ปั่น
อ่าน: 3661ถ้าดูคลิปข้างล่างจบแล้วอาจจะสงสัยว่าทำไปทำไม
การกระทำอันไร้ประโยชน์นี้ เป็นการทดลองขาตั้งกล้องครับ ลองทั้งๆ ที่รู้ว่ามันใช้ได้นั่นแหละ
ลานซักล้าง: ใจซักได้ ถ้ารู้ตัว / นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา / สุทธิ อสุทธิ ปจฺจตฺตํ นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย / Improvement begins with I
ถ้าดูคลิปข้างล่างจบแล้วอาจจะสงสัยว่าทำไปทำไม
การกระทำอันไร้ประโยชน์นี้ เป็นการทดลองขาตั้งกล้องครับ ลองทั้งๆ ที่รู้ว่ามันใช้ได้นั่นแหละ
มานั่งคิดดู การจัดการภัยพิบัติตามหลักการ เปรียบเหมือนกลางวันและกลางคืน กล่าวคือจะมีทั้งส่วนการเตรียมการได้ก่อนเกิดภัย เช่นปรับเปลี่ยนโครงสร้าง จัดการความเสี่ยง เป็นภาคกลางวันที่สามารถทำอะไรล่วงหน้าไปได้ (ถ้าใช้ความรู้ ก็จะไม่แพงอย่างที่คิด) และมีอีกส่วน คือเมื่อเกิดภัยขึ้นแล้ว ก็จะเป็นการบรรเทาทุกข์ เยียวยา ฟื้นฟู ซึ่งทั้งหนักหนาและยาวนาน เปรียบเหมือนกลางคืน มองอะไรไม่เห็น ทำอะไรก็ลำบาก
ในเมืองไทยนี้ มีแต่กลางคืน เราไปเข้าใจว่าการบรรเทาทุกข์เป็นการจัดการภัยพิบัติซึ่งไม่ใช่หรอกครับ เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น พอเป็นเรื่องเยียวยา ฟื้นฟู ก็ไม่ค่อยจะมีใครอาสาทำกัน เพราะหนัก ลำบาก โดดเดี่ยวและแพงมาก…
ระบบความคิดของเราผิดเพี้ยนนะครับ วันหนึ่งจะมีแต่กลางคืนได้อย่างไร?
วันนี้เป็นวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจีน ซึ่งตามตำราว่าเป็นวันไหว้บ๊ะจ่าง (ภาษาอย่างเป็นทางการ เรียกเทศกาลวันไหว้ขนมจ้าง) — ไม่เคยไหว้หรอกครับ เพิ่งค้นเจอ แล้วก็ไม่มีอะไรเกี่ยวกับ Hierarchy of Needs ของ Maslow ซึ่งมีนักจิตวิทยาท่านหนึ่ง เคยวิจารณ์ไว้ว่า สามเหลี่ยมนั้นรูปร่างเหมือนบ๊ะจ่างด้วย
ศูนย์ประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ (ThaiFlood.com) อาสาดุสิต (ArsaDusit.com) และ เครือข่ายรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน ภาคประชาชน (PS-EMC) มีกำหนดนัดหมายอาจารย์มนัส หนูฉวี ปม.ก., วท.บ. ซึ่งเดินทางไกลมาจากสมุยเพื่องานนี้่ อาจารย์มนัสเป็นครูเก่า เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องธรรมชาติบำบัดโดยจุลินทรีย์ อธิบายหลักการได้ชัดเจน (คุยเรื่องการศึกษามันหยด แต่ไม่ได้ถ่ายไว้)
วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี (เมื่อวาน) สหประชาชาติกำหนดให้เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งธีมในปีนี้เป็นเรื่องป่า พื้นที่ป่าต้องเป็นหนึ่งในสามของพื้นที่ที่มีอยู่ (ด้วยตัวเลขอย่างเป็นทางการ เมืองไทยมีไม่ถึงหรอกครับ นี่ยังไม่นับการบุกรุก) วิกฤตแต่ละเรื่อง ใหญ่ทั้งนั้น วิกฤตสิ่งแวดล้อมนั้น แก้ไขได้ยากเนื่องจากการทำลายใช้เวลาเดี๋ยวเดียว แต่ว่าการฟื้นฟูนั้นกลับใช้เวลานาน บ่อยไปที่เป็นสิบปี อย่างไรก็ตาม วิกฤตเฉพาะหน้าของเมืองไทยในวันนี้ มีอยู่หลายเรื่อง แก้ไม่จบเสียที (หรือไม่ได้แก้ก็ไม่รู้)
วันนี้ทางศูนย์ประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ (ThaiFlood.com) อาสาดุสิต (ArsaDusit.com) และ เครือข่ายรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน ภาคประชาชน (PS-EMC) ชวนไปโยนลูกโบกาฉิ (EM Ball) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์พันธุ์พิเศษสำหรับแก้น้ำเสีย หวังว่าจะช่วยให้สถานการณ์แม่น้ำเจ้าพระยาเน่าจากการที่เรือบรรทุกน้ำตาลล่มที่อยุธยาดีขึ้นบ้าง แต่เรื่องอย่างนี้ต้องไปดูแห่ เมื่อเจอวิกฤตอยู่ต่อหน้าต่อตา จะน่ิงเฉยทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็ไม่ไหวแล้วครับ
วันนี้กล้องวิดีโอกันน้ำที่ซื้อเอาไว้มาส่งแล้ว กล้องนี้ผมซื้อตามคุณพิภพ @Panitchpakdi ณ. ตะกั่วป่า นักสร้างสารคดีมืออาชีพ — ไม่ได้ขอคำแนะนำจากคุณพิภพหรอกครับ เห็นภาพที่แกถ่ายลองกล้องแล้วก็ซื้อเลย เป็นเครื่องมือที่ไม่ยุ่งยากสำหรับการเรียนรู้ และการแบ่งปันประสบการณ์
หลังจากชาร์ตไฟ ก็เลยเอาไปถ่ายเล่น ขี่จักรยานออกไปนอกบ้าน พอลูกน้องเห็น ก็กรูกันเข้ามา จะมาขอขนมกิน ผมลองอะไรเล่นหลายอย่าง
คลิปแรกนี้ ลอง re-time ให้ภาพช้าลง 5 เท่า (ค่อนข้าง aggressive) เห็น vector estimation error ระหว่าง tweening คือมีภาพในบริเวณที่อยู่ไกล้เคียงกับส่วนที่เคลื่อนไหว ผิดเพียนไปบ้าง ในคลิปแรก มีหมา 9 ตัว โสรยา (ยาย) ลูกโสรยา 2 ตัว (แม่กับลุง) และหลานโสรยา 6 ตัว ทั้งหมดไม่ได้สนใจกล้องหรือจักรยานหรอกครับ เขามาขอขนมเพราะใกล้เวลาอาหารแล้ว
กระแสพระราชดำรัสองค์นี้ สำคัญและยาวมาก มีเหตุการณ์หลายเรื่องที่เคยเกิดขึ้นแล้ว และคล้ายกับว่ากำลังเกิดขึ้นอีก ขอเชิญพิจารณากันเองครับ
พระราชดำรัส
พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้า ฯ ถวายชัยมงคล
ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันศุกร์ ที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕ขอขอบใจนายกรัฐมนตรี ที่ได้ให้พรในนามของทุกๆ ท่านที่มาประชุมในวันนี้เป็นจำนวนมาก ถึง ๓๓๓ คณะ ๘๘๐๐ กว่าคน. พรที่ให้เป็นกำลังใจสำหรับทำหน้าที่การงานต่อไป. พรุ่งนี้ จะถึงวันครบ ๖๕ ปีของชีวิต ซึ่งทำให้นึกถึงว่า ก็ได้เห็นอะไรๆ มามาก ทั้งดีทั้งไม่ดี ได้เห็นโลก และโดยเฉพาะเห็นความเป็นอยู่ของประเทศไทยซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงมาตลอด เปลี่ยนแปลงมาทุกปีหรือทุกเดือน แม้จะทุกวันก็มีความเปลี่ยนแปลง.
บันทึกที่แล้ว เป็นการผลิต Biochar แบบง่าย แต่มีลักษณะใหญ่โตตามขนาดถังที่ใช้ ความร้อนจากไฟที่เผาถ่าน ต้องปล่อยทิ้งไปเฉยๆ
ในอัฟริกา สภาพแห้งแล้ง อากาศร้อน ครัวอยู่ในร่มซึ่งมักเป็นในกระท่อมหรือในบ้านดิน ควันไฟจากการหุงหาอาหารก่อปัญหาสุขภาวะซ้ำซ้อน เพื่อแก้ปัญหาปัญหานี้ จะต้องทำให้การเผาไหม้บริสุทธิ์ให้มากที่สุด กำจัดควันไฟ กำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ ในการนี้ นาย Folke Günther ชาวสวีเดน ก็ได้ออกแบบ Anila stove เป็นเตาหุงต้มขนาดเล็ก ตามหลักการ microgasification ซึ่งมีคลิปการทดลองข้างล่าง
ช่วงที่จุดเตาแรกๆ มีควันออกมาเนื่องจากเชื้อเพลิงไม่แห้ง แต่เมื่อความร้อนมากพอที่ทำให้เกิดกระบวนการ gasification เป็นการเผาไหม้ก๊าซที่ได้จากไม้แล้ว ควันก็หายไป
บ่ายวันนี้ ถึงจะไม่ค่อยสบาย ก็ยังไปบรรยายในงาน THNG Camp ครั้งที่ 2 ทั้งนี้เป็นเพราะผู้จัดได้ทาบทามล่วงหน้ามาหกเดือนแล้ว หลังจากที่เคยไปบรรยายในค่ายครั้งแรกเมื่อปีก่อน — เจออธิการบดีด้วย (เรียนศศินทร์รุ่นดึกดำบรรพ์พร้อมกัน) เพิ่งรู้ว่าวันนี้เพื่อนร่วมรุ่นนัดสังสรรค์กันตอนเย็น ซึ่งผมต้องขอตัว ฮี่ฮี่ฮี่
เพราะค่าย #THNGCamp ต้องการเอาเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการจัดการภัยพิบัติ ดังนั้นแทนที่จะบรรยายตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมายมา (OpenCARE เครือข่ายเพื่อการเตือนภัย เชื่อมโยงทั้งในและนอกประเทศ) ผมตัดสินใจเพิ่ม framework เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติ ทั้งที่รู้ว่าเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดเยอะ ผู้เข้าร่วมค่าย THNG อาจจะมีประสบการณ์เรื่องนี้มาไม่มากนัก ก็ยิ่งจำเป็นต้องตั้งทิศทางกันเสียก่อน (ถ้าฟังทัน)
โหลดสไลด์ได้ที่นี่ครับ (6.2 MB) แต่สิ่งที่ผมพูดมักไม่เขียน ถ้าหากอ่านไม่รู้เรื่องก็ขออภัยด้วยนะครับ มันเป็นสไลด์สำหรับการบรรยาย ไม่ใช่สไลด์สำหรับอ่าน
เมื่อวานไปต่อทะเบียนรถ แล้วเลยแวะไปเที่ยวหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ สวนโมกข์กรุงเทพ ซื้อหนังสือมาบ้าง ซื้อเสื้อ ช่วยเรื่องค่าพิมพ์หนังสือ แต่ก็มีประเด็นให้ระลึกถึง สิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา ตัวท่านพุทธทาสเองก็ไม่ได้อยู่กับเรามาจนปัจจุบัน เหลือแต่แง่คิดคำสอนที่ท่านทิ้งไว้
ในชีวิตเรา คำตอบหรือทางออก ที่คิดค้นคว้ามาจากความรู้ประสบการณ์ในอดีต อาจใช้ไม่ได้ในบริบทใหม่ คำตอบที่ใช้ได้ดีในอดีต ไม่แน่ว่าจะยังเป็นทางออกที่ดีสำหรับปัจจุบัน
คนเราไม่ได้รู้อะไรทั้งหมด จะยึดคำตอบเป็นสูตรสำเร็จก็ใช่ที่ เมื่อเจอความรู้ใหม่ที่ใช้งานได้ดีกว่า แล้วถ้าโชคดี (มีทั้งสติและสัมปชัญญะ) ที่รู้ด้วยว่าเป็นทางออกที่เหมาะสมกว่า ก็น่าจะเปลี่ยนคำตอบได้ การยึดคำตอบที่มีอยู่แล้ว บางทีก็ไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดตลอดกาล จะดึงดันติดยึดไปทำไม หรือว่าเรารับข้อมูลใหม่+เรียนรู้ไม่เป็น
อย่าง “การจัดการสมัยใหม่” ในระบบทุนนิยม เกิดมาจากการกลั่นกรองที่ดีที่สุดสำหรับสมัยสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อเกือบเจ็ดสิบปีก่อน โดยผู้ที่ได้รับการศึกษามาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ซึ่งการจัดการสมัยใหม่ที่เน้นประสิทธิภาพ เน้นผลิตผล เน้นการตลาด เน้นโฆษณา เน้นการใช้ทุน(เงินของคนอื่น) สร้างความต้องการ ผลักสินค้าออกไปสู่ผู้บริโภค ใช้คนเหมือนเครื่องจักร มีการเหยียดผิว ฯลฯ อาจจะเหมาะสำหรับโลกที่เศรษฐกิจชะงักงันอย่างรุนแรงระหว่างและหลังสงครามโลก แต่ทำไมเราจึงควรจะยึดสิ่งที่อาจจะเคยเหมาะกับโลกเมื่อเจ็ดสิบปีที่แล้ว — ทำไมจึงไม่ใช้การจัดการสมัยใหม่กว่า