ผิดถูกนั้น สำคัญแค่ไหน

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 23 March 2011 เวลา 5:06 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3830

ผิดหรือถูก ดีหรือไม่ดี มีมาตรวัดที่แน่นอนจริงหรือ ไม่ว่าจะถูกหรือดีก็ตาม เราเดินสู่เป้าหมายหรือไม่ (เป้าหมายคืออะไร)

ในสมัยที่มนุษย์ยังถลุงทรัพยากรจากโลกยังไม่เก่ง รัฐชาติต้องมีอาณาเขตใหญ่ๆ อาณาจักรก็ต้องมีพื้นที่สำหรับผลิตอาหารมากๆ มีลัทธิล่าอาณานิคม มีประเทศราช ส่งส่วยบรรณาการมาที่เมืองหลวงเยอะๆ

กรีก ต้นแบบประชาธิปไตย รุ่งเรืองเพราะประชาธิปไตยโดยตรง และพังไปเพราะประชาธิปไตยที่ต่างคนต่างมีอิสระ จนลืมความจำเป็นในการพึ่งพากันและกัน และถูกตีแตกสลายแพ้สงครามไปในที่สุด

มนุษย์กระจ้อยร่อย ใช้อัตตาตัดสิน ใช้ค่านิยมเป็นบรรทัดฐาน เหมือนกิรสูตรในพระไตรปิฎกเรื่องตาบอดคลำช้าง

ตอนเด็กคิดอย่างหนึ่ง ตอนเรียนคิดอีกอย่าง พอทำงานแล้วคิดอย่างหนึ่ง แก่แล้วคิดอีกอย่าง เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ไม่แน่นอน ไม่สำคัญว่าความคิดไหนถูกที่สุด แต่สำคัญว่าแต่ละความคิด เบียดเบียนใครหรือไม่ คิดแล้วทำหรือไม่ เกินกำลังหรือไม่ ทำให้อะไรดีขึ้นมาหรือไม่ — ถ้าไม่ แล้วคิดไปทำไม

อ่านต่อ »


สารคดี

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 March 2011 เวลา 1:34 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3348

ความอยู่รอดของบริษัทผลิตสารคดี มีนัยที่บอกถึงความไม่ฉาบฉวยของคนในสังคมเหมือนกัน

เมื่อหลายปีก่อน บริษัท พาโนราม่าเวิล์ดไวด์ ใช้เวลาค้นคว้าข้อมูลอยู่ 6 ปี กับเวลาถ่ายทำอีก 2 ปี รวมทั้งเวลา 4 เดือนในอินเดีย ได้ผลิตสารคดีชุดตามรอยพระพุทธเจ้าออกมา ผมซื้อมา 12 ชุดครับ ซื้อไปแจกผู้ที่ผมอยากให้ดู ซื้อราคาเต็ม ซื้อเยอะก็ไม่มีส่วนลด ต้องไปติดต่อที่สำนักงาน ต้องไปรอ และต้องไปหลายรอบกว่าจะได้ของครบ แต่ก็ยินดีทำ ก็อบได้ก็ไม่ก็อบ/คนขายก็ถามเหมือนกัน

ผมไม่ได้สนใจในเรื่องข้อสรุปที่สารคดีให้ มากไปกว่าแง่คิดที่ผุดขึ้นเองจากเรื่องราว เพราะทุกเรื่องแห่งการเรียนรู้ คงไม่ต้องรอให้ใครมาบอกหรอกครับ อะไรที่ไม่รู้ ก็ไม่ต้องรีบตัดสินว่าเชื่อหรือไม่เชื่อ อะไรที่สรุปไปแล้ว มันไม่ใช่สูตรสำเร็จ เป็นเพียงข้อสรุปจากเรื่องในบริบทเดียวเท่านั้น อย่าเผลอไปใช้กับเรื่องอื่นโดยไม่พิจารณาบริบทควบคู่ไปด้วย

ปลายเดือนมกราคม พี่ครูอึ่งส่ง SMS มาบอก “อ.โสรีช์ ออก ทีวีไทยตอนนี้อยู่ค่ะ” [สิ่งหนึ่ง นำสู่อีกสิ่งหนึ่ง] รู้สึกโชคดีที่มีวาสนาผูกพันกับอาจารย์โสรีช์แม้เป็นช่วงสั้นๆ ก็ตามครับ ผมจะไม่พร่ำพรรณาหรืออวยให้มากความ เพราะไม่ว่าอาจารย์ท่านเป็นอย่างไร ท่านก็เป็นอย่างนั้นอยู่ก่อนแล้ว โดยไม่เกี่ยวกับความเห็นของผมครับ…

ประเด็นคือผมมีโอกาสได้ดูสารคดีชุดพื้นที่ชีวิตนี้ อย่างจริงจังเป็นครั้งแรก รู้สึกว่ารายการแบบนี้ น่าสนับสนุนมาก

อ่านต่อ »


สมานใจด้วยความดี ปลูกไมตรีในผองชน

อ่าน: 4242

เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2554 มีงาน Ignite Thailand++ ครั้งที่ 3 ที่โรงภาพยนตร์สกาล่า

Igniter ท่านแรกคือพระไพศาล วิสาโล ท่านพูดเรื่อง “สมานใจด้วยดี ปลูกไมตรีในผองชน” ซึ่งมีร่างอยู่บนเว็บไซต์ visalo.org

อ่านต่อ »


คาถาธรรมบท พุทธวรรค

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 18 February 2011 เวลา 2:45 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3424

วันนี้เป็นวันมาฆบูชา ซึ่ง 9 เดือนหลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ได้ตรัสโอวาทปาฏิโมกข์ ประทานแก่พระอรหันต์ที่ทรงเอหิภิกขุอุปสัมปทาจำนวน 1,250 รูป ซึ่งไปเฝ้าโดยพร้อมเพรียงกันในคืนวันเพ็ญ เดือนสาม 44 ปีกับอีก 3 เดือนก่อนพุทธศักราช

ผมค้นพระไตรปิฎกดูว่าอยู่ตรงไหน ก็พบอยู่ในธรรมบท พุทธวรรคที่ 14 ข้อ [24] ดังนี้ครับ (ขออภัยอย่างยิ่งหากท่านไม่ชอบบาลี ผมนำมาจากพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐทั้งบาลีและไทย แต่สำหรับนักศึกษาแล้ว เชื่อว่าพอแกะ+เปรียบเทียบได้ครับ)

 สพฺพปาปสฺส อกรณํ       กุสลสฺสูปสมฺปทา
 สจิตฺตปริโยทปนํ          เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ
   ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
   นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
   น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
   สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต ฯ
 อนูปวาโท อนูปฆาโต       ปาติโมกฺเข จ สํวโร
 มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ     ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
 อธิจิตฺเต จ อาโยโค       เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ
ความไม่ทำบาปทั้งปวง ความบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม
ความชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ฯ
  ความอดทน คือ ความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง
  ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมกล่าวนิพพานว่าเป็นธรรมอย่างยิ่ง
  ผู้ฆ่าสัตว์อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
  ผู้เบียดเบียนสัตว์อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย ฯ
การไม่เข้าไปว่าร้ายกัน ๑ การไม่เข้าไปฆ่า ๑ ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ๑
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในภัต(ตาหาร) ๑ การนอนการนั่งอันสงัด ๑
การประกอบความเพียรในอธิจิต ๑ นี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ฯ

อ่านต่อ »


เรื่องสำคัญที่โรงเรียนไม่สอน แถมพ่อแม่ก็ไม่บอกอีก

อ่าน: 4379

บันทึกรีไซเคิ้ลครับ เขียนไว้เมื่อสามปีก่อน คงยังใช้ได้ดี

บน gotoknow มีปุ่ม Like ซึ่งแจ้งเตือนมาทางอีเมลเมื่อมีใครมา Like; คราวนี้มะปรางมา Like ก็เลยได้กลับไปอ่านอีกที — ยังมีบางครั้งที่เกิดอาการช้าเป็นครั้งคราว ไม่เป็นไรครับ — ผมเลยลอกมาไว้ที่นี่ ถ้าจะอ่านความคิดเห็นเก่าๆ ก็เชิญคลิกตรงนี้นะครับ

อ่านต่อ »


สิ่งหนึ่ง นำสู่อีกสิ่งหนึ่ง

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 22 January 2011 เวลา 0:03 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4057

เมื่อคืนวันพฤหัส พี่ครูอึ่งส่ง SMS มา (ขอบคุณนะครับ) บอกว่า อ.โสรีช์ ออกทีวีไทยตอนนี้อยู่ค่ะ แต่ตอนนั้น ผมไปอาบน้ำ จึงไม่ได้ยินเสียงสัญญาณโทรศัพท์ — เมื่อคราวที่ ดร.โสรีช์​ โพธิแก้ว พาลูกศิษย์ปัจจุบันและอดีตบุกสวนป่าเมื่อกลางปีที่แล้ว เป็น session ที่ลึกซึ้งและสนุกประทับใจมากครับ [บทเรียนจากสวนป่า 4-9 พ.ค.]

มาเห็นข้อความในโทรศัพท์อีกทีตอนเช้า ทีนี้ก็เดือดร้อนล่ะซิครับ รีบหาคลิปรายการมาดู ขณะที่เขียนนี้ยังไม่เจอคลิปรายการ “พื้นที่ชีวิต” ตอน “นิพพาน…ที่นี่” แต่ไปเจอ Facebook fanpage ของรายการซึ่งมีคลิปเก่าๆ เยอะเลย ยกมาให้ดูสักสามตอนนะครับ

นุ่น ศิริพันธ์​ วัฒนจินดา — นักแสดง
ตอนการเดินทางภายใน (อานาปานสติ)

อ่านต่อ »


ถ้าจะมีอนาคต ต้องผ่านปัจจุบันให้ได้ก่อน

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 8 January 2011 เวลา 0:03 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4040

ในทางพระ บอกให้อยู่กับปัจจุบัน แต่ชาวโลกมักจะยกเหตุผลต่างๆ มากมายมาอ้างเสมอ “ทำไม่ได้หรอก… ถ้าไม่มีอนาคตแล้วฉันจะอยู่อย่างไร… อนาคตทำให้ฉันมีความหวัง…”

ใครจะคิดอะไร จะไปบังคับได้อย่างไรล่ะครับ ไม่ว่ากันอยู่แล้ว! บันทึกนี้เพียงแต่อยากตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องการมุ่งสู่อุดมคติของแต่ละคน

อุดมคติคือจินตภาพของความสมบูรณ์แบบ คนเรามีอุดมคติเพราะชีวิตเราไม่สมบูรณ์แบบ แต่เราดันอยากจะสมบูรณ์แบบ อยากอยู่ในความสมบูรณ์แบบ… อยู่ในวิมาน… อยู่ในความบรมสุข… หลงอยู่กับความ(อยากจะเป็น)สุขอย่างสมบูรณ์แบบ

แต่สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นนั้น ตัวเราเองก็ทำไม่ได้ (ถ้าทำได้ก็สมบูรณ์แบบไปแล้ว) — เวลาคนอื่นทำให้แล้วไม่ถูกใจ ไม่พอใจ แต่กลับไม่ได้ตระหนักว่าตัวเองก็ไม่ได้ทำอะไร

จะไปหวังอนาคตที่ดีได้อย่างไรล่ะครับ ในเมื่อวันนี้ยังไม่ได้ทำอะไรเพื่ออนาคตที่ดีเลย บางทียังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอะไรดี เรื่อยเจื้อยไปตามกระแส

วันนี้เป็นวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2554 วันเด็กไม่ใช่วันเที่ยว ไม่ใช่วันที่เด็กจะทำอะไรก็ได้ เด็กๆ สำคัญทุกวันนะครับ ทุกวันจึงเป็นวันเด็กโดยธรรมชาติอยู่แล้ว

เด็กเป็นอนาคตของชาติ แล้ววันนี้ชาติเราเป็นอย่างไร??

ผู้ใหญ่ในวันนี้ เคยเป็นเด็กมาก่อนทั้งนั้น เคยใสซื่อบริสุทธิ์มาก่อน เคยรู้สึกถึงความกระจ้อยร่อยดูแลตนเองไม่ได้ แต่พอโตขึ้นกลับกลายเป็น… ทำครอบครัวเป็นอย่างนี้ ทำสังคมให้เป็นอย่างนี้ ทำประเทศชาติซะจนเป็นอย่างนี้

อ่านต่อ »


อธิบายสังคมด้วยลักษณะของโฮลอน

อ่าน: 7163

วันนี้ได้คุยกับจอมป่วน ท่านพูดถึงโฮลอนขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง จำได้ว่าท่านพูดถึงครั้งแรกเมื่อปีหรือสองปีก่อน ซึ่งตอนนั้นองค์กรเคออดิกกำลังฮิต ผมก็ไปค้นแล้วครับแต่ไม่ได้เขียน วันนี้เจออีก เลยเอามาเขียนดีกว่า จะผิดหรือถูก เชิญพิจารณาเองครับ

โฮลอน (Holon) เป็นศัพท์ปรัชญาหมายถึงการเป็นทั้งหมดและเป็นส่วนหนึ่งของทั้งหมดในขณะเดียวกัน อ.สุวินัย เรียกว่า “หน่วยองค์รวม” และได้อธิบายความไว้ที่นี่ (ข้ามส่วนอภิปรัชญาไปก็ได้นะครับหากว่าคิดว่าไม่เกี่ยว)

ในความเป็นส่วนหนึ่งของทั้งหมดนั้น โฮลอนมีลักษณะที่เป็นเอกเทศ ไม่เหมือนใคร มีอิสระในตัวของตัวเอง และครบถ้วนบริบูรณ์ในตัวเอง

เช่นร่างกายก็มีอวัยวะต่างๆ แขน ขา ปาก จมูก สมอง ตา หู ตับ ไต ลำใส้ ม้าม ปอด หัวใจ หลอดเลือด กระดูก ฯลฯ ต่างก็มีหน้าที่ของตัวเอง อยู่ร่วมกันเป็นร่างกายโดยที่อวัยวะต่างๆ ไม่ได้เหมือนกันเลย และอวัยวะอื่นจะมาทำแทนก็ไม่ได้ แถมมีใส้ติ่งที่แม้ไม่ได้ทำหน้าที่อะไรเลย แต่ก็ไม่ทำให้ร่างกายเดือดร้อน ก็ยังแฝงอยู่ในร่างกายได้โดยร่างกายไม่ได้ขับออกไป (แต่เมื่อไรที่อักเสบ ต้องโดนเจี๋ยนทิ้งไป)

ไม่ว่าร่างกายจะขยับไปไหน อวัยวะต่างๆ ก็ขยับไปทางนั้นด้วย ประหนึ่งว่าการขยับนั้นเป็นการขยับของหน่วยเดียว — อวัยวะต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย ในขณะเดียวกัน แต่ละอวัยวะก็เป็นทั้งหมดของหน้าที่ที่มันทำ ร่างกายเป็นโฮลอน อวัยวะก็เป็นโฮลอน อวัยวะประกอบด้วยเซล เซลประกอบด้วยโมเลกุล โมเลกุลประกอบด้วยธาตุ ธาตุประกอบด้วยอนุภาค อนุภาคประกอบด้วยอนุภาคพื้นฐาน อนุภาคพื้นฐานเกิด-ดับอยู่ตลอด แล้วแต่ว่าเราจะสังเกตมันหรือไม่ แล้วก็ไม่สำคัญว่ามันอยู่ในอนุภาคใด ในธาตุใด ในโมเลกุลใด ในเซลใด ในอวัยวะใด

อ่านต่อ »


เคารพความแตกต่าง

อ่าน: 5354

คำว่า เคารพความแตกต่าง นี้เป็นคำหรู ซึ่งเหมือนคำหรูทั่วๆ ไป คือจะมีการใช้ในความหมายที่แตกต่างผิดเพี้ยนออกไป หลายครั้งที่ความหมายเหล่านี้ขัดแย้งกันเอง แต่คงไม่บ่อยนักที่เราจะพบคำคำเดียวที่มีความหมายขัดแย้งกันเอง… เป็นไปได้หรือไม่ว่าเราใช้โดยไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำ

การเคารพความแตกต่าง ในเชิงวิชาการเลี้ยงเด็ก(ฝรั่ง) อธิบายไว้มากมาย [Respecting differences] ประเด็นที่ผมหยิบเอามาเขียนคือ

  • ฝรั่งถือว่าเรื่องนี้เป็นส่วนของ self-esteem “สอน” กันในระดับอนุบาลถึงเกรด 2 (ป.2) เกินกว่านั้น…อืม…สายไปเสียแล้ว
  • การเคารพความแตกต่าง เป็นการรู้เท่าทันอคติของตน ไม่รีบร้อนตัดสินผู้อื่น(ไว้ก่อนหรือโดยไม่รู้เรื่อง) ฟังความและพิจารณารอบด้าน อดทน อดกลั้น เคารพในอิสระของผู้อื่น เคารพในความเป็นมนุษย์ว่ามีเกียรติ มีศักดิ์ศรีเหมือนกัน และสามารถมีความเห็นของตนได้(แม้ไม่เหมือนกับความเห็นของเรา) ทั้งหมดนี้ประกอบกันเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกลักษณะของแต่ละคน
  • การเคารพความแตกต่างนั้น ใช้ความเคารพตัวเอง เคารพผู้อื่น ความกล้าหาญ และใช้ความเป็นตัวของตัวเองเป็นอย่างสูง ถ้าเคารพความแตกต่างจริง จะไม่เกิดความไม่พอใจ ก็แค่ความเห็นไม่ตรงกันเท่านั้นเอง; อันนี้ต่างกับคับข้องใจจนพยายามจะเปลี่ยนความเห็นของผู้อื่นให้เป็นเหมือนกับเรา ซึ่งใช้อัตตาเป็นอย่างสูง
  • เมื่อเราพบความแตกต่าง น้อยครั้งนักที่จะเข้าใจว่านั่นเป็นเพียง “ความเห็น” ที่แตกต่างต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง; ที่มักเป็นเรื่องขึ้นมา ก็เพราะเราดันไปยึดความเห็นของตัวเราเองว่าถูกต้อง (คนอื่นจึงผิด) แล้วแถมยังไม่สำเหนียกอีกว่าตัวเราเองนั่นแหละที่ไม่เคารพความแตกต่าง อัตตาใหญ่ จึงบังความเห็นอื่นที่แตกต่างจนมิด
  • คงไม่มีใครเคยพบคนที่ถูกต้องอยู่ตลอดเวลาหรอกนะครับ แล้วเคยย้อนคิดบ้างไหมว่าตัวเราถูกต้องตลอดเวลาหรือ ทำไมความเห็นของเราจึงถูกต้องตลอดเวลาในขณะที่ความเห็นที่แตกต่างจึงต้องผิดด้วยล่ะ
  • การเคารพความแตกต่าง ไม่ใช่การเห็นด้วยกับทุกคนเหมือนคนคิดไม่เป็น-ไม่มีกระดูก
  • การเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับคนอื่น ไม่ได้ทำให้คุณค่าของตัวเราเพิ่มขึ้นหรือลดลง คุณค่าของตัวเราอยู่ที่เราทำอะไร เพื่ออะไร ได้ผลอย่างไรต่างหาก ไม่ได้อยู่ที่ว่าคนอื่นเห็น หรือว่าเห็นด้วยหรือไม่ ( โลกธรรม 8 )
  • การเป็นเสียงส่วนใหญ่ไม่ได้ทำให้ตัวเรามีคุณค่าเพิ่มขึ้น ผู้ที่มี self-esteem ต่ำจะ “รู้สึกไปเอง” ว่ามีคุณค่าสูงขึ้น เสียงส่วนใหญ่อาจผิดได้อย่างน่าสงสาร หากลากกันไป-ลากกันมา จนไม่มีใครรู้อะไรจริง; ในทำนองกลับกัน การเป็นเสียงส่วนน้อยก็ไม่ได้ทำให้คุณค่าของเราลดลง แต่ผู้ที่ self-esteem ต่ำจะรู้สึกไปเอง กลไกการปกป้องตัวเองมักทำให้แถเข้าไปสู่เสียงส่วนใหญ่หรือกระแส ด้วยความกลัวมากกว่าความรู้แจ้ง แล้วก็จะสร้าง “เหตุผล” ขึ้นมาปกป้อง “การตัดสินใจ” นั้นในภายหลัง ทั้งที่ไม่ได้พิจารณาตัดสินใจอะไรเลย (แล้วก็ไม่รู้ตัวด้วย)
  • สิทธิมนุษยชนสากล ข้อ 19: ทุกคนมีสิทธิที่จะมีความเห็นเป็นของตนเอง | สิทธินี้ไม่ได้รับรองการกระทำที่ผิดกฏหมายหรือกฏระเบียบของสังคม
  • To be one, to be united is a great thing. But to respect the right to be different is maybe even greater.” — ใครก็ไม่รู้กล่าวไว้

อ่านต่อ »


พระอรหันต์องค์ที่ ๗

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 10 December 2010 เวลา 2:12 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4536

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ละอาสวะ บรรลุอรหัตผลได้ นับเป็นพระอรหันต์องค์แรก ต่อมาเมื่อพระองค์แสดงปฐมเทศนาด้วยธรรมจักกัปปวัตนสูตร ท่านโกณฑัญญะ บรรลุอรหัตผล และขอบรรพชาเป็นพระภิกษุรูปแรก (ไม่ใช่อุปสมบท!) พระพุทธเจ้าแสดงธรรมต่อไป พระวัปปะและพระภัทธิยะ ละอาสวะได้จึงขอบรรพชา วันต่อมาทรงแสดงธรรมอีกจน พระมหานามะและพระอัสสชิ ละอาสวะได้และขอบรรพชา ในเวลานั้นจึงมีพระอรหันต์ 6 องค์คือพระพุทธเจ้า และปัญจวัคคีย์ แต่ยังทรงแสดงอนันตลักขณสูตรสอบทานความเห็นอีก

ในนครพาราณสี ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน มีเศรษฐีอยู่ท่านหนึ่ง เลี้ยงดูลูกชายแบบปรนเปรอบำเรอสุข ผู้บุตรนั้นชื่อยส เรียกว่ายสกุลบุตร เศรษฐีสร้างปราสาทให้ลูกชายสามหลังสำหรับฤดูร้อน ฝน หนาว อยู่แต่ในปราสาทได้ตลอดสี่เดือนโดยไม่ต้องย่างกรายออกมาเลย เรียกว่าอยู่อย่างบรมสุขมีรูมเซอร์วิสตลอดเลยก็ว่าได้ (ตามพระไตรปิฎก)

วันหนึ่งก็เกิดเรื่อง ยสกุลบุตรฟังการขับกล่อมจนหลับไป บรรดานางทาสีนอนทีหลัง กลิ้งเกลือกอะโกโก้ซกมกโดยไม่ดับไฟ ยสกุลบุตรตื่นขึ้นมา เจอภาพอล่างฉ่าง เป็นภาพที่ไม่น่าดูเลยตามสายตาของยสกุลบุตร จนกล่าวคำอุทานออกมาแปลเป็นไทยว่า ท่านผู้เจริญ ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ ว่าแล้วก็เดินออกนอกปราสาท ออกนอกเมืองไปทางป่าอิสิปตนมฤคทายวันที่พระพุทธเจ้าและปัญจวัคคีย์พำนักอยู่

พอเดินเข้าไปใกล้พระพุทธเจ้า ยสกุลบุตรเปล่งอุทานออกมาอีกว่า ท่านผู้เจริญ ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า ดูกรยส ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง มาเถิดยส นั่งลง เราจักแสดงธรรมแก่เธอ ยสกุลบุตรพอได้ยินว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง ก็รีบถอดรองเท้าทองเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค

อ่านต่อ »



Main: 0.054587125778198 sec
Sidebar: 0.29626083374023 sec