โดมดาว (1)
ในขณะที่ความสนใจ พุ่งไปทางเหนือ เนื่องจากน้ำเหนือกำลังมา ทางใต้ก็กำลังสาหัสเหมือนกัน เผลออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำไป เนื่องจากฝนยังตกอยู่ แล้วพื้นที่เป็นป่าเขาเช่นกัน เมื่อฝนตกบนภูเขา น้ำก็ไหลลงสู่ที่ต่ำ ไปตามลำน้ำซึ่งระบายไม่ทัน น้ำยกตัวขึ้นท่วมเมืองที่น้ำไหลผ่าน ทำความเดือนร้อนไปทั่ว
ฝนทางใต้นั้น ตกแบบน่ารำคาญ คือตกไม่เลิก ไม่ว่ามีลมหรือไม่ ปริมาณฝนเกิด 100 มม.ได้ง่ายๆ ในแต่ละวัน ในเมื่อที่ลุ่มมีน้ำท่วม ผู้คนต้องทิ้งถิ่นฐานบ้านเรือนไปชั่วคราว แล้วจะให้ไปอยู่กันที่ไหนล่ะครับ หนีขึ้นเขาก็ไม่มีอะไรเลย เผลอๆ มีดินถล่มซ้ำอีกเนื่องจากดินอุ้มน้ำไว้ไม่ไหวแล้ว
ฝนตกหนักทั่วฝั่งตะวันตก ที่พังงา น้ำท่วม อ.กะปง อ.ตะกั่วป่า และ อ.คุระบุรี แล้วที่ระนองก็มีอาการแบบเดียวกัน
ผมมาคิดถึงที่พักชั่วคราว เคยเขียนเรื่อง [โดมสำหรับพักพิงชั่วคราว] และ [บ้านปลอดภัย] เอาไว้ แต่มาอ่านอีกที รู้สึกว่ายุ่งยากเหมือนกัน เพราะว่าเป้นความพยายามที่จะทำรูปเหลี่ยมให้ดูโค้ง น่าจะมีวิธีสร้างที่ง่ายและถูกกว่านั้น ก็มาเจองานของอาจารย์ญี่ปุ่นครับ เรียกว่า Star Dome หรือโดมดาว — เอามาจาก stardome.jp นะครับ
โดมดาว เริ่มจากการคำนวณครึ่งทรงกลมง่ายๆ (แต่คนใช้ไม่ต้องคำนวณ เอาตัวเลขไปใช้เลย)
เค้าใช้ไม้ไผ่ยาว มาผ่าเป็นซีกเพื่อให้ดัดให้งอได้ จำนวน 17 ท่อน แบ่งเป็นท่อนแบบสีน้ำเงินข้างล่าง 10 ท่อน และแบบสีเขียวและสีแดง อีก 7 ท่อน
ทั้ง 17 ท่อนมีความยาวเท่ากัน แต่ว่าท่อนสีน้ำเงิน แบ่งเป็นสามส่วนเท่าๆ กัน (เจาะรู 4 รู) และแบบสีเขียนกับสีแดง แบ่งเป็น 5 ส่วนเท่าๆ กัน (เจาะรู 6 รู)
เราเอาท่อนไม้ไผ่ต่างๆ มาวางให้รูที่เจาะไว้ตรงกัน แล้วผูกให้แข็งแรง จากนั้นงอจนได้รูป