ข้อมูลอุทกภัย

อ่าน: 3429

อุทกภัยครั้งนี้ เกิดความเสียหายหนักเป็นวงกว้าง เนื่องจากเกิดฝนตกหนักในลุ่มน้ำหลายแห่งพร้อมกัน ทั้งลุ่มน้ำป่าสัก มูล ชี สะแกกรัง เจ้าพระยา และท่าจีน

เนื่องจากมีผู้ประสบภัยกระจายอยู่ใน 38 จังหวัด แม้ในขณะที่เขียนบันทึกนี้ มีจังหวัดที่ยังคงมีสถานการณ์อยู่ 22 จังหวัด ก็ไม่ได้หมายความว่าพื้นที่ที่น้ำเคยท่วมใน 16 จังหวัดที่ไม่มีน้ำท่วมแล้ว จะกลับสู่ภาวะปกติ ที่จริงความช่วยเหลือในพื้นที่เหล่านี้ จะเปลี่ยนจากการช่วยให้มีชีวิตรอดปลอดภัย ไปเป็นการฟื้นฟูและสร้างชีวิตขึ้นมาใหม่ อีกทั้งจังหวัดซึ่งอยู่ในเส้นทางน้ำไหลซึ่งยังไม่ปรากฏในรายการ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัย

วันนี้ช่วงเช้า ผมเข้าไป วอร์รูมน้ำท่วมอีก ไปพบปะแลกเปลี่ยนกับทีมทำข้อมูลของ คชอ.มา วันนี้มาคุยกันเป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ ทีมทำข้อมูล EIS (Executive Information System) และ ไมโครซอฟท์ ทีมนี้พยายามจะรวบรวมข้อมูลเพื่อการตัดสินใจให้กับวอร์รูมน้ำท่วม มีบล็อคไดอะแกรมตามรูปทางขวา

มีทีมจาก ESRI ซึ่งมีข้อมูลเชิงแผนที่ (GIS) ที่มี base map และ layer จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อมูลนี้มีประโยชน์มาก เนื่องจากไฟฟ้าเข้าถึงตรงไหน ก็แปลว่ามีคนอยู่ตรงนั้น แต่ผมก็ไม่รู้ว่าเข้าไปดูได้อย่างไร

อีกทีมหนึ่งก็เป็น Change Fusion และ Opendream ซึ่งเป็นทีมที่ทำ pm.go.th/flood

ผมเห็นว่าข้อมูลใดที่ส่งให้วอร์รูม สาธารณชนก็ควรจะได้รับข้อมูลนั้นด้วยเช่นกัน ในเวลานี้เนื่องจากมีผู้ประสบภัยเป็นจำนวนมาก และผู้ประสบภัยบางส่วน ก็ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย ดังนั้นน่าจะระดมสรรพกำลังทั้งจากภาครัฐและเอกชนไปช่วย แต่หากไม่มีข้อมูลว่าพื้นที่ใดต้องการความช่วยเหลือแบบไหนแล้ว ความช่วยเหลือก็จะขาดความแม่นยำไป บางพื้นที่อาจได้มากเกินไปหรือได้ในสิ่งที่ไม่จำเป็น แต่บางพื้นที่อาจมีความช่วยเหลือน้อยเกินไป

อ่านต่อ »


แจกแผนที่ระดับน้ำ

อ่าน: 4495

แผนที่นี้อาจไม่สวย และไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับเวลานี้ แต่ในอนาคต แม้ไม่เพิ่มอะไรเลย ก็จะใช้ดูได้ว่าตรงไหนน้ำล้นตลิ่งครับ เนื่องจากข้อมูลทั้งหมด มาโดยโปรแกรม ดังนั้นก็เป็นไปได้ ว่าถ้าระดับน้ำสูงใกล้ขอบตลิ่ง ก็จะเตือนให้เริ่มเฝ้าดูได้

ผมทำแผนที่ที่ไม่สวยอันนี้ออกมา ก็เพื่อให้เว็บอื่น หน่วยงานอื่น ใช้ข้อมูลเดียวกันได้ ถ้าจะเอา code Google Maps ไปแปะเว็บ ก็คลิกรูปข้างล่าง แล้ว View source เอาเองนะครับ เป็น Google Maps JavaScript API V3 ซึ่งไม่ต้องใช้ API Key อีกแล้ว

ถ้าใช้กับ Google Earth โหลด Network Link จาก kml file อันนี้ อย่างไรก็ตาม อาจเป็นเพราะ kml file มีจุดและข้อมูลอยู่มาก เวลาคลิกดูข้อมูลละเอียด จึงช้าจนน่าหงุดหงิดครับ

อ่านต่อ »


สันติไมตรี

อ่าน: 7548

ครั้งหลังสุดที่ไปตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล คงจะเป็นตอนที่ไปฟังบิล เกตส์พูดอะไรสักอย่างเมื่อหลายปีก่อน มาวันนี้เข้าไปอีกครั้ง เพื่อไปแลกเปลี่ยนความรู้ ช่องทาง และประสบการณ์กับทีมข้อมูลของ ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย ด้วยหวังว่าจะช่วยให้การตัดสินใจจากฝั่งของรัฐ เป็นไปด้วยความถูกต้อง ฉับไว เพื่อบรรเทาทุกข์ ประคับประคอง และฟื้นฟูชีวิตของผู้ประสบภัย

เขียนบ่นไว้ในบันทึกที่แล้ว เรื่องการกระจายอำนาจ กระจายทรัพยากรออกไปช่วยพื้นที่ต่างๆ ทั้งที่ประสบภัยแล้ว และกำลังจะประสบภัย พอไปคุยกันนี้ก็ได้ข้อมูลใหม่จาก “คนนอก” ที่เข้าไปช่วย (ไม่ใช่คนที่เกี่ยวข้องกับรัฐหรือรัฐบาล) ว่าที่จริงรัฐบาลพยายามทำอย่างนั้นอยู่แล้ว เพียงแต่ติดขัดระเบียบราชการ ซึ่งเขียนไว้แน่นปั๋งเหมือนกำแพง มีตัวอย่างจริงคือเทศบาลแห่งหนึ่งทางภาคเหนือ ส่งเครื่องมือมาช่วยสร้างคันดินในภาคกลาง กลับมีปัญหากับหน่วยงานตรวจสอบทันที เนื่องจากอยู่นอกขอบเขตอำนาจ เรื่องนี้มีวาระจะเข้าคณะรัฐมนตรีเพื่อผ่อนคลายระเบียบในการประชุมครั้งหน้า ทรัพยากรของทางภาครัฐ กระจายออกพื้นที่ที่ยังไม่กระทบเพื่อเตรียมรับสถานการณ์ การระดมทรัพยากรกลับมาช่วยพื้นที่ที่กำลังได้รับผลกระทบ จึงขลุกขลักอยู่บ้าง… เรื่องนี้เป็นบทเรียนว่าแม้แต่ความจริง ก็มีหลายมุมมอง หากไม่เข้าใจ ควรถาม ไม่ใช่คิดเอาเอง [แต่บันทึกที่แล้ว ผมไม่ลบหรอกนะครับ]

ปัญหาของการบูรณาการข้อมูลนั้น หลักๆ ก็คือเป็นเรื่องที่ต้องเตรียมการล่วงหน้า

การบูรณาการข้อมูลไม่ใช่การนำข้อมูลทุกอย่างมารวมไว้ในที่เดียวกัน แต่เป็นการนำข้อมูลที่มีความหมาย ไปสู่ผู้ตัดสินใจ เพื่อที่การตัดสินใจนั้น จะเกิดประโยชน์ต่อชาวบ้าน เรื่องนี้ไม่ยากแต่ค่อนข้างสับสน เนื่องจากข้อมูลกระจัดกระจายอยู่คนละกรมกอง มีกันคนละนิด ต่างคนต่างทำ จึงไม่มีภาพใหญ่ที่ควรจะมี (PMOC) พอเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉิน ต่างคนต่างระดมส่งข้อมูลมา ทำให้ย่อยไม่ไหว หาความหมายไม่ทัน กลายเป็นปัญหาอีกอย่างหนึ่ง น้ำท่วมที่ศูนย์บรรเทาอุทกภัย

อ่านต่อ »


คชอ.ภาคประชาชน

อ่าน: 3379

รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการกำกับติดตามช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (คชอ.) ขึ้นดูแลประสานงานการช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบอุทกภัย — อันนี้ไม่ว่าอะไรหรอกครับ ด้วยโครงสร้างในระบบราชการ ก็จะต้องมีอะไรทำนองนี้แหละ; พวกเราชาวบ้านทั่วไป เรียนรู้จากประสบการณ์มาตั้งแต่เกิด มักจะมีความเห็นวิพากษ์วิจารณ์กันสนุกปาก สนุกนิ้วไปต่างๆ นานา ไม่ว่ารัฐบาลไหนก็อย่างนี้แหละ — น่าเสียดายที่เรามักไม่ค่อยเรียนรู้ข้อจำกัดของระบบราชการ และเรารอคอยความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ซึ่งก็คงจะ too little too late ตามเคย (ว่าแล้วผมก็คาดเดาซะเอง… เฮ้อ)

ระบบการสั่งการของรัฐบาลหรือองค์กรขนาดใหญ่ มีปัญหาแบบเดียวกัน คือผู้ที่อยู่บนยอดดอย เห็นภาพใหญ่ แต่มักจะเผลอออกคำสั่งโดยละเอียด ซึ่งกลับไม่เกิดประโยชน์ต่อพื้นที่ที่อยู่กันคนละบริบท ผู้ที่อยู่ระดับสูงควรกระจายอำนาจการตัดสินใจ จัดสรรทรัพยากรลงไปยังพื้นที่ ให้อำนาจการตัดสินใจ ไว้ใจ สั่งการจากหน้างาน จากคนที่เข้าใจสถานการณ์และข้อจำกัดในพื้นที่ ติดอาวุธให้เขา ให้โอกาสเขาทำงานได้อย่างที่ควรจะทำ — ข้อมูลที่เขาส่งขึ้นไป เวลาประดังกันมาจากหลายพื้นที่ ก็จะถูกกรอง ถูกจัดหมวดหมู่เข้าไปในภาพใหญ่ ทำให้สถานการณ์ฉุกเฉินมักจะไม่ได้รับการแก้ไขหรอกครับ (แต่ต้องรายงานนะ) ธรรมชาติของการรวบรวมเป็นอย่างนั้นเอง

คชอ.จึงควรดูเรื่องกำกับทิศทาง-ตรวจสอบ-จัดสรรทรัพยากร มากกว่าสั่งการครับ — คราวสึนามิสั่งละเอียดไปหน่อย อาจเป็นเพราะเกิดขึ้น 21 วันก่อนการเลือกตั้งใหญ่

อ่านต่อ »


ปั๊มน้ำกู้ชาติ

อ่าน: 23045

น้ำท่วมใหญ่ นอกจากเสียหายในวงกว้างแล้ว ยังเป็นไปตามสภาพภูมิประเทศด้วย แผ่นดินไทยไม่ได้เรียบแบนแต๊ดแต๋ แต่มีความลาดเอียงแม้ในเขตที่ราบลุ่ม มีคันนา ถนน คูคลอง เนินเขา ภูเขา มีอาคารบ้านเรือนขวางทางน้ำอยู่ ทำให้น้ำไหลไม่สะดวก การที่น้ำปริมาณมากไหลไปไม่สะดวก ทำให้น้ำยกตัว เอ่อขึ้นล้นตลิ่ง ท่วมเทือกสวนไร่นานและบ้านช่องของชาวบ้าน

น้ำท่วมจะผ่านไปในที่สุด แต่บริเวณที่น้ำท่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นแอ่ง เป็นกะทะ จะยังมีน้ำขังอยู่ ซึ่งจะต้องระบายออก นอกจากนี้ เมื่อน้ำไหลผ่านจากพื้นที่หนึ่งไปยังปลายน้ำ พื้นที่ตามเขื่อนดิน เขื่อนกระสอบทราย ที่ใช้ป้องกันน้ำท่วม จะมีรั่วซึมได้บ้างเป็นธรรมดา บ้านเรือนร้านค้าที่ทำเขื่อนกั้นน้ำเอาไว้ ก็อยู่ในสถานการณ์เดียวกันครับ

เวลาพูดถึงการสูบน้ำออก เรามักจะนึกถึงเครื่องยนต์ ถ้ามีอยู่แล้ว จ่ายค่าพลังงาน/มีพลังงานให้ซื้อได้ ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าไม่มี ลองทำปั๊มกำลังคนดูไหมครับ ใช้ท่อพีวีซีกับวัสดุเหลือใช้ก็พอ

อ่านต่อ »


ความเป็นธรรมเรื่องพื้นที่น้ำท่วม

อ่าน: 4659

คงไม่มีใครอยากให้น้ำท่วมหรอกครับ แต่มันก็ท่วมนะ การไหลของน้ำเป็นไปตามหลักง่ายๆ แต่ในสภาพพื้นที่กลับมีความซับซ้อนมากมาย

ทำไมน้ำท่วมปักธงชัย เพราะติดทางหลวงหมายเลข 304 เมื่อไหลว่าปักธงชัย ไปโชคชัย ก็ติดทางหลวงหมายเลข 24 อีก เมื่อน้ำไหลผ่านช่องแคบๆ ไปได้ช้า ก็จะยกตัวเอ่อขึ้นล้นตลิ่ง กลายเป็นน้ำท่วม

ทำไมไม่ปล่อยให้น้ำท่วมกรุงเทพบ้าง

(ยังไม่รู้เลยว่าจะท่วมหรือไม่) รอบๆ กรุงเทพก็ถนนเยอะเช่นกัน เยอะที่สุดในประเทศเลยก็ว่าได้ อันที่ทำให้กรุงเทพเป็นไข่แดงที่น้ำ(ยัง)ไม่ท่วมคือทางหลวงหมายเลข 9 ซึ่งเรียกว่าถนนวงแหวนรอบนอก แม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งนำน้ำลงมาจากทางเหนือนั้น เจอคอขวดแถวอยุธยา กล่าวคืออัตราการไหลของน้ำเหลือน้อยลง จากไหลได้ ~3,000 ลบ.ม./วินาที เหลือเพียง ~2,000 ลบ.ม./วินาที ถ้าอัตราการไหลของน้ำไม่เกิน 2,000 ลบ.ม./วินาที น้ำก็ไม่ล้นตลิ่งที่อยุธยา

แต่น้ำเหนือหลากมาเร็วกว่านั้นมาก บางวันถึง 4,000 ลบ.ม./วินาที น้ำในปริมาณมากนอกจากล้นตลิ่งแล้ว ยังดันน้ำที่อยู่เหนือขึ้นไปด้วย ทำให้น้ำยกตัวล้นตลิ่งเหนือขึ้นไป ดังที่ปรากฏเป็นเหตุอุทกภัยใหญ่ในขณะที่เขียนนี้

[หากใครยังไม่ได้ดู ก็ขอให้แวะดู Google Maps ซึ่งเพิ่งจะอัพเดตภาพถ่ายจากดาวเทียมเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อให้เห็นขอบเขตของความเสียหาย]

ทีนี้มาดูแผนที่เหนืออยุธยา เมื่อแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน อ.ป่าโมก อ่างทอง ลงมาถึง ต.โผงเผง อ.ป่าโมก แม่น้ำไหลไปทางตะวันออกไปยังตัวจังหวัดอยุธยา แต่มีคลองใหญ่แยกออกไปทางตะวันตกเข้าสู่โครงการชลประทานเจ้าเจ็ด-บางยี่หนอีกเส้นหนึ่ง [น้ำมาก ก็เป็นปัญหาอีก] เมื่อน้ำล้นตลิ่งฝั่งตะวันตกแล้ว มันจะไม่ไหลกลับข้ามแม่น้ำมาท่วมกรุงเทพฝั่งตะวันออกหรอกครับ น้ำไหลไปตามภูมิประเทศของพื้นที่

อ่านต่อ »


แผนที่สถานการณ์น้ำท่วมอีกครั้งหนึ่ง

อ่าน: 4962

ทั้งๆ ที่บอกไว้ตลอดเวลา ว่าไม่อยากเขียนเรื่องเฉพาะกาล แต่ในเมื่อเขียนแล้วเป็นประโยชน์ ก็เกิดข้อยกเว้นได้ครับ (ถึงอย่างไรก็บล็อกของผม)

ตั้งแต่ทราบข่าวว่าน้ำเริ่มท่วมเมื่อแปดวันก่อน ผมก็เริ่มเช็คข้อมูล ยิ่งเช็คยิ่งตกใจ เขื่อนลำตะคองที่เหลือแค่ค่อนอ่างเมื่อสักสองอาทิตย์ก่อนหน้านั้น กลับเต็มล้นอย่างรวดเร็ว — เมื่อสามวันก่อน เขียนเรื่องแผนที่สถานการณ์ไว้อย่างฉุกละหุก เนื่องจากรับปากไว้ว่าจะไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในช่วง CrisisCamp ครับ วันนี้ได้นอนเต็มตาเป็นครั้งแรกในรอบหลายวัน พาแม่ไปซื้อของเผื่อว่าพอน้ำมา อาจจะออกจากบ้านไม่ได้หลายวัน หวังว่าเน็ตไม่ล่มนะครับ ยังไงก็จะรีบปั่นข้อมูลระดับน้ำก่อน เผื่อว่าจะออกไปไหนไม่ได้แล้วเน็ตล่มด้วย

จนเมื่อคืน พบข้อมูลดีมากจาก สทอภ. กระทรวงวิทยาศาสตร์ คือภาพถ่ายจากดาวเทียมหลายลุ่มน้ำ รูปรายละเอียดสูงขนาด 4.6k pixel อันนี้ ดีเป็นพิเศษ เนื่องจากมีรายละเอียดเพียงพอจะกำหนดขอบเขตที่น้ำท่วม ตลอดจนหาเส้นทางที่จะนำความช่วยเหลือเข้าไปในพื้นที่ — สำหรับภาพจากดาวเทียม หนึ่ง pixel มีขนาด 101 x 101 ม. หมายความว่าถ้าน้ำท่วมเต็มพื้นที่ขนาด 101 x 101 เมตร เราก็จะเห็นสีฟ้า แสดงว่าตรงนั้นท่วมอย่างแน่นอน ส่วนถ้าท่วมไม่เต็มกริด ก็ไม่แน่ครับ แล้วแต่คนแปลความหมาย — ภาพอื่นๆ ก็มีครับ แต่ทำเป็น thumbnail ขนาด 1k pixel ซึ่งไม่มีรายละเอียดเพียงพอที่จะนำไปใช้บรรเทาทุกข์ครับ

อ่านต่อ »


กระสอบทราย

อ่าน: 6879

เมื่อสักครู่ ผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือกันมานานโทรมาขอความเห็น ได้เรียนท่านไปว่า thaiflood.com มีข้อมูลที่ดีที่สุดในเวลานี้ ส่วนทวิตเตอร์ ขอให้ตามอ่านใน #thaiflood (แต่ในนั้นก็น้ำท่วมเช่นกัน เนื่องจากมีปริมาณข้อความมากมาย); ให้ข้อมูลเรื่องเรือ และเครื่องเรือ+หางเสือ เล่าถึงสถานการณ์ในพื้นที่ที่มีการตัดไฟฟ้าเนื่องจากน้ำท่วมสูง ว่าโทรศัพท์มือถือน่าจะแบตหมดไปแล้ว การที่สามารติดต่อกับคนที่รักได้ จะช่วยลดความเครียด ความท้อแท้สิ้นหวังลงได้บ้าง แถมยังสามารถใช้ติดต่อขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินได้อีก

จึงเสนอให้ส่งแบตเตอรี่รถยนต์ 12V เข้าไปตามหมู่บ้านที่ถูกตัดขาด และไม่มีไฟฟ้าส่งไปเช้า พอเย็นก็ตามไปเก็บกลับมาชาร์ต พรุ่งนี้ไปที่อื่นต่อชาวบ้านก็จะชาร์ตแบตมือถือได้ ท่านบอกว่างั้นส่งอินเวอร์เตอร์ปั่นไฟเป็น 220V ไปด้วย ให้ใช้เครื่องชาร์ตของตัวเอง ทุกคนที่มีมือถือชาร์ตไฟจากปลั๊กไฟบ้านได้ แต่ถ้าเอาแบตเตอร์รี่รถยนต์ชาร์ตเข้ามือถือ จะมีปัญหาทั้งเรื่องสายต่อและเรื่องแรงดันแบตมือถือแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อที่ไม่เท่ากัน เมื่อชาร์ตแบตมือถือแล้ว จะได้ส่งข่าวถึงผู้ที่ห่วงใยได้ ชาร์ตเสร็จแล้วแบ่งคนอื่นในหมู่บ้านชาร์ตบ้าง

ค น ห นึ่ ง ค น . . . จ ะ ท ำ อ ะ ไ ร ไ ด้

เมื่อคืนค้นข้อมูลเรื่องการควบคุมน้ำท่วม พบว่าในต่างประเทศมีวิธีการสร้างกำแพงกั้นน้ำแบบชั่วคราว ที่สร้างได้เร็ว ราคาถูก และขนส่งได้ง่ายกว่าการใช้กระสอบทรายมาก แทนที่จะใช้ทราย เขาใช้น้ำแทน เอาน้ำมาจากตรงที่ท่วมนั่นแหละ! สูบเข้าไปไว้ในถุง (ฝรั่งใช้พลาสติก แต่เราจะใช้ผ้าใบก็ได้) มีการคำนวณซึ่งผมยังไม่มีเวลาตรวจสอบ ได้แค่เปิดดูผ่านๆ พอเข้าใจ — ตอนนี้ยังไม่ได้เตรียมเรื่องที่จะพูดใน CrisisCamp พรุ่งนี้เลย

อย่างไรก็ตาม ทั้งสองตัวอย่างที่จะแสดงไว้ข้างล่างนี้ แนะนำว่าไม่ให้ใช้กับระดับน้ำที่เกิน 2-3 ฟุต (1 เมตร) แต่สามารถวางไว้ในพื้นที่ใดก็ได้ ไม่ต้องการพื้นเรียบสำหรับวาง อาจใช้ร่วมกับถนน หรือตลิ่งได้

ก่อนอื่นต้องเข้าใจหลักการก่อนว่ากระสอบทราย กันน้ำได้อย่างไร

อ่านต่อ »


ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (6)

อ่าน: 3585

บันทึกที่แล้วเขียนเรื่องที่เมืองไทยน่าจะมี(แต่ดันไม่มี) บันทึกนี้จะขยายสิ่งที่บางประเทศเขาทำกัน และคงเป็นบันทึกสุดท้ายในชุดนี้แล้วครับ

ที่เขียนลากยาวมาได้ถึงหกตอนนี้ ก็เพราะรู้สึกดีใจที่ประสบการณ์และแง่คิดที่พยายามเขียนอธิบายออกมานั้น ช่วยให้เครื่องมือที่ประสานเรื่องการจัดการบรรเทาทุกข์จากอุทกภัย ให้ข้อมูลที่มีความหมายขึ้น ขอขอบคุณอาสาสมัครทีมงาน thaiflood.com ที่อ่านแล้วไม่ปล่อยผ่านไปเฉยๆ ครับ

เมื่อสักสี่ปีก่อน ประเทศที่เป็นเกาะในแปซิฟิคใต้ โดนสึนามิเสียหายร้ายแรง สหประชาชาติโดย ITU/UNESCAP จัดประชุมถอดบทเรียนสึนามิ และเน้นย้ำความสำคัญเรื่อง Disaster Communications ที่หอประชุมสหประชาชาติในกรุงเทพ ตอนนั้นศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติก็ชวนพวกผมไปฟัง เพราะว่าเวลามีประชุมนานาชาติในเมืองไทย ผู้แทนจากประเทศเจ้าบ้านมักเปลี่ยนเป็นวาโยธาตุได้อย่างอัศจรรย์

การประชุมในคราวนั้น ผมได้เรียนอะไรหลายอย่าง อย่างผู้แทนอิหร่านเล่าให้ฟังว่าแผ่นดินไหวคนตายหลายแสน นับตั้งแต่เกิดเหตุจนยุติการค้นหาผู้รอดชีวิต ทุกวินาทีที่ผ่านไปมีคนตายเกือบ 4 คน ไม่ว่าจะหยุดกินข้าว นอนพัก หรือรอเครื่องมือ มีคนสองร้อยกว่าคนตายเพิ่มในแต่ละนาทีที่ผ่านไป ฟังแล้วก็อึ้งไปเลย ชีวิตคน(อื่น)สำคัญแค่ไหนสำหรับตัวเรา ความทุกข์ยากของคน(อื่น)สำคัญแค่ไหน เวลาเราบอกว่ารักเพื่อนมนุษย์นั้น มีความหมายอย่างไร

หลังจากงาน ได้คุยกับเจ้าหน้าที่ UNDP ซึ่งบอกว่า มีระบบงานที่พัฒนาโดยนักวิจัยในประเทศกลุ่มละตินอเมริกาและแคริเบียนน่าสนใจ ก็เลยลองศึกษาดู อืม น่าสนใจจริงๆ ครับ

อ่านต่อ »


ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (5)

อ่าน: 3625

บันทึกที่แล้วเขียนทิ้งไว้เท่าที่นึกออกครับ บันทึกนี้จะพยายามเรียบเรียงความคิดว่าอะไรที่น่าจะมี เพราะอะไร

การพยากรณ์อากาศ

วิถีชีวิตคนไทยขึ้นกับลมฟ้าอากาศเป็นอย่างมาก เราจำเป็นต้องพยากรณ์อากาศล่วงหน้าให้ได้ระยะหนึ่ง กรมอุตุนิยมวิทยาทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในภูมิภาคขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ซึ่งไม่เพียงแต่รวบรวมข้อมูลจากประเทศต่างๆ เท่านั้น ยังเป็นแหล่งความรู้ทางอุตุนิยมวิทยาของภูมิภาคอีกด้วย

กรมอุตุฯ ทำการทำนายสภาวะอากาศวันละสองครั้ง คือเที่ยงคืนและเที่ยงวันตามเวลามาตรฐานสากล เราจึงเห็นกรมอุตุฯ ออกรายงานสภาพอากาศวันละสองครั้ง ตอนเจ็ดโมงเช้ากับหนึ่งทุ่ม เนื่องจากเวลาเมืองไทยเร็วกว่า UTC อยู่ 7 ชั่วโมง การพยากรณ์อากาศต้องอาศัยข้อมูลจากประเทศอื่นๆ ด้วยเช่นกัน การตรวจวัดอุณหภูมิ ความดัน ความชื้น อุณหภูมิของน้ำทะเล ในแต่ละประเทศโดยไม่สนใจบริเวณข้างเคียง ย่อมไม่แม่นยำเพราะว่าสภาวะอากาศเกี่ยวพันกันข้ามพรมแดนประเทศ

แต่ว่าการพยากรณ์อากาศวันละสองครั้งในภาวะที่อากาศแปรปรวนนั้น ไม่พอหรอกนะครับ ผมคิดว่ากรมอุตุฯ ก็ทราบดี จึงได้มีความพยายามจะพัฒนาสมรรถนะ แล้วก็ดันเกิดเป็นปัญหาการจัดซื้อซูเปอร์คอมพิวเตอร์อันลือลั่นเมื่อหลายปีก่อน จนปัจจุบันทางกรมก็ยังไม่มีซูเปอร์คอมพิวเตอร์ใช้งาน ยังใช้แผนที่อากาศเหมือนเมื่อสี่ห้าสิบปีก่อน

อ่านต่อ »



Main: 0.059386014938354 sec
Sidebar: 0.13278698921204 sec