ปรากฏการณ์ดาวเรียงตัว

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 13 June 2010 เวลา 0:00 ในหมวดหมู่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี #
อ่าน: 6233

เวลาเขียนบันทึกแต่ละบันทึก ผมก็อยากให้บันทึกของผมใช้ได้ไปนานๆ จึงไม่ค่อยเขียนเรื่องเฉพาะกาลหรอกนะครับ

แต่ว่าเม้าธ์กันแซดว่าปรากฏการณ์ดาวเรียงตัว จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวทำให้เกิดสึนามิตามมา แล้วก็ส่งต่อกันไปเรื่อยๆ เหมือนพวกนับถือผี — ข้อความพวกนี้ไม่มาถึงผมแฮะ แต่ว่ามีข่าวและรายการทีวีปฏิเสธกันให้แซดเหมือนกัน

ข้อเท็จจริงคือ มีปรากฏการณ์ดาวเรียงตัวอยู่จริง

เวลาเกิดดาวเรียงตัว มันไม่ได้เรียงกันเป็นแถวตรงเป๊ะ ทั้งนี้เป็นเพราะระนาบการโคจรของดาวรอบดวงอาทิตย์ของดาวเคราะห์แต่ละดวงนั้น ไม่อยู่ในระนาบเดียวกันสักดวง ดาเคราะห์แต่ละดวง โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยความเร็วและรัศมีที่ไม่เท่ากัน ตามหลักการพื้นฐานของโคเปอร์นิคัส เมื่อเวลาผ่านไป ก็มีโอกาสที่ดาวจะโคจรเข้ามาอยู่ในแนวใกล้ๆ กัน

ปรากฏการณ์ดาวเรียงตัวนั้น หมายถึง “ใกล้” ในมุม 90° (อย่าลืมว่าดาวไม่ได้อยู่ในระนาบเดียวกัน จึงต้องมองเป็นรูปกรวยสามมิติ ซึ่งมีมุมยอดกรวยเป็น 90°)

อ่านต่อ »


ปลูกต้นไม้โดยอาศัยความรู้ที่ศึกษาจากธรรมชาติ

อ่าน: 3559

หากเรียกมนุษยชาติว่ามีความก้าวหน้า มีความรู้แล้วไซร้ เราควรเข้าใจและหาทางทำสิ่งต่างๆ ได้ดีกว่าปล่อยไปตามยถากรรม

การปลูกต้นไม้ก็เช่นกัน จะทำให้ดี ไม่ใช่เพียงแต่เพาะเมล็ด รดน้ำ แล้วรอ

ธรรมชาติสร้างสัตว์เป็นนักปลูกต้นไม้ โดยเมล็ดพืชที่สัตว์กินเข้าไป ผ่านระบบย่อยอาหารในลำไส้ของสัตว์ จะทำให้เปลือกแข็งของเมล็ดหลุดออก จะถูกถ่ายออกมาพร้อมกับมูลในที่ที่ไกลออกไปจากต้นแม่ มูลสัตว์ที่ถ่ายออกมาพร้อมเมล็ดทำหน้าที่ป้องกันความชื้นจากดินระเหย ทำให้อัตราการงอกสูงขึ้นโดยธรรมชาติ นอกจากนั้น เมล็ดพืชก็ใช้ความชื้นจากมูลสัตว์และจากดินช่วยในการงอก

Capillary Water น้ำในท่อจิ๋วในดิน

อ่านต่อ »


จับตา “ภัยพิบัติ”

อ่าน: 3322

เมื่อวันที่ 10 พ.ค. มีรายการ Post Script รู้จริง รู้ทัน ทางช่อง TNN24 ทางรายการได้เชิญ​ ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล จากภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแผ่นดินไหว

ผมดูแล้วก็ชอบใจ อาจารย์อธิบายง่ายๆ ตรงไปตรงมา จึงขอให้มูลนิธิโอเพ่นแคร์ ติดต่อทางรายการเพื่อขออนุญาตนำเทปรายการมาเผยแพร่ ซึ่งก็ได้รับอนุญาตเรียบร้อย แบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 7 นาที ดังนี้ครับ

อ่านต่อ »


ในความเชื่อใจ

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 20 May 2010 เวลา 14:37 ในหมวดหมู่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี #
อ่าน: 2937

A little girl and her father were crossing a bridge.
The father was kind of scared so he asked his little daughter:
“Sweetheart, please hold my hand so that you don’t fall into the river.” The little girl said:
“No, Dad. You hold my hand.”
“What’s the difference?” Asked the puzzled father.

“There’s a big difference,” replied the little girl.
“If I hold your hand and something happens to me, chances are that I may let your hand go. But if you hold my hand, I know for sure that no matter what happens, you will never let my hand go.”

In any relationship, the essence of trust is not in its bind, but in its bond. So hold the hand of the person whom you love rather than expecting them to hold yours…

ใครก็ไม่รู้กล่าวไว้


สัญญาณโลกาวินาศ !?

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 20 May 2010 เวลา 1:02 ในหมวดหมู่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี #
อ่าน: 4171

เมื่อสองวันก่อน นี้มีข่าวใหญ่ทางดาราศาสตร์ ที่บอกว่าโลกมีโอกาสที่จะถูกอุกกาบาตขนาดยักษ์พุ่งชน มากขึ้นกว่าที่เคยคิดสิบเท่า (an order of magnitude) พอดูละเอียดแล้ว ก็ยังน่าสงสัยสมมุติฐานนี้

เมื่อเดือน ก.ค.ปีที่แล้ว นักดาราศาสตร์สมัครเล่น ได้ตั้งกล้องส่องไปยังดาวพฤหัส แล้วพบ”รอยช้ำ”ในบรรยากาศของดาวพฤหัส มีขนาดใหญ่เท่าโลก เมื่อข่าวกระจายออกไป ทั้งนักดาราศาสตร์สมัครเล่นและมืออาชีพ ต่างก็หันกล้องไปดูดาวพฤหัสเพื่อพยายามอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้น

แล้วก็มีฉันทามติว่าดาวพฤหัสถูกพุ่งชนโดยดาวหางหรืออุกกาบาต แต่เรื่องที่นักดาราศาสตร์ประหลาดใจอย่างใหญ่หลวงก็คือ การพุ่งชนนี้เกิดขึ้นเพียง 15 ปีหลังจากที่ดาวหาง Shoemaker-Levy พุ่งขนดาวพฤหัสในปี 2537

Agustin Sánchez-Lavega และคณะจาก University of the Basque Country ในเมือง Bilbao ทางตอนเหนือของสเปน ได้ตีพิมพ์การวิเคราะห์ถึงผลกระทบของการพุ่งชน ตลอดจนโอกาสที่จะเกิดขึ้นที่นำมาซึ่งความกังวล

การประมาณการโอกาสของการชน ทำได้ยากมาบนดาวพฤหัสเพราะมีก๊าซหุ้มอยู่ เมื่อชนแล้ว “รอยช้ำ” ก็จะหายไปในเวลาไม่นาน ดังนั้นนักดาราศาสตร์ จึงพึ่งการสังเกตในประวัติศาสตร์ ซึ่งก็มีเพียงสองครั้งเท่านั้น คือ Shoemaker-Levy 9 ในปี 2537 และการสังเกตของ Giovanni Cassini ในปี 2183 (ห่างกัน 354 ปี) ตลอดจนอาศัยตัวช่วยเช่นการนับจำนวนหลุมอุกกาบาตบนผิวดวงจันทร์ต่างๆ ของดาวพฤหัสดวงที่ไม่มีบรรยากาศ

อ่านต่อ »


โลกเปลี่ยนไป จึงสิ้นโลก?

อ่าน: 3336

บันทึกรีไซเคิลครับ เคยเขียนไว้ที่อื่นเมื่อ 24 เม.ย. 2550 ซึ่งก็มีประเด็นที่น่าสนใจ คือเมื่อเรารับข่าวสารมา ดูน่าเชื่อถือ มีการอ้างอิงที่ดูจะเป็นวิทยาศาสตร์ อ้างชื่อนักวิทยาศาสตร์นามกระเดื่อง ควรเชื่อไปเลยหรือ?


เรื่องก็มีอยู่ว่าเมื่อคืนดูสารคดีของ the Horizon Project เรื่อง Bracing for Tomorrow ซึ่งออกแนว science fiction คือเขาทำนายต้นเหตุของวันสิ้นโลก โดยพยายามผูกโยงบุคคลที่มีชื่อเสียง กับแนวคิดวิทยาศาสตร์เข้ามาครับ ใช้ศัพท์วิทยาศาสตร์เยอะๆ ดูน่าเชื่อถือดี — ใครอยากดู อาจหาดูได้โดยค้น bittorrent ได้ ถ้าเน็ตเร็วพอ (เตือนแล้วนะครับ)

ที่มาเขียนบันทึกนี้ ก็เพราะสารคดีกล่าวอ้างไอน์สไตน์ ว่าไอน์สไตน์เชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแกนหมุนของโลกที่ทำให้อารยธรรมมนุษย์สูญสิ้น (อ้างปฏิทินชาวมายันซึ่งคำนวณไว้ถึงวันที่ 21 ธันวาคม 2012 หมายความว่าโลกจะจบวันนั้น; กระแสกราวิตรอนจากหลุมดำใจกลางกาแล็กซี ทำให้เกิดแผ่นดินไหว+ภูเขาไฟระเบิด+สึนามิสูงหกพันฟุต; การกลับขั้วแม่เหล็ก ทำให้โลกไม่มีสนามแม่เหล็กป้องกันรังสีคอสมิค ฯลฯ)

อ่านต่อ »


เหมารวม

อ่าน: 3416

“วัตถุตกลงสู่พื้น” ฟังดูเป็นเรื่องที่ไม่เห็นจะต้องนำมาเขียนเลย

แต่สิ่งที่คุ้นเคยจนรู้สึกว่าเป็นไปโดยอัตโนมัตินี่แหละครับ ที่มักทำให้เราหลงคิดว่าไม่มีอะไร

ในรูปขวา ถ้าเริ่มทิ้งลูกบาสจากขีด 0 แล้วถ่ายภาพทุกๆ 1/20 วินาที ภาพแรกลูกบาสตกลงมาหนึ่งหน่วยระยะทาง ภาพที่สองจะตกลงมา 4 หน่วย ภาพที่สามเป็น 9 หน่วย …

ของอะไรก็ตกสู่พื้นทั้งนั้นแหละ –> ไม่จริงเสมอไปหรอกครับ

ส่วนใหญ่จะเป็นอย่างนั้น แต่ก็มีหลายอย่างที่ไม่ใช่ เช่นลูกโป่งสวรรค์ลอยขึ้นไปในอากาศ ลูกโป่งลอยได้เรื่องจากแรงยก คนสวมห่วงชูชีพไม่จมน้ำ ฯลฯ เรื่องพวกนี้มีแรงภายนอกมากระทำ ซึ่งเรามักมองข้ามไป

อีกอย่างหนึ่งคือ แม้วัตถุไม่มีแรงภายนอกมากระทำ แต่หากมันมีความเร็วเบื้องต้นที่สวนทางกับแรงดึงดูด หากความเร็วนี้มีค่ามากพอ เราจะไม่สามารถเห็นอาการตกลงได้เลย ความเร็วนี้เรียกว่า escape velocity (เป็นความเร็วขั้นต่ำที่จะนำวัตถุจากพื้นโลก พ้นไปจากบรรยากาศเข้าสู่วงโคจรของโลก)

ดังนั้นแม้สิ่งต่างๆ จะดูชัดเจนมาก ก็ต้องไม่ลืมว่ามีมุมมองอื่นด้วย มีเรื่องที่มองไม่เห็น อาจจะหลงลืมคิดไป อยู่นอกเหนือการเข้าใจ ไม่รู้ไม่เห็น หรือเป็นข้อยกเว้น หลายมาตรฐาน ฯลฯ

คนที่จะเหมารวมได้ จะต้องรู้หมดทุกอย่างว่าไม่มีกรณีอื่นอีกแล้ว — ถามว่าเป็นไปได้หรือ?

เรียนมาตั้งแต่มัธยมว่าค่าคงที่ความเร่งของโลก มีค่า 9.8 m/s2 แต่มีใครรู้หรือเปล่าว่าบนผิวโลกนี้ ความเร่งจริงๆ ของโลก มีค่าไม่เท่ากันนะ คือน้ำหนักของวัตถุเดียวกันอาจไม่เท่ากันหากชั่งน้ำหนักกันคนละที่ — แล้วอะไร “ถูกต้อง” ครับ

นับประสาอะไรกับการแยกแยะไม่ออกระหว่างความรู้กับความคิดความเห็น เรียนรู้กับรับรู้ ความเป็นจริงกับอารมณ์

อ่านต่อ »


เตาดูด

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 1 May 2010 เวลา 0:03 ในหมวดหมู่ เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 3984

การเคลื่อนไหวของอากาศบนผิวโค้งนั้น เราเห็นว่าเคลื่อนไปตรงๆ แต่ที่จริงลมเคลื่อนไม่ตรง

เรื่องนี้เรียกว่า Coriolis effect หรือ Coriolis forceซึ่งอธิบายได้ด้วยกฏข้อที่สองของนิวตัน

ถ้าปรับสภาพแวดล้อม ให้เปลี่ยนการเคลื่อนที่ในแนวระนาบบนแผ่นดิสก์หรือทรงกลม เป็นการเคลื่อนที่ของอากาศภายในทรงกระบอกหมุน จะพบว่าแรงดันที่ศูนย์กลางน้อยกว่าแรงดันที่ผิวของทรงกระบอก

ดังนั้นหากเอาทรงกระบอกไปครอบเตาไฟ แล้วหมุนทรงกระบอกไป ก็จะพบว่าเปลวไฟที่อยู่ตรงกลางทรงกระบอก สูงขึ้นเนื่องจากความดันอากาศต่ำลง

อ่านต่อ »


ท้าพิสูจน์ มะเขือเทศใหญ่และหวาน

อ่าน: 9614

เอามาจาก Get A Bigger, Sweeter, Earlier Crop Of Tomatos ครับ

ผมชอบกินมะเขือเทศเวลาเป็นส่วนของอาหารอื่น แต่ว่าที่บ้านไม่มีปลูกไว้ ก็น่าจะหามาปลูกบ้างเหมือนกัน จึงค้นเน็ตไปเรื่อยๆ เจอวิธีการที่อ้างว่าช่วยทำให้มะเขือเทศลูกใหญ่ หวาน และสามารถบ่มลูกที่ยังไม่สุกให้สุกได้

เร่งการเจริญเติบโต

เพื่อให้ได้มะเขือเทศลูกใหญ่ ให้เอาฟอล์ยอลูมิเนียมปูที่โคนต้น เอาด้านเงาขึ้นท้องฟ้า เอาหินวางทับไว้ไม่ให้ปลิว แสงแดดที่สะท้อนจากฟอล์ยจะเร่งการเจริญเติบโตของต้น ทำให้มะเขือเทศสุกจากโคนต้นขึ้นมา รบกวนนก(และแมลง)ที่อาจจะมากัดกินมะเขือเทศ

อ่านต่อ »


รดน้ำต้นไม้

อ่าน: 6797

ผมไม่รู้ว่าใครรดน้ำต้นไม้อย่างไรหรอกนะครับ ต่างคนก็ต่างจิตต่างใจ มีแบบอย่างที่ไม่เหมือนกัน

พืชรับน้ำและสารอาการจากระบบราก ซึ่งดูดเข้าได้มากผ่านรากฝอย แม้จะเป็นเส้นเล็กจิ๋วแต่มีปริมาณมาก เมื่อรวมกันแล้ว ก็สามารถหล่อเลี้ยงพืชให้เจริญเติบโตได้

รากที่ทะลวงไปในดิน มีปลายราก (root cap) เป็นเหมือนหัวเจาะ จะมีการออสโมซิสเอาน้ำและสารอาหารผ่านรากเข้าสู่แกนราก ซึ่งจะถูกส่งผ่านลำต้นไปสังเคราะห์แสงยังใบ

ดังนั้น รากแผ่ไปถึงไหน ก็ต้องรดน้ำถึงนั่นครับ — ไม่ใช่รดที่โคนต้นเฉยๆ

ปัญหาคือรากอยู่ในดิน จะไปรู้ได้อย่างไรว่าแผ่ไปถึงไหน ก็มีหลักประมาณการง่ายๆ คือกิ่งใบแผ่ไปถึงไหน รากก็แผ่ไปประมาณนั้น

แต่ยังมีปัญหาอีกอย่างหนึ่ง ในเมื่อเรารดน้ำที่ผิวดิน กว่าน้ำจะไปถึงราก ยังขึ้นกับว่าดินนั้นให้น้ำซึมลงไปมากน้อยแค่ไหน ดูดน้ำเอาไว้เท่าไร (เหลือให้รากและละลายสารอาหารในดินมากน้อยแค่ไหน)

เช่นเดียวกับการใส่ปุ๋ย แหงล่ะครับไม่ใช่ราดเอาไว้บนผิวดิน โดยปกติเราก็จะพรวนดินนำปุ๋ยลงไปหารากด้วย แต่ก็มีปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือการพรวนดินอาจไปโดนราก แทนที่จะช่วยกลับทำลาย

อ่านต่อ »



Main: 0.075032949447632 sec
Sidebar: 0.27898001670837 sec