ควรสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือไม่

อ่าน: 4905

จากเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดปัญหาที่ญี่ปุ่น หลังจากที่แผ่นดินไหวและสึนามิ ทำให้ระบบหล่อเย็นมีปัญหา เตาปฏิกรณ์ร้อนเกินไป ระเบิด รังสีรั่วไหล ฯลฯ ก็เป็นเหตุให้เกิดคำถามขึ้นมาว่าควรสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือไม่

แฟนบล็อกที่จับแนวทางการเขียนของผมได้ คงรู้อยู่แล้วว่าคำถามถูก-ผิดแบบนี้ ผมไม่ค่อยตอบหรอกนะครับ ผมไม่ได้กำลังทำข้อสอบอยู่นะ

แต่จะตั้งคำถามกลับ

ในปัจจุบัน การผลิตพลังงานไฟฟ้า ยังจำเป็นที่จะต้องใช้รัฐวิสาหกิจทำอยู่หรือไม่

เรามีการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ) ทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้า มีโรงไฟฟ้าเอกชนขายไฟฟ้าให้ กฟผ โดย กฟผ ขายไฟฟ้าต่อให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ) เราซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านโดย กฟผ ลงทุนร่วม แล้วนำมาขายต่อเช่นกัน

ก็ไม่รู้ว่าควรจะเรียกเป็นการส่งเสริมดีหรือไม่ แต่ว่าการไฟฟ้าซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทนด้วย “ค่าเพิ่ม” หมายความว่าไม่ว่าค่าไฟฟ้าจะเป็นเท่าไร ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ก็จะสามารถขายไฟฟ้าในราคาที่สูงกว่าราคาขายปลีกของการไฟฟ้า เป็นระยะเวลาเท่ากับที่ได้รับการส่งเสริม (ซึ่งขึ้นกับกำลังการผลิตและชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้)

อ่านต่อ »


แผ่นดินอีสานมีอะไร

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 11 March 2011 เวลา 0:46 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, พลังงาน #
อ่าน: 3980

ไม่ว่าแผ่นดินอีสานจะมีอะไร ก็คงไม่มีคำตอบเดียวที่ครอบจักรวาลหรอกครับ

ผมอ่านบันทึกวุฒิอาสาร่วมพัฒนาชุมชน (๑๔) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของท่านอาจารย์แพนด้าด้วยความสนใจ และติดใจสไลด์อยู่แผ่นหนึ่งครับ

มองเผินๆ จะเห็นความไม่เท่าเทียมอย่างชัดเจน แต่ถ้ามองลึกลงไป กลับเป็นคำถามว่ามันเกิดอะไรขึ้นกันแน่

ถ้าสมมุติว่าเนรมิตให้เศรษฐกิจอีสานเป็นสัดส่วนเดียวกับค่าเฉลี่ย ก็ต้องมีขนาดของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2 ล้านล้านบาท สงสัยว่าจะเป็นอุตส่าหากรรมอีกแน่นอน ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นสิ่งที่คนอีสานต้องการและยอมแลกมาหรือไม่ เรื่องนี้คงไม่มีใครตอบแทนคนอีสานได้เหมือนกัน

อ่านต่อ »


เตากระป๋องแบบ down draft gasifier

อ่าน: 6663

เตาแบบนี้ก็ง่ายดีครับ ไม่ต้องเชื่อมด้วย เสียงบรรยายอู้อี้ไปหน่อย ดูแล้วเข้าใจดี แต่ก็ไม่รู้จะหากระป๋องขนาดเหมาะได้หรือเปล่า

อ่านต่อ »


ทดลอง gasifier กระป๋อง

อ่าน: 5811

จากบันทึก [แบบสำหรับสร้างเตา Gasification แบบ Updraft] อ.ทวิชให้ความเห็นว่า

…แต่ว่าเตานี้มี secondary air มาช่วยลด CO ลง (CO เป็นสารพิษในการเผาไหม้ บางทีมีมากบางทีมีน้อย และยังทำให้เตามีปสภ. ต่ำ ถ้าเอา 2nd air เข้ามาทำให้เป็น CO_2 ก็จะได้สองต่อคือ ลดมลพิษ และ เพิ่ม ปสภ.การเผาไหม้ครับ)

กะกะดูด้วยตา ผมยังเห็นว่า 2nd air อาจมากเกินจำเป็น ซึ่งจะมีข้อเสียคือ ทำให้เปลวไฟมีอุณหภูมิต่ำ ทำให้ลดปสภ.การหุงต้ม (ถ้านี่จะเอาไปใช้ในการหุงต้ม)…

เรื่องนี้น่าคิดครับ ถ้า secondary air มากเกินไป ก็จะเป็นอย่าง อ.ทวิชว่าไว้ ดังนั้นผมก็จะลองดัดแปลงแบบของเตาเสียใหม่ ยังไม่รู้เหมือนกันว่าจะเป็นอย่างไรนะครับ

กระบอกใน (burn chamber) ใช้กระป๋องน้ำอัดลมเพื่อให้ผิวกระป๋องนำความร้อนจากภายใน ออกมาอุ่นอากาศที่อยู่ระหว่างผิวของกระป๋องทั้งสอง กระป๋องในเจาะรูขนาด 4 มม.รอบกระป๋องตามแบบเก่า

ส่วนกระป๋องนอกเป็นดินเหนียว เผอิญได้กระป๋องขนาดพอเหมาะ แต่ของข้างในยังไม่หมด ก็เลยเอากระดาษห่อ แล้วเอาดินเหนียวมาพอก จะได้เส้นผ่าศูนย์กลางขนาดพอดี จากนั้นก็เอาดอกส่วนขนาด 13 มม. แทงทะลุดินเหนียว

อ่านต่อ »


พลังงาน: เอาจริงแบบเล่นๆ

อ่าน: 3457

ปลายปีที่แล้ว นายกรัฐมนตรีไปโคเปนฮาเกน (ชาวยุโรปแถวนั้นเค้าออกเสียงอย่างกันนี้) ได้กล่าวไว้ในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุม UNFCCC 2009 ว่าเมืองไทยกำลังอยู่ในแผนพัฒนาพลังงานทดแทนระยะ 15 ปี พ.ศ. 2551-2565 ว่าจะใช้พลังงานทดแทนให้ได้ 20% ของการใช้พลังงานทั้งประเทศ และจะเพิ่มพื้นที่ป่าจาก 30% ในพ.ศ. 2549 ไปเป็น 40% ในพ.ศ. 2563 (จาก 96.4 ล้านไร่ เป็น 128.5 ล้านไร่) ดังนั้นมาตรการทั้งสองจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มาก

สารภาพตรงๆ นะครับ ถึงตอนนี้ ยังมองไม่เห็นเลยว่าจะไปถึงจุดนั้นได้อย่างไร ถ้าหากจะเพิ่มการใช้พลังงานทดแทนให้ได้ถึง 20% ของพลังงานที่ใช้ทั้งประเทศ จะหวังให้รัฐทำเองทั้งหมดนั้น คงเลื่อนลอยมาก ทุกคน ทุกบ้าน ต้องช่วยกัน แต่ก็ยังไม่เห็นมาตรการอะไรของรัฐที่โดนใจเลย ค่า Adder [เปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน] ที่ กฟภ.รับซื้อไฟฟ้าที่มีแหล่งกำเนิดจากพลังงานทดแทน เหมือนเป็นป้ายเชิญชวน ให้เดินไปสู่ประตูที่ปิดแล้วล็อคกุญแจไว้ ชาวบ้านเดินเข้าไปไม่ได้อยู่ดี ทำไมไม่ออกแบบ grid-tie inverter ที่ปั่นไฟฟ้าแล้ว sync กับไฟฟ้าของ กฟภ. มีฮาร์โมนิกต่ำ แก้ไข power factor ให้ต่ำ ทดสอบให้ผ่านมาตรฐาน แล้ว open source เปิดการออกแบบนี้ให้ใครก็เอาไปทำได้ล่ะครับ

เมื่อต้นปี 2537 ตอนนั้นเมืองไทยยังไม่มีอินเทอร์เน็ตแบบที่เราใช้กันอยู่ ผมเคยโพสต์ประเด็นที่น่าสังเกตไว้ใน soc.culture.thai USENET newgroup ยกประเด็นว่าศูนย์การค้า 5 แห่งที่กำลังจะเปิด (ในเวลานั้น) คือ เสรีเซ็นเตอร์ ซีคอนสแควร์ ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต อิมพีเรียลลาดพร้าว และแฟชั่นไอซ์แลนด์ ทั้ง 5 แห่งมีพื้นที่รวมกัน 1.835 ล้านตารางเมตร ถ้าใช้ไฟฟ้าสำหรับเครื่องปรับอากาศ แสงสว่าง และการใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ตารางเมตรละ 250 วัตต์ โดยเปิดทำการวันละ 12 ชั่วโมง จะใช้พลังงานไฟฟ้าวันละ 5.505 GWh ซึ่งนั่นคิดเป็น 49% ของกำลังไฟฟ้าที่ กฟผ.ผลิตไฟฟ้าเพิ่มได้ ในช่วงปี 2535-2539 หมายความว่าศูนย์การค้า 5 แห่ง ใช้ปริมาณไฟฟ้าสำรองของประเทศในช่วงนั้นไป 49% แล้ว กฟผ.จึงต้องแจ้นไปซื้อไฟฟ้าจากลาว

อ่านต่อ »


ปลูกต้นไม้เท่าไรจึงพอ

อ่าน: 4208

คำตอบแบบรวดเร็วฉาบฉวย คือปลูกไปเรื่อยๆ ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ครับ ถ้าพอใจคำตอบนี้ ก็ไม่ต้องอ่านข้างล่างแล้ว บ๊าย บาย

เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป ว่าระดับของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศขณะนี้ สูงกว่าระดับที่โลกเคยประสบมาตลอดประวัติศาสตร์ของโลก ตั้งแต่มีสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นต้นมา

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีปริมาณสูงขึ้นมากตามลำดับหลังจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อสองร้อยกว่าปีก่อน ระดับคาร์บอนไดออกไซต์ในบรรยากาศขณะที่เขียนนี้ อยู่ที่ 388.59 ส่วนในล้านส่วน ในขณะที่เมื่อยี่สิบสองปีก่อน อยู่ที่ 349.99 ส่วนในล้านส่วนเท่านั้น [รายละเอียด]

ตลอดยุค “ความก้าวหน้า” ของมนุษย์ เราขยันปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาอย่างต่อเนื่องและมากมาย ซึ่งน่าเชื่อได้ว่าจะทำให้โลกต้องปรับตัวอย่างรุนแรง เนื่องเพราะอุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น ความชื้นก็เพิ่มตาม ทำให้พายุมีความรุนแรงขึ้น น้ำแข็งละลาย ปริมาณน้ำจืดสำรองมีน้อยลง ในขณะที่ประชากรของโลกเพิ่มขึ้นทุกวัน น้ำจะขาดแคลน อาหารจะไม่พอ (ไม่นับที่เสียหายจากความแปรปรวนของภูมิอากาศ)

เมืองไทยให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโตเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว แล้วว่ากันที่จริงก็มีความคืบหน้าที่น่ายินดีเหมือนกันครับ พิธีสารเกียวโตกำหนดขั้นตอนวิธีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไว้หลายอย่าง เช่น JI ET และ CDM ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก./TGO อนุมัติโครงการ CDM 111 โครงการ ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในไทยได้ 6.95 ล้านตันต่อปี ทำให้เมืองไทยกระโดดขึ้นมาอยู่ใน Top 10 เรื่องการลดก๊าซเรือนกระจกผ่าน CDM [ข่าว] นานๆ ครั้ง จะเห็นหน่วยงานของรัฐทำอะไรที่ถูกใจนะครับ ขอปรบมือให้เลย

อ่านต่อ »


เปลี่ยนคาร์บอนเป็นน้ำมันดิบ

อ่าน: 4015

อยากให้ดูวิดีโอคลิปอันหนึ่งครับ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการดูดคาร์บอนจากอากาศ แล้วใช้กระบวนการซึ่งมีชื่อว่า Thermal Depolymerization Process หรือ TDP เปลี่ยนคาร์บอนที่ดูดมาไปเป็นน้ำมัน(ดิบ) เศษที่เหลือฝังกลบไว้

อย่าเพิ่งกลัวว่าเป็นเรื่องเทคนิคแล้วจะไม่รู้เรื่องนะครับ มันเป็นเรื่องเทคนิคแน่! แต่ไม่ยากเกินเข้าใจหลักการ เพราะ TDP เป็นกระบวนการเลียนแบบธรรมชาติในการสร้างน้ำมันดิบ อาศัยความร้อน-ความกดดัน แยกสลายสารประกอบต่างๆ ลงเป็นระดับอะตอม เมื่อรวมตัวกันอีกครั้ง จึงเกิดสารประกอบไฮโดรคาร์บอนหลายชนิด ทั้งของแข็ง ของเหลว และก๊าซ มีคุณสมบัติเหมือนที่เกิดขึ้นในบ่อน้ำมัน

อ่านต่อ »


เปลี่ยนพลาสติกกลับเป็นน้ำมันดิบ

อ่าน: 3705

เมื่อปีที่แล้ว มีข่าวนักประดิษฐ์ชาวญี่ปุ่น ประดิษฐ์เตาที่เปลี่ยนพลาสติกให้กลับเป็นน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ง่ายจนน่าทึ่ง

คลิปเรื่องนี้ กลับไปปรากฏอีกครั้งหนึ่งใน United Nations University ซึ่งได้รับความสนใจมากอีกครั้งหนึ่ง

อ่านต่อ »


แกว่งตุ้มสร้างงาน

อ่าน: 6563

ลูกตุ้มที่แกว่งหรือหมุนรอบจุดหมุน จะเกิดแรงเหวี่ยง

การผลักลูกตุ้มให้แกว่งใช้พลังงานไม่มาก เมื่อลูกตุ้มซึ่งต่ออยู่กับคานแกว่งแล้ว จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจุดศูนย์กลางของมวล ทำให้โมเมนต์ของคานเปลี่ยนแปลง และทำให้ปลายอีกด้านหนึ่งของคานแกว่งไปด้วย

เฮ้อ… อธิบายยากจัง ดูรูปทางขวาดีกว่าครับ

จะเห็นคานสีเหลืองสองคาน เรียกเป็นคานอันล่าง กับคานอันบน; ที่คานอันล่าง ข้างขวามีลูกตุ้มรูปพัดสีแดงแขวนอยู่กับแขนด้านสั้น ส่วนแขนด้านยาว ต้อกับเพลสหมุนสีน้ำเงิน เมื่อลูกตุ้มรูปพัดถูกผลักให้แกว่งไปมา คานสีเหลืองก็ขยับขึ้นลง ทำให้ไปหมุนเพลาสีน้ำเงิน

ตรงนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ในเชิงเส้น (คือผลักลูกตุ้มไปข้างหน้าตรงๆ) แต่ด้วยเครื่องมือกล เกิดการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่เชิงเส้นเป็นการเคลื่อนที่เชิงมุม (เรียกภาษามนุษย์ว่าการหมุน)

เมื่อมีการหมุนแล้ว สามารถใช้หลักของของคาน สามารถนำไปขยายให้เป็นช่วงชัก เอาไปปั๊มน้ำจากบ่อได้… ซึ่งมีผู้ทดลองทำ ปรากฏว่าสูบน้ำได้ในระดับความลึก 12 เมตร

ในสเกลที่ใหญ่ขึ้นไป เมื่อตุ้มมีน้ำหนักมากขึ้น มีแขนที่ยาวขึ้น สามารถใช้สร้างกำลังกลไปปั่นไฟฟ้าได้… เข้าทำนอง สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา

ถ้าแกว่งเบาๆ ก็ได้กำลังน้อย ถ้าแกว่งจนหมุนครบรอบ ก็จะได้กำลังมากที่สุดเท่าที่เครื่องจะทำได้ แล้วแกว่งจากซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้าย จะหมุนตามเข็มหรือทวนเข็มนาฬิกา ก็ได้กำลังเท่ากัน จึงใช้ได้ทั้งคนถนัดขวาและถนัดซ้าย (ส่วนคนที่ถนัดแต่วิจารณ์ คงไม่เวิร์คอยู่ดี ฮ่าๆๆๆ)

กำลังในการสูบน้ำหรือปั่นไฟมาจากไหน ก็มาจากแรงผลักให้ลูกตุ้มแกว่ง+แรงดึงดูดของโลกครับ ตรงนี้ล่ะน่าสนใจ เพราะว่าเครื่องมือกลต่างๆ ละเลยกำลังจากแรงดึงดูดที่มีอยู่ตามธรรมชาติ

อ่านต่อ »


เมื่อโลกผลิตน้ำมันได้น้อยลง

อ่าน: 3804

บันทึกนี้ เขียนขึ้นเมื่อราคาน้ำมันดิบต่ำลงผิดปกติ แต่นั่นก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงสิ่งเลวร้ายที่โลกกำลังจะเผชิญ…

เพียงใช้สามัญสำนึก ก็บอกได้แล้ว ว่าวันหนึ่งน้ำมันตามธรรมชาติจะหมดไปจากโลกแน่นอน… คำถามที่น่าถามจึงไม่ใช่ว่าน้ำมันจะหมดหรือไม่หมด แต่หมดเมื่อไหร่… ที่ตลกก็คือ ผมไม่คิดว่าคำตอบว่าน้ำมันจะหมดโลกเมื่อไหร่จะสำคัญหรอกนะครับ ก่อนจะถึงเวลาที่น้ำมันหมดโลก อาจจะเกิดเหตุการณ์ซึ่งทำให้น้ำมันไม่มีความหมายอีกต่อไป เพราะว่าโดยทั่วไปคนจะไม่มีกำลังจัดหาน้ำมันมาใช้ (ผู้ที่หาน้ำมันมาใช้ได้ ต้องใช้กำลัง)

ทฤษฎี Peak Oil และผลร้ายรุนแรง

เหตุการณ์นี้มีจุดเริ่มต้นที่สถานการณ์ที่เรียกว่า Peak Oil อันเป็นสถานการณ์ที่โลกผลิตน้ำมันออกมาเป็นปริมาณสูงสุด หลังจาก Peak Oil แล้ว กำลังการผลิตจะลดลงเรื่อยๆ ไม่ว่าจะอ้างว่าเก็บไว้ใช้ในอนาคต หรือว่าจะพยายามสร้างราคาให้สูงขึ้น ข้อเท็จจริงก็คือปริมาณน้ำมันในตลาดโลกลดลงหลัง Peak Oil ซึ่งผู้เชี่ยวชาญต่างก็คาดเดากันไป หลายคนทายผิดว่าน่าเกิดไปแล้ว แต่ที่เหลือก็ไม่มีสักคนที่ทำนายว่า Peak Oil อยู่ห่างปัจจุบันเกิน 20 ปี!

อ่านต่อ »



Main: 1.1381390094757 sec
Sidebar: 0.39399099349976 sec