คนละไม้คนละมือ

อ่าน: 3274

เอาหนังต่อต้านคอร์รัปชั่นของอินเดียมาให้ดู เคยแปะไปในบันทึกเก่าอันหนึ่งในบล็อกนี้นานมาแล้ว แต่หาไม่เจอแล้วครับ

แม้หนังจะมีเป้าหมายที่การต่อต้านคอร์รัปชั่น ซึ่งดูจะไม่เกี่ยวกับเรื่องน้ำท่วมหรือภัยพิบัติเลย แต่ข้อความสำคัญคือเวลาจะทำเรื่องใหญ่ที่คนแต่ละคนคิดว่าทำไม่ได้ ไม่มีแรง ไม่มีอำนาจพอนั้น จะต้องรวมพลังกัน ร่วมกันทำ หาเป้าหมายร่วมกันให้ได้ มุ่งไปทางเดียวกัน แต่ต่างคนต่างทำในส่วนของตัวเอง เลือกทำเองครับ เลือกทำในส่วนที่ตนทำได้ดี ช่วยกันคนละไม้คนละมือ จึงจะเกิดการรวมพลังเพื่อเปลี่ยนแปลง

อ่านต่อ »


ไม่เตือนหรือไม่ร่วมมือกัน?!

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 11 November 2010 เวลา 15:02 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3903

เกิดคำถามและข้อตำหนิมากมาย ว่าทำไมจึงไม่มีการเตือนภัยล่วงหน้า

ปัญหานี้มีสองส่วนครับ ที่จริงแล้วมีการเตือนภัยล่วงหน้า แต่ว่าเตือนไม่ดังพอ ถ้าไม่ได้เฝ้าระวังสนใจติดตาม ก็ไม่ได้ยินกัน ส่วนคนที่ได้ยินนั้น บางทีก็ไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ถึงขนาดนี้ — เรื่องนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะในเมืองไทย ที่สหรัฐเอง ตอนที่พายุเฮอริเคน Katrina ขึ้นฝั่งที่เมืองนิวออลีนส์เมื่อปี 2548 ขนาดเขามีการพยากรณ์อากาศที่แม่นยำ และ FEMA ออกคำเตือน และสั่งอพยพแล้ว ก็ยังมีคนไม่เชื่อติดค้างอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ มากมาย — แต่ไม่ได้ยินว่ามีการเตือน Storm Surge ซึ่งเป็นที่ฮือฮากันอยู่พักหนึ่ง แล้วก็ลืมกันไป คราวนี้มีความเสี่ยง Storm Surge มากเพราะแนวพายุเลียบชายฝั่ง (เหมือน NARGIS 2008) แล้วเป็นช่วงวันเพ็ญ น้ำทะเลขึ้นสูง แต่ก็ไม่มีการเตือน Storm Surge

แต่เนื่องจากผมคลุกคลีศึกษาการทำงานของเจ้าหน้าที่ทางด้านนี้ ก็เห็นว่ามีข้อจำกัดอยู่มากมายในระบบราชการ ต่างกรมต่างกองต่างมีขอบเขตของหน้าที่อยู่อย่างชัดเจน เวลาออกไปทำนอกขอบเขตจะเป็นเรื่องใหญ่เสมอ แล้วใครจะเข้ามาช่วยก็ไม่ชอบ ดังนั้นแต่ละหน่วยจึงอยู่ในรั้วแคบๆ ไม่ซ้ำซ้อนหรอกครับ แต่แบ่งกันละเอียด ซอยย่อยจนแทบไม่มีหน่วยงานใดที่ได้ภาพที่มีความหมาย… แถมหน่วยงานที่มีความรู้พอจะเข้าใจ กลับไม่มีอำนาจ/หน้าที่ในการเตือน แปลกจริงๆ !!!

อ่านต่อ »


ครบหนึ่งเดือนอุทกภัยครั้งใหญ่

อ่าน: 4150

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานว่าอุทกภัยครั้งใหญ่เริ่มต้นมาตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2553 ที่จริงแล้ว อุทกภัยเกิดขึ้นในภาคเหนือก่อนหน้านั้นเป็นเวลากว่าเดือนหนึ่งมาแล้ว เป็นความเดือดร้อนจริงของชาวบ้านในพื้นที่ แต่ยังไม่ได้ขยายวงกว้างไปจนทั่วประเทศอย่างที่เป็นอยู่

ภาวะอุทกภัยยังดำเนินอยู่แม้จนปัจจุบัน

ตามรายงานของ ปภ.ที่ออกเมื่อค่ำวานนี้

ปัจจุบันจังหวัดที่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยทั้งสิ้น ๑๘ จังหวัด ๘๗ อำเภอ ๖๗๐ ตำบล ๔,๙๑๙ หมู่บ้าน ๔๗๔,๔๙๗ ครัวเรือน ๑,๔๒๑,๑๔๐ คน พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหาย ๖,๓๑๖,๑๕๖ ไร่ ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ นครราชสีมา ศรีสะเกษ สุรินทร์ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี นนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี

ระหว่างวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๓ ถึงปัจจุบัน มีจังหวัดประสบภัยทั้งสิ้น ๓๙ จังหวัด ๔๐๑ อำเภอ ๒,๙๕๒ ตำบล ๒๕,๖๑๘ หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน ๑,๙๕๔,๘๒๗ ครัวเรือน ๖,๘๔๖,๔๙๐ คน

จังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว จำนวน ๒๑ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ ระยอง จันทบุรี ตราด ตาก ชลบุรี ลำพูน เชียงใหม่ สระแก้ว นครนายก กำแพงเพชร พิษณุโลก หนองบัวลำภู ปราจีนบุรี สมุทรปราการ นครปฐม อุทัยธานี บุรีรัมย์ ฉะเชิงเทรา และจังหวัดชัยภูมิ

น่าจะเป็นโอกาสที่จะหยุดอินกับสถานการณ์สักพัก เอาตัวไปอยู่ในวงโคจร แล้วมองย้อนกลับไปสู่ปัญหาตามที่มองเห็นสักครั้งหนึ่ง

อ่านต่อ »


ภาพมุมสูง: วิธีสร้างและวิธีใช้

อ่าน: 4062

การประชุมเมื่อวานนี้ @iwhale พูดถึงเรื่องภาพถ่ายมุมสูง เรื่องนี้ สามอาทิตย์ก่อน ผมเคยตีฆ้องร้องป่าวบ้าบอขนาดขอเครื่องบินทหารบินถ่ายรูปด้วยซ้ำไป

ปัญหาคือการรับการร้องขอความช่วยเหลือเป็นการทำงานแบบ reactive (แต่ก็จำเป็นต้องทำ) ทีนี้หากผู้ประสบภัยถูกตัดขาด ติดต่อโลกภายนอกไม่ได้ล่ะก็ แย่เลย

ถ้าจะทำแบบ pro-active ก็ควรจะรู้ว่าขอบเขตของน้ำท่วม อยู่แค่ไหน มีประชากรอยู่ตรงนั้น (และน้ำยังท่วมอยู่) กี่คน จะได้เตรียมความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม ไม่มากไปจนเหลือทิ้งเปล่า ไม่น้อยใปจนทำให้ชุมชนแตกแยก; ช่วยให้กำหนดเส้นทางเข้าพื้นที่; ช่วยให้กำหนดจุดตั้งคลังของความช่วยเหลือในพื้นที่ อันจะเพิ่มความถี่ในการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ​ (สทอภ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องความรู้ทายภาพถ่ายจากดาวเทียม และได้ตั้งเว็บไซต์ flood.gistda.go.th ขึ้นมา เว็บไซต์นี้ แสดงภาพถ่ายดาวเทียมที่มีรายละเอียดพอสมควร ใช้งานได้

อ่านต่อ »


เมื่ออาสาสมัครบาดเจ็บ

อ่าน: 3333

เมื่อตอนเย็น มีการประชุมการประสานงานเครื่องข่ายรับภัยน้ำท่วม ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีท่านอาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นประธานในที่ประชุม

มีองค์กรพัฒนาเอกชนมาร่วมอย่างอุ่นหนาฝาคั่งเช่นเคย ได้เจอหน่วยกล้าตายที่บุกลงพื้นที่มากมาย คราวนี้ @1500miles ไม่มาครับ แต่ภรรยานั่งอยู่ติดกัน เม้าธ์กระจาย

อ่านต่อ »


น้ำท่วมขัง (1)

อ่าน: 5603

เขียนเรื่องนี้มาหลายครั้งแล้วครับ เขียนอีกก็ไม่เป็นไร เป็นเหมือนสิทธิ์ของ สว.ที่บ่นได้โดยผู้คนไม่ถือสา (ถึงถือสาผมก็ไม่ได้ยินอยู่ดี แล้วผมเขียนไว้ในบล็อกของผมเฉยๆ มาอ่านกันเองนะ)

น้ำท่วมนั้น เกิดจากอัตราที่น้ำไหลเข้าพื้นที่มากกว่าน้ำไหลออก เมื่อเข้ามามากแล้วออกไปได้น้อย ปริมาตรของน้ำที่อยู่ในพื้นที่นั้น ก็ยกตัวเอ่อขึ้นพ้นตลิ่ง อปท.ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ ตลอดจนชาวบ้าน และหน่วยราชการ ไม่ยืนดูเฉยๆ หรอกนะครับ เขาก็พยายามป้องกันพื้นที่ไม่ให้น้ำท่วมเหมือนกัน มีถนนเป็นแนวป้องกันหลักเสมอ

เรื่องนี้มีผลข้างเคียง กล่าวคือเมื่อน้ำมีปริมาณมาก จนท่วมข้ามแนวป้องกันมาแล้ว ทีนี้น้ำไหลไปไหนไม่ได้ จะเห็นได้จากภาพข่าวโทรทัศน์ ว่าภาคเหนือตอนใต้กับที่ราบลุ่มภาคกลางที่ประสบอุทกภัยอยู่ในเวลานี้ น้ำไม่ค่อยไหลไปไหน พอน้ำไม่ไหลประกอบกับท่วมไร่นา พืชที่จมน้ำก็เน่า ทำให้น้ำเริ่มเน่าอีกต่อหนึ่ง

อ่านต่อ »


น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม (1)

อ่าน: 5274

รู้สึกติดใจกับโศกนาฏกรรมอันโหดร้ายที่เหลียวมองไปรอบตัวมีแต่น้ำ แต่ดื่มไม่ได้ ต้องขนน้ำมาจากระยะไกลหลายสิบ หลายร้อยกิโลเมตร

คืนนี้พักจากการเขียนโปรแกรม ก็เลยค้นเน็ตดูว่ามีวิธีแก้ปัญหาน้ำดื่มในเขตภัยพิบัติในประเทศอื่นบ้างหรือไม่ เลยไปเจอวิธีหนึ่ง เรียกว่า Ceramic Water Filter ครับ เรียก Ceramic Filter ฟังดูดี มีชาติสกุล เหมือนใช้ความรู้สูงด้วยนะ ที่จริงแล้วสร้างได้ไม่ยากหรอกครับ เพราะ Ceramic Filter นี้คือดินเผานั่นแหละ รูปร่างเหมือนกระถางต้นไม้แต่ไม่เจาะรูระบายน้ำที่ก้น

หลักการก็ง่ายๆ ครับ ดินเผาไม่ได้แน่นเป็นเนื้อเดียวไปหมด มันมีช่องว่างเล็กจิ๋วขนาด 0.6-3 ไมครอนที่น้ำซึมผ่านได้  ดังนั้นก็จะกรองสารแขวนลอยต่างๆ เช่นดิน ซากพืช ซากสัตว์ที่มากับน้ำ

ใช้แกลบป่นละเอียด 20% กับดินเหนียว 80% ผสมกัน 10 นาทีจนเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นผสมน้ำอีกเท่าตัวโดยปริมาตร ปั่นรวมกันไปอีก 10 นาทีก่อนนำไปปั๊มขึ้นรูป แล้วก็ผึ่งไว้ให้แห้งก่อนส่งเข้าเตาเผา

ขั้นตอนการเผา มีการไล่น้ำโดยเผาที่ 100°C ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วก็ค่อยๆเร่งเป็น 866°C กระบวนการเผาทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 9 ชั่วโมง แล้วก็ต้องปล่อยให้เตาค่อยๆ เย็นลงเองอีกประมาณ 24 ชั่วโมง

ฟิลเตอร์รูปกระถางต้นไม้ที่ได้ เอาไปแช่น้ำไว้สามชั่วโมงให้ดินเผาอิ่มน้ำ จากนั้นทดลองเติมน้ำจนเต็ม ทิ้งไว้หนึ่งชั่วโมงเพื่อวัดว่ากรองน้ำได้โอเคไหม ถ้าหากว่ากรองน้ำได้ไม่อยู่ในช่วงมาตรฐาน (มากหรือน้อยเกินไป) ก็จะถูกทำลายทิ้ง จากนั้นก็เทน้ำออก ผึ่งให้แห้ง เตรียมตัวสำหรับขึ้นต่อไป

อ่านต่อ »


ไอทีกับการจัดการภัยพิบัติ

อ่าน: 4096

ดูเผินๆ ไอทีมีลักษณะเสมือนจริงในแง่ที่ไม่ได้เกิดการกระทำในตัวเอง

ไอทีเป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น จะดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้เข้าใจเครื่องมือหรือไม่ และนำไปใช้ประโยชน์ได้แค่ไหน ยกตัวอย่างเช่นเอาฆ้อนไปตอกตะปู ก็จะใช้งานได้ดีมีประโยชน์ แต่ถ้าเอาฆ้อนไปพรวนดิน ถึงจะทำได้ก็จะดูแปลกๆ ไปสักหน่อยนะครับ

ภัยพิบัติทุกครั้งแตกต่างกันเสมอ ทั้งสาเหตุ ผู้ประสบภัย ระยะเวลา พื้นที่ประสบภัย ความเสียหาย ความหนักหนา ทรัพยากร อาสาสมัคร ฯลฯ ยิ่งกว่านั้น การจัดการบรรเทาทุกข์และฟื้นฟูจากภัยพิบัติ ก็เป็นภัยพิบัติในตัวเองเสมอๆ เนื่องจากมีคนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งที่มีหน้าที่โดยตรง ทั้งที่มาด้วยจิตอาสา ในเมื่อต่างคน ต่างฝ่าย ต่างมีความรู้ความชำนาญที่แตกต่างกัน เรื่องเดียวกัน ก็จะมีมุมมองและวิธีการที่แตกต่างกัน ในเวลาที่ชาวบ้านทุกข์ยาก ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ไม่ใช่เวลาที่จะมากล่าวโทษหรือพิพากษาใครหรอกนะครับ เราต้องไม่ลืมว่ากำลังมีคนที่เดือดร้อนแสนสาหัสอยู่

ดังนั้นการประสานงานก็จะโกลาหลอยู่เป็นธรรมชาติ อาจจะต้องอาศัย connection ส่วนตัวกันมากหน่อย หรือไม่ก็ต้องอาศัยการระดมสรรพกำลังมาช่วยงานกัน ซึ่งจำนำไปสู่ความขลุกขลักต่างๆ อีกมากมาย — เรื่องนี้ไม่มีใครบ่นหรอกครับ เพราะว่าคนที่มาช่วยกัน ต่างก็ทนเห็นชาวบ้านเดือดร้อนโดยไม่ลงมือทำอะไรสักอย่างไม่ได้กันทั้งนั้น

แต่ว่ามันจะดีกว่าหรือไม่ หากมีเครื่องมือที่ช่วยทำให้การประสานงานส่งความช่วยเหลือลงพื้นที่ เป็นไปอย่างที่มีระบบมากขึ้น บันทึกนี้พยายามจะเขียนแนวคิดของการจัดการในเชิงระบบ ที่เชื่อว่าน่าจะจำเป็นสำหรับระยะฉุกเฉินนี้ครับ ขอมองอย่าง “คนนอก” ไม่อย่างนั้นเวลาลงไปคลุกแล้ว ผมจะเมาหมัดคือจะใช้ทุกอย่างเท่าที่มี แล้วมองข้ามสิ่งที่ควรมีแต่ไม่มีไปครับ

อ่านต่อ »


น้ำท่วม ข้อมูลก็ท่วมด้วย

อ่าน: 4304

คำว่า Information Overload เป็นคำที่ Alvin Toffler นำมาใช้จนแพร่หลาย เมื่อเขาเริ่มบรรยายถึงสังคมแห่งข่าวสารเมื่อ 40 ปีก่อน

อาการ Information Overload เกิดขึ้นเมื่อมีปริมาณข้อมูลหลั่งไหลเข้ามาจนประมวลไม่ทัน คืออ่านอย่างหาความหมาย แล้วคิดต่อจนรู้ว่าจะต้องทำอะไรต่อไม่ทัน

มีอีกคำหนึ่งคือ Sensory Overload ซึ่งน่าจะตรงกว่าสำหรับคำว่า “รับไม่ไหว” มากกว่า

ในเมื่อรับไม่ไหว มันก็ไม่ไหวล่ะครับ คนที่เจออาการ Information Overload เข้าบ่อยๆ เขามักข้ามไปเลย ซึ่งอันนี้กลับเป็นปัญหาอีกอย่างหนึ่ง คืออาจจะพลาดข่าวสารสำคัญ

ในปัจจุบัน มีสถานการณ์วิกฤตอุทกภัยเกิดขึ้นทั่วประเทศ เครื่องมือสื่อสารก็มีมากขึ้นเยอะ ทำให้ข้อสนเทศ​ (data) และสารสนเทศ​ (information) หลั่งไหลเข้าสู่เครือข่ายสังคม มากน้อยแล้วแต่ความป๊อบ

แต่ถ้าเป็นศูนย์รวมเช่น #thaiflood hash tag หรือเว็บไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับน้ำท่วม คนที่เฝ้าติดตาม อาจจะเจอ Information Overload ได้ — เมื่อวานผมเดี้ยงไป พอตื่นขึ้นมา เจอข้อความใน #ThaiFlood ห้าพันข้อความ เอื๊อก…

อ่านต่อ »


งานอาสาสมัครกับ Crowdsourcing

อ่าน: 4188

ในบางกรณี อาจจัดงานอาสาสมัครเป็น Crowdsourcing ได้ในแบบหนึ่ง

Crowdsourcing เป็นฝูงชนอิสระที่มีพลัง (แต่ตัวคนเดียวไม่มีพลังพอ) ที่ทำให้ความเห็นเล็กๆ การกระทำเล็กๆ กลายเป็นสิ่งที่มีค่า — ทั้งนี้เป็นเพราะคนแต่ละคนแตกต่างกัน จึงเลือกทำอย่างที่ตนทำได้ดี เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน เช่น Wikipedia ซึ่งแต่ละคนเขียนสิ่งที่ตนรู้ และถูกตรวจสอบโดยคนอื่น ไม่มีใครเขียน Wikipedia ทุกเรื่อง ไม่มีใครทำทุกเรื่อง หรือพยักหน้าหงึกๆ กับทุกเรื่อง แต่ทั้งหมดร่วมกันสร้าง Wikipedia ให้เป็น Wikipedia; ในมุมหนึ่ง ก็เป็นการก้าวข้ามลักษณะพวกมากลากไป ทำอะไรเหมือนกันไปหมดทุกคน หรือมีขาใหญ่ที่รู้ไปหมดแล้วสั่งลูกเดียวไม่ฟังใคร

อ่านต่อ »



Main: 0.28897500038147 sec
Sidebar: 0.48542213439941 sec