พุทธศาสนิกชน

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 2 January 2012 เวลา 20:35 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 2669

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี นำญาติโยมจากริกไปในแดนพุทธภูมิ และที่วัดเวฬุวันมหาวิหาร อันเป็นวัดแห่งแรกในพุทธศาสนาที่พระเจ้าพิมพิสารถวายและเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ประกาศหัวใจของศาสนาพุทธและแนวทางเผยแผ่พระศาสนา

เมื่อคณะจาริกไปที่วัดเวฬุวัน ท่าน ว.วชิรเมธีก็ได้แสดงธรรมะบรรยาย ตั้งชื่อว่าพุทธศาสติ๊กชน ไม่ได้สะกดผิดหรอกครับ ชาวพุทธนั้นส่วนใหญ่แล้วไม่ได้ปฏิบัติตามแนวทางการเป็นชาวพุทธ เพียงแต่ติ๊กในแบบฟอร์มต่างๆ ว่าเป็นพุทธเท่านั้น

ธรรมะบรรยายนี้ เป็นการขยายความของโอวาทปาฏิโมกข์เป็นภาษาง่ายๆ (แต่ลึกซึ้งนะครับ) มีเกร็ดต่างๆ สนุกดี มีโดนๆ หลายตอนครับ ที่ว่าโดนนี้ ไม่โดนตัวเองนะครับ แต่เห็นเหตุการณ์เหล่านี้ได้ทั่วไปในสังคมไทย เช่น “หลักลอย” “กระตุ้นให้คนกลัว แล้วก็ตบทรัพย์” “อย่าผูกขาดความจริง” เป็นต้น

อ่านต่อ »


จิตใจอันสมบูรณ์

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 15 December 2011 เวลา 0:36 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 2846

จิตใจอันสมบูรณ์

จิตใจอันสมบูรณ์นั้น เป็นจิตใจซึ่งมีคุณภาพแห่งความอิ่มเอิบ เบิกบาน และสร้างสรรค์

มันเป็นจิตใจซึ่งวางรากฐานอยู่ในความเป็นจริง ซึ่งปรากฏอยู่ข้างหน้านั้นอย่างชัดเจน

มันเป็นจิตใจซึ่งกลมกลืนอยู่กับความเป็นจริง ซึ่งผ่านเข้ามาในการรับรู้ที่ใสสะอาด
เมื่อร้อน ก็รับรู้ว่าร้อน แล้วหาทางปฏิบัติให้กลมกลืน
เมื่อหนาว ก็รู้ว่าหนาว
เมื่อรู้ว่าไปไม่ได้ ก็หยุด เพื่อหาโอกาสใหม่
เมื่อเด็กร้องไห้ ก็เข้าไปอุ้ม
เมื่อลูกน้องทำผิด ก็บอกให้แก้ไข ด้วยความรัก
เมื่อหัวหน้าสั่งงานก็ทำตาม
เมื่อไม่เข้าใจก็ซักถาม
เมื่อได้ ก็ดีใจ
เมื่อไม่ได้ ก็ถือว่าได้แล้ว
ฯลฯ

มันหมายถึงจิตใจซึ่งอิ่มเอิบไปด้วยความรักที่แท้ นั่นคือการให้อิสระ ไม่คิดครอบครอง บงการ หรือตำหนิ แต่เข้าไปเกี่ยวข้องกับผู้อื่นอย่างเอื้อเฟื้องอกงามเติบโต

อ่านต่อ »


จิตใจอันขาดพร่อง

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 14 December 2011 เวลา 0:07 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 2864

จิตใจอันขาดพร่อง

จิตใจอันขาดพร่องนั้น เป็นจิตใจซึ่งมีความขุ่นมัว หม่นหมอง วิตกกังวล โกรธเคือง ไม่พอใจ หงุดหงิด ข่มเหง คิดร้าย เคืองแค้น ผิดหวัง ซึมเศร้าและหดหู่

มันเป็นจิตใจซึ่งวางอยู่บนความปรารถนาของตน ซึ่งเกิดจากความเชื่ออันคับแคบ ความเคยชินอันตายตัวและค่านิยมประเพณีอันไม่สร้างสรรค์

ความปรารถนาของตนนั้น มักจะทำให้เกิดความคาดหวังให้เป็นไปดัง “ใจ” ตน ซึ่งมักจะทำให้เกิดความผิดหวังและขุ่นเคือง

มันจะคิดเสมอว่า สิ่งนี้น่าจะเป็นอย่างนั้น สิ่งนั้นน่าจะเป็นอย่างนี้ สิ่งนี้ไม่น่าเป็นอย่างนี้ สิ่งนี้ไม่น่าเป็นอย่างนั้น

มันเป็นจิตใจซึ่งถูกหวั่นไหวด้วยความหวาดกลัว และเป็นความกลัวว่าเหตุการณ์และสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น จะไม่เป็นไปอย่างที่ตัวเองอยากให้เป็น

มันเป็นจิตใจซึ่งพยายามเก็บซ่อนตัวเองไว้ในกรอบแห่งความเชื่อ และความคิดที่ตายตัว ไม่ยอมปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้เกิดความตายตัวไม่ยืดหยุ่น และทำให้เกิดการแก้ตัว ปกป้อง มิให้สิ่งอื่นใดมาทำให้มันสั่นสะเทือนได้

อ่านต่อ »


นายช่างชีวิต

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 13 December 2011 เวลา 0:24 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3026

สองสามวันนี้ ผมจะไปสวนป่า อาจจะเขียนบันทึกไม่สะดวกนะครับ ดังนั้นขอนำเอาข้อคิดของ อาจารย์โสรีช์ โพธิแก้ว ซึ่งลูกศิษย์ลูกหาร่วมกันพิมพ์เอาไว้ มาแปะไว้สักเรื่องสองเรื่อง

ผมมีโอกาสพบกับอาจารย์เมื่อวันฉัตรมลคลปีที่แล้ว ได้แง่คิดมากมาย และเขียนบันทึกไว้สองเรื่อง [บทเรียนจากสวนป่า 4-9 พ.ค.] และ [สิ่งหนึ่ง นำสู่อีกสิ่งหนึ่ง] น่าดูทั้งสองบันทึกครับ

นายช่างชีวิต

ช่างเขียนฝีมือยอดเยี่ยม บรรจุอารมณ์อันอ่อนโยน
และกราดเกรี้ยวลงบนผืนผ้าใบ ด้วยรอยแปรง ด้วยการใช้สีเข้มหรือจาง
ด้วยแสงแรเงา และด้วยสีสันอันบรรเจิดหรือหม่นหมอง
ภาพที่เขาเขียน สะท้อนการสร้างตัวของเขาเอง

ช่างปั้นฝีมือประณีต ถ่ายทอดอารมณ์สารพัน
บรรจุไว้ในขี้ผึ้งหุ่น ซึ่งเขาสร้างขึ้น ให้ผู้อื่นได้รับรู้ถึงตัวเขา

ดีที่สุด ที่ช่างเขียนจะกระทำได้
คือการเขียนรูปในผืนผ้าใบ

ดีที่สุด ที่ช่างปั้นจะทำได้
คือการปั้นขี้ผึ้งหรือปูน

มนุษย์ทุกคนเป็นช่าง เขาเป็นช่างผู้ปั้นชีวิต
ชีวิตที่เขาจะปั้นนั้น คือชีวิตของเขาเอง

อ่านต่อ »


ทางสายเอก

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 8 December 2011 เวลา 0:43 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 2497

วัดมงคลชัยพัฒนา สระบุรี

อ่าน: 3986

สืบเนื่องจากบันทึกที่แล้ว จะถวายพระในวันศุกร์ แต่ว่าวัดมีงานใหญ่ เกรงว่าจะไม่สะดวกสำหรับพ่อแม่ซึ่งอายุมากแล้ว

วันนี้ก็เลยชวนกันนำพระไปถวายที่วัดมงคลชัยพัฒนาในตอนบ่ายเลยครับ (14.60216°N, 100.90844°E) วัดนี้มีทั้งปริยัติและปฏิบัติ แต่เนื่องจากไม่ได้นัดไว้ล่วงหน้า ท่านเจ้าอาวาสไปปากช่องเพื่อนำอะไรบางอย่างกลับมาในงานของวัดในวันศุกร์ แต่เจ้าหน้าที่ของวัดได้ต่อโทรศัพท์ให้คุยกับเจ้าอาวาส และเจ้าอาวาสได้มอบให้รองเจ้าอาวาส (พระมหาสายชล) รับพระแทน

อ่านต่อ »


ผูกขาด

อ่าน: 3763

ผูกขาด เป็นคำกริยา แปลว่าสงวนสิทธิ์ไว้แต่ผู้เดียว

คำว่าผูกขาด มักจะมีความหมายในเชิงการค้าผูกขาด การค้าที่ไม่เป็นธรรม แม้ว่าเมืองไทยจะมี พรบ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 แต่โชห่วยก็เสร็จโมเดิร์นเทรดตามเคย ซ้ำซาก ไม่รู้จบ มีกิจการสัมปทานเฟื่องฟู แม้รู้ว่าเป็นการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม (ไม่มีการแข่งขัน หรือแข่งแบบแบ่งเค้กเสร็จแล้ว คือแข่งขันกันน้อยราย) ก็ยังอุตส่าห์ต่ออายุสัมปทานไปอีกเป็นสิบปีหน้าตาเฉย เรื่องที่ควรเร่งทำกลับไม่ทำ ส่วนเรื่องที่ไม่ควรทำหรือไม่จำเป็นต้องเร่งด่วน ก็ดันทำอย่างกับว่าไม่มีอะไรอย่างอื่นอีกแล้วจะให้ทำ

บ่นเรื่องอดีตไปก็เท่านั้นล่ะครับ อดีตเกิดขึ้นแล้ว เปลี่ยนแปลงไม่ได้

แต่ยังมีการผูกขาดที่เลวร้ายไม่แพ้การผูกขาดทางการค้าอีกนะครับ…

อ่านต่อ »


ถึงบอกให้ก็ไม่รู้หรอก…

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 29 July 2011 เวลา 1:42 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3460

“ถึงบอกให้ก็ไม่รู้หรอก..
มันเหมือนนกที่อยากรู้เรื่องของปลาในน้ำ
ถึงปลาบอกความจริงว่า……
อยู่ในน้ำเป็นอย่างไร
นกก็ไม่มีทางจะรู้ได้
ตราบใดที่นกยังไม่เป็นปลา”

พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)
วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

อ่านต่อ »


ความจริงจากอีกด้านหนึ่ง

อ่าน: 3431

คำว่า “ความจริง” (truths) นั้น ไม่ว่ามองจากด้านไหนก็จริงทั้งนั้น ไม่ขึ้นกันผู้สังเกต ไม่ขึ้นกับผู้ตีความ ไม่เกี่ยวกับกติกา ไม่เกี่ยวว่าจะชอบหรือไม่ชอบ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย แต่เป็นจริง ส่วนคำว่า “ข้อเท็จจริง”​ (facts) นั้นขึ้นกับการสังเกต มีการตีความถูกหรือผิด มีกติกา มีค่านิยม มีถูกใจและไม่ถูกใจ มีอัตตาและอคติมาเกี่ยวข้อง มักจะต้องใช้ข้อเท็จจริงจากหลายๆ ด้านมาพิจารณาประกอบกัน — ข่าวในสื่อเป็น facts ไม่ใช่ truths ผู้บริโภคข่าวสารตัดสินเอาเอง ถ้าสื่อตัดสินให้หรือไม่ได้ให้ข้อเท็จจริง สื่อนั้นเป็นสื่อปลอม… มีเหมือนกันที่คนแปล facts เป็นความจริง และแปล truths เป็นข้อเท็จจริง แต่ผมแปลอย่างนี้ล่ะครับ

การจัดการภัยพิบัติ เป็นความอลหม่านตามธรรมชาติ ข้อมูลถูกกลั่นกรองเป็นลำดับชั้น จนรายละเอียดหายไปหมด การตัดสินใจตามลำดับชั้น อาจจะเหมาะกับผู้บริหารที่ไม่ต้องการรู้รายละเอียด และสั่งการได้ในระดับของทิศทาง โดยมีข้อมูลที่ไม่ทำให้การกำหนดทิศทางผิดพลาดไป แต่การสั่งการเป็นลำดับชั้นไม่เหมาะกับการจัดการภัยพิบัติ ทั้งนี้เพราะทุกชีวิตสำคัญทั้งนั้น ไม่สามารถจะตัดใครทิ้งไปได้ด้วยการกลั่นกรองเป้นลำดับชั้น รูปแบบการจัดการที่ดีกว่าคือการให้อำนาจดำเนินการลงไปยังผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ เพราะเขาอยู่หน้างานครับ รู้ข้อจำกัดดีกว่า พณฯ บนหอคอย

อ่านต่อ »


คน(ที่)มักพูดเท็จ ไม่พึงทำบาป ย่อมไม่มี

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 8 July 2011 เวลา 0:16 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3521

คาถาธรรมบท โลกวรรคที่ ๑๓

[๒๓] บุคคลไม่พึงเสพธรรมอันเลว ไม่พึงอยู่ร่วมกับความประมาท ไม่พึงเสพมิจฉาทิฐิ ไม่พึงเป็นคนรกโลก ภิกษุไม่พึงประมาทในบิณฑะที่ลุกพึงขึ้นยืนรับ พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึงประพฤติให้ทุจริต ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า มัจจุราชย่อมไม่เห็นบุคคลผู้พิจารณาเห็นโลก ดุจบุคคลเห็นฟองน้ำเห็นพยับแดด ฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงมาดูโลกนี้อันวิจิตรเปรียบด้วยราชรถที่พวกคนเขลาหมกอยู่ [แต่] พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่ ก็ผู้ใดประมาทแล้วในกาลก่อน ในภายหลังผู้นั้นย่อมไม่ประมาท เขาย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น ผู้ใดทำกรรมอันลามกผู้นั้นย่อมปิด [ละ] เสียได้ด้วยกุศล บุคคลนั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น โลกนี้มืดมน ในโลกนี้น้อยคนที่จะเห็นแจ้ง สัตว์ไปสวรรค์ได้น้อยดุจนกพ้นจากข่าย ฝูงหงส์ย่อมไปในทางพระอาทิตย์ ท่านผู้เจริญอิทธิบาทดีแล้ว ย่อมไปในอากาศด้วยฤทธิ์ นักปราชญ์ทั้งหลายชนะมารพร้อมทั้งพาหนะได้แล้ว ย่อมออกไปจากโลก คนล่วงธรรมอย่างเอกเสียแล้ว เป็นคนมักพูดเท็จ ข้ามโลกหน้าเสียแล้ว ไม่พึงทำบาป ย่อมไม่มี คนตระหนี่ย่อมไปสู่เทวโลกไม่ได้เลย คนพาลย่อมไม่สรรเสริญทานโดยแท้ ส่วนนักปราชญ์อนุโมทนาทาน เพราะการอนุโมทนาทานนั่นเอง ท่านย่อมเป็นผู้มีความสุขในโลกหน้า โสดาปัตติผลประเสริฐกว่าความเป็นพระราชาเอกในแผ่นดิน กว่าความไปสู่สวรรค์ และกว่าความเป็นอธิบดีในโลกทั้งปวง ฯ

จบโลกวรรคที่ ๑๓

อ่านต่อ »



Main: 0.058942079544067 sec
Sidebar: 0.16271281242371 sec