ทริปสวนป่า 6-8 ม.ค.

อ่าน: 4316

ระหว่างวันที่ 6-8 ที่ผ่านมา ผมชวนทีมบริหาร thaiflood (เว็บไซต์) และทีมบริหารกลุ่มอาสาดุสิตประเทศไทยกลับมาสดใสดีกว่าเดิม (เว็บไซต์) ไปถ่ายทำความรู้เกี่ยวกับชีวิตที่สวนป่า ยกทีมกันไปสิบสองคน

ความจริงทีมนี้เป็นทีมบริหารโครงการรวมพลังรับมือภัยพิบัติ ซึ่งทำงานทั้งป้องกัน เฝ้าระวัง รับมือและบรรเทา ตลอดจนฟื้นฟูเหตุจากสถานการณ์ภัยพิบัติ (2P2R)

กิจกรรมอาสาสมัครต่างๆ ที่เราเห็นกันโดยทั่วไป มักเป็นการบรรเทาทุกข์ฉุกเฉิน แต่โครงการรวมพลังรับมือภัยพิบัติ เป็นการรวมรวมความรู้ประสบการณ์และทำงานเพื่อช่วยให้ผู้ประสบภัยสามารถรับมือและผ่านภาวะวิกฤตได้ดีกว่านั่งรอความช่วยเหลือจากภายนอกอย่างเดียว

พอไปถึง ก็ชวนไปดูต้นเอกมหาชัยก่อนเลย เอกมหาชัยเป็นไม้พันธุ์มะกอก เมล็ดให้น้ำมันคุณภาพดี (แบบเดียวกับน้ำมันมะกอก ซึ่งใช้แทนน้ำมันพืช และใส่เครื่องยนต์ดีเซลได้) แต่จุดสำคัญคือต้นเอกมหาชัยมีระบบรากที่แข็งแรงมาก ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่ฝนตกหนัก เติบโตได้ดีในพื้นที่ลาดเอียง ดังนั้นหากปลูกต้นเอกมหาชัยไว้ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อดินถล่ม ก็น่าจะลดความเสี่ยงของดินถล่มได้ และอาจใช้ได้ทั้งภาคใต้และภาคเหนือ ทางสวนป่ากำลังเร่งขยายพันธุ์อยู่

อ่านต่อ »


เตรียมตัวไปสวนป่า

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 30 December 2011 เวลา 20:01 ในหมวดหมู่ เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 2975

วันที่ 6-8 มกราคมนี้ ผมจะพาเพื่อนไปสวนป่า ไปหาครูบาเพื่อถ่ายชุดความรู้เกี่ยวกับชีวิต ซึ่งจะทำการเผยแพร่ในวงกว้างต่อไป

แต่ไม่เท่านั้นหรอกครับ ที่จริงแล้วเป็นโอกาสอันดีของคณะที่ไป ที่จะได้เรียนรู้สิ่งที่แตกต่างออกไปจากชีวิตประจำวัน มี (iwhale+เรือพ่วง) (น้องปูอาสาดุสิต+คุณแม่) (น้องบีอาสาดุสิต+เรือพ่วงอีกสาม) ที่เหลือพวกหนุ่มๆ มีให้อีกสองห้องครับ อาราธนา’จานปูผู้อพยพพันธุ์ก๊ากไปนอนกับแม่หวี

นอกจากผลิตชุดความรู้แล้ว ก็ต้องใช้เวลาที่อยู่ที่สวนป่าให้คุ้มค่า เลยคิดกันว่าจะทดลองขึ้นโครงสร้าง star dome ดูเล่นสักหลัง น่าจะใช้เวลาสัก 3 ชั่วโมง ยังไม่ต้องทำผนังก็ได้ star dome เกิดขึ้นในญี่ปุ่น ใช้ซีกไม้ไผ่ 17 ท่อน มางอให้เป็นรูปครึ่งวงกลม แล้วขัดกันไว้ ก็จะได้โครงสร้างรูปครึ่งทรงกลมที่มีความแข็งแรง ทนพายุ ทนฝนหนัก มีอากาศถ่ายเทดี

แต่ว่าเผอิญผมเป็นพวกนอกตำรา ถ้าใช้ไม้ไผ่ทำ สวนป่ามีไม้ไผ่เยอะแยะครับ ทิ้งวิธีคำนวณไว้ เอามาสร้างค้างให้ถั่วหรือน้ำเต้าไต่ก็ได้ จะทำเป็นโรงเพาะเห็ดเพาะถั่วงอกก็ได้ จะเป็นที่ศาลากลางป่าก็ได้ หรือว่าเป็นที่พักให้กางเต้นท์ในโดมก็ได้ ผมคิดจะขึ้นโครงของ star dome ด้วยสายยางอากาศของตู้ปลา เสี่ยงเหมือนกันนะครับเนี่ย เพราะว่าสายยางมันอ่อนมาก แต่ว่าถ้ามัดจุดเชื่อมต่อให้แน่น เผลอๆ ก็น่าจะขึ้นรูปได้ แล้วเราก็ทิ้งเอาไว้ ดูสิว่าจะพังหรือไม่

แต่ว่าช่วงสิ้นปี ร้านค้าก็ปิดกันเป็นส่วนใหญ่ วันนี้ออกไปหาซื้อของ ยังได้ไม่ครบครับ ก็ดีไปอย่างคือต้องแสวงเครื่องเอาซึ่งสนุกดี

ถ้าสายยางอ่อนเกินไป ผมคิดจะสอดลวด(ราวตากผ้า)เข้าไปให้มันแข็งขึ้น

สัปดาห์หน้าก็รู้เรื่อง ชิมิ


หลังคาโค้งระบายอากาศ

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 29 December 2011 เวลา 1:40 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 4063

Buckminster Fuller (1895-1983) เป็นนักประดิษฐ์ชาวอเมริกันผู้ประดิษฐ์ geodesic dome อันดังเปรี้ยงปร้าง

เขาได้รับสิทธิบัตร 25 ชิ้น และเมื่อ geodesic dome เกิดเป็นที่กล่าวขวัญไปทั่ว มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าความร้อนภายในโดม ไม่ว่าจะมากน้อยแค่ไหน ก็จะลอยขึ้นสูง ไปรวมกันที่ยอดโดม (ฟูลเลอร์เรียกว่า “dome effect”) ทีนี้หากเปิดเป็นช่องระบายอากาศที่ยอดโดม อากาศร้อนลอยออกไป อากาศเย็นก็จะไหลเข้ามาตามช่องเปิดต่างๆ แทนที่อากาศร้อนที่ลอยออกไปแล้ว เป็นเหมือนการบังคับให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศ โดยไม่ต้องใช้พลังงานอื่นนอกจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ

ในช่วงสงครามโลก กองทัพบกสหรัฐจ้างฟูลเลอร์ให้ออกแบบที่พักทหารสำหรับเขตอากาศร้อนทารุณ (ของอ่าวเปอร์เซีย) ซึ่งการออกแบบนี้ ใช้ “dome effect” โดยปักเสาต้นหนึ่งไว้ตรงกลาง จากนั้นใช้สลิงจากยอดเสา ยึดโครงสร้างน้ำหนักเบาเอาไว้ ดูไปดูมาก็คล้ายๆ กับร่มเหมือนกัน แต่เรียกว่า Dymaxion house

อ่านต่อ »


กาลักน้ำ รดน้ำต้นไม้

อ่าน: 5060

ในการรดน้ำต้นไม้นั้น มีน้ำที่สูญเสียไปเยอะครับ

ต้นไม้ไม่ได้ดื่มน้ำเหมือนคน แต่ต้นไม้ใช้ความชื้นในดินทำให้ดินอ่อนเพื่อที่รากจะโตได้ และใช้น้ำในการดูดซึมอาหาร เวลาเรารดน้ำต้นไม้ เราก็เพียงแต่ต้องการทำให้ดินชุ่มชื้นเท่านั้น และไม่ได้ต้องการให้ดินที่ผิวหน้าเท่านั้นที่ชุ่มชื้น แต่ต้องการให้ดินที่ระดับของรากชุ่มชื้น [ให้น้ำที่ปลายราก]

โดยปกติ เราก็เอาสายยางรดดินจนชุ่ม (หวังว่าน้ำจะซึมผ่านดินชั้นบนลงไปหาราก) แม้ว่าจะเพิ่งผ่านเหตุการณ์มหาอุทกภัยมาก็ตาม น้ำก็เป็นทรัพยากรที่มีค่าอยู่ดี จึงมีคำถามว่าทำไมเราต้องสิ้นเปลืองน้ำรดต้นไม้มากมายขนาดนั้น

ผมมาคิดถึงเรื่อง [กาลักน้ำ] แล้ว คิดว่าน่าจะมีทางที่ให้น้ำในระดับของปลายรากและไม่ใช้พลังงาน โดยทำรางน้ำเอาไว้ตามแนวปลูกพืช ปล่อยน้ำเข้าไปในรางแบบเดียวกับคลองส่งน้ำ จากนั้นก็เอาเศษผ้าที่ไม่ใช้แล้ว (ปอ ป่าน หรืออะไรที่อุ้มน้ำก็ได้) ผูกกับหินก้อนเล็กๆโดยทิ้งปลายออกสองด้านให้ยาว เอาหินวางไว้ในราง ส่วนปลายของเศษผ้านั้น ฝังเอาไว้ในดินครับ

ถ้ายกรางนี้ไว้เหนือดินสักคืบเดียว ผ้าที่ผูกกับหินซึ่งวางเอาไว้ในราง ก็จะพาน้ำปีนพ้นจากรางน้ำได้ และเมื่อน้ำพ้นขอบของรางน้ำมาแล้ว ก็จะไหลลงที่ต่ำตามธรรมชาติ โดยไหลไปตามเส้นใยผ้าซึ่งมีแรงต้นทานต่ำ เราก็เพียงแต่เอาปลายผ้าฝังลงไปในดิน ก็จะเป็นวิธีที่ทำให้ดินชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลาแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องใช้สายยาง ไม่ต้องใช้แรงดันน้ำ ไม่ต้องใช้พลังงาน

อ่านต่อ »


ปุ๋ยชีวภาพ

อ่าน: 2794

สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นสปอนเซอร์การผลิตวิดีทัศน์การศึกษาอันนี้

เป็นวิธีการทำน้ำหมักอีเอ็มครับ ใช้รดต้นไม้ ให้จุลินทรีย์ปรับปรุงดิน เพื่อที่รากต้นไม้จะได้ทำงานได้ประสิทธิภาพมากขึ้น

อ่านต่อ »


วิธีก่อสร้างและความแข็งแรงของโดม

อ่าน: 2994

โครงสร้างรูปโดมมีความแข็งแรง ทนต่อน้ำหนักของตัวเอง ทนต่อแรงที่กระทำจากภายนอก และทนต่อแรงสั่นสะเทือน จึงสามารถทนต่อแรงพายุและแผ่นดินไหวได้ดี

โดมที่สร้างอยู่ชายทะเล สามารถทนต่อพายุเฮอริเคนได้ในขณะที่บ้านเรือนลักษณะอื่นๆ พังไปหมด ดังนั้น FEMA จึงออกประกาศเป็นความรู้ให้ผู้ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเสี่ยงต่อพายุได้ทราบทั่วกัน การที่โดมสามารถทนต่อแรงพายุและแผ่นดินไหวได้ ก็เนื่องจากผิวโค้งของโดม กระจายแรงออกไปทั่วผิวพื้น และเนื่องจากการใช้ผิวโค้งนี้เอง ทำให้การก่อสร้างโดมทำได้ไม่ง่ายนัก

อ่านต่อ »


เครื่องยนต์ที่ไม่ใช้น้ำมัน

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 20 December 2011 เวลา 16:29 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 3022

เวลาน้ำท่วม น้ำมันและแกสในพื้นที่ก็ไม่มีขายครับ ดังนั้นจึงเป็นง่อยกันหมด อาหารและน้ำสะอาดก็ต้องขนมาจากที่อื่น ในเมื่อผู้ประสบภัยออกไปไหนไม่ได้ ก็ต้องรอความช่วยเหลืออย่างเดียว ซึ่งจะมาหรือไม่มาก็กะเกณฑ์อะไรไม่ได้เลย เรื่องพวกนี้เตรียมการได้ครับ

คลิปนี้เป็นตัวอย่าง ซึ่งผู้มีความรู้ก็รู้อยู่แล้วว่าเมื่อเอาก๊าซเชื้อเพลิงใส่เข้าไปในเครื่องยนต์เบนซิน เครื่องยนต์ก็ทำงานได้ เพียงแต่ว่าต้องปรับองศาการจุดระเบิดก่อน แต่เรื่องพวกนี้เตรียมการล่วงหน้าได้ครับ

อ่านต่อ »


บ้านดินโครงไม้ไผ่

8 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 19 December 2011 เวลา 14:47 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 6231

บ้านดินมีข้อจำกัดที่น้ำหนักของตนเองครับ จึงเอามาทำโครงสร้างใหญ่โตโดยไม่เสริมความแข็งแรงของตัวเองไม่ได้

มีงานก่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ในอินโดนีเซีย ใช้เวลาสร้าง 6 เดือนครับ มีคลิปยาว 1:49 นาทีมาให้ดู วัสดุก่อสร้าง หาเอาในท้องถิ่นทั้งหมด ที่จริงดูเหมือนบ้านไม้ไผ่ผนังดินมากกว่าครับ (ที่จริงเป็นโครงไม้ไผ่มุงแฝกนะครับ)

สร้างเป็นศาลาการเปรียญ ศาลาประชาคม หรือศูนย์อบรมก็ไม่เลวนะครับ


เตามือถือ

อ่าน: 3278

เมื่อไรที่อากาศหนาว ก็ต้องมาเขียนเรื่องเตาทุกที

ที่เขียนเรื่องนี้ซ้ำซาก เพราะเหตุสองอย่างครับ (1) การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ก่อให้เกิดควัน ซึ่งเป็นอันตรายสำหรับผู้ที่ไปนั่งผิงไฟ และ (2) ถ้าไม่ทำอะไรเลย ชาวบ้านก็ไปตัดฟืนมาก่อกองไฟ ต้นไม้ใช้เวลาเป็นสิบปี แต่พอตัดเอาเป็นฟืนมาเผา ไม่ถึงชั่วโมงก็มอดหมดแล้ว

เราจะไปบอกชาวบ้านว่าอย่าตัดต้นไม้มาก่อกองไฟโดยไม่มีวิธีแก้หนาวให้นั้น พูดกันไม่รู้เรื่องแน่ เพราะเวลาอยู่กันตามชนบท ไม่เหมือนอยู่ในห้องปรับอากาศตามเมืองต่างๆ

ผมเอาคลิปของเตาที่พัฒนาแล้วมาให้ดูก่อนก็แล้วกันครับ

อ่านต่อ »


ถนนที่น้ำซึมผ่านได้

อ่าน: 3651

เมื่อฝนตกหนักในพื้นที่เมืองซึ่งเต็มไปด้วยคอนกรีต น้ำไม่มีทางอื่น นอกจากไหลไปตามท่อระบายน้ำ แต่เมื่อน้ำไหลมาตามท่อจากทุกทิศทุกทาง ระบบท่อระบายน้ำอาจรับไม่ไหว ทำให้น้ำเอ่อขึ้นท่วมผิวการจราจร เป็นปัญหาหนักสำหรับเมือง

ในกรณีเช่นนี้ จะดีกว่าหรือไม่หากที่จอดรถคอนกรีตหรือยางมะตอย จะเปลี่ยนเป็นพื้นที่รับน้ำหนักได้สูง แต่น้ำซึมผ่านลงสู่ดินเบื้องล่างได้

วันนี้มีมาเสนอสองไอเดียครับ แบบแรกเว้นช่องในคอนกรีตไว้ปลูกหญ้า ช่องว่างนี้ทำให้น้ำซึมลงดินได้ สร้างโดยใช้พลาสติก(รีไซเคิล)บางวางเป็นแบบ วางเหล็กรีบาร์ในช่องว่าง เทคอนกรีตทับ (ประหยัดคอนกรีตได้ 25-50%) เมื่อคอนกรีตแห้งแล้ว ก็เอาไฟพ่นไปบนพลาสติก ทำให้พลาสติกละลายออกไป จากนั้นจึงเอาดินหรือทรายเกลี่ยใส่ช่องว่าง แล้วก็ปลูกหญ้า

อ่านต่อ »



Main: 0.066947937011719 sec
Sidebar: 0.14090394973755 sec