ทริปดูฮวงจุ้ยที่สวนป่า 9-11 กพ 2555

อ่าน: 3016

ไม่ได้ไปดูฮวงจุ้ยหรอกครับ ในเมื่อจะสร้างบ้าน ก็ต้องเตรียมการเยอะ

ประเด็นสำคัญของทริปนี้คือพาน้องชายไปดูสถานที่จริง เพื่อที่จะได้วางผังหลักของหมู่บ้านโลก เขาก็มีไอเดียของเขาตามประสาคนที่มีประสบการณ์มากมายในโครงการทุกขนาด ส่วนผมก็มีความฝันของผม ถึงเป็นพี่น้องกัน ก็ต้องคุยกันเยอะๆ เพื่อปรับจูนความคิดให้เข้ากันได้นะครับ ถึงอย่างไรก็ทำโครงการเดียวกัน (หมู่บ้านโลก) ประสบการณ์ของน้องเป็นสิ่งที่มีค่า เมื่อเขาเตือนอะไรก็ต้องฟังไว้… ไปเที่ยวนี้ก็ถือโอกาสคุยกับครูบา+แม่หวีในฐานะเจ้าของที่ด้วย ว่าคิดอะไร จะทำอะไร เพื่ออะไร

มีผู้ใกล้ชิดครูบาบอกกับผมว่าเป็นห่วง ปัจจุบันนี้สวนป่ามีค่าใช้จ่ายซึ่งผู้มาเยือนมองไม่เห็น คือค่าจ้างคนงานซึ่งก็หนักเอาการ ครูบาท่านไม่รับผู้มาเยือนที่ไม่ได้ตั้งใจมาเรียนรู้แล้วครับ อยากไปอบรมที่ไหนก็ไป ถ้ามาสวนป่าแล้วไม่ได้ตั้งใจมาเรียนรู้ก็อย่าเสียเวลาด้วยกันทั้งสองฝ่ายเลยนะครับ… เรื่องจ้างคนงานนี้ ทั้งครูบาและแม่หวีอายุมากขึ้น สุขภาพก็ต้องซ่อมแซม ไม่จ้างคนงานก็ไม่ไหวหรอกครับ ครั้นจะจ้างก็เป็นภาระหนักเหมือนกัน เรื่องที่จะปรับปรุงที่พักก็เป็นเรื่องตึงมือเข้าไปอีก ผมอยากให้ครูบา+แม่หวีได้พักผ่อนบ้าง ไม่อยากให้มาเป็นกังวลกับการลงทุนใหม่ๆ อีก

ดังนั้นเรื่องที่พัก ก็คงโยนไปทางหมู่บ้านโลกซึ่งอยู่ห่างออกไปร้อยห้าสิบเมตร ให้เดินไปนอน มีที่พักเอาไว้นอน ติดเครื่องปรับอากาศให้ ในแต่ละหลังมีที่นอนเป็นสัดเป็นส่วน เข้านอนแล้วมองไม่เห็นกัน แต่ละหลัง พักหนึ่งคนหรือพักสิบคนคิดราคาเดียวกันหมด มีอย่างนี้สักสามหลัง ก็จะรับกลุ่มใหญ่ขึ้นได้อีกมาก ตื่นเช้า ก็เดินไปเรียน ไปทำกิจกรรม คิดว่าปูพรมสวนป่าด้วย wi-fi mesh อยู่ตรงไหนก็ถ่ายรูปแล้วอัพโหลดขึ้นโซเชียลเน็ตเวิร์ค (เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ กูเกิลพลัส) ได้เลย

อ่านต่อ »


เที่ยวงานเกษตรเทรดแฟร์ 2555

อ่าน: 2899

เย็นนี้ ไปเที่ยงงานเกษตรเทรดแฟร์ 2555 มาครับ

งานนี้ไม่ใช่งานเกษตรแฟร์ ซึ่งเลื่อนไปจัดช่วงเดือนพฤษภาคม แต่เป็นงานที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ได้นำสินค้ามาขาย และนำกำไรกลับไปฟื้นฟูชีวิตขึ้นมาใหม่

จากข่าวแจก …ที่ผู้ประกอบการและพ่อค้าแม่ค้ามาออกร้านจำหน่ายสินค้าในราคาย่อมเยา มีรวมกันทั้งหมด 7 โซน เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในการระบายผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะจังหวัดที่ประสบอุทกภัย เช่น สุโขทัย นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ จะตั้งจุดจำหน่ายอยู่บริเวณอาคารศาลาหกเหลี่ยม ประชาชนที่สนใจสามารถเที่ยวชมงานได้โดยงานเกษตรเทรดแฟร์ 2555 จะมีไปจนถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์นี้ เริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 – 22.00 น.ทุกวัน บริเวณหอประชุม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พอรู้ว่าจะมีงาน ผมก็ SMS ไปถามครูบาครับว่าอยากได้อะไรบ้างหรือไม่ ครูบาตอบว่า​ “มะตูมยักษ์. มะขามป้อมยักษ์” ยักษ์ทั้งนั้นเลย ราคาก็ยักษ์ด้วยเหมือนกันครับ ซื้อมาอย่างละต้น คนขายลดให้ห้าร้อยบาท อู้หู :b (ไม่ได้ต่อเลยนะเนี่ย)… มะขามป้อมยักษ์นั้นครูบาบอกผ่านครูปูมาตั้งแต่ปีที่แล้วแล้วครับ แต่ว่าซื้อให้ไม่ทันเพราะว่าออกมาจากงานเสียแล้ว เกษตรแฟร์หาที่จอดรถยากมากกกกกกกก ประกอบกับพระอาทิตย์จะตกอยู่แล้วด้วย [เที่ยวงานเกษตรแฟร์ 2554]

บริเวณงานอยู่รอบๆ สระน้ำหน้าหอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัย ผมไปจอดหน้าหอสมุดกลางของกรมวิชาการเกษตร เดินนิดเดียวก็มาถึงบูธที่ขายต้นไม้ทั้งสอง (B60-61) ซึ่งได้โทรติดต่อเอาไว้ล่วงหน้าตั้งแต่เมื่อคืนแล้ว แพงไม่ว่าหรอกครับ แต่อย่าหลอกกันก็แล้วกัน ไม่งั้นปลูกไปหลายปี พอโตขึ้นมา กลายเป็นอะไรก็ไม่รู้

อ่านต่อ »


โรงเพาะเห็ด

อ่าน: 5869

คืนนี้ครูบาโพสต์รูปเห็ด แล้วบอกว่า “เกิดทั่วไปแล้วตอนนี้ ขอเพียงมีความชื้นพอดี เห็ดก็เกิดได้ทั้งปี เห็ดทำหน้าที่อะไรบ้าง มนุษย์ยังรู้ไม่หมด เป็นเครื่องมือวัดความชื้นในอากาศในดินได้ด้วย”

เมื่อสามปีครึ่งที่ผ่านมา ไปเที่ยงงานพฤกษาสยามแล้วไปเจอระบบให้น้ำฝอยพร้อมทั้งกระโจมเพาะเห็ดครับ [เที่ยวงานพฤกษาสยาม (2)] ด้วยความที่เราไม่รู้เรื่องก็ต้องศึกษาไปทั่ว พบคำแนะนำหลายอย่าง แต่สองเรื่องซึ่งดูจะสำคัญที่สุดคือ ความชื้น และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์

ชาวฟาร์มเห็ดให้ความสำคัญกับความชื้น แต่ไม่ค่อยสนใจตัวหลัง ดังนั้นกระโจมเห็ดจึงมักตั้งอยู่กับพื้น อัดละอองน้ำเยอะๆ ให้ชื้นเข้าไว้


(ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต)

อ่านต่อ »


เวทีเสวนาสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการรับมือภัยพิบัติในอนาคต

อ่าน: 3524

คุยกันเช้านี้ เม้งบอกว่าว่าขึ้นมากรุงเทพ มาบรรยายในเวทีเสวนาสมัชชาสุขภาพ สนุกมาก (คนพูดสนุก!)

ผมก็เลยหาวิดีโอคลิป ปรากฏว่าเจอครับ ดูเลยก็แล้วกัน ยาวหน่อย แต่สนุกดี

ดร.สมพร ช่วยอารีย์
ดร.ธรณ์​ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ดร.เสรี ศุภาราทิตย์
ดร.สมิทธ ธรรมสโรช

embed code ของเว็บ ไม่มีให้ปิด autoplay ซะด้วย (อย่าทำเว็บอย่างนี้) ดังนั้นพอเปิดหน้านี้แล้ว ปิดคลิปที่ 2 เอาไว้ก่อนนะครับ

อ่านต่อ »


เที่ยวงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2555

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 3 February 2012 เวลา 21:15 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 5173

วันนี้ฤกษ์ดี ช่วงเช้ามีเทปบันทึกรายการ “กิน อยู่…คือ” ซึ่งไปบันทึกรายการตอน คน..ป่า..อาหาร อีสานคืนถิ่น ที่สวนป่า มีทั้งครูบาและแม่หวี ภาพสวย เรื่องดีครับ ทุกช็อต ทุกซีน ผมจำได้หมดเลยว่าอยู่ตรงไหน หลายปีที่ผ่านมา ไปสวนป่ามากว่ายี่สิบครั้ง ไปบ่อยจนแม่สงสัยว่าไปติดสาวหรือเปล่า ต่อไปนี้คงไม่นับแล้วครับ เพราะว่าจะสร้างบ้านพักที่นั่น ต่อไปต้องเปลี่ยนจาก “ไปสวนป่า” เป็น “มาสวนป่า”

ช่วงเย็นๆ ก็ไปเที่ยวงานนักประดิษฐ์ ตั้งใจไปดูเครื่องเชื่อม “เปลวเพลิงความร้อนจากน้าไอน้ำพลาสมา” เป็นงานประดิษฐ์ของอาจารย์โกศิน สวนานนท์ ซึ่งสอนอยู่ที่คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ซึ่งได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

เดินเข้างานไป หาบูธ วช. (เจ้าของงาน) แล้วบูธของ อ.โกสินก็อยู่ทางขวาของบูธ วช.เลย เสียดายที่ผมไม่ได้ไปเมื่อวานซึ่งเป็นวันเปิดงานด้วยคิดว่าคงวุ่นวายเกินไป พอไปวันนี้ อาจารย์ไม่ได้เอาอุปกรณ์มาด้วย แต่ก็นั่งคุยเรื่องสัพเพเหระอยู่สักสองชั่วโมงคงจะได้ มีคนเข้ามาแทรกสามสี่ครั้ง ผมก็เลยขอตัวออกมาเดินดูบูธของเด็กๆ ซึ่งเวลาไปเที่ยวงานอย่างนี้ ต้องถามและกระตุ้นเยอะๆ ครับ

งานอย่างนี้ไม่ใช่งานที่ไปปล่อยของว่าเรารู้อะไร แต่ไปถามว่ากว่างานจะออกมาเป็นอย่างที่แสดงอยู่นี้ ผ่านอะไรมาบ้าง มีทางที่ดีกว่านี้หรือไม่ ลองค้นข้อมูลเพิ่มอย่างนี้ดีหรือไม่ ฯลฯ ปีที่แล้ว เจอกังหันลมแนวตั้ง ก็ถามว่าทำไมเป็นแบบ drag ทำแบบ lift ได้ไหม ลดแรงต้านได้อย่างไร ทำไมใช้สี่ใบ (สร้างง่าย เป็นกากะบาด) ทำไมไม่สาม หรือหกใบ (ไม่ได้ลอง) ฯลฯ ปีนี้ไปเจอเรือดำน้ำ ก็เลยชวนทำเรือไฮโดรฟอล์ย (ซึ่งไม่ใช่โฮเวอร์คร้าฟต์) ไฮโดรฟอล์ยยกตัวขึ้นเหนือน้ำเมื่อมีความเร็วได้ระดับหนึ่ง ทำให้แรงต้านจากน้ำลดลงมาก จะขนส่งความช่วยเหลือได้ไกลและไม่ต้องกลัวกระแสน้ำแรง เนื่องจากแรงต้านของน้ำต่ำกว่าเรือปกติมาก ทำให้ส่งความช่วยเหลือไปยังพื้นที่ประสบภัยไกลๆ ได้ หรืออพยพคนจากพื้นที่ไกลๆ ได้

อ่านต่อ »


มุมมองผู้บริโภคและพลเมืองต่อแผนแม่บทฯ กสทช.

อ่าน: 3961

สำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (สำนักงาน กสทช.) จะจัดเวทีสัมนาและรับฟังความคิดเห็นในวันพฤหัสบดีที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น. เป็นเรื่อง (ร่าง) แผนแม่บทฯ 3 ฉบับ มีเวลารับฟังความคิดเห็น 35 45 และ 30 นาที ตามลำดับสำหรับร่างแผนแม่บททั้งสามฉบับ ซึ่งคงมีผู้เชี่ยวชาญไปปล่อยของเยอะแยะ คงไม่เหลือเวลาสำหรับผู้บริโภคและพลเมืองคนหนึ่งซึ่งไม่ได้ทำธุรกิจนี้อีกแล้วมั๊งครับ (รู้ว่าคิดไปเอง…แต่ก็คิดอยู่ดี)

อย่างไรก็ตาม ทั้งในฐานะของผู้บริโภคและพลเมือง ผมก็มีความคิดเห็นต่อบางส่วนของแผนแม่บทดังกล่าวบ้างเหมือนกัน อยากจะใช้พื้นที่ตรงนี้เขียนเอาไว้ โดยมองจากบางประเด็นซึ่งสำนักงาน กสทช.ได้เผยแพร่เอกสารไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง (ร่าง) แผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง และบริการเพื่อสังคม (พ.ศ. 2555-2559)

อ่านต่อ »


วิธีก่อสร้างโดมอย่างรวดเร็ว

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 30 January 2012 เวลา 10:10 ในหมวดหมู่ เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 8224

ดีใจที่ไม่เลิกศึกษาเรื่องโดมครับ วันนี้เจอของดีสองอย่าง แต่เขียนอย่างเดียวก่อนตามเวลาว่างก็แล้วกัน

คือว่ามีสิทธิบัตรอันหนึ่งในสหรัฐ ออกมานานแล้ว (คงหมดอายุไปแล้ว) พูดถึงวิธีก่อสร้าง Monolithic dome (โดมแบบครึ่งทรงกลม) ซึ่งมีความแข็งแรงมาก สามารถทนพายุในระดับที่แรงที่สุดได้ ทนต่อแผ่นดินไหว ด้วยการกระจายแรงไปทั่วผิวโค้ง และด้วยความรู้ทางคณิตศาสตร์ เราก็รู้อีกว่าผิวของโดมจะเป็นพื้นผิวที่น้อยที่สุดที่ครอบคลุมปริมาตรสูงสุด หมายความว่าถ้าต้องการห่อหุ้มปริมาตรเท่ากันโดมจะใช้วัสดุน้อยที่สุด หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่าด้ว้วยวัสดุที่มีอยู่เท่ากัน สร้างโดมแล้วจะครอบคลุมปริมาตรสูงสุด

ด้วยโครงสร้างโค้งที่มีความแข็งแรง เราสามารถเอาดินมาคลุมโดมอีกชั้นหนึ่ง ทำให้ดูเหมือนเนินมากกว่าสิ่งปลูกสร้าง

อ่านต่อ »


กระจายน้ำสำหรับการเกษตร

อ่าน: 3416

พืชต้องการน้ำไปละลายสารอาหารในดินและทำให้ปลายรากดูดซึมสารอาหารในดินด้วยวิธีการออสโมซิส

แต่พื้นที่ภายใต้โครงการชลประทานของเมืองไทยมีอยู่กระจ้อยร่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอีสานและภาคเหนือ ดังนั้นเกษตรกรก็ต้องพึ่งแหล่งน้ำธรรมชาติ อันได้แก่แม่น้ำลำคลองหนองบ่อและน้ำบาดาล การชักน้ำเข้าแปลงเกษตรก็ต้องใช้พลังงานซึ่งคือต้นทุนของเกษตรกร ยิ่งจ่ายค่าพลังงานมาก ต้นทุนก็จะสูงขึ้น กำไรหด เหนื่อยไปแล้วไม่เหลืออะไร ต้นทุนพลังงานในการสูบน้ำเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายที่มองกันไม่ค่อยออกเพราะจับต้องไม่ได้และแยกแยะไม่ออกนะครับ

ถ้าถามว่าพืชจะร่าเริงกับน้ำที่ฉีดมาอย่างแรงเป็นฝอยฟู่หรือไม่ อันนี้ผมก็ไม่รู้เหมือนกันครับ เท่าที่จำได้ก็ไม่เคยเป็นพืชเสียด้วย เราสามารถให้น้ำให้ปุ๋ยทางใบได้เหมือนกัน โดยเพิ่มแรงดันน้ำเข้าไปซึ่งหมายความว่าจะต้องจ่ายค่าพลังงานมากขึ้น บางทีเราก็ไม่คิดว่าจะต้องจ่ายค่าพลังงานเรื่องนี้โดยเอาแรงดันน้ำมาจากถังเก็บน้ำสูงๆ จริงอยู่ที่ถังยิ่งสูง ก็ยิ่งมีแรงดันน้ำมาก จะส่งน้ำ(ตามสายยางหรือฉีดน้ำ)ไปได้ไกล แต่ต้นทุนซึ่งเรามักจะไม่คิดกันนั้นมีสองส่วนครับ คือ

  1. ต้นทุนการก่อสร้างเพื่อนำน้ำไปเก็บไว้ที่สูง น้ำหนึ่งคิวหนักหนึ่งตัน ถ้าจะนำน้ำแปดคิวไปไว้สูงสิบเมตร ก็ต้องสร้างโครงสร้างเพื่อรับน้ำหนังแปดตันที่ลอยอยู่เหนือพื้นดินสิบเมตร สร้างได้ครับ วิศวกรทำได้หมด (แต่แพง!)
  2. ต้นทุนการสูบน้ำ อย่างที่รู้กัน น้ำแปดคิวหนักแปดตัน ถ้าจะยกจากผิวดินขึ้นไปสูงสิบเมตร ก็จะใช้กำลังแปดกิโลวัตต์ตามทฤษฎี (จริงๆ แล้วมากกว่านั้นเพราะปั๊มน้ำไม่ได้มีประสิทธิภาพ 100% กล่าวคือมีการสูญเสีย) หมายความว่าถ้าใช้น้ำมาก ก็ต้องจ่ายค่าพลังงานมากขึ้นตามไปด้วย

อ่านต่อ »


บ้านเล็ก (2)

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 26 January 2012 เวลา 16:03 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 3120

แม้ว่าจะดูขัดกับค่านิยมความหรูหราสะดวกสบาย แต่บ้านอยู่อาศัยที่ใหญ่โตนั้น เราไม่ได้ใช้ทุกพื้นที่พร้อมกันนี่ครับ

วิดีโอคลิปอันนี้ก็เป็นอีกแนวคิดหนึ่ง

อ่านต่อ »


บัญชีรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 25 January 2012 เวลา 16:30 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 2382

มูลนิธิโอเพ่นแคร์ เป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ ตามความในมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546

มูลนิธิเปิดบัญชีมูลนิธิโอเพ่นแคร์เพื่องานอาสาฟื้นฟูผู้ประสบภัยพิบัติ SCB 402-177853-3 ใช้วิธีการถ่ายรูปสมุดคู่ฝากทุกหน้ามาแสดงไว้บนเว็บ ซึ่งผู้บริจาคและผู้สนใจสามารถจะเห็นความเคลื่อนไหวของยอดเงินบริจาค ตลอดจนค่าใช้จ่ายทุกรายการเช่นกัน

มูลนิธิฯ แยกเงินบริจาคในบัญชีนี้ออกจากกิจการของมูลนิธิฯ และไม่ได้ถือว่าเงินบริจาคเป็นกำไรหรือทุน หากแต่ใช้เงินบริจาคเพื่อประโยชน์ของผู้ประสบภัยทั้งสิ้น ทั้งเงินบริจาคและเงินที่ใช้จ่าย ทำผ่านธนาคารทั้งหมดเพื่อให้ทุกรายการปรากฏอยู่ในสมุดคู่ฝาก ให้ผู้บริจาคได้เห็นความเคลื่อนไหวทั้งหมด โดยปกติมูลนิธิฯ จะบริจาคเงินบริจาคต่อให้กับผู้ประสบภัยหรือตัวแทนของกลุ่มผู้ประสบภัย โดยตรง หากแต่ว่ามีหลายกรณีที่การเบิกจ่ายผ่านธนาคารในพื้นที่ประสบภัยเป็นเรื่อง ลำบากมาก ในกรณีอย่างนี้ มูลนิธิฯ บริจาคเงินบริจาคต่อตามความจำเป็น ให้กับกลุ่มอาสาสมัครหลายกลุ่มที่ทำงานจริงในพื้นที่ ที่มีความโปร่งใสตรงไปตรงมา สามารถแสดงรายการค่าใช้จ่ายและได้ผลงานได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้เพื่อความถูกต้อง และความสบายใจของผู้บริจาคว่าเงินบริจาคนั้น ไม่ตกหล่นสูญหายไปที่ใด

ใบเสร็จรับเงินที่บริจาคเข้าบัญชีนี้ ไม่เข้าตามเกณฑ์มาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่สามารถใช้หักภาษีได้; อนึ่งเงินบริจาค ไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

อ่านต่อ »



Main: 0.19272089004517 sec
Sidebar: 0.26315593719482 sec