เตรียมรับภัยจากซอมบี้

อ่าน: 4576

ช่วงกลางปี เป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาเมื่อ Ali S. Khan เขียนบันทึกในบล็อก Public Health Matters ของ Centers for Disease Control and Prevention (CDC) และ CDC นำมาตีพิมพ์ใหม่บนเว็บ

บันทึกนั้น ใช้ชื่อว่า Preparedness 101: Zombie Apocalypse เป็นเรื่องการเตรียมพร้อมสำหรับภัยจากซอมบี้ (คนตายที่ฟื้นขึ้นมา “มีชีวิต” ใหม่อีก ที่สำคัญ​ซอมบี้กินคน และฆ่าไม่ตาย) ประกอบกับเหตุการณ์อีกสองอย่างคือ FEMA จัด National Level Exercise 2011 เป็นการซ้อมรับเหตุฉุกเฉินทั้งประเทศ ประกอบกับผู้อำนวยการนาซ่าออกมาเตือนพนักงานเรื่องความปลอดภัยของตัวเองและครอบครัว ในโปรแกรม Personal/Family Preparedness ทั้งหมดนี้ ออกมาในเวลาที่ใกล้เคียงกัน ผู้คนก็ตกใจว่าเกิดอะไรขึ้น มีทั้ง Planet X Tyche Nibiru 2012 Elenin (รายละเอียด) ขั้วแม่เหล็กโลกพลิก ลมสุริยะจากการระเบิดบนดวงอาทิตย์ ดาวเรียงตัว สุริยจักรวาลโคจรผ่านระนาบการหมุนของแกแลกซี่ทางช้างเผือก รังสีคอสมิค UFO ฯลฯ เรื่องพวกนี้อาศัยข้อมูล/ข่าวสารมือสองทั้งนั้นนะครับ จึงกลายเป็นเรื่องของความเชื่อ+สมมุติฐาน+บอกต่อ+กระแสไป อันเป็นสิทธิส่วนบุคคล

อ่านต่อ »


กระชุหิน

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 13 August 2011 เวลา 0:04 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 4610

กระชุ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึงภาชนะสานรูปกลมสูง สำหรับบรรจุของ เช่นนุ่นหรือถ่าน, กระชุก ก็ว่า

กระชุหิน นี้เป็นการใช้รั้วตาข่าย มาทำเป็นภาชนะบรรจุหิน เพื่อที่ว่าก้อนหินจะได้ไม่ไหลหรือกลิ้งหลุดไปไหน การที่มีหินมากองกันอยู่ ก็จะสามารถใช้ต้านของไหล เช่นน้ำหรือโคลนได้ เมื่อของไหลมาปะทะกองหิน หินที่ถูกกระชุยึดไว้จะถ่ายแรงให้กับพื้นดิน ในทางวิศวกรรมโยธา ใช้กระชุหิน (Gabion basket) หรือกำแพงหิน (Gabion wall) ป้องกันการกัดเซาะ หรือการพังทลายของดินที่มีความลาดชันสูง

… Gabion baskets have some advantages over loose riprap because of their modularity and ability to be stacked in various shapes; they are also resistant to being washed away by moving water. Gabions also have advantages over more rigid structures because they can conform to ground movement, dissipate energy from flowing water, and drain freely. Their strength and effectiveness may increase with time in some cases, as silt and vegetation fill the interstitial voids and reinforce the structure. They are sometimes used to keep stones which may fall from a cutting or cliff from endangering traffic on a thoroughfare. … — Wikipedia

อ่านต่อ »


สะพานแคล็พเพอร์

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 12 August 2011 เวลา 0:02 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 4299

ขณะนี้มีหย่อมความกดอากาศกำลังแรง อยู่ในมหาสมุทรอินเดียและในจีนตอนใต้ ทำให้เกิดร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรง พาดผ่านภาคเหนือและอีสานเหนือ อาการอย่างนี้จะมีฝนตกหนักโดยไม่มีลม กล่าวคือฝนตกไม่เลิก และอาจจะทำให้น้ำท่วมอีก — ในส่วนของการบรรเทาทุกข์นั้น มักจะมีผู้ประสบภัยตกหล่น เนื่องจากโลกภายนอกไม่สามารถส่งความช่วยเหลือเข้าไปได้ บางทีไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าเกิืดอะไรขึ้นในพื้นที่ที่ถูกตัดขาด

ผมลองมาหาดูว่าพอมีอะไรที่ชาวบ้านจะเตรียมตัวไว้ก่อน และทำเองได้โดยไม่เป็นภาระหนักเกิดไปหรือไม่ ก็มาคิดถึงสะพานเฉพาะกิจซึ่งใช้ข้ามน้ำที่ไหลเชี่ยวในช่วยที่เกิดอุทกภัย และสามารถรื้อถอนออกเมื่อภัยผ่านไป (แถมรีไซเคิลไว้ใช้ในครั้งต่อๆ ไป หรือให้หมู่บ้านข้างเคียงยืมไปใช้) ก็มาดู List of bridge types ใน wikipedia และติดใจสะพานแคล็พเพอร์ครับ

สะพานแคล็พเพอร์เป็นสะพานที่มีตอหม้อโผล่อยู่เหนือน้ำ (แหงล่ะ) แล้วมีกระดานพาดอยู่ระหว่างตอหม้อ ถึงน้ำจะท่วมสูงจนรถขนของผ่านไม่ได้ แต่เรายังใช้พลังมดขนของข้ามน้ำไปสู่หมู่บ้านที่ถูกตัดขาดได้ (เช่นยอมแบกของร้อยเมตรข้ามถนนที่น้ำท่วมสูง ไปสู่ที่แห้งเพื่อใช้รถอีกคันหนึ่ง ขนต่อเข้าหมู่บ้าน)

[ภาพของ Clapper bridge แบบต่างๆ]

อ่านต่อ »


สะพานของดาวินชี

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 11 August 2011 เวลา 0:05 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 5897

เลโอนาร์โด ดา วินชี อัจฉริยะชาวอิตาเลียน สร้างสรรค์อะไรไว้มากมาย แต่มีสิ่งหนึ่งซึ่งคนไม่ค่อยพูดถึง คือสะพานของดาวินชี

สะพานแบบนี้ มีลักษณะพิเศษคือเป็นไม้ขัดกันเฉยๆ ไม่มีการเชื่อมประสาน ไม่ต้องใช้วัสดุก่อสร้างครับ เหมาะสำหรับแสวงเครื่อง ใช้ข้ามกระแสน้ำเชี่ยวเป็นระยะทางไม่ไกลนัก *แต่*มีเรื่องที่ต้องระวังหากเอาไม้สดมาทำครับ คือปลายมันอาจจะแตกได้

อ่านต่อ »


เดธสตาร์

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 10 August 2011 เวลา 15:05 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 2717

ดูวิดีโอคลิปนี้แล้วนึกถึงเดธสตาร์ในหนังสตาร์วอร์ครับ

จาก Reuters

ดูเหมือนของเล่น เอาไว้ใช้ตรวจการในพื้นที่ประสบภัยคงจะดี แต่ต้องแก้ไขเรื่องเวลาบินเสียก่อน

อ่านต่อ »


เครื่องผลักดันน้ำ

อ่าน: 12773

เครื่องผลักดันน้ำนั้น เป็นเครื่องมือเร่งความเร็วของน้ำไหล เพื่อผลักเอาน้ำจากพื้นที่ตรงที่เครื่องตั้งอยู่ ให้ไหลไปยังพื้นที่อื่นอย่างรวดเร็ว เมื่อมีน้ำมากและไม่สามารถกักเก็บไว้ได้ ก็ต้องพยายามนำน้ำไปไว้ที่อื่นเพื่อเป็นการบรรเทาอุทกภัย

การผลักดันน้ำนั้น ต้องพยายามควบคุมไม่ให้ปริมาณน้ำที่ไหลไป เกินความจุของลำน้ำ ทั้งนี้เพราะหากปริมาณน้ำเกินจากความจุของลำน้ำ น้ำก็จะยกตัวขึ้นล้นตลิ่ง กลายเป็นน้ำท่วมที่ปลายน้ำ กล่าวคือย้ายอุทกภัยจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

กลับมาเรื่องเครื่องผลักดันน้ำนั้น มองในแง่ฟิสิกส์แล้ว ก็เป็นการใส่พลังงานลงไป โดยใช้เครื่องกลเปลี่ยนพลังงานที่รับเข้ามา ให้เป็นพลังงานจลน์ของน้ำ โดยน้ำจะไหลไปตามความลาดเอียงเร็วขึ้น

ดูง่ายๆ ตัวเครื่องกล มีใบพัดซึ่งใช้กำลังจากเครื่องยนต์ ทำให้น้ำไหลผ่านเครื่องผลักดันน้ำได้เร็วขึ้น (ด้วยต้นทุนของพลังงานที่ใส่ลงไป) มีส่วนที่ชาวบ้านทำเอง ที่ใช้เครื่องและใบเรือหางยาวทำก็เป็นลักษณะเดียวกัน ถึงประสิทธิภาพน้อยจะหน่อย แต่ก็ยังทำเองได้โดยไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากภายนอก ซึ่งไม่รู้ว่าจะมาเมื่อไหร่ หรือว่าจะมาหรือไม่

เรื่องอย่างนี้ ไม่ต้องรอให้น้ำท่วมเสียก่อน ก็ทำล่วงหน้าได้ ทำที่ปลายน้ำอย่างกรุงเทพก็ได้ เพราะหากน้ำไหลออกไปเร็วขึ้น น้ำเหนือก็ไหลลงมาได้เร็วขึ้น เป็นการช่วยบรรเทาอุทกภัยได้ส่วนหนึ่ง — แต่เครื่องผลักดันน้ำ ไม่มีกำลังพอจะสู้กับ “น้ำขึ้น” ไหว ถ้าน้ำทะเลขึ้นสูง ก็ต้องหยุดไว้ก่อนนะครับ

อ่านต่อ »


สบเมย แม่ฮ่องสอน

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 8 August 2011 เวลา 17:36 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4115

ขณะนี้เกิดอุทกภัยขึ้นทางภาคเหนือเป็นวงกว้าง ทีมอาสาสมัครกำลังเดินทางไปสบเมย แม่ฮ่องสอน (มีข้อมูลและรูปความเสียหาย)

จากการที่ได้คุยกับอาสาสมัครและคนในพื้นที่ประสบภัย บ้านปู่ทา อ.สบเมย แม่ฮ่องสอน มีข้อมูลเพิ่มเติมว่า

  • เกิดดินถล่ม อาการหนักกว่าเขาพนม กระบี่
  • ไม่มีน้ำ (ประปาภูเขาพังหมด)
  • ไม่มีไฟฟ้า (โซล่าร์เซลพังเช่นกัน เดิมทีไฟฟ้าจากสายส่งก็ไม่มีอยู่แล้ว)
  • บ.ปู่ทา มีบ้านพังเกลี้ยงหมด 11 หลัง — ส่วนบ้านที่ยังไม่พัง ก็ถูกโคลนท่วม 40 หลัง ไม่สามารถล้างบ้านได้ จึงอยู่อาศัยไม่ได้
  • เสื้อผ้าหายไปกับน้ำและโคลน
  • เด็กเล็กไม่มีนมกิน
  • แม้ไม่เกิดภัยพิบัติ ชาวบ้านก็ลำบากอยู่แล้ว จึงแสวงเครื่องเป็น แต่พื้นที่เพาะปลูกเสียหาย ยุ้งฉางเสียหายหมด ไม่มีข้าว
  • ขาดอาหารแห้ง: ข้าว มาม่า ปลากระป๋อง ฯลฯ
  • ขาดอุปกรณ์ซ่อมบ้าน: ฆ้อน ตะปู ปูน กระเบื้อง ท่อ
  • ขาดอุปกรณ์เปิดทาง: เลื่อย ขวาน​

ความต้องการของพื้นที่ประสบภัยแต่ละที่ ไม่เหมือนกันเลย เมื่อเราช่วย ก็ช่วยให้ตรงกับความต้องการของพื้นที่ ช่วยให้ผู้ประสบภัยสามารถผ่านช่วงเวลายากลำบากไปได้ และมีกำลังใจที่จะลุกขึ้นมาใหม่อีกครั้งเถิดครับ

อ่านต่อ »


เขื่อนพลาสติก

อ่าน: 5476

กำแพงกั้นน้ำนั้น เป็นหลักการถ่ายเทแรงดันของน้ำลงสู่ดิน

ด้านที่มีน้ำสูงกว่าจะดันกำแพงออกไป ถ้ากำแพงถ่ายแรงลงดินได้ไม่ดีพอ กำแพงก็จะพัง ดังนั้นกำแพงกั้นน้ำชั่วคราว เช่นกำแพงกระสอบทราย ก็จะมีน้ำหนักมากครับ แล้วยิ่งกว่านั้นยังต้องมีฐานกว้างอีก นอกจากเป็นแรงเสียดทานระหว่างชั้นแล้ว ยังเป็นการกระจายแรงออกไปด้วย

เพื่อที่จะหาวิธีสร้างเขื่อนกันน้ำ ผมไปเจอคลิปที่ US Army Corps of Engineering (USACE) ทดสอบระบบป้องกันน้ำท่วม เป็นการทดสอบผลิตภัณฑ์สามอย่างคือ

  1. Rapid Deployment Flood Wall (RDFW)
  2. Hesco Bastion
  3. Portadam

USACE ทดสอบเขื่อนชั่วคราวพวกนี้ ก็เพื่อเลือกผลิตภัณฑ์ไปใช้ป้องกันภัยพิบัติในประเทศ และใช้สำหรับงานก่อสร้างต่างๆ ด้วยครับ เค้าเลือก RDFW ซึ่งก็น่าสนใจจริงๆ ผมค้นต่อ พบว่ามีสิทธิบัตรด้วย (แต่ถ้าเค้าไม่ได้มาจดสิทธิบัตรในเมืองไทยด้วย สงสัยว่าจะไม่คุ้มครองในเมืองไทยนะครับ)

อ่านต่อ »


เรือสำหรับพื้นที่ประสบภัย

อ่าน: 4251

คงเป็นเรื่องประจวบเหมาะที่เมื่อเขียนบันทึก [ใกล้แต่หาผิดที่] เมื่อวานนี้แล้ว มีข้อมูลเข้ามาหลายทางว่าเกิดการตื่นตัว จัดหาเรือกันยกใหญ่

ได้ฟังอย่างนี้แล้ว ก็ดีใจนะครับที่แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติ เริ่มหันไปมองทางด้านป้องกันและเตรียมการเอาไว้บ้าง แทนที่จะรอลุ้นว่าจะเกิดภัยหรือไม่ ถ้าไม่เกิดก็รอดตัวไป แต่ถ้าเกิดกลับช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย เป็นอาการเหมือนเล่นหวย… เรียกได้ว่าบันทึกได้ทำหน้าที่ของมันตามวัตถุประสงค์แล้ว แม้ไม่ได้ให้คำตอบสำเร็จรูปอะไรเลย

เรือแบบไหนที่มีความเหมาะสม?

เรื่องนี้ ไม่มีคำตอบให้เหมือนกันครับ ไม่มีเรือแบบไหนที่จะเหมาะกับสถานการณ์ทุกอย่าง ถ้าเป็นน้ำท่วมขัง น้ำนิ่ง หรือไหลเอื่อยๆ แบบนี้แพหรือเรือพาย ก็เป็นพาหนะที่เหมาะสมดี

แต่ถ้าขนของเยอะ หรือน้ำไหลเชี่ยว หรือว่าต้องใช้เดินทางระยะไกล ก็คงต้องหาเรือที่แข็งแรง น้ำหนักเบา และพึ่งกำลังของเครื่องยนต์นะครับ

เรือแบบนี้ มักจะออกไปทางเรือไฟเบอร์กลาส หรือเรือเหล็ก ซึ่งมีราคา “แพง” (คำว่าแพงนั้นเป็นอัตตวิสัย)

อ่านต่อ »


ใกล้แต่หาผิดที่

อ่าน: 4137

ผมคิดว่าทั้งสาธารณชนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าใจคำว่าการจัดการภัยพิบัติไขว้เขวไป

การจัดการภัยพิบัติไม่ใช่การนำความช่วยเหลือไปให้ผู้ประสบภัย เมื่อภัยพิบัติเกิดขึ้นแล้ว จะมีความเสียหายเสมอ ไม่ว่าจะเยียวยา หรือแจกถุงยังชีพอย่างไร ก็ไม่เหมือนก่อนเกิดภัย — การบรรเทาทุกข์อย่างที่ทำกันโดยแพร่หลาย เป็นเพียงส่วนจำเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการภัยพิบัติเท่านั้น

การจัดการภัยพิบัติเป็นกระบวนการต่อเนื่อง มีสองส่วน คือการจัดการความเสี่ยง (ครึ่งซ้ายในรูปข้างล่าง) กับการแก้ไขสถานการณ์ (ครึ่งขวา) เป็นกระบวนการที่ใช้ความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนการยอมรับความจริง เป็นส่วนผสมหลัก ส่วนกำลังเป็นเรื่องรองลงไปครับ

Disaster Management Cycleกระบวนการจัดการภัยพิบัติตามรูปทางขวา มีอยู่หลายขั้นตอน แต่สิ่งที่เราทำกันคือไปอัดกันอยู่ในช่วงสีแดง แถมยังไม่มีการประสานกันเสียอีก จึงเกิดความอลหม่านขึ้น เกิดเป็นกระแส แย่งกันทำ แย่งกันช่วย ซ้ำซ้อน ทำไปโดยความไม่รู้

ไม่ใช่ว่าผมไม่เห็นด้วยหรอกนะครับ… ช่วงที่ผู้คนทุกข์ยาก ก็ต้องช่วยกันให้ผ่านไปได้ไม่ว่าจะทุลักทุเลขนาดไหน… แต่ถ้าหากต้องการจะช่วยจริงๆ แล้ว ไม่ต้องรอให้เกิดเป็นกระแสขึ้นมาก่อนได้หรือไม่ หาความรู้ พิจารณาล่วงหน้าก่อนดีไหมครับ ว่าจะช่วยอย่างไรดี

คลิกบนรูปทางขวาเพื่อขยาย — เมื่อเกิดภัยขึ้น ส่วนของการบรรเทาทุกข์ก็จะต้องทำโดยความเร่งด่วน ซึ่งคำว่าเร่งด่วนหมายถึงช่วยให้ผู้ประสบภัยปลอดภัย และดำรงชีวิตผ่านช่วงวิกฤตไปได้ ความปลอดภัยและปัจจัยสี่ต้องพร้อม

จะเป็นถุงยังชีพหรืออะไรก็แล้วแต่ ทำไปเถิดครับ ขออนุโมทนาด้วย แต่จะส่งอะไรลงไปยังพื้นที่นั้น ควรจะรู้หรือประเมินล่วงหน้าได้ก่อน ว่าผู้ประสบภัยในพื้นที่ต้องการอะไรเป็นลำดับก่อนหลัง แม้จะฟังดูโหด (ภัยพิบัติเป็นเรื่องโหดร้ายอยู่ดี) แต่การส่งของที่ไม่เป็นที่ต้องการลงไปในพื้นที่ (หรือเรียกว่าองค์ทานไม่มีประโยชน์ต่อปฏิคาหก) กลับจะเป็นภาระต่อผู้ประสบภัย ผู้แจกจ่าย และการขนส่ง ต้องไม่ลืมวัตถุประสงค์ว่าเราต้องการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ไม่ใช่เพียงช่วยให้ตัวเองรู้สึกดีว่าได้ทำอะไรบางอย่างแล้ว

อ่านต่อ »



Main: 0.1702868938446 sec
Sidebar: 0.37666797637939 sec