กระจายน้ำสำหรับการเกษตร

อ่าน: 3229

พืชต้องการน้ำไปละลายสารอาหารในดินและทำให้ปลายรากดูดซึมสารอาหารในดินด้วยวิธีการออสโมซิส

แต่พื้นที่ภายใต้โครงการชลประทานของเมืองไทยมีอยู่กระจ้อยร่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอีสานและภาคเหนือ ดังนั้นเกษตรกรก็ต้องพึ่งแหล่งน้ำธรรมชาติ อันได้แก่แม่น้ำลำคลองหนองบ่อและน้ำบาดาล การชักน้ำเข้าแปลงเกษตรก็ต้องใช้พลังงานซึ่งคือต้นทุนของเกษตรกร ยิ่งจ่ายค่าพลังงานมาก ต้นทุนก็จะสูงขึ้น กำไรหด เหนื่อยไปแล้วไม่เหลืออะไร ต้นทุนพลังงานในการสูบน้ำเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายที่มองกันไม่ค่อยออกเพราะจับต้องไม่ได้และแยกแยะไม่ออกนะครับ

ถ้าถามว่าพืชจะร่าเริงกับน้ำที่ฉีดมาอย่างแรงเป็นฝอยฟู่หรือไม่ อันนี้ผมก็ไม่รู้เหมือนกันครับ เท่าที่จำได้ก็ไม่เคยเป็นพืชเสียด้วย เราสามารถให้น้ำให้ปุ๋ยทางใบได้เหมือนกัน โดยเพิ่มแรงดันน้ำเข้าไปซึ่งหมายความว่าจะต้องจ่ายค่าพลังงานมากขึ้น บางทีเราก็ไม่คิดว่าจะต้องจ่ายค่าพลังงานเรื่องนี้โดยเอาแรงดันน้ำมาจากถังเก็บน้ำสูงๆ จริงอยู่ที่ถังยิ่งสูง ก็ยิ่งมีแรงดันน้ำมาก จะส่งน้ำ(ตามสายยางหรือฉีดน้ำ)ไปได้ไกล แต่ต้นทุนซึ่งเรามักจะไม่คิดกันนั้นมีสองส่วนครับ คือ

  1. ต้นทุนการก่อสร้างเพื่อนำน้ำไปเก็บไว้ที่สูง น้ำหนึ่งคิวหนักหนึ่งตัน ถ้าจะนำน้ำแปดคิวไปไว้สูงสิบเมตร ก็ต้องสร้างโครงสร้างเพื่อรับน้ำหนังแปดตันที่ลอยอยู่เหนือพื้นดินสิบเมตร สร้างได้ครับ วิศวกรทำได้หมด (แต่แพง!)
  2. ต้นทุนการสูบน้ำ อย่างที่รู้กัน น้ำแปดคิวหนักแปดตัน ถ้าจะยกจากผิวดินขึ้นไปสูงสิบเมตร ก็จะใช้กำลังแปดกิโลวัตต์ตามทฤษฎี (จริงๆ แล้วมากกว่านั้นเพราะปั๊มน้ำไม่ได้มีประสิทธิภาพ 100% กล่าวคือมีการสูญเสีย) หมายความว่าถ้าใช้น้ำมาก ก็ต้องจ่ายค่าพลังงานมากขึ้นตามไปด้วย

อ่านต่อ »


กาลักน้ำ รดน้ำต้นไม้

อ่าน: 4929

ในการรดน้ำต้นไม้นั้น มีน้ำที่สูญเสียไปเยอะครับ

ต้นไม้ไม่ได้ดื่มน้ำเหมือนคน แต่ต้นไม้ใช้ความชื้นในดินทำให้ดินอ่อนเพื่อที่รากจะโตได้ และใช้น้ำในการดูดซึมอาหาร เวลาเรารดน้ำต้นไม้ เราก็เพียงแต่ต้องการทำให้ดินชุ่มชื้นเท่านั้น และไม่ได้ต้องการให้ดินที่ผิวหน้าเท่านั้นที่ชุ่มชื้น แต่ต้องการให้ดินที่ระดับของรากชุ่มชื้น [ให้น้ำที่ปลายราก]

โดยปกติ เราก็เอาสายยางรดดินจนชุ่ม (หวังว่าน้ำจะซึมผ่านดินชั้นบนลงไปหาราก) แม้ว่าจะเพิ่งผ่านเหตุการณ์มหาอุทกภัยมาก็ตาม น้ำก็เป็นทรัพยากรที่มีค่าอยู่ดี จึงมีคำถามว่าทำไมเราต้องสิ้นเปลืองน้ำรดต้นไม้มากมายขนาดนั้น

ผมมาคิดถึงเรื่อง [กาลักน้ำ] แล้ว คิดว่าน่าจะมีทางที่ให้น้ำในระดับของปลายรากและไม่ใช้พลังงาน โดยทำรางน้ำเอาไว้ตามแนวปลูกพืช ปล่อยน้ำเข้าไปในรางแบบเดียวกับคลองส่งน้ำ จากนั้นก็เอาเศษผ้าที่ไม่ใช้แล้ว (ปอ ป่าน หรืออะไรที่อุ้มน้ำก็ได้) ผูกกับหินก้อนเล็กๆโดยทิ้งปลายออกสองด้านให้ยาว เอาหินวางไว้ในราง ส่วนปลายของเศษผ้านั้น ฝังเอาไว้ในดินครับ

ถ้ายกรางนี้ไว้เหนือดินสักคืบเดียว ผ้าที่ผูกกับหินซึ่งวางเอาไว้ในราง ก็จะพาน้ำปีนพ้นจากรางน้ำได้ และเมื่อน้ำพ้นขอบของรางน้ำมาแล้ว ก็จะไหลลงที่ต่ำตามธรรมชาติ โดยไหลไปตามเส้นใยผ้าซึ่งมีแรงต้นทานต่ำ เราก็เพียงแต่เอาปลายผ้าฝังลงไปในดิน ก็จะเป็นวิธีที่ทำให้ดินชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลาแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องใช้สายยาง ไม่ต้องใช้แรงดันน้ำ ไม่ต้องใช้พลังงาน

อ่านต่อ »


ฟาร์มเห็ด

อ่าน: 3088

ถ้าจะทำเป็นเรื่องเป็นราว คงเป็นเชื้อเห็ดที่ขายเป็นขวด(หรือถุง) แล้วเพาะในโรงเรือนที่ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นนะครับ

คลิปนี้เป็นการเอาสปอร์มาเพาะเอง มีประเด็นอีกนิดหนึ่งคือว่าเมื่อเห็ดเจริญเติบโด ก็จะคายคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา หากมีการควบคุมความชื้นอยู่แล้ว ก็ควรถ่ายอากาศไม่ให้คาร์บอนไดออกไซด์สูงเกินไปด้วยครับ

เห็ดเป็นแหล่งโปรตีน ที่ให้ผลผลิตเร็ว เหมาะสำหรับเป็นอาหารยามที่ลำบาก


ปลูกมะรุมเพื่อเก็บใบ

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 25 December 2011 เวลา 0:11 ในหมวดหมู่ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม #
อ่าน: 3873

มะรุมเป็นพืชมหัศจรรย์ เคยเขียนไว้นานแล้วครับแต่ตอนนี้หาไม่เจอ ปลูกในดินเลวได้ โตเร็วมาก

เมล็ดเอาไปคั้นเอาน้ำมัน มีฤทธิ์ต่อต้านจุลินทรีย์ และไวรัส ใช้ปรุงอาหาร ใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่น บำรุงผิว โอ้ย สารพัด ถ้าไม่คั้นน้ำมัน ก็เอาไปใส่ในน้ำกรอง จะช่วยให้ใส และฆ่าเชื้อโรคบางส่วนได้ แต่สารอาหารที่ต้นมะรุมสะสมอยู่นั้นอยู่ในใบครับ

เทียบกรัมต่อกรัม มะรุมมี

  • วิตามินซี สูงเป็น 7 เท่าของส้ม
  • วิตามินเอ สูงเป็น 4 เท่าของแครอต
  • แคลเซียม สูงเป็น 4 เท่าของนม
  • โปแตสเซียม สูงเป็น 3 เท่าของกล้วย
  • เหล็ก สูงเป็น 3 เท่าของผัก
  • วิตามินอี สูงเป็น 3 เท่าของอัลมอนด์
  • ยังมีกรดอะมิโน (ซึ่งร่างกายต้องใช้แต่สร้างเองไม่ได้) มีโปรตีน และมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ

อ่านต่อ »


ปุ๋ยชีวภาพ

อ่าน: 2660

สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นสปอนเซอร์การผลิตวิดีทัศน์การศึกษาอันนี้

เป็นวิธีการทำน้ำหมักอีเอ็มครับ ใช้รดต้นไม้ ให้จุลินทรีย์ปรับปรุงดิน เพื่อที่รากต้นไม้จะได้ทำงานได้ประสิทธิภาพมากขึ้น

อ่านต่อ »


กระถางในดิน

อ่าน: 3989

กลับมาจากสวนป่า เกิดความคิดวิปลาสอีกแล้วครับ

ดินทางเหนือและอีสานนั้น แห้งแล้งมานานเนื่องจากการหักร้างถางป่า ทำให้แสงแดดเผาพื้นดิน ทำลายความอุดมสมบูรณ์ในดิน จุลินทรีย์มีชีวิตอยู่ไม่ได้ ใส่ปุ๋ยเคมี ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ทำให้หน้าดินแข็ง เมื่อฝนตกลงมา น้ำซึมลงไปในดินไม่ทัน ก็ไหลไปตามความลาดเอียง เป็นน้ำหลาก (run-off) ชะเอาหน้าดินลงไปด้วย ช่วยเร่งดินถล่ม

การที่จะนำความอุดมสมบูรณ์กลับมาสู่ดิน นอกจากแก้ไขเรื่องความร้อนจากแสงอาทิตย์โดยวิธีห่มดินแล้ว (ปลูกไม้ยืนต้นให้ร่มเงาก็ได้ แต่ว่าช้าหน่อย) ก็ยังต้องบำรุงน้ำใต้ดินอีกด้วย สภาพดินปนทราย หากว่าหน้าดินยังไม่แข็งนัก เมื่อฝนตกลงมา น้ำจะซึมหายไปหมด โอกาสทองของต้นไม้ มีอยู่ครู่เดียว ยกเว้นว่าฝนตกทุกวัน แต่เมื่อพ้นหน้าฝนไป ก็ลำบากเหมือนเดิม

ความคิดแรกคือปล่อยละอองน้ำไปในอากาศ แล้วให้ความชื้นเทียมเหล่านี้ ไปรวมตัวกับความชื้นในอากาศกลั่นตัวเป็นน้ำค้าง จะใช้พลังงานเท่าไรยังเป็นเรื่องรองลงไป แต่มีปัญหาอยู่สองอย่างคือ (1) เราไม่รู้ว่าความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศมีเพียงพอหรือไม่ (2) ละอองน้ำอาจจะระเหยไปในอากาศซะเอง ดังนั้นหากคิดว่าน้ำเป็นทรัพยากร ระบบน้ำหยดน่าจะให้ผลตรงกับระบบรากมากกว่า แต่ก็มีปัญหาต้องแก้ตรงที่สายยางมีราคาแพงครับ ถ้าจะตั้งสปริงเกอร์หรือหัวฉีดน้ำฝอย ก็ต้องให้ครอบคลุมระยะของร่มเงาไปจนถึงโคนต้น http://phytosphere.com/vtf/treewater.htm

อ่านต่อ »


ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (5)

อ่าน: 4640

บันทึกนี้ เป็นส่วนของชุดบันทึกหลายตอนชื่อ ผลิด Biochar อย่างจริงจัง

เป็นวิธีการเผาถ่าน Biochar แบบที่ง่ายที่สุด แต่สิ้นเปลืองเชื้อไฟที่สุด คือเอาไม้แห้ง หรือ biomass อื่นๆ ใส่ถัง 200 ลิตรไว้หลวมๆ โดยถังนี้มีฝาปิดสนิททั้งหัวและท้าย เจาะรูสำหรับก๊าซออกไม้ที่ฝารูหนึ่ง แล้วเอาถังไปเผาไฟดื้อๆ เลย

ในขณะที่เผา อาจจะสังเกตได้ว่าควันที่ออกมาจากภายในถังนั้น ติดไฟได้ (ควันนี้ ห้ามสูดดม และควรให้ติดไฟอยู่ตลอด)

อ่านต่อ »


ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (4)

อ่าน: 5694

เปลี่ยนเรื่องอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย

Biochar เป็นกรรมวิธีโบราณที่ชาวเผ่าอินคา ใช้ปรับปรุงดินที่เสื่อมสภาพแล้ว ให้กลายเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ขึ้นมาใหม่ได้ มีการนำ Biochar ไปทดลองในหลายที่ทั่วโลก ได้ผลออกมาในแนวเดียวกัน คือสภาพดินดีขึ้น พืชเติบโตและให้ผลผลิตเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางมลรัฐฟลอริด้าซึ่งเป็นดินทราย (คล้ายหรือแย่กว่าอีสาน) ก็มีรายงานว่าได้ผลดีมาก

Biochar นั้นไม่ใช่ถ่านธรรมดาหรอกนะครับ เป็นถ่านที่เผาในสภาวะที่มีออกซิเจนต่ำ (ซึ่งถ้าเผาที่อุณหภูมิสูงด้วย+ออกซิเจนต่ำด้วย เรียกว่าถ่านกัมมัน activated carbon)

วินาทีที่ 30 ดินนาข้าวที่ไม่ได้ปรับปรุงด้วย Biochar วินาทีที่ 34 ดินนาที่ปรับปรุงด้วย Biochar ก่อนดำนา

อ่านต่อ »


ตามมีตามเกิด

อ่าน: 5179

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายคำว่า ตามมีตามเกิด ไว้ว่า “สุดแต่กำลังความสามารถอันน้อยเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้น” ตรงข้ามกับความหมายของคำว่า งอมืองอตีน ซึ่งพจนานุกรมแปลว่า “เกียจคร้าน, ไม่สนใจขวนขวายทำการงาน, ไม่คิดสู้”

ในภาวะวิกฤตนั้น เรื่องที่มีอันตรายร้ายแรงแต่ไม่ค่อยพูดถึงกันคือเรื่องความเครียด… ก็ผู้ประสบภัยหมดตัวจะไม่ให้เครียดได้ยังไงครับ มองไปทางไหนก็มีแต่น้ำ แล้วจะไม่ให้คิดเรื่องหมดตัวซ้ำซากได้อย่างไร

ดังนั้น ควรหาอะไรที่ผู้ประสบภัยทำแล้วเกิดประโยชน์ต่อตัวเองและครอบครัว ไม่นั่งรอความช่วยเหลือแต่ถ่ายเดียว

เรือฝาชี

อันแรกเป็นเรือของคนอเมริกันพื้นเมือง รูปร่างเหมือนฝาชีที่เอาชันยาก้นให้กันน้ำได้ ถ้าหาชันไม่ได้ อาจจะลองสีพลาสติกเกรดหนาหน่อย ก็คงพอใช้ได้ครับ

จะรับน้ำหนักได้แค่ไหน ก็แล้วแต่ความแข็งแรงของฝาชี และน้ำหนักบรรทุก

นั่งในฝาชี พายไปพายมา โรแมนติคไปอีกแบบ

แต่ห้ามใช้เรือฝาชีในน้ำเชี่ยวอย่างเด็ดขาด เนื่องจากเสถียรภาพต่ำมาก พลิกคว่ำในคลื่นหรือกระแสน้ำแรงได้ง่าย

เสื้อชูชีพทำเอง

เรื่องนี้ต้องขอยกย่องชื่นชมเป็นพิเศษต่อ ผู้ประดิษฐ์ ผู้ทดลอง ผู้ถ่ายทำ และผู้เผยแพร่ความรู้ (คุณ 1Bigidea — คุณประเสริฐ มหคุณวรรณ เบอร์โทรหาได้ในลิงก์ข้างบน)

อ่านต่อ »


เครื่องอบข้าว

อ่าน: 9247

เมื่อคืนจะเขียนเรื่องนี้ในบันทึกที่แล้ว แต่ง่วงเกินไป ประกอบกับยังคิดไม่รอบคอบ เนื่องจากผมเป็นคนเมืองมาตั้งแต่เกิด ไม่เข้าใจบริบทของการทำนาอย่างแท้จริง เพียงแต่รู้สึกได้ถึงความเดือดร้อน — มาวันนี้ ก็ยังไม่เข้าใจ+คิดไม่รอบคอบอยู่ดี แต่มีความเห็นของพี่บางทราย (ลูกชาวนาตัวจริงและทำงานพัฒนากับชาวบ้านหลายท้องถิ่นมาตั้งแต่จบมหาวิทยาลัยจนเกษียณอายุ และยังทำต่อ) มาบอกว่าคิดไม่ผิดทางนัก ก็เลยตัดสินใจเขียนต่อครับ

อีกเหตุหนึ่งที่ไม่เขียนเรื่องเครื่องอบข้าว ก็เพราะไม่รู้จะเอาเครื่องอบข้าวเข้าไปในพื้นที่อุทกภัยได้อย่างไร มาวันนี้คิดตกแล้วว่าถ้ายุ้งฉางจมน้ำด้วย ก็ไม่มีที่เก็บข้าวอยู่ดีหรือข้าวเปียกจนเกินเยียวยา ดังนั้นก็ตั้งสมมติฐานไว้เลยว่า มีที่แห้งเก็บข้าว จะได้ไม่ต้องเอาเครื่องอบข้าว ลงแพหรือเรือท้องแบน ตามไปอบข้าวที่ยุ้งฉางที่จมน้ำอยู่ พื้นที่น้ำท่วม มีความชื้นสัมพัทธ์ 100% อยู่ดี ถึงอบไปก็จะชื้นใหม่อย่างรวดเร็ว

เดิมทีคิดจะใช้เกลียวของอาร์คิมิดีส ที่ปลายต่ำใส่ข้าวชื้น และจุดเตา เอาความร้อนใส่ไปในท่อ ความร้อนลอยขึ้นสูงไปออกปลายบน จะไม่อบอวลจนข้าวไหม้ หมุนๆๆๆๆ ข้าวที่มาโผล่ข้างบนจะชื้นน้อยลง แต่ถ้ายังชื้นอยู่ ก็ปล่อยข้าวลงไปข้างล่างตามทางลาด เอาไปขึ้นเกลียวที่สอง ที่สาม … ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนความชื้นเหลือน้อยพอที่จะส่งไปจำนำข้าว

มาคิดอีกที สมมุติเอาข้าวมาอบหนึ่งตัน ต้องหมุนเกลียวเพื่อยกน้ำหนัก คิดเป็นงานเหมือนกับยกน้ำหนักหนึ่งตันจะระดับพื้นข้างล่าง ขึ้นมาสู่ระดับปลายบนของท่อนะครับ แล้วเกิดผ่านท่อครั้งเดียวยังไล่ความชื้นออกได้ไม่พอ จะต้องส่งผ่านท่ออย่างนี้หลายๆ ท่อ ก็เท่ากับว่าต้องยกน้ำหนักหลายตัน โอย… อย่างนี้จะหมุนท่อไหวเหรอ

โชคดีที่เวลาชาวนาเอาข้าวเปลือกมาอบ ก็มักจะมาด้วยรถ(อีแต๋น) เราใช้ล้อรถขึ้นเพลามาหมุนเกลียวได้ ทดให้เครื่องเดินเบาหมุนเกลียวอย่างช้าๆ ส่วนค่าพลังงานเพื่อหมุน+ค่าใช้จ่ายในการขนส่งและโกย ชาวนาออกเอง ทำเอง ไม่ต้องจ่ายค่าหัวคิวให้ใคร

อ่านต่อ »



Main: 0.81483912467957 sec
Sidebar: 0.52872109413147 sec