แกล้งบ้านให้ร้อน

อ่าน: 5167

ไปเจอการออกแบบแปลกประหลาดอันหนึ่งในเขตหนาว ที่สร้างเรือนกระจกไว้ในบางส่วนของบ้าน บังคับให้ลมร้อนลอยขึ้นข้างบน แล้วนำลมเย็นจากอีกส่วนหนึ่งของบ้านให้พัดเข้ามาแทนที่ อย่างไรก็ตาม แนวคิดก็แปลกดีครับ เค้าเรียกว่า Earthship

เรือนกระจกอยู่ทางด้านใต้ เนื่องจากบ้านเราอยู่ทางซีกโลกเหนือดังนั้นพระอาทิตย์จึงอ้อมทางใต้ เรือนกระจกนั้นก็ปลูกต้นไม้ล้มลุกที่ไม่โตนักเอาไว้บังแสง แต่เรายอมให้แสงตกกระทบพื้นในบริเวณเรือนกระจก

รอบๆ บ้าน ใช้ดินกลบผนังไว้สามด้าน เป็นฉนวนความร้อนและความเย็น โดยเดินท่ออากาศเข้ามาจากด้านเหนือ ท่ออากาศนี้อยู่ใต้ดิน อากาศที่ออกมาก็จะมีความเย็นกว่าอุณหภูมิในบ้าน ในช่วงกลางคืนดินและพื้นของเรือนกระจกจะคายความร้อนออกมา ซึ่งความร้อนลอยขึ้นสูง ดูดเอาความเย็นจากท่อฝังดินเข้ามา ทำให้บ้านนี้มีการพาความร้อนที่ดี และเกิดการถ่ายเทลมตามธรรมชาติโดยไม่ใช้หน้าต่าง

อ่านต่อ »


เตาเผาถ่านไร้ควัน

อ่าน: 13790

เรื่องนี้ ที่จริงควรจะอยู่ในชุด ผลิต Biochar อย่างจริงจัง แต่เนื่องจากกรณีนี้ เป็นกรณีของสวนป่า จึงแยกออกมาเขียนนะครับ

เรื่องนี้ได้ยินมาจากครูบาซึ่งเพิ่งเล่าให้ฟังเมื่อตอนผมถามเรื่องเตาเผาถ่าน สวนป่ามีเตาเผาถ่านขนาดใหญ่อยู่ 5 เตา เตาเล็กอีกต่างหาก ก็ตามประสาคนไม่รู้เรื่องละครับ ผมถามว่าเวลาเผาถ่านในเตาใหญ่ใช้เวลากี่วัน ถ้าผมจำไม่ผิด ครูบาว่า 14 วันกว่าจะมอดสนิท แต่ครูบายังเล่าเพิ่มเติมว่าพอจุดเตาไปได้สักพัก ก็จะมีควันที่เหม็นมาก เรียกว่าควันบ้า มีอยู่คราวหนึ่ง จุดทั้ง 5 เตา แล้วควันบ้าเกิดออกมาพร้อมกัน เหม็นตลบอบอวลไปทั้งป่า ขนาดที่อยู่สวนป่าไม่ได้ ต้องชวนแม่หวีหนีเข้าไปในอำเภอ

เรื่องนี้ซีเรียสครับ ควันบ้า ที่มีสี มีกลิ่น แสดงถึงการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ดูจากลักษณะของเตาก็คาดว่าเป็นอย่างนั้น ก๊าซที่ออกมานี้น่าจะเป็นก๊าซพิษด้วยซ้ำไปนะครับ ร่างกายจึงบอกว่าเหม็นเพื่อที่จะไปให้พ้น แต่ไม่ร้ายเท่าน้ำมันดิน (tar) ที่ออกมาพร้อมกันควัน จะยิ่งทำให้ไอ

ดังนั้น น่าจะดีกว่าที่จะสร้างเตาเผาถ่านอีกสักเตาหนึ่ง แต่ดูให้เป็นการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ คือไม่มีกลิ่น ไม่มีควัน ซึ่งในบันทึก [ทริปสวนป่า 6-8 ม.ค.] มีการทดลองเผ่าถ่าน Biochar เป็นที่สนุกสนาน เป็นถ่านคุณภาพดี แล้วใช้เวลาไม่นาน เราใช้ความร้อนเผาถังซึ่งบรรจุเศษไม้เอาไว้ เมื่อเศษไม้ในถังได้รับความร้อน ก็จะคายควันออกมา แล้วควันนี้ติดไฟได้ ก็ให้ความร้อนเผาถังอีกเป็นลูกโซ่ ดังนั้นการเผาถ่านในลักษณะนี้ ใช้เชื้อเพลิงน้อยกว่าการเผาถ่านปกติ

แต่ว่าการเผาถัง ก็จะได้มากได้น้อยก็แล้วแต่ขนาดของถัง (ซึ่งอย่างเก่ง ที่หาได้มักเป็นถัง 200 ลิตร) แล้วจะได้ถ่านประมาณหนึ่งในสามของปริมาตรถัง ถ้ามีไม้จะเผาเยอะ ก็ต้องเผาหลายครั้ง แต่ทีนี้ถ้าหากเราสามารถเผาไม้ได้ทีละตันหรือตันครึ่ง สัดส่วนของไม้ที่เป็นเชื้อเพลิงก็จะน้อยลงมา ซึ่งเมื่อเผาถ่านแล้ว จะได้ถ่าน 300-500 กก.ภายในเวลา 8-10 ชั่วโมง (แทนที่จะเป็นสองอาทิตย์) สัปดาห์หนึ่งเผาสามครั้ง — เผาวันหนึ่งตอนกลางวัน ส่วนคืนนั้นก็ปล่อยให้เย็น เช้าขึ้นเอาถ่านออก เย็นๆก็ขนไม้ลงไปในเตา รุ่งเช้าเผาอีก รอบละสองวัน สัปดาห์หนึ่งเผาไม้สามตัน ได้ถ่านหนึ่งตัน จ้างคนงานหกวันต่อสัปดาห์ จ้างผู้ใหญ่วันเว้นวันในวันที่ขนถ่านขนไม้เข้าออกจากเตา และจ้างเด็กวันเว้นวันสำหรับเอาถ่านใส่กระสอบ

อ่านต่อ »


หลังคาโค้งคาตาลัน

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 12 February 2012 เวลา 7:15 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 4192

หลังคาโค้งคาตาลัน เป็นเทคนิคการก่อสร้างโบราณซึ่งว่ากันว่ากำเนิดในอียิปต์โบราณแต่ไม่สามารถยืนยันได้ ใช้กันอย่างแพร่หลายในแถบเมดิเตอร์เรเนียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแถวคาตาโลเนียในสเปน

ต่อมาเมื่อเทคนิคการก่อสร้างสมัยใหม่เริ่มใช้เหล็กซึ่งมีความแข็งแรง หลังคาโค้งก็เริ่มหมดความหมายไปเนื่องจากสามารถก่อสร้างหลังคาที่กว้างและยาวมากๆ ได้ ทำให้ช่างก่อสร้างและสถาปนิกลืมวิธีการก่อสร้างหลังคาโค้งไปหมด กลายเป็นเทคโนโลยีที่สูญหาย (ที่จริง เห็นอยู่ว่ามีจริงแต่สร้างไม่เป็นต่างหาก)

จนเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 นาย Raphael Guastavino ได้ทำการศึกษา ปรับปรุง และจดสิทธิบัตรในสหรัฐถึงวิธีการก่อสร้างหลังคาโค้งแบบคาตาลัน โดยเขาใช้กระเบื้องหรืออิฐมอญเชื่อมด้วยปูน วางไปบนไม้แบบโค้ง จากนั้นก็วางกระเบื้องชั้นที่สองซ้อนไปบนกระเบื้องชั้นแรกเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ก็สามารถจะสร้างหลังคาโค้งขึ้นมาได้ มีการนำหลังคาโค้งนี้มาศึกษาใหม่ทั้งในสหรัฐ (โดย MIT) และยุโรป (โดย ETH Zürich)

หลังคาโค้ง เริ่มน่าสนใจมากขึ้นด้วยเหตุผลหลายอย่าง รูปทรงกลมจะมีพื้นผิวน้อยกว่ารูปทรงอื่นๆ เมื่อปิดล้อมปริมาตรเท่ากัน เช่นครึ่งทรงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 เมตร (สูง 4 เมตร) จะมีพื้นผิวน้อยกว่ากล่องสี่เหลี่ยมที่มีปริมาตรเท่ากัน สูง 4 เมตร กว้างและยาว 5.78 เมตรอยู่ ¼ เมื่อพื้นผิวน้อยกว่า ก็หมายความว่า ใช้วัสดุน้อยกว่า เบากว่า ถูกกว่า แต่แข็งแรงกว่าเนื่องจากผิวโค้งกระจายน้ำหนักของโครงสร้างออกไปทั่ว ทำให้ทนแผ่นดินไหว และพายุได้ดีกว่าสักษณะของกล่องมาก

งานวิจัยของ ETH-Z ใช้กระดาษลูกฟูกขึ้นแบบ (รูปที่ 9-12,15) ซึ่งน่าจะถูกกว่าการใช้ไม้แบบอยู่พอสมควร

อ่านต่อ »


โรงเพาะเห็ด

อ่าน: 5840

คืนนี้ครูบาโพสต์รูปเห็ด แล้วบอกว่า “เกิดทั่วไปแล้วตอนนี้ ขอเพียงมีความชื้นพอดี เห็ดก็เกิดได้ทั้งปี เห็ดทำหน้าที่อะไรบ้าง มนุษย์ยังรู้ไม่หมด เป็นเครื่องมือวัดความชื้นในอากาศในดินได้ด้วย”

เมื่อสามปีครึ่งที่ผ่านมา ไปเที่ยงงานพฤกษาสยามแล้วไปเจอระบบให้น้ำฝอยพร้อมทั้งกระโจมเพาะเห็ดครับ [เที่ยวงานพฤกษาสยาม (2)] ด้วยความที่เราไม่รู้เรื่องก็ต้องศึกษาไปทั่ว พบคำแนะนำหลายอย่าง แต่สองเรื่องซึ่งดูจะสำคัญที่สุดคือ ความชื้น และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์

ชาวฟาร์มเห็ดให้ความสำคัญกับความชื้น แต่ไม่ค่อยสนใจตัวหลัง ดังนั้นกระโจมเห็ดจึงมักตั้งอยู่กับพื้น อัดละอองน้ำเยอะๆ ให้ชื้นเข้าไว้


(ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต)

อ่านต่อ »


วิธีก่อสร้างโดมอย่างรวดเร็ว

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 30 January 2012 เวลา 10:10 ในหมวดหมู่ เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 8195

ดีใจที่ไม่เลิกศึกษาเรื่องโดมครับ วันนี้เจอของดีสองอย่าง แต่เขียนอย่างเดียวก่อนตามเวลาว่างก็แล้วกัน

คือว่ามีสิทธิบัตรอันหนึ่งในสหรัฐ ออกมานานแล้ว (คงหมดอายุไปแล้ว) พูดถึงวิธีก่อสร้าง Monolithic dome (โดมแบบครึ่งทรงกลม) ซึ่งมีความแข็งแรงมาก สามารถทนพายุในระดับที่แรงที่สุดได้ ทนต่อแผ่นดินไหว ด้วยการกระจายแรงไปทั่วผิวโค้ง และด้วยความรู้ทางคณิตศาสตร์ เราก็รู้อีกว่าผิวของโดมจะเป็นพื้นผิวที่น้อยที่สุดที่ครอบคลุมปริมาตรสูงสุด หมายความว่าถ้าต้องการห่อหุ้มปริมาตรเท่ากันโดมจะใช้วัสดุน้อยที่สุด หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่าด้ว้วยวัสดุที่มีอยู่เท่ากัน สร้างโดมแล้วจะครอบคลุมปริมาตรสูงสุด

ด้วยโครงสร้างโค้งที่มีความแข็งแรง เราสามารถเอาดินมาคลุมโดมอีกชั้นหนึ่ง ทำให้ดูเหมือนเนินมากกว่าสิ่งปลูกสร้าง

อ่านต่อ »


ผ่าฟืนโดยใช้ยางรถยนต์

อ่าน: 3523

ไม่ได้เอายางรถยนต์ไปผ่าฟืนหรอกครับ

แต่ในการผ่าฟืนที่ใช้ขวานผ่านั้น ฟืนมักจะกระเด็นออกทั้งสองด้าน… จะเป็นหนุ่มแน่น หรือ ส.ว.ผ่า ถ้าหากผ่าแล้วจะต้องเดินไปเก็บฟืนที่กระเด็นไปทุกครั้ง หลังคงแย่ แล้วจะเสียเวลามาก

แทนที่จะผ่าแบบโครมคราม หรือนั่งผ่าแบบแรงน้อยค่อยเป็นค่อยไปก็ตาม เราก็เอาฟืนไปใส่ไว้ในยางรถยนต์เก่า แล้วก็เอาขวานสับสุดแรงเลย เศษฟืนจะไม่กระเด็นไปไหน เพราะว่ายางกันอยู่ครับ


ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (9)

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 20 January 2012 เวลา 15:07 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 5131

วิดีโอคลิปอันนี้ คล้ายกับการทดลองที่สวนป่าครับ เป็นเตาเผาถ่าน biochar อย่างง่าย ซึ่งสร้างได้เอง

อ่านต่อ »


สร้างดินคุณภาพดีโดยเลียนแบบธรรมชาติ

อ่าน: 4011

เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป ว่าดินจากก้นคลองมีคุณภาพดี ปลูกอะไรก็งาม แต่เราเคยถามตัวเองหรือเปล่าว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

วิดีโอคลิปข้างล่าง อธิบายไว้อย่างน่าสนใจครับ

อ่านต่อ »


ปั๊มลม

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 13 January 2012 เวลา 10:34 ในหมวดหมู่ เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 3954

เรื่องปั๊มลมนี้ คาอยู่ในใจมานานแล้วครับ

ปั๊มลมที่สร้างแรงดัน สามารถจะปล่อยอากาศลงไปในท่อ ทำให้ท่อ/สายยางยกน้ำข้ามคันได้ เป็นการระบายน้ำขัง/น้ำค้างทุุ่งได้ดี จะระบายน้ำออกได้เร็วแค่ไหน ขึ้นกับปริมาตรอากาศที่ปล่อยออกไป [ปั๊มน้ำที่ใช้อากาศ]

บันทึกนี้ เอาวิธีสร้างกระบอกลูกสูบที่ทำด้วยไม้มาให้ดู การทดลองของเค้ากลับกับที่เราต้องการ กล่าวคือเค้าเอาลมจากเครื่องดูดฝุ่นมาเป่าลูกสูบเพื่อให้เกิดการหมุนเพลา แต่เราจะเอากำลังกลหมุนเพลาเพื่อให้ลูกสูบเคลื่อนที่แล้วปั๊มลมออกมา

อ่านต่อ »


ฟืนเทียม

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 12 January 2012 เวลา 6:11 ในหมวดหมู่ พลังงาน, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 3144

พอไม่เขียนบันทึกทุกวัน ก็มีถามถึง

จากการที่ทดลองสร้างเตาเผาถ่าน biochar แบบง่ายๆ ที่สวนป่า โดยประสบความสำเร็จอย่างน่าชื่นชมตัวเอง ได้ความร้อนสูงโดยใช้ไม้เชื้อเพลิงน้อย [ทริปสวนป่า 6-8 ม.ค.] ก็เกิดคำถามตามมาว่าความร้อนเหล่านี้ จะเอาไปทำอะไรดี

ถ้าจะให้ดี ควรใช้ Cogeneration (CHP) หรือ กระบวนการแปลง syngas เป็นสารคล้ายน้ำมัน (Fischer-Tropsch process) แต่รู้สึกว่าจะไปกันใหญ่ ช่างมันก่อน เก็บเรื่องนี้ไว้แล้วหันมาดูเรื่องเชื้อเพลิงดีกว่าครับ

การใช้กิ่งไม้แห้งซึ่งไม่มีค่ามาเป็นเชื้อเพลิงนั้นก็ดีอยู่ กิ่งไม้เล็กๆ ไม่ต้องตัดต้นไม้ แค่เก็บเอากิ่งที่หักจากลม หรือหักตามอายุก็พอแล้ว หรือไม่ก็ตัดแต่งกิ่งซึ่งยิ่งตัดก็ยิ่งแตก สร้างร่มเงาให้กับดินทำให้ดินไม่เสื่อมสภาพเร็วนัก

แต่ถ้าไปเก็บกิ่งไม้เอาตอนที่จะจุดไฟ มักไม่ทันการแล้ว หมายความว่ากิ่งไม้ต้องเก็บไว้ก่อนล่วงหน้า ซึ่งก็มีปัญหาการเก็บอีก เพราะกิ่งไม้เล็กมักจะหงิกงอไม่เป็นระเบียบ ถ้ามีผงถ่านหรือเผาถ่านแล้วแตกหักเสียหาย เราสามารถเอาถ่านมาอัดใหม่เป็นก้อนได้ (เรียกว่า charcoal briquette) จะเป็นเบ้าเหล็กกระทุ้งให้ถ่านเข้าไปอัดกันก็ได้ หรือว่าจะใช้เครื่องอัดก็ได้ มักรวมเศษถ่านเป็นถ่านก้อนใหญ่ออกมา

แต่ยังมี briquette อีกแบบหนึ่งซึ่งนำเยื่อไม้มาอัด โดยไม่ต้องเผาถ่าน เปลือกไม้และเนื้อไม้เป็นเซลลูโลสทั้งนั้น เมื่อนำมาทุบแล้วเอาไปแช่น้ำ ก็จะมีลักษณะยุ่ย จากนั้นจึงนำไปอัดรวมกันครับ

อ่านต่อ »



Main: 0.052052974700928 sec
Sidebar: 0.15360403060913 sec