บำบัดน้ำเสีย เติมออกซิเจนในน้ำ

อ่าน: 7110

สำหรับบ้านเรือนที่น้ำท่วมแล้วระดับน้ำไม่ยอมลด หรือคาดว่าจะลดช้า (หรือเป็นมานานแล้ว/ทนมานานแล้ว) ปัญหาน้ำเน่าเสียเป็นปัญหาใหญ่เรื่องหนึ่งครับ

น้ำเสียเกิดจากหลายสาเหตุ แต่มีสองลักษณะที่มักจะเกิดร่วมกัน คือ (1) น้ำนิ่ง ไม่ไหวเวียนถ่ายเท และ (2) ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ ต่ำมาก

วันนี้เอาคลิปเรื่องวิธีการง่ายๆ ในการเติมอากาศลงในน้ำ และยังทำให้น้ำหมุนเวียนด้วย คือใช้ปั๊มน้ำแบบจมน้ำ ดูดน้ำมาแล้วปล่อยออกใต้น้ำนั่นละครับ แต่ก่อนปล่อย เราหาข้อต่อสามทางมา โดยที่ทางหนึ่งต่อสายยางขึ้นมารับอากาศบนผิวน้ำ ทางหนึ่งต่อกับปั๊มน้ำ อีกทางหนึ่งปล่อยน้ำออก

เมื่อเดินปั๊ม อากาศจะถูกดูดจากข้างบนลงไปตามสายยางเองโดยอัตโนมัติ (ด้วย Venturi effect) ไปผสมกับน้ำที่ปั๊มส่งออกมา กลายเป็นฟองอากาศเล็กๆ อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะเพิ่มออกซิเจนให้ละลายอยู่กับน้ำ ยิ่งกว่านั้น ปั๊มน้ำยังทำให้น้ำเคลื่อนไหว ทั้งสองอาการน่าจะช่วยปรับปรุงน้ำเสียได้บ้าง

อ่านต่อ »


เข้าใจก่อน จึงจะคาดหวังได้

อ่าน: 2871

ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ในฐานะของกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ให้สัมภาษณ์รายการเจาะข่าวเด่น ทางไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันที่ 25 ที่ผ่านมา ซึ่งถ้าหากสื่อให้เวลาแก่อาจารย์โดยไม่แย่งพูดแย่งแปลมากนัก ผู้ชมก็จะได้ข้อเท็จจริง และนำไปสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องได้ครับ

อ่านต่อ »


ปั๊มน้ำที่ใช้อากาศ

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 26 November 2011 เวลา 0:06 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 7129

เป็นที่รู้กันว่าเมื่อปล่อยอากาศเป็นอิสระใต้น้ำ อากาศก็จะลอยขึ้นเหนือน้ำ แต่เมื่ออากาศลอยขึ้น ก็จะยกน้ำขึ้นด้วยแรงที่เท่ากับน้ำหนักของอากาศที่แทนที่น้ำ (ตามหลักของอคีมีดีส)

ดังนั้นหากอัดอากาศลงไปใต้น้ำได้ เราก็จะได้ปั๊มน้ำครับ

ประเด็นของวันนี้คือว่า เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าพื้นที่ที่น้ำขังจะต้องสูบน้ำออกเท่านั้นจึงจะแห้ง แล้วจะไปหาปั๊มน้ำจากที่ไหนล่ะ ในเมื่อถูกใช้ไปหมดแล้ว… แต่ว่ายังมีเครื่อมือกลแบบอื่นเช่นปั๊มลม สามารถเอามาประยุกต์ใช้ประกอบเป็นปั๊มน้ำได้ตามคลิปข้างบน ดังนั้นหากมีช่องทางระบายน้ำไปลงแม่น้ำ ก็อย่ารอใครมาทำให้เลยครับ

ปล่อยลมที่ปลายท่อที่จุ่มอยู่ในน้ำ อีกปลายหนึ่งก็จะมีน้ำกับอากาศไหลออกมา ท่อกลายเป็นปั๊มน้ำไป

อ่านต่อ »


ดีดน้ำ

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 25 November 2011 เวลา 0:03 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 4795

หลักการสำคัญของปั๊มน้ำ คือเร่งให้น้ำมีความเร็วเพื่อที่พลังงานจลน์ของน้ำจะได้มีค่าไม่ต่ำกว่าพลังงานศักย์ของน้ำที่ความสูงที่ต้องการ

½mv2 ≥ mgh โดย m เป็นมวลของน้ำ v เป็นความเร็วต้นของน้ำ g เป็นค่าคงตัวของแรงโน้มถ่วง และ h เป็นความสูงของปลายที่สูงที่สุดของทางลาด หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือเราจะต้องปั่นให้น้ำมีความเร็ว v ≥ √(2gh)

แต่ปั๊มน้ำนั้น มักจะออกแบบให้ยกน้ำได้สูงมากๆ คือพลังงานที่ใส่ให้กับน้ำแล้วแปลงเป็น v มีค่าสูงเกินไปและสูญเปล่าซะเยอะ อีกอย่างหนึ่งคือปั๊มน้ำของทางราชการ ระดมมากรุงเทพและปริมณฑลแทบหมดประเทศอยู่แล้ว ปั๊มน้ำของนากุ้งซึ่งเป็นปั๊มแบบ head ต่ำแต่ปริมาณสูบสูง ก็ไม่รู้จักเอามาใช้ หากไม่ได้ปั๊มของทางราชการมาช่วย (เพราะอะไรก็แล้วแต่) แล้วหยิบยืมหรือหาเช่าปั๊มจากนากุ้งไม่ได้ น้ำท่วมขังจะหายไปได้อย่างไร?

บ้านเมืองเราเคยใช้ระหัดวิดน้ำ ใช้ลมเป็นต้นกำลัง จะใช้แรงคนถีบเอง หรือจะใช้มอเตอร์ก็ได้

อ่านต่อ »


เครื่องกรองน้ำราคาถูกมาก “น้ำใจปีบทอง” จาก มทส.

9 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 24 November 2011 เวลา 0:27 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 22922

ได้รับข่าวแจกจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เรื่องการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำคุณภาพดี และราคาถูกมากครับ (150 บาท) เป็นหลักการ slow sand filter แต่ปรับปรุงให้กรองได้คุณภาพดี ชาวบ้านที่เดือดร้อน สร้างเองได้ง่าย

หากใช้ท่อพีวีซีขนาดสองนิ้ว ก็จะได้ปริมาณน้ำประมาณหนึ่งหยดต่อวินาที หรือวันละ 15 ลิตร ซึ่งพอสำหรับการบริโภคในครัวเรือน แต่หากยังไม่พอ ก็สามารถใช้ท่อพีวีซีที่ขนาดใหญ่ขึ้นได้ — ใช้ลักษณะท่อ ต่อเป็นรูปตัว U ทำให้ไม่มี head มากเกินไป และน้ำที่จะกรอง ก็วิ่งผ่านทรายเป็นระยะทางยาว ดูแล้วผมชอบใจ Like มาก

นี่ละครับ ผู้ที่มีความรู้จริง ก็จะสามารถสร้างสรรค์สิ่งที่มีประโยชน์ต่อชีวิตได้ ดีกว่าความรู้แห้งๆ ในตำราเป็นไหนๆ

ดู press release ก่อนนะครับ

อ่านต่อ »


ปรับตัวหลังน้ำท่วม

อ่าน: 3227

วิกฤตยังไม่จบหรอกครับ สำหรับท่านที่น้ำลดแล้ว ก็ยินดีด้วย แต่ท่านคงรู้แจ้งว่าแม้น้ำลดแล้ว ยังมีปัญหารออยู่อีกมาก ดินอิ่มน้ำ อันตรายกว่าที่เห็น

สี่ปีที่ผ่านมา ผมโชคดีที่ได้ไปเยี่ยมสวนป่าของครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์หลายครั้ง แล้วผมก็พบว่าชีวิตเรียบง่ายนั้น ไม่ใช่แค่อวดอ้างแสดงตัวว่าเรียบง่าย แต่ต้องใช้ความรู้จริงมากมาย แล้วยังต้องเตรียมการไว้ล่วงหน้าเผื่อเหลือเผื่อขาดไว้ด้วย จึงจะไปถึงสถานะที่เก็บกินได้ ใครจะยังไงก็ไม่เดือดร้อน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบไม่หลอกตัวเอง มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ไม่ได้ปลีกวิเวกไปอยู่ในป่า — เก็บกินไปได้เรื่อย ถ้ามีแรงเหลือและยังมีความอยาก ค่อยทำกินหาเงินหาทองมาซื้อเครื่องมือที่จำเป็น เพื่อที่จะทำงานให้เกิดประโยชน์และประสิทธิผลที่ดียิ่งขึ้น แต่ถ้ารู้สึกว่าพอแล้ว ก็มีกินไปเรื่อยๆ

ครูบาจะเขียนหนังสือร่วมกับ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญเล่มหนึ่ง ขอโปรโมทไว้ตรงนี้ก่อนเลยครับ

เงินนั้นมีที่ให้ใช้เสมอครับ แต่วิถีที่รู้จักพอแบบนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินซื้อทุกสิ่งทุกอย่าง และไม่ซื้อสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อชีวิต ถ้าหากว่าเรามีความรู้จริงๆ ไม่ใช่แค่รู้ตามหลักสูตร ก็ต้องนำความรู้นั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

ภาวะน้ำท่วมจะผ่านไป ปีหน้าฟ้าใหม่จะโดนอีกหรือเปล่าก็ไม่รู้ ในภาวะน้ำท่วม มีเงินมีทองเหมือนไม่มีเพราะหาซื้ออะไรที่ต้องการแทบไม่ได้เลย ในสภาพเมืองที่เกิดน้ำท่วม การคมนาคมขนส่งสินค้าเป็นไปด้วยความยากลำบาก ผู้คนเอารถไปจอดหนีน้ำตามที่สูง ในกรุงเทพแท็กซี่ก็หยุดวิ่งเพราะเจ้าของแท็กซี่เอารถไปจอดหนีน้ำไว้แล้วที่ังเหลือวิ่งอยู่ ก็หาก๊าซเติมไม่ได้เพราะรถส่งก๊าซก็หยุดส่งเหมือนกัน  ตามห้างสรรพสินค้า ของหมดชั้นวางสินค้า ส่วนคนที่จะไปดูให้เห็นว่าของไม่มีขายแล้วนั้น แค่จอดรถก็แย่แล้ว [สึนามิโลก]

ความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว (เป็น past tense) จะชดเชยเยียวยาอย่างไร ก็ไม่เหมือนเดิมหรอกครับ การที่จะไปจมอยู่กับอดีต ก็เหมือนกับเด็กที่ร่ำร้องจะย้อนอดีตให้กลับคืนมา เหมือนเอาหัววิ่งชนกำแพงหวังจะให้กำแพงพังเพื่อที่ตัวจะได้ผ่านไปได้

น้ำท่วมจะผ่านไปเพราะว่าน้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำตามแรงโน้มถ่วงเสมอ ซึ่งชีวิตเราจะผ่านไปได้หรือไม่ ก็ขึ้นกับว่าปรับตัวได้หรือไม่

อ่านต่อ »


ผลักดันน้ำแบบเหมาะสม

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 22 November 2011 เวลา 0:38 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 3992

เรื่องของการระบายน้ำ มีการใช้เครื่องผลักดันน้ำซึ่งก็เป็นความคิดที่ดี หลักการของเครื่องผลักดันน้ำคือการเปลี่ยนพลังงานกลของเครื่องยนต์ ให้เป็นพลังงานจลน์ของน้ำ (หากไม่คิดการสูญเสีย) ใส่พลังงานกลลงไปเท่าไหร่ ก็จะเป็นเป็นพลังงานจลน์ของน้ำเท่านั้น โดยพลังงานจลน์ของน้ำแปรผันกับความเร็วของกระแสน้ำยกกำลังสอง หมายความว่าน้ำเคลื่อนที่ไปได้เร็วขึ้นไม่ว่าจะค่อนแคะอย่างไรก็ตาม

ส่วนประเด็นที่ว่าคุ้มค่าหรือไม่ซึ่งเป็นคนละประเด็นกันนั้น ขึ้นกับมุมมองครับ ถ้าเอาไปทำในแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งกว้างสองร้อยเมตร เอาเรือน้อยใหญ่ไปเร่งความเร็วน้ำ ก็ดูว่าจะเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ คือไม่ได้เพิ่มความเร็วเฉลี่ยของกระแสน้ำขึ้นเท่าไร เพราะว่าน้ำเคลื่อนเร็วที่ผิว ตรงที่มีใบพัดเรือคอยเร่งอยู่ เรื่องนี้ก็จริงครับ แต่ว่าพลังงานจากเครื่องยนต์ที่หมุนใบพัด ก็ถ่ายให้กระแสน้ำจริงๆ ความเร็วเฉลี่ยของกระแสน้ำโดยรวมเร็วขึ้นจริง อาจจะไม่มาก ไม่ทันใจ แต่ก็เร็วขึ้นจริง (นิ๊ดดดด นึง) คุ้มค่าหรือเปล่า ก็ต้องไปถามคนจ่ายค่าน้ำมันเอาเอง

แต่ถ้าเป็นคลองอย่างเช่นคลองลัดโพธิ์​ซึ่งในปี 2546 ได้ขยายจากคลองซึ่งกว้าง 10-15 เมตร ลึก 1-2 เมตร ไปเป็นคลองกว้าง 80 เมตร ลึก 8 เมตร อย่างนี้จะเห็นผลมาก ตามข่าวนี้ ความเร็วของกระแสน้ำ(ที่ผิว)เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าตัว ทำให้ปริมาณน้ำไหลผ่านคลองเพิ่มขึ้น 15%

อ่านต่อ »


ความคิดเกี่ยวกับนนทบุรีฝั่งตะวันตก

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 21 November 2011 เวลา 0:19 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3993

ดูแผนที่สถานการณ์ขอบเขตของน้ำท่วมจาก สทอภ. และจาก Bing แล้ว นนทบุรีฝั่งตะวันตกแทบหาที่แห้งไม่ได้เลย

คลิกบนรูปเพื่อดูภาพขยาย

พื้นที่ส่วนนี้ เคยเป็นสวนมาก่อน ทุเรียนนนทบุรีก็ขึ้นชื่อ แต่เมื่อเมืองขยายตัว พื้นที่สวนก็กลายเป็นหมู่บ้านจัดสรร กลายเป็นชุมชนของผู้มาตั้งรกรากใหม่ เครือข่ายของลำคลองยังมีอยู่ครับ แต่แคบและตื้นตามสภาพการใช้งานในอดีตบวกกับการไม่ได้บำรุงรักษา

วันนี้มีข่าวชาวบ้านประมาณพันคนประท้วงที่ศาลากลางจังหวัด ต้องการให้ระบายน้ำลงไปในคลองมหาสวัสดิ์ ผมคิด(เอาเอง)ว่าคลองมหาสวัสดิ์ก็ทำงานเอาน้ำไปลงแม่น้ำท่าจีนเต็มที่อยู่แล้ว แม้ว่าตรงที่ไปดูอาจจะเห็นระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่งบ้าง ก็ไม่ได้แปลว่าระดับน้ำจะต่ำกว่าตลิ่งตลอดลำคลอง การใส่น้ำลงไปอีก จะทำให้น้ำล้นลำคลองลงไปท่วมบ้านเรือนชาวบ้านที่อื่น — เรื่องผมคิดถูกหรือไม่เป็นเรื่องกระจอกครับ ประเด็นที่อยากให้คิดกันก็คือ ต่อให้เห็นประจักษ์ว่าน้ำต่ำกว่าตลิ่งของคลองมหาสวัสดิ์ ก็ยังไม่ใช่ข้อสรุปว่าคลองยังรับน้ำได้อีก เพราะไม่ได้ไปดูตลอดลำคลอง แล้วไม่รู้ว่าเปิดประตูระบายน้ำมากขึ้น คลองมหาสวัสดิ์และแม่น้ำท่าจีนจะรับไหวหรือไม่

อยากชวนให้ชาวนนทบุรีฝั่งตะวันตก หันมามองเครือข่ายของลำคลองที่ไปลงแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันออกบ้างครับ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงปากคลอง อาจจะมีประตูระบายน้ำปิดอยู่ อันนี้ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ ถ้าน้ำทะเลหนุนทำให้น้ำในแม่น้ำสูงกว่าในคลอง ขืนเปิดประตู น้ำจากไม่น้ำก็ไหลเข้าท่วมแน่นอน หนักเข้าไปอีก

อ่านต่อ »


ความคิดเกี่ยวกับกรณีของหมู่บ้านเมืองเอก

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 20 November 2011 เวลา 0:58 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4719

หมู่บ้านเมืองเอก เป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีพื้นที่ 6 ตร.กม. เป็นรอยต่อระหว่างปทุมธานีกับกรุงเทพ มีสนามกอล์ฟอยู่ข้างในสองสนาม

เมืองเอกได้สู้กับน้ำหลากมาถึงสองเดือน มีเขื่อน มีถนนโดยรอบ ก่อนจะแตกเพราะทำนบทางหลักหก (ตลาดรังสิต) แตก ทำให้น้ำทะลักเข้าทางด้านข้าง น้ำท่วมสูง บางที่แค่อก บางที่มิดหัว อยู่อาศัยไม่ได้จนต้องอพยพออกมา

ช่วงนี้ ผมทวิตเกี่ยวกับปัญหาของเมืองเอกมากหน่อย เพราะคิดว่าชุมชนเมืองเอกได้ทำคุณานุปการไว้กับคนกรุงเทพตอนเหนือมาก และในเวลาที่เขาลำบาก จะไม่คิดหาทางช่วยเหลือ ก็ดูจะใจดำไปหน่อย; ที่จริงบ้านผมทางนนทบุรีตอนเหนือ ไม่ได้รับอานิสงส์จากการต่อสู้ของชาวเมืองเอกเนื่องจากอยู่คนละฝั่งของคลองประปา (คนละจังหวัดด้วย)

เมื่อเมืองเอกแตกแล้ว ด้วยสภาพที่เป็นแอ่ง ไม่มีทางที่น้ำจะลดยกเว้นสูบออก พื้นที่ 6 ตร.กม. น้ำสูงเฉลี่ย 1.7 เมตร คิดเป็นปริมาตรน้ำ 10.2 ล้าน ลบ.ม.; แต่ก่อนจะตัดสินใจสูบออก ก็ต้องตอบให้ได้ว่าสูบไปทิ้งที่ไหนจึงจะไม่เป็นภาระกับคนอื่น คำตอบที่ดีที่สุด ก็คือทิ้งในแม่น้ำเจ้าพระยาครับ

ที่น่าฉงนสนเท่ห์คือระดับน้ำที่ท้ายประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ กับที่เครื่องวัด C.38 ที่ อ.เมือง ปทุมธานี ต่างกันถึง 1 เมตร สงสัยจริงๆ ว่าเกิดอะไรผิดปกติตั้งแต่ประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์จนถึงปากคลองรังสิตประยูรศักดิ์หรือเปล่า อย่างนี้สูบน้ำไปเท่าไหร่ น้ำก็ลงแม่น้ำได้น้อย ระดับน้ำแถวรังสิตคลอง 1-4 จะลดได้ช้ามากเพราะระบายไม่ออก

การสูบน้ำจากเมืองเอก+ทุ่งสีกัน มีทางออกอยู่สามทาง

ทางตะวันออกผ่านคลองเปรมประชากร ซึ่งตื้น แคบ ไม่ได้ขุดลอก และมีขยะที่น้ำท่วมพัดมามาอัดกันเต็ม นอกจากรับปริมาณน้ำจากการเปิดเขื่อนกระสอบบิ๊กแบ็กแล้ว ยังมีระยะเดินทางอีกเกือบ 20 กม.กว่าจะถูกสูบออกสู่แม่น้ำ ทางเลือกทางนี้ ไม่ค่อยเข้าหูเลย

อ่านต่อ »


จับคู่ดูแลกัน

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 19 November 2011 เวลา 2:00 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3076

ศปภ.เสนอให้จังหวัดที่ไม่ได้ประสบอุทกภัย จับคู่กับเขต (อำเภอ) ของกรุงเทพที่ประสบอุทกภัย มีครัวรัฐบาลอีกด้วย

เรื่องนี้ดีครับแต่ไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการทำกันมาสักพักแล้ว เทศบาลต่างๆ ติดต่อประสานงานกันอยู่ อบจ. อบต. ก็มีช่องทางช่วยเหลือเกื้อกูลกันอยู่แล้ว เมื่อปีที่แล้วมีการยกเว้นเขตอำนาจในกรณีที่ อปท.หนึ่งจะส่งกำลังไปช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยอื่นๆ ในกรณีของภัยพิบัติ (ก่อนหน้านั้น อปท.ออกนอกเขตของตนไม่ได้ ไม่อย่างนั้นจะโดน ปปช.สอบ!)

การเชื่อมต่อกันอย่างนี้ เกิดจากความเห็นใจกันและกัน เป็นไปโดยไม่ต้องสั่งการมาจากส่วนกลาง หน่วยงานที่มีทรัพยากรอยู่ว่างๆ ก็มีแนวโน้มว่าจะช่วยเหลือหน่วยงานอื่นตามธรรมชาติของจิตใจคนไทยอยู่แล้ว รัฐเพียงแต่ปลดล็อค ทำตัวเป็น enabler เท่านั้นก็พอ

ผมรู้ว่าเทศบาลขนาดใหญ่บางแห่ง ส่งทีมไปช่วยเทศบาลที่ประสบภัยโดยไม่มีการร้องขอ ด้วยงบประมาณของตนเอง ไม่ออกข่าวเอาหน้า และกำลังที่ส่งไปช่วย ดูแลตนเองทั้งหมด (โดยไม่ต้องมีเจ้าภาพมาคอยประคบประหงม เจ้าภาพควรจะไปช่วยประชาชนแทนที่จะเสียเวลามารับแขก) ยอดๆๆๆๆๆ

อบต. อาจจะช่วยเหลือ อบต.ที่ประสบภัยไม่ได้เหมือนเทศบาลขนาดใหญ่ เพราะว่ามีทรัพยากรน้อยกว่า แต่ก็ยังให้ยืมเครื่องไม้เครื่องมือ หรือเป็นศูนย์กลางรวบรวมความช่วยเหลือจากตำบลนั้นไปยังพื้นที่ประสบภัยได้

อ่านต่อ »



Main: 0.20296287536621 sec
Sidebar: 0.21807193756104 sec