“ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า”

7 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 26 August 2008 เวลา 0:10 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4129

“ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า” หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างเกิดที่ใจ และดับที่ใจ ทั้งสุข และทุกข์ ทั้งสำเร็จ และล้มเหลว เป็นความจริงที่เข้าใจยาก เพราะว่าคนเราติดสุข ติดความสำเร็จ (ติดสุคติ) โดยไม่เข้าใจว่าสุคติ นำมาซึ่งทุคติเช่นกัน จึงจะเปรียบเทียบกันได้

เราคงรู้จักคำที่ว่า “เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร” กันเป็นอย่างดี ความข้อนี้มาจากคาถาธรรมบทในพระไตรปิฎก ความว่า

[๑๑] ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จ
แล้วแต่ใจ
ถ้าบุคคลมีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว กล่าวอยู่
ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม ทุกข์ย่อมไปตามบุคคลนั้น เพราะทุจริต
๓ อย่างนั้น เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโคผู้ลากเกวียนไป
อยู่ ฉะนั้น ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐ
อ่านต่อ »


อคติ (อีกครั้งหนึ่ง (อีกครั้งหนึ่ง …))

อ่าน: 3296

อับราฮัม มาสโลว์ปรมาจารย์ทางด้านจิตวิทยา+พฤติกรรมมนุษย์ เคยพูดไว้ว่า “To the man who only has a hammer, everything he encounters begins to look like a nail.” — สำหรับคนที่มีเพียงฆ้อน ทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาพบเห็นเริ่มดูเหมือนตะปูไปหมด

ความสำเร็จและประสบการณ์ในอดีต สร้างอคติ ซึ่งทำให้ผู้ตัดสินใจมีแนวโน้มที่จะแก้ทุกปัญหา ด้วยวิธีการที่เขาเคยทำสำเร็จมาแล้ว เพราะนั่นคือฆ้อนของเขา

ความสำเร็จในอดีต และประสบการณ์ ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเลย…

แต่แค่ความสำเร็จ บวกกับประสบการณ์ ยังไม่พอ เพราะว่าปัญหาในปัจจุบัน กับปัญหาในอดีต เป็นคนละสถานการณ์กัน มีบริบทที่แตกต่างกัน มีข้อจำกัดที่ไม่เหมือนกัน…

ดังนั้นด้วยเหตุใด จึงควรจะแก้ปัญหาด้วยวิธีเดียวกันเป็นแผ่นเสียงตกร่อง?

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์กล่าวไว้ว่า “The person who reads too much and uses his brain too little will fall into lazy habits of thinking.” — ผู้ที่อ่านมากและใช้สมองน้อย (คือเชื่อในทันที) ก็จะมีนิสัยชอบคิด (แล้วไม่ทำ)


วงจรความคิดง่ายๆ อาจพาลงเหวได้

อ่าน: 4226

อ่านหนังสือพระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน ป.ธ.๙) เจอข้อความที่สะดุดใจ จึงค้นพระไตรปิฎก เจอข้อความนี้ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทสครับ

[๘๑๗] มิตรทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ จึงจะคบหาสมาคมด้วย.
มิตรในวันนี้ไม่มีเหตุหาได้ยาก. มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามุ่ง
ประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด.
(เพราะฉะนั้น) พึง
เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.

[๘๑๘] คำว่า มิตรทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ จึงจะคบหาสมาคมด้วย ความว่า
มิตรทั้งหลายมีประโยชน์ตนเป็นเหตุ มีประโยชน์ผู้อื่นเป็นเหตุ มีประโยชน์ทั้งสองฝ่ายเป็นเหตุ
มีประโยชน์ในปัจจุบันเป็นเหตุ มีประโยชน์ในสัมปรายภพเป็นเหตุ มีประโยชน์อย่างยิ่งเป็นเหตุ
จึงจะคบหา สมคบ เสพ สมาคมด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มิตรทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ
จึงจะคบหาสมาคมด้วย.

เพราะประโยชน์เป็นเหตุ จึงติดแหงกกันอยู่ตรงนี้

แต่เพราะว่ายังไม่หลุดพ้น ติดแหงกอยู่กับประโยชน์ ก็ดีกว่าอยู่กับติดอยู่กับโทษและมิจฉาทิฏฐินะครับ อิอิ

อ่านต่อ »


แมวโกรธ

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 14 August 2008 เวลา 0:04 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4258

ความโกรธ ดูน่าเกลียด จำไว้เวลาจะโกรธใคร

โกรธคือโง่ โมโหคือบ้า…พระราชธรรมนิเทศ (พระพยอม กัลยาโณ)


ความสุข

อ่าน: 3693

ความสุข ไม่ใช่ทางหลุดพ้น แต่มีสุข ก็ดีกว่ามีทุกข์

อ่านต่อ »


Tony Robbins: Why we do what we do, and how we can do it better

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 August 2008 เวลา 10:22 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4430

21 นาที 56 วินาที เค้าพูดด้วยความเร็วปกติสำหรับ native English speaker น่าสนใจมากครับ


ผู้ชี้ขุมทรัพย์

11 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 31 July 2008 เวลา 11:35 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4375

น เต อหํ อานนฺท ตถา ปรกฺกมิสฺสามิ
อานนท์! เราไม่พยายามทำกะพวกเธอ อย่างทะนุถนอม
ยถา กุมฺภกาโร อามเก อามกมตฺเต
เหมือนอย่างพวกช่างปั้นหม้อ ทำแก่หม้อ ที่ยังเปียก ยังดิบอยู่
นิคฺคยฺหนิคฺคยฺหาหํ อานนฺท วกฺขามิ
อานนท์ ! เราจักขนาบแล้ว ขนาบอีก ไม่หยุด
ปวยฺหปวยฺหาหํ อานนฺท วกฺขามิ
อานนท์ ! เราจักชี้โทษแล้ว ชี้โทษอีก ไม่มีหยุด

โย สาโร, โส ฐสฺสติ
ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจักทนอยู่ได้้.

มหาสุญฺญตสุตฺต อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๕/๓๕๖


นิธีนํว ปวตฺตารํ ยํ ปสฺเส วชฺ ชทสฺสินํ
นิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช
คนเรา ควรมองผู้มีปัญญาใด ๆ ที่คอยชี้โทษ คอยกล่าว
คำขนาบอยู่เสมอไป ว่าคนนั้นแหละ คือผู้ชี้ขุมทรัพย์ละ,
ควรคบบัณฑิตที่เป็นเช่นนั้น,

ตาทิสํ ภชมานสฺส เสยฺโย โหติ น ปาปิโย
เมื่อคบหากับบัณฑิตชนิดนั้นอยู่ ย่อมมีแต่ดีท่าเดียว ไม่มีเลวเลย.

ปณฺฑิตวคฺค ธ.​ ขุ. ​๒๕/๒๕/๑๖

พุทธวัจน์​ ๑ ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
วัดป่านาพง ลำลูกกาคลอง ๑๐ ปทุมธานี

มิตรที่ไม่ว่ากล่าวตักเตือน เอาแต่ป้อยอจนเกินความจริงนั้น อาจไม่ใช่มิตรแท้ ไม่มีกัลยาณมิตรธรรม


ชีวิตนี้น้อยนัก

อ่าน: 3524

ชีวิตนี้น้อยนัก — บทพระนิพนธ์ ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

        มนุษย์เราอยู่ร่วมกันต้องให้อภัยกัน อย่าถือสีถือสากันอย่างง่ายดาย ไม่ดีไม่ถูก นี่พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ ความเสียสละเพื่อชาติของเรานี่ยิ่งเป็นของสำคัญ การให้ทานเพื่อชาตินี้มีอานิสงส์อันยิ่งใหญ่ทีเดียว เรียกว่ามหาทาน เราให้ทานคนนั้นคนนี้ ให้ทานมามากมาน้อยเพียงไรก็ตาม เรียกว่าเป็นทานธรรมดา ๆ แต่ทานนี้เราทานเพื่อชาติจึงกลายเป็นมหาทาน มีมากมีน้อยอานิสงส์มากที่สุด

        เราเกิดมาเรายังไม่เคยทำมหาทานต่อชาติของเรา คราวนี้เป็นคราวสำคัญของเราแล้ว ให้ทำให้เป็นมหาทาน มหากุศลนะ เราอย่าเสียดายในสิ่งที่ให้ไปเพื่อเป็นกุศล ให้เราเสียดายที่ความตระหนี่ถี่เหนียวมันเก็บไว้นั้นนะ เสียดายให้เอาออกมาทาน เราอย่าเสียดายในสิ่งที่เราเสียสละแล้วจะเป็นสิริมงคลแก่เราทั้งชาตินี้และ ชาติหน้า

                                                                          มหาทานมหากุศล
                                                                          ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๑

[ ตัดตอนจากความตอนท้ายสุด ในบทพระนิพนธ์ ชีวิตนี้น้อยนัก ]

ชีวิตนี้แม้น้อยนัก แต่ก็เป็นความสำคัญนัก สำคัญยิ่งกว่าชีวิตในอดีตและชีวิตในอนาคต ที่ว่าชีวิตนี้คือชีวิตในชาติปัจจุบันนี้สำคัญ ก็เพราะในชีวิตนี้เราสามารถหนีกรรมไม่ดีที่ทำไว้ในอดีตได้ และสามารถเตรียมสร้างชีวิตในอนาคตให้ดีเลิศเพียงใดก็ได้ หรือตกต่ำเพียงใดก็ได้ ชีวิตในอดีตล่วงเลยไปแล้ว ทำอะไรอีกไม่ได้ต่อไปแล้ว ชีวิตในอนาคตก็ยังไม่ถึง ยังทำอะไรไม่ได้ เช่นนี้จึงกล่าวได้ว่าชีวิตนี้สำคัญนัก พึงใช้ชีวิตนี้ให้เป็นประโยชน์ ให้สมกับความสำคัญของชีวิตนี้

ชีวิตนี้น้อยนัก แต่มีความสำคัญนักด้วยเหมือนกัน ถ้าชีวิตนี้ไม่วิ่งหนีกรรมไม่ดีในอดีต ชีวิตนี้ก็จะรับผลกรรมไม่ดี ถ้าวิ่งหนีก็จะพ้นได้ กรรมไม่ดีจะตามทันหรือไม่ขึ้นอยู่กับชีวิตนี้ ยิ่งกว่านั้นถ้ากรรมตามทันในชีวิตนี้ ก็จะตามต่อไปได้อีกในชีวิตอนาคต กรรมไม่ดีที่ทำไว้ในอดีตมากมาย อาจจะตามไม่ทันตลอดไปก็ได้ ถ้าทำชาตินี้ให้ดีที่สุด

อ่านต่อ »


จิตใจระเบิดขวด

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 26 July 2008 เวลา 9:11 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4312

พระราชดำรัส พระราชทานแก่ข้าราชการ นิสิต นักศึกษา พ่อค้า ประชาชน
คณะกรรมการของมูลนิธิและสมาคมต่างๆ เฝ้า ฯ ถวายพระพรชัยมงคล
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาผกาภิรมย์
วันพฤหัสบดี ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๑

        ขอขอบใจที่พากันมาอวยพร ที่ให้พรนั้นสรุปได้ว่าให้ทรงพระเจริญ สิ่งใดที่ต้องการขอให้สำเร็จ คำให้พรให้เจริญนั้นจะเจริญได้ถ้ามีกำลังใจ เมื่อมาให้กำลังใจให้อย่างนี้ก็คงจะเจริญได้ ความเจริญนั้นมีหลายอย่าง จะเล่าให้ฟัง เมื่อ ๒๐ กว่าปีมาแล้ว ไปเฝ้าสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศ ฯ ทรงเจริญชนมพรรษาถึง ๙๐ ทูลว่า ขอให้ทรงพระเจริญ แล้วลงกราบท่าน ท่านรับสั่งไม่ค่อยได้ เพราะไม่ทรงสบาย ทรงเจ็บพระศอ และทรงเพลีย แต่ในที่สุดก็รับสั่งว่า เจริญแล้ว คงจะหมายความว่าทรงพระชรามากแล้ว และตามความจริง สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศ ฯ ก็ทรงพระเจริญมากด้วยคุณธรรม คือทรงมีความสามารถและความเพียรพยายามทุกด้าน โดยมากมักจะนึกถึงกันแต่ทางศิลปะ แท้จริงยังทรงสามารถทางการปกครองและทางวิชาการอื่นๆ อีก จึงทรงเป็นผู้ที่เจริญ และเมื่อตรัสว่าเจริญแล้ว จึงหมายความว่าพระชนมายุมากแล้วด้วย เจริญพอแล้วด้วย

        ที่ทุกคนมาให้พรว่าให้ทรงพระเจริญ คงจะให้เจริญทางจิตใจ วันนี้มีสมาคมองค์การต่างๆ โรงเรียน นักศึกษา และนักเรียนมาให้พรกันมากมายรวมทั้งสมาคมที่เป็นห่วงเรื่องสุขภาพจิตด้วย และเมื่อวันก่อนก็มีองค์การศาสนาต่างๆ ทุกศาสนาที่มีอยู่ในเมืองไทยมาให้พร ได้พูดด้วยทุกราย จึงต้องพูดกับนักเรียนบ้างเพื่อไม่ให้น้อยใจ ที่ตั้งใจจะพูดด้วยก็เรื่องสุขภาพจิต เพราะได้เคยพูดฝากกับผู้ที่เป็นสมาชิกสมาคมส่งเสริมสุขภาพจิตว่า “หมู่นี้ สุขภาพจิตไม่ค่อยดี” คุณหญิงอัมพรจึงมาให้พรว่า “ขอให้ทรงพระเจริญและให้พระสุขภาพจิตดียิ่งๆ ขึ้น” คำว่าพระสุขภาพจิตที่ใช้เป็นคำใหม่ มีความหมายอย่างไร ไม่ทราบได้ ตามจริงก็คงจะอยากให้พรให้มีสุขภาพทางจิตดี คิดว่าสุขภาพทางจิตหรือความรู้สึกนึกคิดจะดีได้ก็เพราะมีคนอื่นเอาใจช่วย อย่างที่ทุกคนมาเฝ้า ฯ นี้ ยินดีมีโอกาสพูดด้วย ถ้าทุกคน ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ทั้งผู้ที่เป็นนักศึกษา และเป็นครู เห็นความสำคัญในเรื่องสุขภาพจิต ขอโทษ ขององค์พระประมุข ถ้าทุกคนร่วมมือกันทำงานตามจุดประสงค์แล้ว จะทำให้สุขภาพจิตขององค์พระประมุขดีได้ และถ้าแต่ละคนทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่รู้สึกว่ามีหน้าที่ที่จะรักษาสุขภาพจิตของ องค์พระประมุข เมื่อถวายพระพรให้ทรงพระเจริญ หรือให้ทรงพระชนมายุยืนนานเป็นร้อยปีหรือเป็นหมื่นปี ก็ขอให้เข้าใจว่าได้ถวายพระพรให้สุขภาพจิตขององค์พระประมุขดีด้วย

        คำว่าองค์พระประมุขนั้นแสดงถึงส่วนรวมของประเทศ คือแต่ละคนรวมกันเข้าก็เป็นประชาชน เป็นสังคมของประเทศ ผู้ที่อยู่ในที่นี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของประชาชน เป็นส่วนหนึ่งของประเทศ ถ้าแต่ละคนอยากดีก็จะต้องช่วยกันทำให้ประเทศดีขึ้น อย่างเมื่อกี้เดินผ่านทหาร ตำรวจ นักเรียนที่เป็นลูกเสือ นักเรียนที่เป็นอนุกาชาด นักเรียนที่เป็นนักเรียนในโรงเรียนราษฎร์ โรงเรียนรัฐบาล นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทุกคนพากันอวยพรให้ทรงพระเจริญ จึงต้องขอร้องทุกคนที่ขอให้ทรงพระเจริญนี้ทำหน้าที่ เพราะถ้าพูดหรือคิดขึ้นมาว่าขอให้ทรงพระเจริญ เป็นการคิดเป็นคำพูดลอยๆ เก๋ๆ ตามสมัย โดยเฉพาะในวันเฉลิมพระชนมพรรษายิ่งต้องพูดอย่างนั้นแล้วก็จะไม่ได้ผล แต่ถ้านึกถึงว่าทรงพระเจริญหมายความว่า องค์พระประมุขทรงพระเจริญ หมายความว่าประเทศจงเจริญก็เกิดหน้าที่ขึ้นมา แต่ละคนเกิดมีหน้าที่ต่อประเทศชาติ ซึ่งหมายความว่าหน้าที่ส่วนของตัวด้วยและหน้าที่ในส่วนรวมของกลุ่มด้วย

อ่านต่อ »


ตามคำขอของพี่หมอเจ๊

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 20 July 2008 เวลา 22:11 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4509

เมื่อตอนที่ไปสวนป่าในงานอบรมกระบวนกร ซึ่งไม่รู้ว่าภายหลังได้กลายเป็นเฮฮาศาสตร์5 ไปได้อย่างไร ก่อนไปก็พอรู้เลาๆ ว่าจะถูกถีบขึ้นเวที ส่วนหัวข้อที่บอกมาก่อนก็เป็นที่รู้กันว่าจะไม่เป็นไปตามนั้น หัวข้อจริงก็ไปรู้เอาตอนเดินขึ้นเวทีแล้ว

มีเรื่องจะสารภาพครับ เรื่องที่พูดในคืนนั้นไม่ได้เตรียม และเรื่องที่เตรียมไปกลับไม่ได้พูด เพราะว่าพูดเรื่องที่ไม่ได้เตรียมซะเยอะแล้ว เลยลืมที่จะบอกว่า ผมมี “ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช ๒๔๙๓ - ๒๕๔๘” ที่ทาง กบข. ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดพิมพ์ สามารถจะค้นหาได้ ที่อยากบอกแต่ไม่ได้บอกคือเรื่องนี้ล่ะครับ:

ว่าท่านใดอยากได้พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสที่พระราชทานให้ในวันที่รับปริญญา ก็ขอให้บอกมาว่าปีใด และมหาวิทยาลัยใดนะครับ — โดยส่วนตัว เป็นแรงบันดาลใจของผมเสมอมา

พอดีพี่หมอเจ๊ขอมากลางอากาศ ก็เลยค้นมาแสดงไว้ตรงนี้นะครับ

อ่านต่อ »



Main: 0.37488508224487 sec
Sidebar: 1.5746908187866 sec