“วัตถุตกลงสู่พื้น” ฟังดูเป็นเรื่องที่ไม่เห็นจะต้องนำมาเขียนเลย
แต่สิ่งที่คุ้นเคยจนรู้สึกว่าเป็นไปโดยอัตโนมัตินี่แหละครับ ที่มักทำให้เราหลงคิดว่าไม่มีอะไร
ในรูปขวา ถ้าเริ่มทิ้งลูกบาสจากขีด 0 แล้วถ่ายภาพทุกๆ 1/20 วินาที ภาพแรกลูกบาสตกลงมาหนึ่งหน่วยระยะทาง ภาพที่สองจะตกลงมา 4 หน่วย ภาพที่สามเป็น 9 หน่วย …
ของอะไรก็ตกสู่พื้นทั้งนั้นแหละ –> ไม่จริงเสมอไปหรอกครับ
ส่วนใหญ่จะเป็นอย่างนั้น แต่ก็มีหลายอย่างที่ไม่ใช่ เช่นลูกโป่งสวรรค์ลอยขึ้นไปในอากาศ ลูกโป่งลอยได้เรื่องจากแรงยก คนสวมห่วงชูชีพไม่จมน้ำ ฯลฯ เรื่องพวกนี้มีแรงภายนอกมากระทำ ซึ่งเรามักมองข้ามไป
อีกอย่างหนึ่งคือ แม้วัตถุไม่มีแรงภายนอกมากระทำ แต่หากมันมีความเร็วเบื้องต้นที่สวนทางกับแรงดึงดูด หากความเร็วนี้มีค่ามากพอ เราจะไม่สามารถเห็นอาการตกลงได้เลย ความเร็วนี้เรียกว่า escape velocity (เป็นความเร็วขั้นต่ำที่จะนำวัตถุจากพื้นโลก พ้นไปจากบรรยากาศเข้าสู่วงโคจรของโลก)
ดังนั้นแม้สิ่งต่างๆ จะดูชัดเจนมาก ก็ต้องไม่ลืมว่ามีมุมมองอื่นด้วย มีเรื่องที่มองไม่เห็น อาจจะหลงลืมคิดไป อยู่นอกเหนือการเข้าใจ ไม่รู้ไม่เห็น หรือเป็นข้อยกเว้น หลายมาตรฐาน ฯลฯ
คนที่จะเหมารวมได้ จะต้องรู้หมดทุกอย่างว่าไม่มีกรณีอื่นอีกแล้ว — ถามว่าเป็นไปได้หรือ?
เรียนมาตั้งแต่มัธยมว่าค่าคงที่ความเร่งของโลก มีค่า 9.8 m/s2 แต่มีใครรู้หรือเปล่าว่าบนผิวโลกนี้ ความเร่งจริงๆ ของโลก มีค่าไม่เท่ากันนะ คือน้ำหนักของวัตถุเดียวกันอาจไม่เท่ากันหากชั่งน้ำหนักกันคนละที่ — แล้วอะไร “ถูกต้อง” ครับ
นับประสาอะไรกับการแยกแยะไม่ออกระหว่างความรู้กับความคิดความเห็น เรียนรู้กับรับรู้ ความเป็นจริงกับอารมณ์
อ่านต่อ »