ความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับ “เว็บตรวจสอบเหตุการณ์ ภาคประชาชน”

อ่าน: 3799

เรื่องนี้อยู่นอก scope ปกติของลานปัญญา

คืนนี้อ่านพบคำเชิญชวน(แบบเปิด)บนทวิตเตอร์โดย @Fringer ให้ไปร่วมคุยกันเรื่อง “เว็บตรวจสอบเหตุการณ์ ภาคประชาชน” เจออย่างนี้แล้ว จะไม่ตามไปดูแห่ได้ยังไงล่ะครับ

ผมเชื่อว่าโดยเนื้อแท้ คนไทยหรือมนุษย์คนไหนๆ ต่างก็รักความยุติธรรมและความจริงทั้งนั้น แต่”ความได้เปรียบ”จากความอยุติธรรมทำให้รู้สึกว่า ได้เปรียบ ได้เร็ว ได้มากโดยไม่ต้องทำอะไร

เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองในเดือนเมษา-พฤษภา 2553 เป็นปัญหาคาใจคนเป็นจำนวนมาก ดังนั้นก็มีรูปภาพ และคลิปวิดีโอร่อนไปทั่วเครือข่ายทางสังคม เท่าที่ทราบ มีความพยายามหลายครั้ง จากคนหลายกลุ่ม ที่จะปะติดปะต่อเหตุการณ์จาก “หลักฐาน” ทางดิจิตอลเหล่านี้ เพื่อทำความจริงให้ปรากฏ

ในขณะเดียวกัน ก็พบว่ามีหลักฐานเท็จร่อนไปทั่วเช่นกัน ซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับคนทั่วไปที่จะแยกแยะ แล้วด้วยความฉาบฉวยรวดเร็วของสังคมข่าวสาร ทำให้ผู้ที่เห็น “หลักฐาน” รีบตัดสินใจรับหรือปฏิเสธ “หลักฐาน” อันใดอันหนึ่ง ด้วยอคติ ด้วยอารมณ์ ตอกลิ่มความแตกแยกในสังคม แต่นั่นไม่ร้ายเท่ากับกรณีที่ตัดสินผิด คือปรักปรำ/ลงโทษคนไม่ผิด แล้วปล่อยคนผิดลอยนวล

เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องคาใจผมมาเหมือนกัน จึงได้เรียบเรียงความคิดมาแล้วบางส่วนจากเหตุการณ์วันที่ 10 เม.ย. แต่ไม่ได้พยายามที่จะให้คำตอบสำเร็จเกี่ยวกับวิธีรวบรวม “หลักฐาน” เพื่อหาความจริงหรอกนะครับ เพราะผมไม่เคลมว่าเป็นอะไรเลย ดังนั้นจึงไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้…

อ่านต่อ »


นักการเมืองแนะนำ “วิธีขายความคิด” ให้นักการเมือง

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 11 May 2010 เวลา 20:52 ในหมวดหมู่ การเมือง การปกครอง กฏหมาย #
อ่าน: 2997

อยากเปลี่ยนแปลงอะไรในบ้านเมือง ก็น่าจะทำผ่านผู้แทนนะครับ… อืม…ใช่ ผมก็ว่าไม่น่าจะเวิร์ค แต่นั่นก็น่าจะเป็นช่องทางที่ถูกต้อง ไม่อย่างนั้นจะเลือกไปเป็นผู้แทนทำไม

แม้ว่าการสื่อสารในปัจจุบันก้าวหน้าไปมาก แต่วิดีโอนี้ กลับแนะนำว่าวิธีการที่เหมาะที่สุดที่จะขายความคิดให้นักการเมือง (คือสื่อสารความคิดจนเขาฟัง) คือการเขียนจดหมายด้วยลายมือ!


ภาษีจากการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์​

อ่าน: 4918

ตลาดหลักทรัพย์ และตลาดรองต่างๆ เป็นตลาดทุนของประเทศ — กิจการตลาดหลักทรัพย์มีมาตั้งแต่ปี 2496 มีการรวมตลาดหลักทรัพย์(เอกชน)ต่างๆ เป็นตลาดเดียวในปี 2505 และจัดตั้งเป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ตาม พรบ.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี 2517 [อ้างอิง]

รัฐบาลที่ผ่านมา เห็นว่าตลาดทุนมีความสำคัญต่อการระดมและบริหารจัดการเงินทุน จึงยกเว้นภาษีเงินได้จากกำไรที่เกิดจากการซื้อขายหลักทรัพย์ เฉพาะที่เกิดขึ้นในตลท. แม้จะมีผลทางด้านบวกจริง แต่การยกเว้นภาษีเงินได้จากกำไรนี้ ทำให้ ตลท.เป็นเครื่องมือที่ใช้ปั่นกำไรมหาศาลตลอดสามสิบกว่าปีที่ผ่านมา แม้ว่าในปี 2535 จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์​ (กลต.) เพื่อดูแลตลาดทุนทั้งระบบ ซึ่งการกำกับด้วยกฎระเบียบได้สร้างภาระมากมายต่อบริษัทจดทะเบียน และการดูแลก็ทำได้เพียงลักษณะ reactive คือให้เหตุการณ์เกิดขึ้นก่อนแล้วจึงสอบสวนลงโทษ

ผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ มีความอ่อนไหวต่อข่าวและกระแสเป็นอย่างมาก รายการวิเคราะห์หุ้นต่างๆ ใช้เครื่องมือทางเทคนิคกันเป็นหลัก ทำให้การลงทุนในตลาดทุนกลายเป็นการเก็งกำไรไปซะมาก; ผมเคยเป็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนครับ เมื่อหุ้นของบริษัทเข้าซื้อขายใน ตลท. มีหุ้นที่ไม่ติด silent period และสามารถซื้อขายในตลท.ได้ 110 ล้านหุ้น แต่วันแรกที่ทำการซื้อขายในเดือน พ.ย.2544  ปรากฏว่ามีหุ้นของบริษัทซื้อขายในตลท. 318 ล้านหุ้น โดยเฉลี่ยแสดงว่าทุกหุ้นที่มีอยู่ในตลาดในขณะนั้น ซื้อขายกันเกือบสามรอบ ซื้อเช้า-ขายสาย-ซื้อก่อนเที่ยง-ขายตอนเปิดตลาดช่วงบ่าย-ซื้ออีกตอนบ่ายแก่ๆ-ขายก่อนกลับบ้าน อะไรจะขนาดนั้น!

ปรากฏการณ์ลักษณะนี้ ชี้ให้เห็นว่า “ผู้ลงทุน” ใน ตลท. ต้องการกำไรระยะสั้น ซึ่งไม่น่าจะตรงกับคำว่าการลงทุนครับ ผมไม่คิดว่าควรจะห้ามซื้อขายหุ้นเร็ว แต่ถ้าจะอาศัยเครื่องมือพัฒนาตลาดทุน ก็ควรใช้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ถ้าจะถือสั้น ก็น่าจะแบกต้นทุนเพิ่มบ้างครับ

อ่านต่อ »


ย้ายเมืองหลวงเถิดครับ

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 April 2010 เวลา 1:36 ในหมวดหมู่ การเมือง การปกครอง กฏหมาย #
อ่าน: 4197

กรุงเทพเน่า และหมักหมมปัญหาไว้เกินกำลังจะแก้ไขแล้ว

จุดไหนก็ได้บนทางหลวงหมายเลข 12 หรือ 225


การล่มสลายของประชาธิปไตย

อ่าน: 4498

ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 เขียนบันทึกเอาไว้อันหนึ่ง ที่เอามารีไชเคิลเป็นบันทึกข้างล่างนะครับ แก้ไขนิดหน่อย:

มีผู้กล่าวว่า Alexander Fraser Tytler หรือ Lord Woodhouselee (1747-1813) เป็นผู้เขียนไว้ใน The Fall of Athenian Republic การล่มสลายของสาธารณรัฐเอเธนส์ (ต้นแบบประชาธิปไตย) ว่า

A democracy is always temporary in nature; it simply cannot exist as a permanent form of government. A democracy will continue to exist up until the time that voters discover that they can vote themselves generous gifts from the public treasury. From that moment on, the majority always votes for the candidates who promise the most benefits from the public treasury, with the result that every democracy will finally collapse due to loose fiscal policy, which is always followed by a dictatorship.

กล่าวโดยย่อคือประชาธิปไตยล่ม สลายด้วยประชานิยม ผู้ออกเสียงลงคะแนนเองนั่นแหละ ที่เลือกทำลายประชาธิปไตยโดยการโหวตให้กับคนที่สัญญาว่าจะให้สูงสุด สถานการณ์แบบนี้ มักจบลงด้วยการปกครองแบบเผด็จการอยู่เสมอๆ

อ่านต่อ »


จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน จากมุมมองของมนุษย์ธรรมดา

อ่าน: 5396

สังคมมนุษย์เป็นสังคมของการพึ่งพากัน ไม่มีใครที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ (แบบที่มีคุณภาพชีวิตพอสมควร) ได้ด้วยตนเอง เมื่อคนอยู่รวมกลุ่มกัน ต่างก็พึ่งพาอาศัยกันและกัน

18 ต.ค. 2516 สี่วันหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลา ดำเนินไปถึงจุดไคลแม็กซ์ อ.ป๋วย เขียนบทความ The Quality of Life of a South East Asian : A Chronical of Hope from Womb to Tomb ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ the Bangkok Post บทความนี้ ต่อมามีการแปลเป็นภาษาไทย และกล่าวกันว่าเป็นแรงผลักดันสำคัญของแนวคิดแบบรัฐสวัสดิการของไทย

คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าบทความนี้ สร้างแรงบันดาลใจมหาศาล แต่ผมก็ขอตั้งข้อสังเกตว่ามันเป็นไปเช่นเดียวกับที่เคยเป็นมา คือคนเชื่อยังชี้นิ้วไปยังคนอื่น (รัฐ) ว่าจะต้องทำอย่างโน้น ทำอย่างนี้ ส่วนตัวเองนั้นขอพูด ขอวิจารณ์ ขอผลักด้นและกดดัน ประกาศความต้องการอย่างชัดแจ้ง ผมคิดว่ายังมีนัยอื่นในบทความนี้ ที่ระบุถึงหน้าที่ของทุกคนในรัฐสวัสดิการ — ถ้าหากว่าต้องการรัฐสวัสดิการจริง

หากว่าบทความนี้เป็น check-list ตามมาตรฐาน เราสอบตกไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานอะไรก็ตาม ทั้งรัฐที่ปกครองมาทุกยุคทุกสมัย และประชาชนที่ไม่ทำหน้าที่แต่เรียกร้องเอาเหมือนนับถือผี

อ่านต่อ »


การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานหรือไม่ คนไทยตอบว่า “ควร” แต่…

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 8 March 2010 เวลา 18:07 ในหมวดหมู่ การเมือง การปกครอง กฏหมาย #
อ่าน: 3399

สำนักข่าวบีบีซีของอังกฤษ รายงานผลของการสำรวจอันหนึ่งว่า Internet access is ‘a fundamental right’ ซึ่งบีบีซีทำการสำรวจ “ผู้ใหญ่” สองหมื่นเจ็ดพันคน ใน 26 ประเทศ ซึ่งผลสำรวจโดยละเอียดดาวน์โหลดได้ที่นี่

การสำรวจนี้ รวมการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เมืองไทยด้วย กับคนหนึ่งพันคนในเขตเมือง ระหว่าง 6-27 มกราคม ปีนี้ (แต่เค้าไม่ได้ถามผม และผมไม่เคยโดนสุ่มถามโดยโพลไหนๆ เลย)

Thailand
While Thai web users believe very strongly that internet access should be a fundamental right (91%), they emerge as somewhat more wary than average about expressing their opinions online—58 per cent disagree that the internet is a safe place to do this, compared to a little over two in five who agree (42%). In this, opinion in Thailand is closer to opinion in Japan than to other Asian developing economies in the sample. Nevertheless, a higher proportion than average (83%) agrees that the internet has increased their freedom. Social networking sites are also more popular in Thailand than in many other countries—two-thirds of Thai web users say they enjoy spending their spare time on such sites. While fraud is the main public concern relating to the internet across the 26 countries, violent and explicit content is clearly the greatest worry for Thai respondents (42%).

อ่านต่อ »


ปรัชญาแผ่นดิน

อ่าน: 3443

เมื่อครั้งพลเอกเปรมเป็นนายกรัฐมนตรี ท่านได้มีดำริให้รวบรวมขึ้นเป็นหนังสือ ไว้เพื่อเป็นหลักในการบริหารบ้านเมือง มี 6 บท คือ ปรัชญาประมุขบริหารราชการ, ปรัชญาการปกครอง, ปรัชญาสังคม, อภิปรัชญา, ปรัชญาชีวิต และบทสรุป

พลเอกเปรมเป็นนายกรัฐมนตรีระหว่างปี 2523-2531 หลังจากพลเอกเกรียงศักดิ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2523 สภาผู้แทนราษฎรทำการหยั่งเสียงเพื่อหาตัวผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีมติเลือกพลเอกเปรม โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

หนังสือปรัชญาแผ่นดินนี้ ผมไม่มีข้อมูลว่าพิมพ์ครั้งแรกเมื่อใดครับ แต่พิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อปี 2525

ผมว่าน่าอ่านทุกบทล่ะครับ แต่ก็ไม่คิดว่าจะเหมาะกับทุกคนหรอก ออกแนวเซนหรือเต๋า ใช้ paradox ในการเปรียบเทียบ อ่านแล้วต้องคิดเยอะๆ ไม่จำเป็นต้องเชื่อแต่ต้องพิจารณา คนฉลาดก็ต้องเลือกอย่างฉลาดครับ

อ่านต่อ »


“เบลมสตอร์มมิ่ง” รู้อยู่ว่าไม่ช่วยอะไร แต่ก็ทำ

อ่าน: 4285

คำว่า Blame Storming เกิดจากการเล่นคำ(เกือบ)พ้องเสียงกับ Brain Storming หรือการระดมสมอง

Urban Dictionary ให้ความหมายไว้สามอย่าง

Blamestorming (คำนาม) การประชุมอันหนึ่ง ซึ่งมีเป้าหมายจะค้นหา ว่าทำไมเป้าหมาย/เส้นตายจึงพลาดไป หรือทำไมงานจึงล้มเหลว และใครเป็นผู้รับผิดชอบ

Blamestorming (กริยา) การรวมหัวกัน หรือกระทำคนเดียว เพื่อหาว่าจะกล่าวโทษใครหรืออะไรดี สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้น, ตรงข้ามกับการระดมสมองเพื่อหาทางออกให้แก่ปัญหา

Blame Storming การที่องค์กรมารวมกันเพื่อเลือกสรรข้อแก้ตัว หรือแพะรับบาป

อ่านต่อ »


แผน ICT2020

อ่าน: 4193

เมื่อวานไปร่วมแสดงความคิดเห็นใน ICT2020 : High-level Expert Roundtable เจอ อ.หมอวิจารณ์ อ.แหวว/สสสส.1 และคนคุ้นเคยในวงการไอทีที่ทำเรื่องทางสังคมอีกประมาณครึ่งโหล และที่ไม่รู้จักสองโหล

ด้วยความที่มีเรื่องอึดอัดใจที่เกี่ยวกับการใช้งานไอซีทีในการพัฒนา และในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไป อยู่หลายเรื่อง ผมก็เลยล่อไปหลายดอกครับ อิอิ ที่จริงแล้ว ไม่ใช่ความผิดของคนทำแผนหรอก คนทำแผนกับคนปฏิบัติเป็นคนละหน่วยงานกัน มีข้อจำกัดไม่เหมือนกัน

ประเด็นที่คุยกัน ก็น่าฟังทั้งนั้น จนสงสัยว่าจะใส่เข้าไปหมดได้ยังไง…

ไม่เป็นไร… ผมดีใจที่คนทำแผนเปิดรับฟังความคิดเห็นเป็นการทั่วไป โดยไม่เชื่อแต่ผู้เชี่ยวชาญ หรือคิดเอาเองนะครับ ในเมื่อเปิดโอกาสแล้ว ใครมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาไอซีทีของเมืองไทย ก็ขอให้ช่วยกันออกความเห็นหน่อยนะครับ อย่าเอาแต่บ่นเลย มีโอกาสแล้ว ใช้ให้คุ้มค่านะครับ

ในโอกาสที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จะจัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2554-2563 (ICT 2020) คณะทำงานฯ เห็นความสำคัญของการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงประชาชนทั่วไป ได้มีส่วนร่วมให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะในทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดทำ เอกสารดังกล่าว จึงได้เปิดเว็บไซต์นี้ขึ้นเพื่อเป็นช่องทางในการรับฟังความคิดเห็น รวมทั้งการสื่อสารระหว่างคณะทำงานฯ และประชาชนทั่วไปในประเด็นที่เกี่ยวกับการจัดทำ ICT2020 นี้…

ขอความคิดเห็นเพื่อกำหนดภาพ ICT ของไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า



Main: 0.04390287399292 sec
Sidebar: 0.1255190372467 sec