น้ำมันจากต้นไม้ (2)

อ่าน: 5125

ไม่ใช่เรื่องน้ำมันพืชหรอกนะครับ หมายถึง Biofuel เป็นตอนต่อจากบันทึกน้ำมันจากต้นไม้

กระบวนการที่พูดกันมากคือการผลิตเอทานอลจากพืช เอทานอลซึ่งเป็นแอลกอฮอลอย่างหนึ่ีง สามารถนำมาผสมกับน้ำมันดีเซลทำให้ราคาถูกลงได้บ้าง

เอทานอลสามารถทำได้โดยการหมักแป้งเป็นน้ำตาล แล้วจึงเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสไปเป็นเอทานอล (กลูโคสเป็นน้ำตาล แต่ที่ใช้กันมากคืออ้อยหรือข้าวโพด ก็เลยเกิดเป็นประเด็นว่าเอาพืชอาหารมาทำเป็นพลังงาน แล้วทำให้อาหารมีราคาที่แพงขึ้น)

กลูโคส (C6H12O6) →หมัก→ เอทานอล (2C2H6O) + คาร์บอนไดออกไซด์ (2CO2)

หรือไม่ก็ใช้ เอทิลีนในสภาพก๊าซ (C2H4) + ไอน้ำ (H2O) → เอทานอล (CH3CH2OH) เอทิลีนปริมาณมาก มาจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด และต้องนำเข้า ดังนั้นถ้าเลี่ยงได้ก็ควรจะเลี่ยง

ซึ่งสมการแรก ไม่ใช่เทคโนโลยีขั้นสูง ชาวบ้านทำเองได้ จึงน่าสนใจกว่า

แต่ก็อีกนั่นแหละครับ สมการแรกปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมา แล้วจะไปแก้ปัญหาโลกร้อนได้อย่างไร!

อ่านต่อ »


“HOME” สารคดีที่อยากให้ดูให้ได้

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 7 June 2009 เวลา 0:08 ในหมวดหมู่ ธรรมชาติ สัตว์ ต้นไม้ สิ่งแวดล้อม #
อ่าน: 20040

สารคดี HOME เปิดโลกทัศน์เกี่ยวกับหายนะอันเกิดจากบริโภคนิยมของมนุษย์ อาจจะไม่มีข้อมูลใหม่สำหรับผู้ที่ศึกษาผลกระทบของโลกร้อนมาบ้าง แต่ให้ภาพที่ชัดเจนมากพร้อมทั้งอธิบายอย่างชัดเจนว่าทำไม เป็นสาคดีเกี่ยวกับการที่มนุษยชาติไม่เพียงแต่ทำลายตัวเอง แต่กำลังจะทำลายสมดุลย์ของธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้โลกแบบที่เรารู้จัก อาจดับสูญไปภายในสิบปี

ผมดูสารคดีนี้ ตั้งแต่ hit counter ขึ้นมาเจ็ดหมื่น แต่มีสองพันแปดร้อยความคิดเห็น แล้วก็เขียนบันทึกนี้ไว้ล่วงหน้าครับ  — สารคดียาว 94 นาที แต่เชื่อว่าจะเป็น 94 นาทีที่คุ้มค่า+น่าสนใจมาก

ในเชิงการผลิตสารคดี ใช้ภาพจากมุมสูงทั้งหมด จึงเป็นมุมมองที่แปลก รับรองว่าจะเห็นโลกที่เราคิดว่าคุ้นเคยนี้ แปลกตาออกไปเป็นอย่างมาก ถ้าดูและวิจารณ์แบบนักวิจารณ์หนัง ก็จะมีข้อตำหนิเยอะแยะเลย เช่นเสียงบรรยายน่าเบื่อ เพลงประกอบสุดประหลาด ภาพกระตุก ฯลฯ แต่มันก็ไม่ได้เปลี่ยนข้อเท็จจริงที่ว่า โลกนี้กำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงมหาศาล

ถึงเราจะระดมคนทั้งโลก ช่วยกันเปลี่ยนแปลงสันดานมักง่ายในวันนี้ ก็ไม่แน่ว่าจะบรรเทาผลกระทบได้มากแค่ไหน แต่ที่แน่ๆ คือถ้ายังทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น มนุษย์จะดับสูญแน่นอน แล้วสิ่งที่คิดว่าดี สูงส่ง สะสมเอาไว้ ก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลยครับ

ฟังดูอาจเหมือนกับไม่มีหวัง — ที่จริงแล้ว ผมไม่ได้คิดอย่างนั้นนะครับ อะไรจะเกิดก็เกิด อะไรไม่เกิดก็ไม่เกิด สิ่งที่ไม่อยากให้เกิดอย่างในสารคดีอาจจะไม่เกิดขึ้นก็ได้; แต่ถ้าขืนเรายังทำอย่างที่ทำกันอยู่ คือตามสบายอย่างที่เคยเป็นมา สิ่งที่ไม่น่าเกิดอาจเกิดขึ้นได้ และอาจเกิดขึ้นเร็วด้วย

สำหรับผู้ที่ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง แค่ดูภาพ ก็คงเห็นอะไรบางอย่าง แต่ถ้าหากอ่านได้เร็ว สารคดีนี้มีซับไตเติ้ล ซึ่งเปิดได้โดยการคลิกที่ปุ่ม CC ใต้ Subscribe เพื่อเปิด “closed caption”

http://www.youtube.com/watch?v=jqxENMKaeCU

อ่านต่อ »


น้ำมันจากต้นไม้

อ่าน: 5741

วารสาร Technology Review ของ MIT รายงานว่าห้องปฏิบัติการแห่งชาติแปซิฟิคนอร์ธเวสต์ของสหรัฐ (PNL) ประสบความสำเร็จในการแปลงน้ำตาลฟรุคโตสหรือกลูโคส (ในพืช) ไปเป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถนำไปแปลงอีกต่อหนึ่งเป็นโพลีเอสเตอร์ พลาสติก หรือแม้แต่น้ำมันไบโอดีเซล (ที่ไม่ใช่ดีเซลจากปิโตรเลียมผสมน้ำมันพืชใช้แล้ว) ด้วยการบวนการที่ง่าย และมีราคาถูก

สารเคมีดังกล่าวเรียกว่า hydroxymethylfurfural หรือ HMF ในสมการเคมีทางขวา

1 คือ fructopyranose
2 คือ fructofuranose
3,4 คือ สารประกอบในการบวนการ dehydration (ดึงเอาโมเลกุลของน้ำออก)
และ 5 คือ HMF

HMF สามารถแปลงเป็น 2,5-Dimethylfuran หรือ DMF ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงในสภาพของเหลว และในหลายๆ กรณี มีคุณสมบัติดีกว่าเอธานอล

กระบวนการ dehydration ของ PNL ใช้คาตาลิสต์ (ซึ่ง Wikipedia ว่าเป็นโครเมียมคลอไรด์ แต่ Science Direct บอกว่าเป็น SO42−/ZrO2 และ SO42−/ZrO2–Al2O3) และเป็นกระบวนการแบบขั้นตอนเดียวซึ่งง่าย และมีราคาถูก — ZrO2 คือ เซอร์โคเนียมออกไซด์

ห้องปฏิบัติการแห่งชาติ PNL มีความชำนาญในกระบวนการเคมีโดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น Chemicals from Biomass

มีคำยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรสำหรับ กระบวนการนี้ ซึ่งคำอธิบายกระบวนการผลิต เริ่มต้นที่หน้า 82 — ผมไม่ได้ยุให้ลอกหรอกนะครับ การนำสารประกอบอินทรีย์มาเพิ่มมูลค่า น่าสนใจกว่ากระบวนการอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่กระบวนการอันนี้ ใช้คาตาลิสต์กับความดัน ซึ่งมีความสิ้นเปลืองและมีของเสียในกระบวนการผลิตต่ำ น่าจะเป็นประเด็นที่นักวิจัยไทยควรจะให้ความสนใจ มากกว่าที่จะไปมุ่งเป็นเลิศในอะไรสักอย่าง แต่ไม่เกิดประโยชน์กับสังคมไทย


โลกร้อน กับการศึกษาการเปลี่ยนแปลงส่วนที่ถูกปกคลุมโดยน้ำแข็ง และบรรยากาศ

อ่าน: 3359

ภาวะภัยแล้ง

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 3 March 2009 เวลา 1:03 ในหมวดหมู่ ธรรมชาติ สัตว์ ต้นไม้ สิ่งแวดล้อม #
อ่าน: 4280


ภาพถ่ายดาวเทียม

อ่าน: 5932

บ่ายวันนี้ พาผู้ใหญ่จากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ไปพบผู้ใหญ่ในกรมราชองครักษ์ ระหว่างนั่งฟังท่านคุยกัน ได้เรียนรู้ถึงข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมของจีน ซึ่งเปิดให้ใช้ได้ฟรี เรียกว่า “FY2C” ครับ — เป็นภาพที่หน่วงเวลา 2 ชั่วโมง ถ่ายมาเป็น snapshot รายชั่วโมง เช่นภาพ IR (ดูเมฆ ฝน หิมะ) เมื่อเวลา 8.01 UTC (14.01น. เวลาประเทศไทยวันนี้)

นึกถึงวิชาดูเมฆที่อาจารย์ไร้กรอบบรรยายให้ฟังที่เฮฯเจ็ด อิอิ

ข้อมูลนี้ ผมดูดมาจากคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งฮ่องกง น่าจะเอาไว้ดูเมฆที่ระยะไกลเกินขอบฟ้าได้

ส่วนวิชาดูเมฆนั้น ผมค้นข้อมูลเบื้องต้นแล้ว และจะเขียนอีกบันทึกหนึ่งครับ


โลกร้อน (2.4.1)

อ่าน: 3907

ธารน้ำแข็งละลาย เป็นปฏิกริยาลูกโซ่ ยิ่งธารน้ำแข็งละลาย กลายเป็นน้ำไหลลงสู่มหาสมุทร ปริมาตรน้ำที่เพิ่มขึ้น ก็จะยิ่งดูดซับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ทำให้โลกร้อนขึ้น และธารน้ำแข็งละลายเร็วขึ้นกว่าเก่าอีก

ประวัติศาสตร์บอกว่าสิ่งที่เคยเกิดขึ้นแล้ว จะเกิดขึ้นอีก แล้วหากว่ามันไม่เกิดขึ้นมานานแล้ว มันจะเกิดขึ้นอีกเร็วๆ นี้; บรรยากาศของโลกก้าวผ่านช่วงเวลาเหล่านี้เป็นวัฏจักร เคยเกิดมาแล้วทั้งสองขั้ว ทั้งน้ำท่วมโลก และหนาวเย็นแข็งจนไปทั้งโลก วันนี้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์สูงที่สุดในประวัติศาสตร์

ไม่ว่ามันจะเกิดในช่วงอายุของเราหรือไม่ ลูกหลานเราก็คงจะลำบากแน่ ดังนั้นทำไมเราไม่กลับมาใช้ชีวิตอย่างรับผิดชอบ และเลิกเบียดเบียนโลกล่ะครับ วันนี้ไม่ใช่วันที่จะมาทำตัวเป็นพวกชอบอ้าง ถ้าไม่รู้จะทำอะไร ปลูกต้นไม้ซิครับ ปลูกมันในที่รกร้างว่างเปล่านั่นแหละ

Get the Flash Player to see this player.


โลกร้อน (2.4)

อ่าน: 4448

เมื่อวาน ไปงานระพีเสวนา ซื้อหนังสือ “กัลยาณมิตร” มาฝากครูบาและฝากตัวเอง ในนั้นมีการถอดบทสนทนาระหว่างท่านครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ กับท่านอาจารย์วรภัทร์ ภู่เจริญในการบรรยายเนื่องในโอกาสวันครบรอบ 10 ปีโรงเรียนรุ่งอรุณ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ปีที่แล้ว

ฟังปราชญ์คุยกัน มันดีครับ ข้อมูลเรื่องโลกร้อนสอดคล้องกับที่ อัล กอร์ พูดไว้ เรื่องนี้น่าสนใจครับ

ครูบาสุทธินันท์

มีที่อาจารย์เล่าให้ผมฟัง เมื่อฟังแล้วรู้สึกเป็นห่วงคนรุ่งอรุณ ที่อาจารย์บอกครูโลกร้อนแล้วกรุงเทพฯ จะจมหายไปเป็นจริงหรือเปล่า

อาจารย์วรภัทร์

พูดไปสะเทือนใจกันเปล่าๆ ตอนนี้ทะเลบางขุนเทียนกัดเซาะมาประมาณ ๘๐๐ เมตรแล้ว เรื่อง Global warming ไปฟัง ดร.อาจองรุ่นพี่ผมก็แล้วกัน ผมบอกครูบาว่าน้ำท่วมโลก ถ้าเราดูของอัลกอร์ มีโอกาสที่น้ำจะท่วมแต่วิธีคิดของผมกับอัลกอร์ไม่เหมือนกัน แต่เราอย่าตกใจ ผมเคยสอนวิชา การบริหารความเสี่ยง ของสักอย่างมันมีความน่าจะเป็นสัก ๑๐% อย่างไรผมก็ไม่เสี่ยง ผมต้องมี action ข่าวดี แผ่นดินอีสานเป็นแผ่นดินที่ได้รับการอวยพร  อีสานมันจนจนกระทั่งน้ำท่วมโลกก็ไม่สามารถจนไปกว่านี้อีกแล้ว มีครูบามากอบกู้แผ่นดินเพราะหลังจากนี้อาจจะไม่มีน้ำมัน ไม่มีมือถือ สิ่งเดียวที่จะเอาตัวรอดได้คือความรู้แถวๆ นี้ มันอยู่ที่ตัวความรู้ มันมีหลายทฤษฎี มันมีอีก ๓๐๐ ปีเกิด อีก ๑๕๐ ปีเกิด อีก ๕๐ ปีเกิด และอีก ๑๕ ปีเกิด และอีก ๕ ปีเกิด ต้องเขียนแม็กทริก ในระหว่าง ๑๐๐​ ๕๐ ๓๐​๑๕ ที่น่าจะเกิดที่สุดน่าจะ ๕ ปี คือ ๒๐๑๒ ให้ไปหมดนี้หละที่บ้านครูบา ผมก็จะไปด้วย ขอเกษตรปราณี(ต)แค่ ๑ ไร่ เพราะกว่านี้ไม่ไหวแล้ว จากเคยตีกอล์ฟใช้เหล็ก ๑ ถึงเหล็ก ๙ ตอนนี้ผมมาเรียนรู้เหล็ก ๑๐ คือ จอบกับเสียมครับ มันสุดยอด วงสวิงเปลี่ยนเลย ไม่รู้จะตีกอล์ฟไปทำไม มาปลูกต้นไม้ดีกว่า

อ่านต่อ »


โลกร้อน (2.3.3)

อ่าน: 7235

ที่ผ่านมา ผมเจตนาไม่แวะไปเรื่องการแก้ไขปัญหาโลกร้อนครับ มีหลายสาเหตุครับ

  1. ศึกนี้ใหญ่หลวงนัก ความคิดที่บอกว่าทำอย่างนี้ซิ แล้วหวังว่าจะแก้ไขได้ เป็นความคิดแบบที่ยังติดกับการทำข้อสอบ
  2. การเลื่อนปัญหาออกไปในอนาคต หรือการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ได้เป็นการแก้ไขอะไรเลย
  3. การแก้ปัญหาที่สาเหตุ มีโอกาสที่จะได้ผลลัพท์ตามประสงค์ที่ยั่งยืน มากกว่าการมั่วไปเรื่อยๆ เป็นครั้งคราว เหมือนไฟไหม้ฟาง

ปัญหา โลกร้อน เริ่มมาจากการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศ ก๊าซเรือนกระจกเป็นก๊าซที่ประกอบด้วยอะตอมของคาร์บอน ไฮโดรเจน และ/หรือออกซิเจน ก๊าซเหล่านี้ เพิ่มปริมาณขึ้นมากมาย เนื่องจากการเผาไหม้ เปลี่ยนองค์ประกอบทางเคมีของเชื้อเพลิงให้เป็นก๊าซ เพื่อให้เราเอาพลังงานไปใช้; การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิลอันได้แก่น้ำมัน และการผลิตปิโตรเคมีต่างๆ

การแก้ไขภาวะโลกร้อน พูดง่าย แต่ทำยาก ในเมื่อต้นเหตุคือก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ วิธีแก้ไขก็คือเอาก๊าซเรือนกระจกออกจากบรรยากาศ; การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การเปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทน ฯลฯ เป็นการบรรเทาปัญหาไม่ให้รุนแรงกว่าในปัจจุบัน แต่ก็ไม่ได้ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศลงเลย แต่ทำให้อัตราการเพิ่มของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกไปในบรรยากาศน้อยลง ถึงยังไงก็ยังดีกว่าทำเป็นไม่รู้เรื่อง ตั้งหน้าตั้งตาทำลายโลกต่อไป

อ่านต่อ »


โลกร้อน (2.3.2)

อ่าน: 4315

จากที่กล่าวมาในบันทึกชุด โลกร้อน (2.*) มาทั้งหมด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศ สร้างผลกระทบโดยอ้อมอย่างร้ายแรงจนเยียวยาได้ยาก สถานการณ์จะยิ่งหนักหากเรายังไม่เข้าใจสาเหตุ ซึ่งจะทำให้แก้ไขได้ไม่ตรงจุด เป็นเพียงการบรรเทา หรือยืดปัญหาออกไปในอนาคต ซึ่งผลร้ายจะตกอยู่กับลูกหลานของเราเอง

ผมอายุไม่ยืนพอที่จะยืนยัน แต่มีผู้รู้บรรยายไว้ว่าเมื่อโลกเกิดขึ้นนั้น บรรยากาศเต็มไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นจุลชีพขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทร มหาสมุทรมีพื้นผิวกว้างที่สุด จึงมีพื้นที่ให้คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศละลายน้ำได้กว้างใหญ่

จุลชีพเหล่านี้ ค่อย ๆ เปลี่ยนสารละลายคาร์บอนไดออกไซด์ (อนุมูลคาร์บอนเนต CO3) เป็นหินปูน CaCO3 ซึ่งกระบวนการนี้ ใช้เวลาหลายร้อยล้านปี จนความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเบาบางลง โลกสะท้อนความร้อนออกไปในอวกาศได้ดียิ่งขึ้น อุณหภูมิของบรรยากาศโลกลดลง เกิดสิ่งมีชีวิตขึ้นมากมาย

ตรงไหนมีหินปูน ตรงนั้นน่าจะเคยเป็นทะเลมาก่อน

โลกเก็บกักคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในรูปของสารประกอบ มนุษย์นำเอาสารประกอบนั้นออกมาใช้ เปลี่ยนแปลงพันธะทางเคมี ปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ โดยการกระทำอย่างนี้ หากไม่ทำ โลกก็จะไม่ “เจริญ” มาแบบนี้ และจะไม่สิ้นสุดลงในแบบนี้เช่นกัน

อ่านต่อ »



Main: 0.071988105773926 sec
Sidebar: 3.6705210208893 sec