เฝ้าระวังความสั่น
ก็เรื่องแผ่นดินไหวนั่นล่ะครับ
จนปัจจุบัน ยังไม่มีใครทำนายแผ่นดินไหวได้แม่นยำ — ทำนายได้ แต่มักไม่ถูก; “มักไม่ถูก” แปลว่าทำนายไปเรื่อยๆ คงมีถูกบ้างเหมือนกัน — ซึ่งการทำนายด้วยความรู้จริงนั้น ประกอบไปด้วยองค์ประกอบสองสามเรื่อง คือ (1) เกิดที่ไหน (2) เกิดเมื่อไหร่ในอนาคต [และ (3) เกิดแรงแค่ไหน] ด้วยความซับซ้อนและแตกต่างของโครงสร้างของดิน+แผ่นเปลือกโลก แผ่นดินไหวเกิดได้จากหลายสาเหตุ มีผู้สังเกตสิ่งบอกเหตุซึ่งใช้ได้เป็นบางกรณี แต่ยังไม่มีวิธีการใดๆ ที่จะทำนายแผ่นดินไหวได้ถูกต้องแม่นยำ
ถึงจะไม่มีสูตรทำนายแผ่นดินไหวแบบครอบจักรวาล หมั่นสังเกตสิ่งบอกเหตุรอบตัว ก็ยังดีกว่าไม่รู้อะไรเลย เช่น earth sounding ช้างกับ ELF เมฆแผ่นดินไหว การศึกษาการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกด้วย GPS ฯลฯ ส่วนสัญญาณจากอวกาศ มีผู้พยายามศึกษาเช่นกัน (ข้อมูลที่ผมเห็น ก็พบว่ามี correlations สูง แต่ยังไม่มีการตั้งทฤษฎี) และได้ร้องขอให้ช่วยกันสังเกต
ถ้าหากมีการทำนายแผ่นดินไหวที่แม่นยำก็ดีไป แต่ในเมื่อไม่มี ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กำหนดขอบเขตการเฝ้าระวังเอาไว้อย่างชัดเจน แม้จะเป็นลักษณะ reactive ก็ตาม