ว่าวปั่นไฟฟ้า

9 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 August 2011 เวลา 13:28 ในหมวดหมู่ พลังงาน #
อ่าน: 3790

ช่วงนี้งานเข้าครับ เอาอันนี้มาฝากก็แล้วกัน ดูไปเพลินๆ ดี

เค้าเอาว่าว ผูกโยงไว้กับพื้น แล้วใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กบนตัวว่าวบังคับให้ว่าวบินเป็นวงกลม อาการที่เกิดขึ้นที่ปีก ก็เหมือนอาการที่เกิดขึ้นที่ปลายใบพัดของกังหันลม โดย Makani Power

คลิปข้างล่าง โหลดครั้งแรกจะนานหน่อย แต่มันจะเล่นเองเมื่อโหลดจนหมดแล้ว — คลิกที่ลูกศรเพื่อเลื่อนไปดูสไลด์ต่อไปหรือก่อนหน้า

อ่านต่อ »


คันดิน

อ่าน: 3624

เมื่อตอนบ่าย มีโทรศัพท์มาปรึกษาเรื่องน้ำท่วมหนองคาย

สำนักข่าว TNEWS http://tnews.co.th/html/read.php?hot_id=24784แห่งหนึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่เคยมีน้ำท่วมแต่คราวนี้ท่วม อีกแห่งหนึ่งเป็นเขตชุมชนใกล้แม่น้ำโขงซึ่งน้ำแรงเอ่อล้นตลิ่ง ทั้งสองที่แบนแต๊ดแต๋ เมื่อน้ำท่วมแล้ว ชาวบ้านไม่รู้จะทำอย่างไร ได้แต่ขึ้นไปอาศัยอยู่บนถนนหลวงซึ่งเป็นที่สูงที่สุดในบริเวณนั้น [แผนที่] รถยนต์เข้าออกไม่ได้แล้ว ซึ่งหมายความว่าอพยพออกไปไม่ได้ ความช่วยเหลือก็เข้ามาได้ยากลำบากเนื่องจากน้ำเริ่มท่วมสูง จะทำอย่างไรดี

เรื่องนี้ลำบากครับ เมื่อภัยพิบัติเกิดขึ้น จะเกินกำลังของท้องถิ่นที่จะจัดการเสมอ ไม่อย่างนั้นก็ไม่เรียกว่าภัยพิบัติ แต่ถ้าเตรียมการล่วงหน้า ยังพอประทังได้ ซึ่งนั่นก็เป็นความสำคัญของการเตือนภัย ซึ่งไม่ใช่เตือนเพื่อให้รอลุ้น หรือตกใจจนเกิดเหตุ แต่เพื่อให้ทำอะไรบางอย่างที่เหมาะสมล่วงหน้า เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ตามความจำเป็นของพื้นที่

อ่านต่อ »


เจาะรูในดิน

อ่าน: 4179

เมื่อน้ำท่วม ผิวดินจะมีสภาพชุ่มน้ำ ทำให้น้ำซึมผ่านลงดินไปได้ยากขึ้น ดังนั้นน้ำที่ท่วมก็จะไหลไปตามความลาดเอียงไปท่วมที่อื่น หรือว่าหากพื้นที่ที่น้ำท่วมมีสภาพเป็นแอ่ง น้ำก็จะท่วมขังอยู่ในบริเวณนั้นเป็นเวลานาน เรื่องนี้มองอีกมุมหนึ่ง ก็เป็นการเสียโอกาสที่จะเติมน้ำใต้ดินหรือทำฝายใต้ดิน เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตร

น้ำที่เราใช้กันและโวยวายว่ามากเกินไปหรือไม่พอใช้นั้น หมายถึงน้ำผิวดิน ซึ่งว่ากันที่จริงแล้วเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำจืดทั้งหมด สาเหตุส่วนหนึ่งของทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้ง ก็เป็นเพราะเราไม่รู้จักกักเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาเอาไว้ใช้นั่นเอง

อ่านต่อ »


น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม (3)

อ่าน: 3393

เขียนต่อจาก [น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม (2)] ครับ

รู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าเศร้ามาก ที่ต้องขนน้ำดื่มไปหลายร้อยกิโลเมตรไป ช่วยคนที่ติดอยู่ในพื้นที่ประสบอุทกภัยซึ่งไม่มีน้ำดื่ม ในภาวะแบบนั้น น้ำประปามักหยุดให้บริการ จะเอาน้ำแถวนั้นมาดื่มประทังกันตาย ก็ยิ่งจะรู้สึกตะขิดตะขวงใจ จะต้มก็ติดไฟลำบาก ดื่มน้ำท่วมขัง เหมือนดื่มน้ำเน่า… “เหตุผล” เยอะแยะไปหมด

ถ้าฝนยังตกอยู่ รองน้ำฝนเอาไว้ดื่มครับ ถ้ายอมอพยพไปสู่พื้นที่ปลอดภัย (ซึ่งพื้นที่ไหนก็ที่นั้น ต่่างไม่ยอมอพยพกันทั้งนั้น) ก็อาจจะใช้แสงแดดกลั่นน้ำเอาไว้ดื่มได้ ถ้าน้ำท่วมไหลมาจากที่อื่น มาขังอยู่ในพื้นที่ที่เป็นแอ่ง อันนี้ล่ะน่ากังวลที่สุดครับ

อ่านต่อ »


ฝายใต้ดิน

อ่าน: 5694

ช่างพิลึกพิลั่นเสียจริง เมืองไทยฝนตกเยอะ (เฉลี่ย 1800 มม.; ปีนี้คงมากกว่านั้น) แต่น้ำไม่พอ ที่น้ำไม่พอเพราะไม่รู้จักเก็บกักไว้ใช้มากกว่าครับ

มีปัญหาซ้ำสองคือที่ดินราคาแพง นายทุนมากว้านซื้อไปหมด เอาไปขายต่อ ทำรีสอร์ต เอาไปปลูกพืชเชิงเดี่ยวขายโรงงาน ส่วนคนใจแข็งที่ไม่ขายที่ ถ้าจะขุดสระน้ำพึ่งตนเอง เวลาแดดร้อนน้ำแห้งไปหมด จะกันพื้นที่ไปทำแก้มลิง ที่ดินก็แพงจับใจ

ยิ่งเป็นดินทรายเก็บน้ำไม่ได้แบบสวนป่า ยิ่งไปกันใหญ่… แต่อาจจะยังพอมีทางออกครับ เพียงแต่ใช้ไม่ได้ทุกพื้นที่ กล่าวคือแทนที่จะเก็บน้ำไว้ที่ผิวดิน เราเอาน้ำลงไปเก็บใต้ดินตื้นๆ ได้ จะเหมาะกับพื้นที่ที่มีชั้นของดินดานหรือหินอยู่ไม่ลึกนัก และห้ามทำในพื้นที่ที่ที่มีความลาดเอียงสูงหรือมีหินปูน

หลักการก็คือใช้ที่ดินนั้นเป็นพื้นที่รับน้ำฝน เราจะพยายามทำให้น้ำฝนที่ตกลงบนที่ดินนั้น ซึมลงใต้ดินให้มากที่สุด โดยชักน้ำฝนที่ตกลงบนพื้นที่มาหาบ่อซึม ซึ่งเป็นหลุมเล็กๆ อาจจะมีปริมาตรคิวหรือครึ่งคิวก็น่าจะพอ จากหลุมนี้ ต่อท่อใต้ดินออกไปเพื่อกระจายน้ำให้ซึมไปกับดิน (ถ้ายุ่งยากก็ไม่ต้องต่อท่อ แต่ว่าน้ำจะซึมออกได้ช้ากว่า)

อ่านต่อ »


แบตเตอรีโลก

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 22 July 2011 เวลา 0:40 ในหมวดหมู่ เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 5327

หลายวันมานี้ รู้สึกบักโกรกเป็นพิเศษ ไม่ได้ตื่นก่อนบ่ายสามโมงมาหลายวันแล้ว แทนที่จะได้ทำอะไรที่อยากทำก็ไม่ได้ทำ จึงเปิดเว็บหาความรู้หมาดๆ ไปก่อน (ไม่แห้งแบบแปลมาทั้งดุ้น และไม่เปียกในแบบที่ว่าลองทำแล้วจึงเอามาเขียน) ไปเจอเรื่อง Earth Battery ซึ่งเป็นความรู้เก่าแก่ สิทธิบัติอันแรกที่เกี่ยวข้อง ออกให้เมื่อร้อยกว่าปีก่อน

โลกมีสนามแม่เหล็ก เมื่อมีสนามแม่เหล็กก็มีสนามไฟฟ้าอยู่ด้วย หากว่าขั้วโลหะที่มีศักย์ต่างกันไว้ในสนามไฟฟ้า ขั้วทั้งสองก็จะจะเริ่มปล่อยและรับอิเล็กตรอนอิสระ ทำให้เกิดความต่างศักย์และไฟฟ้ากระแสตรง

ฟังดูยากพิลึก แต่ท่านผู้อ่านอาจจะจำหรือเคยได้ยินการทำลองสร้างแบตเตอรีสมัยเด็กๆ ได้ ที่เอาขั้วสองขั้ว ซึ่งมักจะเป็นทองแดงและสังกะสี ทิ่มลงไปในมะนาวแล้วจะเกิดไฟฟ้าขึ้นบนขั้วทั้งสอง ความต่างศักย์ไฟฟ้านี้ ไม่ได้เป็นปฏิกริยาเคมี แต่เป็นการที่ขั้วทั้งสอง ปล่อยและรับอิเล็กตรอนผ่านอิเล็กโตรไลต์ ซึ่งคือน้ำในมะนาวได้ อิเล็กตรอนอิสระหลุดออกจากโลหะที่ใช้เป็นขั้วทั้งสอง ด้วยการเหนี่ยวนำของสนามไฟฟ้าของโลก

อ่านต่อ »


เตือนภัยน้ำป่า

อ่าน: 3564

คนมีความรู้ ถ้ารู้จริงมักก้าวข้ามอุปสรรคได้ง่าย คนที่เรียนรู้เป็น เมื่อไม่รู้อะไรก็สามารถไปหาความรู้เพิ่มเติมได้ ส่วนคนมีเงิน ก็มีกำลังในการซื้อของที่มีขายได้สะดวก แต่ถ้าดันมีพร้อม อะไรๆ ดูเหมือนจะง่ายไปหมด ซึ่งนั่นไม่แน่ว่าจะจริงหรอกครับ มีทางเลือกมากมาย เลือกบางอย่างก็เว่อร์ บางอย่างทำอะไรได้มากมายเกินวัตถุประสงค์ แล้วบางอย่างทำอะไรไม่ได้มากแต่ชาวบ้านดูแลเองได้ ฯลฯ น้ำป่าฆ่าคนและทำความเสียหายได้มากมาย จะนั่งดูเฉยๆ ในข่าวทีวีก็ใช่ที่ หากมีเครื่องมือตรวจจับน้ำป่่าง่ายๆ ถูกๆ ไม่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงปรี๊ด ให้ชาวบ้านดูแลได้เองและเตือนภัยอย่างง่าย ไม่ต้องตีความมากได้ก็น่าจะดี แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เรื่องอย่างนี้ ต้องถามความเห็นชาวบ้านด้วยครับ ถึงอย่างไรก็ชีวิตเขานะ

การตรวจจับน้ำป่า

น้ำป่าเกิดจากฝนตกหนักในพื้นที่รับน้ำ ปริมาณน้ำฝนที่ตกลง ไหลไปสู่ที่ต่ำ ไปรวมกันตามร่องน้ำ เมื่อรวมกันมามากๆ เข้า ก็เป็นมวลน้ำมหาศาล สามารถกระแทกสิ่งกีดขวางให้พังทลายได้ น้ำปริมาณมากที่ไหลมาในเวลาเดียวกัน จะยกตัวพ้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนเทือกสวนไร่นาของชาวบ้าน กลายเป็นน้ำท่วม

อ่านต่อ »


เสริมตลิ่ง

อ่าน: 4071

เรื่องเขื่อนเขียนไว้หลายบันทึกแล้วครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง [กระสอบทราย]

เนื่องจากวันนี้ จะต้องไปประชุมกับกลุ่ม CSR โคราชเรื่องแผนป้องกันน้ำป่าแถบเขาใหญ่ ก็ขอเอาตัวอย่างของเขื่อนผ้าใบ(แบบใหม่)มาเล่าอีกทีนะครับ หาเรื่องมาเขียนใหม่ทั้งหมดไม่ทันแล้ว

เขื่อนผ้าใบมีหลักการเหมือนกระสอบทราย ตือใช้น้ำหนักของสิ่งที่บรรจุอยู่ภายใน กดลงดิน ใช้ความเสียดทานกั้นน้ำไว้ไม่ให้แทรกเข้ามาหลังเขื่อน มีข้อดีคือใช้วางบนภูมิประเทศสูงๆ ต่ำๆ ได้ ไม่ต้องปรับฐานให้เรียบ ภายในแทนที่จะใส่ทราย ก็ใส่น้ำลงไปแทน เอาน้ำที่ท่วมนั่นแหละเติมครับ วางแนวต่อกันเป็นแถวยาวๆ ได้ การต่อระหว่างชุด เมื่อใสน้ำแล้ว ถึงจะปลิ้นออกเล็กน้อย ทำให้แนวสองชุดเบียดประกบ กั้นน้ำได้

ตามความเห็นที่ให้เอาไว้ในบันทึกกระสอบทราย ถ้าใช้สัณฐานสามเหลี่ยม ระดับน้ำหน้าเขื่อน ไม่ควรจะเกินครึ่งหนึ่งของความสูง แต่เมื่อใช้สัณฐานเป็นลูกซาละเปาแบบในบันทึกนี้ ก็อาจสูงขึ้นได้อีกครับ [รูปการใช้งาน]

อ่านต่อ »


วัดปริมาณน้ำฝน

อ่าน: 6578

การวัดปริมาณน้ำฝนนั้น วัดความสูงของน้ำฝนในแท่งทรงกระบอก ที่ฝาเปิดแต่ก้นปิด จะกว้างเท่าไหร่ก็แล้วแต่ จะเป็นหลอดก็ได้ เป็นบีกเกอร์ก็ได้ มีปัญหาอย่างเดียวคือต้องเททิ้งบ่อยๆ

ทีนี้หากติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ห่างไกล ใครจะตามไปเทให้ล่ะครับ ก็จึงต้องหาวิธีทำเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนที่เทน้ำทิ้งเองได้ ซึ่งเรื่องนี้ก็ไม่ใช่ dissertation ระดับปริญญาเอกหรอกครับ

รูปซ้ายเป็นทรงกระบอกรับน้ำฝน ความลึกไม่สำคัญ เมื่อน้ำฝนตกผ่านปากวงกลม ก็จะไหลไปลงรู หยดลงไปชั้นข้างล่าง ซึ่งคือรูปขวา เป็นรูปสามเหลี่ยมสองอันหันหลังชนกัน เมื่อน้ำหยดจากรูลงมาในสามเหลี่ยม น้ำหนักของน้ำก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมากพอที่จะกระดกสามเหลี่ยม (ซ้าย-ขวา) เทน้ำออกจนหมด การนับปริมาณน้ำฝน ก็นับจำนวนครั้งที่กระดก แทนที่จะต้องไปวัดความสูงของน้ำฝน (ซึ่งยากกว่า แพงกว่า)

อ่านต่อ »


แนวกันคลื่น

อ่าน: 3816

ถ้าน้ำไม่ท่วมได้ก็ดีหรอกครับ แต่ไม่รู้จะมาบ่นตอนนี้ไปทำไม ในเมื่อน้ำท่วมแล้ว เป็น Reactive approach เหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง

ในหนึ่งปีที่ผ่านมา ผมเขียนเรื่องบ้านๆ มาเยอะแล้ว วันนี้จะลองเรื่องภัยในเมืองบ้าง คำว่าเมืองไม่ได้หมายถึงจังหวัดใหญ่ แต่หมายถึงชุมชนเมืองขนาดต่างๆ ที่มีถนนหนทางผ่านสะดวก จะเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอน้อยใหญ่ ต่างก็มีลักษณะของเมืองทั้งนั้น

เพราะว่าเราไม่มีแผนที่ความสูง การป้องกันน้ำท่วมจึงวางแนวป้องกันชั่วคราวได้ลำบากมาก เพราะไม่รู้ที่ไหนสูงที่ไหนต่ำ หากน้ำไหลเข้าท่วมเมือง ก็จะมีภัยซ้ำซ้อนจากคลื่นที่เกิดจากรถราวิ่งกันแบบไม่เกรงใจใคร บางทีก็เป็นคลื่นจากเรือ คนจะไปช่วยแต่รีบร้อน ดันไปสร้างคลื่นกระแทกบ้านเรือน เข้าใจได้ว่ามันเครียดมากครับ น้ำท่วม แถมมีคลื่นซัดมาโครมๆ บ้านจะทนไหวหรือไม่

สงสัยเหมือนกันว่าคลื่นทำงานอย่างไร หากทำแนวป้องกันเฉพาะบริเวณผิวน้ำ ให้มีส่วนจมน้ำ+เหนือน้ำสูงกว่ายอดคลื่นแต่ข้างล่างโบ๋ๆ แนวป้องกันแบบนี้จะดูดซับพลังงานของคลื่นได้มากน้อยแค่ไหน ก็ไม่ใช่ความคิดอันยิ่งใหญ่อะไรหรอกครับ แล้วก็ไม่ใช่ความคิดใหม่ในโลกด้วย

อ่านต่อ »



Main: 0.18893885612488 sec
Sidebar: 0.6266040802002 sec