ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (7)

อ่าน: 3735

บ่ายนี้มีโทรศัพท์มาแสดงความเห็นว่า บันทึกชุด ผลิต Biochar อย่างจริงจัง น่าจะมีนัยอะไรบางอย่าง

มีครับ ผมไม่ใช่คนมีลับลมคมนัยอะไรหรอก แต่มักไม่บอกอะไรตรงๆ เหมือนเขียนตำรา ถ้าไม่ได้เอาไปพิจารณา ก็คงไม่ได้อะไรไป ถึงแม้คิดไปผิดทาง ก็ยังได้คิด ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ เหมือนถูกจูงจมูก แต่หากคิดได้ดีกว่าผม ก็ดีเลย ผมจะได้เรียนไปด้วย

ตั้งแต่ประเทศไทยเริ่ม “พัฒนาประเทศ” ด้วยแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ มีการปรับปรุงกระบวนการผลิตอย่างมโหฬาร เละกันไปทั่วทุกหัวระแหง ตั้งแต่การศึกษา อุตสาหกรรม​ … ไปยันความเป็นมนุษย์

ทางด้านการเกษตร นอกจากเปลี่ยนไปเป็นพืชเชิงเดี่ยวซึ่งทำลายความหลากหลายของพืชพันธุ์แล้ว ยังมีการเร่งผลผลิตด้วยปุ๋ยเคมีอีก ปุ๋ยนี้มีการกำหนดสูตรว่าจะต้องอยู่ในสัดส่วนของธาตุอาหารสำคัญของพืชสามอย่างคือ ไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส(P) และ โปแตสเซียม(K) ธาตุอาหารของพืชนั้นมีมากกว่าสามชนิดนี้ แล้วยังมี ค่า pH ความร่วนซุยของดิน ความชื้นในดิน และจุลินทรีย์ในดิน ซึ่งต่างทำหน้าที่สอดประสานกับรากพืช ลำเลียงธาตุอาการผ่านระบบรากไปสร้างเป็นความเจริญเติบโตให้แก่ต้นไม้

แต่การใช้ปุ๋ยเคมี (และยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า) มาเป็นเวลาหลายสิบปี ทำให้ดินเสื่อมสภาพ ดินชั้นบนแข็ง แล้วเพื่อเร่งผลผลิต เราก็ถางแหลก ต้นไม้ใหญ่หายไปหมด เมื่อร่มเงาหายไป ดินก็ถูกแดดเผาโดยตรง ยิ่งไปเร่งอาการดินแข็งดินแตก เลนและบ่อปลักกลายเป็นดินดาน ยิ่งทำให้ความชื้นในดินต่ำ

เมื่อดินแข็ง น้ำซึมจึงผ่านได้ยาก ทำให้ความชุ่มชื้นในดินต่ำ รากพืชที่อยู่ต่ำลงไป ก็ไชไปหาอาหารได้ลำบากขึ้น นำอาหารไปเลี้ยงลำต้นได้ลำบาก

น้ำท่วมใหญ่คราวนี้ มีฝนตกลงมามาก แต่ที่เราไม่ค่อยฉุกใจคิดกันก็คือฝนที่ตกลงมา ซึมลงไปในดินได้น้อย เพราะดินเราแข็ง ฝนตกลงมาเจอดินแข็ง แทนที่จะซึมลงไปข้างล่างเป็นต้นน้ำลำธาร ก็ไหลไปทางข้างๆ บ่าลงมา หลายหุบ หลายแก่ง รวมกันเป็นน้ำป่าทะฃักเข้าท่วมบ้านเรือนไร่นา

ยิ่งกว่านั้นยังมีพื้นที่เป็นจำนวนมากที่น้ำท่วมขังเป็นเวลานานหลายเดือน จริงอยู่ที่ดินผิวหน้าอิ่มน้ำ ทำให้น้ำซึมลงไปข้างล่างได้ลำบาก แต่ก็น่าคิดเช่นกันว่าทำไมชั้นดินที่อิ่มน้ำ (½~1 เมตร) จึงไม่ถ่ายน้ำลงไปข้างล่าง

อ่านต่อ »


ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (6)

อ่าน: 4666

มีการทดลองใช้ Biochar ปรับปรุงดินในแปลงปลูกข้าวโพดที่มหาวิทยาลัยแห่งมลลัฐอิลินอยส์ ได้ข้อสังเกตว่า

… Scientists at the Illinois Sustainable Technology Center (ISTC) are exploring an innovative way to off-set fossil fuel use and greenhouse gas emissions: using pyrolysis at low temperatures to convert waste biomass into valuable products. Pyrolysis is a thermochemical conversion process where waste biomass is heated in the absence of oxygen to produce a series of energy products such as bio-oil, syngas, and biochar. Bio-oil and syngas can be captured and used as energy carriers. Also, bio-oil can be used at petroleum refineries as a feedstock that is greenhouse-gas-neutral and renewable.

Biochar

Biochar can be used as a fuel or as a soil amendment. When used as a soil amendment, biochar can boost soil fertility, prevent soil erosion, and improve soil quality by raising soil pH, trapping moisture, attracting more beneficial fungi and microbes, improving cation exchange capacity, and helping the soil hold nutrient. Moreover, biochar is a more stable nutrient source than compost and manure. Therefore, biochar as a soil amendment can increase crop yields, reduce the need for chemical fertilizers, and minimize the adverse environmental effects of agrochemicals on the environment.

Another potentially enormous environmental benefit associated with biochar used in soil is that it can sequester atmospheric carbon. In the natural carbon cycle, plants take up CO2 from the atmosphere as they grow, and subsequently CO2 is emitted when the plant matter decomposes rapidly after the plants die. Thus, the overall natural cycle is carbon neutral. In contrast, pyrolysis can lock up this atmospheric carbon as biochar for long periods (e.g., centurial or even millennial time scales). Therefore, the biochar approach is an attractive solution to alleviating global warming concerns. James Lovelock, famous for his Gaia hypothesis, is now advocating biochar as “One last chance to save mankind“. …

อ่านต่อ »


ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (5)

อ่าน: 4780

บันทึกนี้ เป็นส่วนของชุดบันทึกหลายตอนชื่อ ผลิด Biochar อย่างจริงจัง

เป็นวิธีการเผาถ่าน Biochar แบบที่ง่ายที่สุด แต่สิ้นเปลืองเชื้อไฟที่สุด คือเอาไม้แห้ง หรือ biomass อื่นๆ ใส่ถัง 200 ลิตรไว้หลวมๆ โดยถังนี้มีฝาปิดสนิททั้งหัวและท้าย เจาะรูสำหรับก๊าซออกไม้ที่ฝารูหนึ่ง แล้วเอาถังไปเผาไฟดื้อๆ เลย

ในขณะที่เผา อาจจะสังเกตได้ว่าควันที่ออกมาจากภายในถังนั้น ติดไฟได้ (ควันนี้ ห้ามสูดดม และควรให้ติดไฟอยู่ตลอด)

อ่านต่อ »


ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (4)

อ่าน: 5838

เปลี่ยนเรื่องอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย

Biochar เป็นกรรมวิธีโบราณที่ชาวเผ่าอินคา ใช้ปรับปรุงดินที่เสื่อมสภาพแล้ว ให้กลายเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ขึ้นมาใหม่ได้ มีการนำ Biochar ไปทดลองในหลายที่ทั่วโลก ได้ผลออกมาในแนวเดียวกัน คือสภาพดินดีขึ้น พืชเติบโตและให้ผลผลิตเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางมลรัฐฟลอริด้าซึ่งเป็นดินทราย (คล้ายหรือแย่กว่าอีสาน) ก็มีรายงานว่าได้ผลดีมาก

Biochar นั้นไม่ใช่ถ่านธรรมดาหรอกนะครับ เป็นถ่านที่เผาในสภาวะที่มีออกซิเจนต่ำ (ซึ่งถ้าเผาที่อุณหภูมิสูงด้วย+ออกซิเจนต่ำด้วย เรียกว่าถ่านกัมมัน activated carbon)

วินาทีที่ 30 ดินนาข้าวที่ไม่ได้ปรับปรุงด้วย Biochar วินาทีที่ 34 ดินนาที่ปรับปรุงด้วย Biochar ก่อนดำนา

อ่านต่อ »


เข้าใจก่อน จึงจะคาดหวังได้

อ่าน: 2882

ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ในฐานะของกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ให้สัมภาษณ์รายการเจาะข่าวเด่น ทางไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันที่ 25 ที่ผ่านมา ซึ่งถ้าหากสื่อให้เวลาแก่อาจารย์โดยไม่แย่งพูดแย่งแปลมากนัก ผู้ชมก็จะได้ข้อเท็จจริง และนำไปสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องได้ครับ

อ่านต่อ »


ปรับตัวหลังน้ำท่วม

อ่าน: 3240

วิกฤตยังไม่จบหรอกครับ สำหรับท่านที่น้ำลดแล้ว ก็ยินดีด้วย แต่ท่านคงรู้แจ้งว่าแม้น้ำลดแล้ว ยังมีปัญหารออยู่อีกมาก ดินอิ่มน้ำ อันตรายกว่าที่เห็น

สี่ปีที่ผ่านมา ผมโชคดีที่ได้ไปเยี่ยมสวนป่าของครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์หลายครั้ง แล้วผมก็พบว่าชีวิตเรียบง่ายนั้น ไม่ใช่แค่อวดอ้างแสดงตัวว่าเรียบง่าย แต่ต้องใช้ความรู้จริงมากมาย แล้วยังต้องเตรียมการไว้ล่วงหน้าเผื่อเหลือเผื่อขาดไว้ด้วย จึงจะไปถึงสถานะที่เก็บกินได้ ใครจะยังไงก็ไม่เดือดร้อน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบไม่หลอกตัวเอง มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ไม่ได้ปลีกวิเวกไปอยู่ในป่า — เก็บกินไปได้เรื่อย ถ้ามีแรงเหลือและยังมีความอยาก ค่อยทำกินหาเงินหาทองมาซื้อเครื่องมือที่จำเป็น เพื่อที่จะทำงานให้เกิดประโยชน์และประสิทธิผลที่ดียิ่งขึ้น แต่ถ้ารู้สึกว่าพอแล้ว ก็มีกินไปเรื่อยๆ

ครูบาจะเขียนหนังสือร่วมกับ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญเล่มหนึ่ง ขอโปรโมทไว้ตรงนี้ก่อนเลยครับ

เงินนั้นมีที่ให้ใช้เสมอครับ แต่วิถีที่รู้จักพอแบบนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินซื้อทุกสิ่งทุกอย่าง และไม่ซื้อสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อชีวิต ถ้าหากว่าเรามีความรู้จริงๆ ไม่ใช่แค่รู้ตามหลักสูตร ก็ต้องนำความรู้นั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

ภาวะน้ำท่วมจะผ่านไป ปีหน้าฟ้าใหม่จะโดนอีกหรือเปล่าก็ไม่รู้ ในภาวะน้ำท่วม มีเงินมีทองเหมือนไม่มีเพราะหาซื้ออะไรที่ต้องการแทบไม่ได้เลย ในสภาพเมืองที่เกิดน้ำท่วม การคมนาคมขนส่งสินค้าเป็นไปด้วยความยากลำบาก ผู้คนเอารถไปจอดหนีน้ำตามที่สูง ในกรุงเทพแท็กซี่ก็หยุดวิ่งเพราะเจ้าของแท็กซี่เอารถไปจอดหนีน้ำไว้แล้วที่ังเหลือวิ่งอยู่ ก็หาก๊าซเติมไม่ได้เพราะรถส่งก๊าซก็หยุดส่งเหมือนกัน  ตามห้างสรรพสินค้า ของหมดชั้นวางสินค้า ส่วนคนที่จะไปดูให้เห็นว่าของไม่มีขายแล้วนั้น แค่จอดรถก็แย่แล้ว [สึนามิโลก]

ความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว (เป็น past tense) จะชดเชยเยียวยาอย่างไร ก็ไม่เหมือนเดิมหรอกครับ การที่จะไปจมอยู่กับอดีต ก็เหมือนกับเด็กที่ร่ำร้องจะย้อนอดีตให้กลับคืนมา เหมือนเอาหัววิ่งชนกำแพงหวังจะให้กำแพงพังเพื่อที่ตัวจะได้ผ่านไปได้

น้ำท่วมจะผ่านไปเพราะว่าน้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำตามแรงโน้มถ่วงเสมอ ซึ่งชีวิตเราจะผ่านไปได้หรือไม่ ก็ขึ้นกับว่าปรับตัวได้หรือไม่

อ่านต่อ »


ระดับความสูง

อ่าน: 3276

งงกันมานาน ว่าระดับความสูงของบ้านนั้น เท่าไรกันแน่

เมื่อสิบกว่าปีก่อน สหรัฐเริ่มวัดความสูงของพื้นที่และเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาความหนาของน้ำแข็งในสภาวะโลกร้อยครับ โปรแกรมนั้นเรียกว่า STRM (Shuttle Radar Topography Mission) คือสำรวจความสูงของผิวโลกด้วยการจับสัญญาณสะท้อนจากเรดาร์ที่ยิงจากกระสวยอวกาศ ข้อมูลความสูงนั้น มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์เหมือนกัน เมื่อทำการสำรวจเสร็จ เขาก็ปล่อยข้อมูลที่ได้จากการใช้เรดาร์ความถี่ C-band ออกมาเป็นข้อมูลสาธารณะ เรียกว่า ETOPO1 (ใช้เรดาร์แบบ C-band ความละเอียด 92.5m)

ETOPO1 นี้ เป็นข้อมูลสาธารณะที่บรรดาผุ้ให้บริการแผนที่นำไปใช้ (เพราะฟรี) แต่ไม่ละเอียดเลย การคำนวณอัตราการไหลของน้ำด้วย ETOPO1 จึงไม่แม่นยำ และมีปัญหาคาใจ 3 คำถามที่ตอบไม่มีใครตอบได้: น้ำจะท่วมเมื่อไร จะท่วมสูงเท่าใด และจะท่วมอยู่นานแค่ไหน ที่ตอบไม่ได้ก็เพราะแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ ETOPO1 นี้ ไม่แม่นยำพอ

ดูระดับในแผนที่ออนไลน์ บ้านผมสูง 7-8 เมตร แต่ดูแผนที่ทหารแล้ว เหลือนิดเดียว (แผนที่ทหารแม่นกว่าครับ แต่แผนที่ทหารไม่มีความสูงทุกจุดที่ต้องการรู้ ซึ่งคงต้องใช้วิธีเดิม คือประมาณเอาด้วยวิธี interpolation)

อ่านต่อ »


ระดมเครื่องสูบน้ำ

อ่าน: 2550

เมื่อน้ำเหนือบ่ามาล้นกำแพงกั้นน้ำที่หลักหก ปทุมธานี เหมือนกรุงเทพมีรูรั่วอันใหญ่ เวลาผ่านไปหลายสัปดาห์ ก็ยังเปิดบ้านรับให้น้ำเข้าไปสู่ตัวเมืองชั้นใน

เมื่อคราวประตูน้ำบางโฉมศรีแตก ใช้เวลาเกือบสามสัปดาห์จนน้ำทะลักเข้ามาเต็มทุ่งทางตะวันออกของแม่น้ำ เจ้าพระยา ทุกวินาทีที่ล่าช้าไป หมายถึงน้ำปริมาณมหาศาลทะลักเข้ามาเรื่อยๆ ประสบการณ์เลวร้ายผ่านไป ก็ยังไม่เข็ด พอน้ำลงมากรุงเทพ การติดตั้งบิ๊กแบ็ก ก็เถียงกันอยู่นั่นแหละว่าใช้ได้หรือใช้ไม่ได้ ข้อเท็จจริงก็คือน้ำยังเข้ามาเรื่อยๆ สูบยังไงก็ไม่หมดหรอกครับ

แต่ถึงสูบไม่หมด ก็ยังต้องสูบอยู่ดี เพื่อไม่ให้ระดับน้ำสูงเกินกว่ารถยนต์จะวิ่งไม่ได้ หากการคมนาคมขนส่งหยุดลง แล้วทุกคนเดินทางไม่ได้ การที่จะพลิกฟื้นเศรษฐกิจ จะไม่ง่ายเหมือนมั่นใจแบบคิดเอาเอง

เมื่อวานนี้ ศปภ.ระดมความร่วมมือจากภาคเอกชนและประชาชน ขอเครื่องสูบน้ำที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 6 นิ้ว ใครจะค่อนแคะอย่างไร ก็ไม่เป็นไรหรอกครับ คิดเสียวันนี้ ก็ยังดีกว่าไม่พยายามหาทางออกอะไรเลย

บ้านผมไม่มีปั๊มขนาด 6 นิ้ว และไม่รู้เหมือนกันว่าจะมีบ้านใครที่มีปั๊มขนาดใหญ่ตั้งไว้ที่บ้านเหมือนกัน

ปั๊มน้ำซึ่งอยู่ในเขตที่น้ำไม่ท่วม ศปภ.คงระดมมาหมดแล้ว (ถ้ายังก็ควรทำซะ) ศึกน้ำของจังหวัดในที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างยังอีกไกลครับ ไม่จบลงง่ายๆ อย่าหลอกตัวเองเลย

อ่านต่อ »


สำหรับคนสายตาสั้นและขี้ตกใจ

อ่าน: 4998

ความกลัวเกิดจากความไม่รู้ และความไม่รู้เกิดจากการไม่มีข้อมูล ไม่แสวงหาความรู้ และ/หรือไม่สามารถจะทำความเข้าใจได้

ข่าวจากสื่อโทรทัศน์ซึ่งมีเวลาน้อย ให้ข้อสรุปได้โดยไม่มีเวลาที่จะลงในรายละเอียด อย่างข่าวคันกั้นน้ำของนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ รั่วแตกพ่ายต่อแรงดันน้ำ ข่าวไม่ได้พูดว่าพื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นที่ต่ำ (เช่นนวนครมีความสูงเพียง 3 ม.รนก.) เมื่อน้ำที่ท่วมทุ่งอยู่รอบๆ มีความสูง 5+ ม.รนก. ความสูงกว่าระดับพื้นจะสร้างแรงดันหลายตันต่อตารางเมตร กระทำต่อคันดินซึ่งไม่ได้บดอัด และไม่ได้กระจายแรงดันน้ำออกไปทั่ว ทำให้จุดที่อ่อนที่สุดของคันดินเกิดรั่วจนแตกและน้ำทะลายเข้ามาได้ เมื่อน้ำไหลได้ ก็จะพาดินลงมาด้วย เกิดเป็นการพังทลายขนาดใหญ่ เวลาได้ยินข่าวว่าคันดินที่นั่นที่นี่แตก สถานีโทรทัศน์ให้ข่าวสารไม่ครบครับ ขาดมิติของเวลา และขาดมิติทางภูมิศาสตร์ (แผนที่)

คนสายตาสั้น มองใกล้ชัดกว่ามองไกล (แต่ไม่ได้แปลว่ามองชัด แค่ชัดกว่าเฉยๆ) ข่าวน้ำเข้าใกล้กรุงเทพ หันเหความสนใจไปสู่เหตุการณ์ใกล้ตัว โดยไม่ได้ตระหนักเลยว่ายังมีลูกใหญ่รออยู่ทางเหนืออีก

รูปทางขวานี้ อาจจะไม่ชัด ลองคลิกดูตรงนี้ก็ได้ครับ — ขอบคุณลิงก์จากคุณวรรณวิทย์ อาขุบุตร รองนายกสมาคมนักวิชาชีพไทยในยุโรป (ATPER) — เป็นภาพจากดาวเทียมของหลายประเทศ ถ่ายทะลุเมฆมา รวบรวมและประมวลผลโดย UNOSAT เมื่อวันที่ 16 ต.ค. จุดแดงแสดงน้ำท่วม และจะเห็นว่าเขื่อนของนิคมอุตสาหกรรมและคลองต่างๆ นั้น แค่แนวหน้าของน้ำที่ยังรออยู่… อย่าเพิ่งตื่นเต้นไปเลยครับ

ที่น่าห่วงคือผู้ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา น้ำก้อนใหญ่อยู่ในเขตสุพรรณบุรีกับอยุธยา ในขณะที่ความสนใจกลับมาอยู่ที่ทุ่งรังสิต ผมคิดว่าไม่แปลกที่คนกรุงเทพจะสนใจทุ่งรังสิตหรอกครับ ก็บ้านเขานี่ ไม่สนก็แปลกไปล่ะ แต่ว่าสื่อควรแบ่งพื้นที่ให้เป็นธรรมและเสนอข่าวอย่างครอบคลุมไม่ใช่หรือครับ

อ่านต่อ »


น้ำท่วมขัง (2)

อ่าน: 5075

เรื่องเก่า ที่เขียนไว้เมื่อปลายปีที่แล้ว [น้ำท่วมขัง (1)]

น้ำท่วมขังนำมาซึ่งความทุกข์ใจยิ่งกว่าน้ำท่วมทั่วไป เพราะน้ำลดยากกว่า น้ำท่วมขังเกิดได้ในสภาพพื้นที่เป็นแอ่ง เมื่อน้ำข้ามคันกั้นน้ำ (ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์สร้างขึ้นหรือเป็นสภาพตามธรรมชาติก็ตาม) น้ำก็จะไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ แต่เมื่อน้ำหลากผ่านไปแล้ว น้ำที่ข้ามคันกั้นน้ำเข้ามา กลับไม่มีทางออก ท่วมอยู่ในพื้นที่นั้นเป็นเวลานาน

น้ำท่วมไร่นา ชาวบ้านหมดเนื้อหมดตัว แต่น้ำท่วมขัง ชาวบ้านซึ่งหมดตัวไปแล้ว ยังถูกตอกย้ำด้วยภาพของน้ำท่วมโดยไม่ยอมลด มองไปทางไหนก็มีแต่น้ำ เห็นอยู่ทุกเวลา เหมือนกับย้ำเตือนอยู่ตลอดเวลา ว่าหมดตัว หมดตัว หมดตัว

นอกจากความเครียดสะสมข้างบนแล้ว ยังมีโรคที่มากับน้ำอีก เมื่อน้ำลดแล้ว ก็มีความเสี่ยงจากการระบาดซ้ำของโรคไข้หวัดนก

ทางการเป็นห่วงไข้หวัดนก ระบาดหนักหลังน้ำลดในเดือนพฤศจิกายนนี้ ระบุพื้นที่น้ำท่วมเป็นพื้นที่เดียวกับหวัดนกระบาด และเป็นฤดูนกอพยพพอดี เตรียมพร้อมน้ำยาพ่นฆ่าเชื้อโรคในทุกพื้นที่ที่มีการเลี้ยงสัตว์ปีก แม้ว่าขณะนี้ยังมีรายงานเรื่องการเกิดโรคระบาดในสัตว์ แต่ต้องระวังการเกิดโรคระบาดที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงหลังน้ำลด — http://www.bangkokhealth.com/

สภาพน้ำท่วมขัง ยังนำมาซึ่งความเสี่ยงของการระบาดของหอยเชอร์รี่ เพลี้ย… ยิ่งดูละเอียด ก็ยิ่งไปกันใหญ่

เป็นเรื่องที่เกินกำลังของรัฐ หรือหน่วยงานใดๆ (เงินเยียวยาช่วยได้บ้าง แต่เทียบไม่ได้กับการหมดตัวซ้ำซากหรอกครับ) จึงต้องระดมความช่วยเหลือจากหลากหลายวิทยาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคประชาชน

อ่านต่อ »



Main: 0.058518886566162 sec
Sidebar: 0.41223120689392 sec