงินชดเชยห้าพันบาท++ มันเทียบไม่ได้กับการหมดตัวหรอกครับ (ทำไมนักการเมืองถึงได้ภูมิใจเรื่องนี้กันนักนะ) ถ้าจะช่วยให้ชาวบ้านฟื้นตัวขึ้นมาได้ นอกจากวันนี้จะมีกินระหว่างรอน้ำลดแล้ว เมื่อน้ำลดก็จะต้องมีรายได้ พอที่จะปลดหนี้ปลดสิน หรืออย่างน้อยก็ไม่เป็นหนี้เพิ่ม

อ่านต่อ »



Main: 0.16263484954834 sec
Sidebar: 0.25017595291138 sec