พระปฐมสิกขาบท

12 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 1 July 2011 เวลา 23:22 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4999

คืนนี้ มีเรื่องที่ไม่สบายใจเรื่อง “ความจริง” จากคนละด้าน เป็นคนละเรื่องเดียวกัน นำสู่ความไม่เข้าใจกันและความแตกแยก

ที่ใส่เครื่องหมายคำพูดหน้าและหลังความจริงนั้น เป็นเพราะไม่แน่ว่าความจริงจะเป็นข้อเท็จจริง — ข้อเท็จจริงไม่ต้องตีความ พิจารณาได้เองด้วยมโนคติ แต่ความจริงนั้นขึ้นกับมุมมอง เป็นการตีความส่วนตัวด้วยพื้นฐานจิตใจและข้อมูลที่มีอยู่ (มีทั้งอัตตา อคติ ค่านิยม และเรื่องที่รับฟังมา) เมื่อฟังบ่อยๆ เข้า เลยกลับกลายเป็นข้อเท็จจริงขึ้นมา ทั้งที่การตัดสินเรื่องที่ไม่รู้นั้น ยากจะเป็นการตัดสินใจที่ดีได้

เมื่อไม่สบายใจ ผมก็หาอะไรอ่าน คราวนี้อ่านพระไตรปิฎก เป็นที่รู้กันสำหรับผู้ที่ศึกษาพุทธศาสนา ว่าสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัตินั้น มีที่ไปที่มาเสมอ ส่วนสิกขาบทอันแรกที่ทรงบัญญัติ คือเสพเมถุนเป็นอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นภิกษุทันทีที่กระทำ

อ่านต่อ »


ทางเลือกที่ไม่ได้เป็นทางเลือก

อ่าน: 2868

เมื่อมีสิทธิ์ที่จะเลือก บางครั้งเรากลับมีความทุกข์กับทางเลือกที่มากมายนั้น บางทีเลือกไม่ถูก บางทีกลัวคนอื่นจะว่ารสนิยมต่ำ

ทางเลือกไม่ได้พาทุกคนไปสู่อิสระและความสุข ทางเลือกไม่ได้สร้างประโยชน์ให้กับคนที่ไม่รู้จักเลือก ไม่เข้าใจตนเอง ไม่เข้าใจทางเลือกแต่ละข้อ เลือกไปโดยไม่ได้พิจารณาทางเลือกต่างๆ อย่างถ่องแท้ (อคติ ตัดสินไว้ก่อนจากข้อมูลอดีตก่อนจะได้พิจารณา แม้จะเป็นคนละบริบทก็ตาม)… บางทีก็เลือกเพราะกลัวคนอื่นจะว่า หรือกลัวแตกต่างจากค่านิยมของสังคม (ภยาคติ กลัวโดนตำหนิ) คนอย่างนี้ ไม่มีกระดูก และไม่มีอะไรอีกหลายอย่าง :-) แต่เขาจะมีเหตุผลมากมายมาปลอบประโลมจิตใจของตัวเอง ว่าทำไมจึงไม่กล้าที่จะทำในสิ่งที่ควรทำ

อ่านต่อ »


ความสำเร็จไม่มีทางลัด

อ่าน: 4618

สำนักงานใหญ่ของ Facebook ย้ายไปอยู่เมือง Menlo Park ซึ่งอยู่ใกล้กับโรงเรียน Belle Haven Middle School กลาง Silicon Valley ทางโรงเรียนจึงเชิญ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก มากล่าวอะไรสักหน่อยในโอกาสที่เด็กเรียนจบชั้น Grade 8 (ม.2)

อ่านต่อ »


วันอัฐมีบูชา

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 25 May 2011 เวลา 0:15 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 2961

วันนี้เป็นวันพระ ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือนวิสาขะ ซึ่งเป็นวันครบรอบวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 8 วัน มีชื่อเรียกเป็นการเฉพาะว่าวันอัฐมีบูชา

ประเพณีวันอัฐมีบูชา แทบจะสูญหายไปจากประเทศไทยแล้ว ยังเหลืออยู่เพียงที่วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล อุตรดิตถ์ ซึ่งจำลองเหตุการณ์การถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระขึ้น [คลังปัญญาไทย]

เหตุการณ์ช่วงเสด็จดับขันธปรินิพพาน ปรากฏในมหาปรินิพพานสูตรในพระไตรปิฎก ซึ่งยาวพอสมควร เริ่มตั้งแต่ข้อ [67] ไปจนข้อ [162]

ในข้อ [117] พระพุทธเจ้าทรงทราบว่าสุกรมัททวะ (เห็ดที่หมูชอบกิน) ที่นายจุนทะจัดถวายด้วยความประณีตนั้น จะทำให้อาพาธหนัก จึงขอให้นายจุนทะนำสุกรมัททวะถวายแก่พระองค์เท่านั้น โดยไม่ให้ถวายแก่ภิกษุรูปอื่นฉัน เมื่อพระองค์ฉันเสร็จแล้ว ก็ให้นายจุนทะนำไปฝังทำลายเสียจนสิ้น ซึ่งก่อนหน้านั้น พระพุทธองค์ได้ทรงปลงพระชนมายุสังขารล่วงหน้าแล้วประมาณสามเดือน ในข้อ [95]

อ่านต่อ »


ควบคุมความคิด ความฟุ้งซ่าน

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 17 May 2011 เวลา 3:43 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4001

บ้านเมืองของเราสงบสุขอยู่บนความปั่นป่วนอลหม่าน เป็นความอลหม่านอันเกิดจากการไม่ทำหน้าที่ของตน ปล่อยปัญหาให้หมักหมมไว้จนแก้ไขได้ยาก สิ่งที่ผิดกลายเป็นถูก สิ่งที่ถูกกลายเป็นแปลกประหลาด ผู้มีหน้าที่บางส่วนก็หย่อนยาน กระทำการเพื่อประโยชน์ส่วนตนแต่ถ่ายเดียว คนทำอย่างนั้นก็คงคิดว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ(ทีึ่คนเห็นแก่ตัว)จึงทำไป…

ความคิดแบบนี้ ถูกแค่บางส่วนครับ แต่คงลืมไปว่ามนุษย์นั้นพึ่งพากัน ไม่มีใครที่รู้อะไรทั้งหมด ไม่มีใครทำอะไรได้ทั้งหมด ถ้าคนอื่นอยู่ไม่ได้ ตัวเราก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน… ปัจเจกชนมีความแตกต่าง ถ้าไม่ระวังก็จะเกิดความกระทบกระทั่งเบียดเบียนกันขึ้นได้ แล้วยิ่งอคติ+อัตตาใหญ่โต คุ้นชินกับการเพ่งโทษของผู้อื่น เรื่องนิดเดียวก็ขยายได้เช่นกัน ทุกเรื่องดูเหมือนเป็นเรื่องใหญ่เมื่อไปจ้องดูใกล้ๆ ในขณะที่คนที่ไม่สนใจ มองดูจากระยะไกลแล้วเป็นเรื่องนิดเดียว ทั้งที่เรื่องนั้นก็มีขนาดของเรื่องเท่าเดิมนั่นแหละ

ในวิตักกสัณฐานสูตร ว่าด้วยอาการแห่งวิตก — อาการวิตกคืออาการหมกมุ่นครุ่นคิดกังวลอยู่กับเรื่องที่คิด ทำให้สติไม่แจ่มใส ไม่เห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง (วิปลาส)… ในอาการวิตกหมกมุ่น ไม่มีปัญญาครับ เวลาอ่านหนังสือที่อยู่ห่างลูกนัยน์ตาแค่นิ้วเดียว ไม่ได้ทำให้ซาบซึ้งมากขึ้นเลย แต่กลับอ่านไม่ออกนะครับ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชอธิบายไว้โดยสังเขปด้งนี้

อ่านต่อ »


ภัยอะไรน่ากลัว (3)

อ่าน: 3019

ภัยจากคนน่ากลัวครับ ภัยจากความวิปลาสน่ากลัวจริงๆ เพราะคนวิปลาส กระทำการโดยไม่อยู่บนเหตุและผล หรือบางทีเขาก็คิดว่ามันมีเหตุผลแล้ว แต่เป็นเหตุผลจากมุมมองของเขาเอง ก็มองข้ามไปหมดว่าจะเบียดเบียนใครหรือมีผลอย่างไรตามมา

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่น แทนที่จะบำรุงรักษา กลับปลอมแปลงรายงานการบำรุงรักษา ด้วยประมาทว่าคงไม่มีอะไร แต่ในที่สุดก็มี ทำให้ต้องอพยพคนเป็นแสนคน เดือดร้อนกันไปทุกหย่อมหญ้า ถ้าค้นดูในบล็อก คงเห็นว่าผมประเมินไว้ตั้งแต่หลังแผ่นดินไหวและสึนามิ ว่าไฟฟ้ากับน้ำมันจะขาดแคลนก่อนมีข่าว แต่คนญี่ปุ่นร่วมแรงร่วมใจกันผ่านความยากลำบากด้วยกัน ฟื้นฟูได้เร็วจนน่าแปลกใจ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะญี่ปุ่นมีเป้าหมายร่วม ที่ความสงบสุขก้าวหน้าของสังคมญี่ปุ่น… ลองคิดดูหากเป็นเมืองไทย คงจะเละอย่างยาวนาน มีโอกาสฟื้นตัวน้อยหรือใช้เวลายาวนาน

ในเมืองไทยเอง มีการประท้วงทั้งรุนแรงและไม่รุนแรงมาหลายปีตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร ผ่านไปห้ารัฐบาล รัฐประหารครั้งหนึ่ง เลือกตั้งสองครั้ง และประกาศใช้รัฐธรรมนูญหนึ่งฉบับ กลุ่มคนที่ประท้วงทุกกลุ่มก็คงเห็นว่าตนเองทำถูกแล้ว ที่จะต้องหยุดรัฐบาลในขณะนั้นให้ได้ แต่ยังมีอีกมุมหนึ่งเป็นอย่างน้อยครับ ช่วงที่มีการประท้วงกันหนักๆ เป็นเวลาหกปีระหว่าง 2548-2553 ประเทศไทยแทบจะหยุดลงคลาน เวลาหกปีนี้ เรียนประถม เรียนมัธยม เรียนปวช.กับปวส. หรือเรียนปริญญาตรีและโทจบได้นะครับ ซึ่งสิ่งที่กระทำไป ต่างเห็นว่าสมควรแล้ว จะต้องหยุด “อีกพวกหนึ่ง” ให้ได้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น

อ่านต่อ »


หลักศรัทธา

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 24 April 2011 เวลา 20:20 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3393

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานแปลคำ ศรัทธา ว่า น. ความเชื่อ ความเลื่อมใส หรือ ก. เชื่อ  เลื่อมใส

อย่างไรก็ตาม ตามหนังสือพุทธธรรม (ฉบับเดิม) โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) นั้น ศรัทธาเป็นจุดเริ่มต้นในสัมมาทิฏฐิ และจะต้องเป็นศรัทธาที่นำไปสู่ปัญญา ไม่เช่นนั้นก็ไม่ต่างกับการศรัทธาเจ้าลัทธิ คนทรง ต้นไม้หรือสัตว์พิการแปลกประหลาด

สรุปคุณสมบัติและหน้าที่ของศรัทธาที่ถูกต้อง

ศรัทธาเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับคนทั่วไป ที่จะเข้าสู่มัชฌิมาปฏิปทา จึงเป็นธรรมสำคัญที่จำเป็นต้องเน้นให้มาก ว่าจะต้องเป็นศรัทธาที่ถูกต้องตามหลักที่จะเป็นสัมมาทิฏฐิ ในที่นี้ จึงขอสรุปคุณสมบัติและการทำหน้าที่ของศรัทธาที่จะต้องสัมพันธ์กับปัญญา ไว้เป็นส่วนเฉพาะอีกครั้งหนึ่งว่า

  1. ศรัทธาต้องประกอบด้วยปัญญา และนำไปสู่ปัญญา
  2. ศรัทธาเกื้อหนุนและนำไปสู่ปัญญา โดย
    • ช่วยให้ปัญญาได้จุดเริ่มต้น เช่น ได้ฟังเรื่องหรือบุคคลใด แสดงสาระ มีเหตุผล น่าเชื่อถือหรือน่าเลื่อมใส เห็นว่าจะนำไปสู่ความจริงได้ จึงเริ่มศึกษาค้นคว้าจากจุดหรือแหล่งนั้น
    • ช่วยให้ปัญญามีเป้าหมายและทิศทาง เมื่อเกิดศรัทธาเป็นเค้าว่าจะได้ความจริงแล้ว ก็มุ่งหน้าไปทางนั้น เจาะลึกไปในเรื่องนั้น ไม่พร่า ไม่จับจด
    • ช่วยให้ปัญญามีพลัง หรือช่วยให้การพัฒนาปัญญาก้าวไปอย่างเข้มแข็ง คือ เมื่อเกิดศรัทธามั่นใจว่าจะได้ความจริง ก็มีกำลังใจเพียรพยายามศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง วิริยะก็มาหนุน

อ่านต่อ »


ระวัง-ยิง-เล็ง

อ่าน: 4093

ชื่อบันทึก ระวัง-ยิง-เล็ง ไม่ได้เรียงผิดหรอกครับ แล้วไม่ได้คิดเองด้วย มาจากของฝรั่ง Ready, Fire, Aim

เวลาจะยิงปืนนะครับ “ลำดับ” มักจะเป็น ระวัง-เล็ง-ยิง (Ready, Aim, Fire) ก็ต้องเล็งก่อนยิงใช่ไหมครับ? สามัญสำนึกบอกว่าอย่างนั้นนะ; แล้วยิงโดยไม่ได้เล็ง จะไม่มีโอกาสถูกเลยหรือ…ผมว่าก็คงไม่ใช่หรอก เพียงแต่โอกาสคงไม่มาก

“Not everything that can be counted counts, and not everything that counts can be counted.” — Albert Einstein

ไม่ทุกสิ่งที่นับได้ จะมีความหมาย และไม่ทุกสิ่งที่มีความหมาย จะนับได้ — อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

ไอน์สไตน์ไม่ได้พูดถึงฟิสิกซ์ดาราศาสตร์หรอกครับ เขาชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่สำคัญนั้น ไม่แน่ว่าจะวัดเป็นจำนวนได้

อ่านต่อ »


ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 26 March 2011 เวลา 0:27 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3699

โลกมีข่าวสารต่างๆ มากมาย และมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีทีท่าว่าจะลดลง (เหมือนเช่นเอนโทรปีที่ไม่เคยลดลง) คนปกติย่อยไม่ทันหรอกครับ

ดังนั้นเราจึงมักเชื่อความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เพราะเชื่อว่าผู้เชี่ยวชาญมีความแม่นยำ แน่นอน ถูกต้อง รู้เรื่องนั้นดี ความเชื่อถือผู้เชี่ยวชาญ มีมากเป็นพิเศษสำหรับกรณีการตัดสินใจที่ความเสี่ยงสูง/เดิมพันสูง และเป็นการตัดสินใจที่สำคัญจริงๆ

แต่เป็นไปได้ไหม ว่าการเชื่อผู้เชี่ยวชาญ เป็นการปกป้องความไม่รู้ของตัวเองโดยผลักความรับผิดชอบไปหาแพะ ผู้เชี่ยวชาญเป็นคน ผิดได้เหมือนกัน แล้วการที่คนหนึ่งบอกว่าเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น ไม่ได้แปลว่าเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญจริงๆ

อ่านต่อ »


เรื่องของคนจัดการจราจร

อ่าน: 3078

ก็ในเมื่อเป็นเรื่องของคนจัดการจราจร ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องของผมหรอกนะครับ แต่มีข้อสังเกตตัวเอง

เรื่องนี้ผมเคยรำคาญมาก แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ ความรู้สึกกลับไม่เหมือนเดิม

เมื่อก่อนนี้ ผมรำคาญพวกจัดการจราจรตามที่จอดรถของศูนย์การค้ามาก เป่านกหวีด ปรี๊ดดดดด ๆ ๆ ๆ ๆ ดังลั่น ไม่รู้ว่าจะเป่าหาอะไร ยืนห่างไปเมตรเดียว เป่าเบาๆ ก็ได้ยิน ขนาดเป่าเร่งคันที่อยู่ข้างหน้าห้าหกคัน ผมยังได้ยินเลย รถก็ขับตามกันมาติดแหงกกันถ้วนหน้า เร่งให้ไปก็ไปไม่ได้ ทั้งเป่าทั้งโบกมันได้ทุกคัน

ไม่รู้เค้านึกว่าที่ผมนั่งอยู่ในรถเปิดแอร์เย็นฉ่ำและมีคนขับรถให้อยู่นั้น เราอยากจะติดอยู่ในที่จอดรถหรืออย่างไร ปรี๊ดดด ๆ ๆ ๆ ๆ เป่าอยู่ได้ ที่อาการหนักระดับได้โล่ห์ คือที่อิมแพ็คเมืองทองธานีครับ

ด้วยสมองซีกซ้าย รีบฟันธงหาเหตุผล อ๋อ พวกนี้เป็นคนที่ไม่มีอำนาจ พอมีนกหวีดเป็นเครื่องมือแสดงอำนาจ ก็ลนลานเป่าเสียงดัง เพิ่มความสำคัญของตนเองเพื่อลบปมด้อยทันที ฯลฯ

มองย้อนกลับไป ความรู้สึกรำคาญจะเป็นจะตาย ตอนนี้ก็ยังไม่ตาย ถ้าถามว่านึกถึงหน้าคนเป่านกหวีดได้ไหม นึกยังไงก็นึกไม่ออกครับ แล้วสิ่งที่เขาทำไม่สำคัญต่อผมเลย พอรถหลุดจากที่จอดรถตรงนั้น ก็กลับบ้านมาเสวยสุขตามเดิม จะทุกข์อะไรกันนักหนา

คิดดูก็เห็นว่าตัวเคยโง่มาก่อน ตอนนี้คงโง่น้อยลงนิดหน่อย หลงเพลิดเพลินอยู่กับความไม่จีรัง [นันทิ] เกิดความคับข้องอยากไปให้พ้น ทั้งที่เป็นเรื่องที่ไม่สามารถบังคับให้เป็นไปตามใจปรารถนาได้ เมื่อจะหาย มันหายไปเอง เช่นเดียวกับเมื่อตอนเกิดขึ้น มันก็มาเอง จะไปอินอะไรกันนักหนา ดูละครจบไปแล้ว ยังติดอารมณ์อยู่ ไม่ถึงขนาดฟูมฟายหรอกครับ แต่ก็ยังติดอยู่ หรือดูบอลจบ ยังมีอารมณ์ค้างอะไรกัน ถ้าเป็นเรื่องจริงจัง ก็ลงไปเล่นเองซิ

อ่านต่อ »



Main: 0.16437292098999 sec
Sidebar: 0.18582892417908 sec